ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

ชื่อผู้แต่ง           มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชื่อเรื่อง            คำชี้แจงเรื่องการใช้เพลงเกียรติยศและเกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทยของกรมศิลปากรครั้งที่พิมพ์ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๖สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์ผดุงวิทยาการพิมพ์ปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๑๖             จำนวนหน้า         ๔๘ หน้าคำค้น              คำชี้แจงเรื่องการใช้เพลงเกียรติยศและเกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทยของกรมศิลปากรหมายเหตุ  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรี สว่าง  พันธุมเสน                 หนังสือ คำชี้แจงเรื่องการใช้เพลงเกียรติยศและเกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทยของกรมศิลปากร นี้ เป็นระเบียบที่ทางกรมศิลปากรได้รวบรวมขึ้นสำหรับใช้เป็นแนวทางในการบรรเลงเกียรติยศของชาติ ซึงมีอยู่ด้วยกัน ๕ เพลง คือ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย และเพลงวันชาติ พร้อมทั้งได้ชี้แจงโอกาสที่จะใช้เพลงเกียรติยศแบบพิสดารและแบบสังเขปไว้ด้วย


1. ตำราดูห่วง 2. ตำราดูวันจมวันฟู 3. คำสอนนาคก่อนบวช 4. ตำรายา เช่น ยาแก้ทราง ยาแก้เลือด ยาแก้ไข้ เป็นต้น


ชื่อเรื่อง : รายงานการขุดค้นขุดแต่ง และศึกษาชั้นวัฒนธรรมทางโบราณคดี เขลางค์นคร ผู้แต่ง : เทศบาลนครลำปาง และสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน ปีที่พิมพ์ : 2551 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : มรดกล้านนา


วัดวังสาริกา บ้านวังสาริกา ต.หนองกระทุ่ม อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี          วัดวังสาริกา สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ โดยนายเสา แยบเขตรกรณ์ เป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้น มีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ อุโบสถ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกบริเวณหน้าวัด เป็นอาคารไม้ ขนาด ๕ ห้อง รวมระเบียงหน้า กว้าง ๗.๑๐ เมตร ยาว ๑๗.๓๐ เมตร ฐานก่ออิฐถือปูนผสมคอนกรีตเสริมเหล็ก เสา และโครงหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ เป็นคอนกรีตถอดพิมพ์ ลงรักประดับกระจก หน้าบันด้านหน้าและหลังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นลงรักประดับจก แสดงภาพพุทธประวัติ ประตูและหน้าต่างเป็นไม้บานลูกฟัก มีใบเสมาหินอ่อนล้อมรอบอุโบสถทั้ง ๘ ทิศ ซุ้มเสมาเป็นทรงบุษบก สันนิษฐานว่าอุโบสถไม้หลังนี้สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๖๐


  ชื่อเรื่อง : นิทานโบราณคดี   ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย   หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางเนียร  ลพานุกรม                     หนังสือนิทานโบราณคดี เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแต่ในสมัยที่ล่วงมาแล้วและองค์ผู้ทรงพระนิพนธ์ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ชาวไทยพากันยกย่องสรรเสริญด้วยได้ทรงมอบมรดกวิทยาการไว้แก่อนุชนรุ่นหลังนี้เป็นจำนวนมาก นิทานโบราณคดีนี้ จึงนับเป็นมรดกอันหาค่าเปรียบมิได้ชิ้นหนึ่งในจำนวนมาก


วัดวังสาริกา บ้านวังสาริกา ต.หนองกระทุ่ม อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี          วัดวังสาริกา สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ โดยนายเสา แยบเขตรกรณ์ เป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้น มีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ อุโบสถ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกบริเวณหน้าวัด เป็นอาคารไม้ ขนาด ๕ ห้อง รวมระเบียงหน้า กว้าง ๗.๑๐ เมตร ยาว ๑๗.๓๐ เมตร ฐานก่ออิฐถือปูนผสมคอนกรีตเสริมเหล็ก เสา และโครงหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ เป็นคอนกรีตถอดพิมพ์ ลงรักประดับกระจก หน้าบันด้านหน้าและหลังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นลงรักประดับจก แสดงภาพพุทธประวัติ ประตูและหน้าต่างเป็นไม้บานลูกฟัก มีใบเสมาหินอ่อนล้อมรอบอุโบสถทั้ง ๘ ทิศ ซุ้มเสมาเป็นทรงบุษบก สันนิษฐานว่าอุโบสถไม้หลังนี้สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๖๐



           วิหารธรรมศาลา ตั้งอยู่ในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ทางทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ โดยมีส่วนท้ายของวิหารยื่นเข้าไปในระเบียงคด ซึ่งเป็นรูปแบบการวางผังของวัดขนาดใหญ่ในสมัยอยุธยาตอนต้น วิหารธรรมศาลาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในพุทธศักราช ๒๔๓๕ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถูปาภิบาล (ปาน) หลังจากนั้นได้รับการบูรณะสืบมาอีกหลายครั้ง ได้แก่ พุทธศักราช ๒๔๓๗, ๒๔๔๐, ๒๕๑๐, ๒๕๓๒, ๒๕๔๐ และในพุทธศักราช ๒๕๖๓ นี้ กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะวิหารธรรมศาลาอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน            ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ตามแบบสถาปัตยกรรมไทย หน้าบันสลักไม้ประดับกระจกสีและมีจารึกระบุปีพุทธศักราชที่ปฏิสังขรณ์ (พุทธศักราช ๒๔๓๗ และ ๒๕๑๑) ส่วนท้ายของวิหารที่ยื่นเข้าไปในระเบียงคด มีการทำผนังกั้นจึงแยกออกเป็น ๒ ส่วน ทำให้พื้นที่ส่วนท้ายวิหารมีลักษณะเป็นห้องคล้ายกับส่วนของอาคารสมัยอยุธยาที่เรียกว่า “ท้ายจระนำ” เช่น ที่วิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา นอกจากนี้ ที่ผนังด้านหน้าของพระวิหารยังมีการประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางประทานอภัย เรียกว่า “พระพุทธรูปพระทนทกุมาร” และส่วนท้ายของวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติ เรียกว่า “พระนางเหมชาลา” การสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว มาจากความเชื่อในตำนานพระธาตุและตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งระบุว่าเจ้าชายทนทกุมารและพระนางเหมชาลาได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาฝังไว้ยังหาดทรายแก้ว ภายหลังพระเจ้าศรีธรรมโศกราชมาพบพระบรมสารีริกธาตุจึงโปรดให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมืองขึ้น ณ หาดทรายแก้วจนสำเร็จ เมืองดังกล่าวก็คือ “เมืองนครศรีธรรมราช” และ พระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ “พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช”            ภายในพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย เรียกว่า “พระธรรมศาลา” รวมทั้งพระพุทธรูปขนาดย่อม ข้างละ ๒ องค์ซ้อนกัน ที่ผนังด้านสกัดตรงข้ามกับพระธรรมศาลามีการประดิษฐานเจดีย์ทรงกลมประดับกระจกองค์หนึ่งเรียกว่า “เจดีย์สวรรค์” ซึ่งตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่าสร้างในศักราช ๒๑๘๑ เพื่อบรรจุอัฐิของพระยารามราชท้ายน้ำ ซึ่งเสียชีวิตระหว่างสงครามกับโจรสลัด จึงสันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้อาจมีอายุการสร้างในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของเจดีย์ในปัจจุบัน พบว่าภายหลังคงมีการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง           กล่าวได้ว่า วิหารธรรมศาลาเป็นพระวิหารสำคัญในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ที่ปรากฏให้เห็นถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของวัดในสมัยอยุธยา ทั้งลักษณะการวางตำแหน่งของพระวิหารตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน โดยมีส่วนท้ายของวิหารยื่นเข้าไปในระเบียงคด ซึ่งเป็นรูปแบบการวางตำแหน่งของวิหารในสมัยอยุธยาตอนต้น นอกจากนั้นพระวิหารหลังนี้ยังเต็มไปด้วยงานศิลปกรรมที่มีความสำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องที่ผนังด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหาร ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเป็นรูปแบบศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ภายหลังได้รับการบูรณะสืบมาหลายครั้ง หน้าบันพระวิหารซึ่งสลักข้อความระบุปีพุทธศักราชที่บูรณะ พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย นามว่า “พระธรรมศาลา” และเจดีย์สวรรค์ ปัจจุบันพระวิหารหลังนี้ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน ถือเป็นพระวิหารที่มีความสำคัญสืบเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน -------------------------.........--เรียบเรียง/กราฟิก: นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช --------------------------------อ้างอิง: ๑) กรมศิลปากร. จารึกที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักโบราณคดีที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐. (อัดสำเนา) ๒) กรมศิลปากร. ตำนานพระธาตุและตำนานเมืองนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๖๐. ๓) นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑ .กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๐. ๔) ประภัสสร์ ชูวิเชียร. พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชมหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. ๕) สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๒. ๖) สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. “โบราณสถานและแหล่งโบราณคดีในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เล่ม ๓ นครศรีธรรมราช.” นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๔. (อัดสำเนา)



ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางยวง  อังศุสิงห์               ว่าด้วยตำรารำไทย ประกอบด้วยรูปแสดงท่ารำต่างๆ เช่น เทพประนม ปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลา ช้านางนอน ผาลาเพียงไหล่ พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อน ภมรเคล้า เป็นต้น



พระวิษณุ (พระนารายณ์) เขาพระเหนอ วัสดุ : หินทราย (Tuffacous Sandstone) อายุ/สมัย : พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ศิลปะอินเดีย แบบปัลลวะ ขนาด : สูง ๒๐๒ เซนติเมตร ประวัติ : พบที่แหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ ตำบลบาง นายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยสมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนำพระวิษณุองค์นี้มาเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลักษณะ :            พระวิษณุเขาพระเหนอ เป็นประติมากรรมลอยตัว ประทับยืนตรง มี ๔ กร ส่วนพระพักตร์กะเทาะหายไปบางส่วน สวมกิรีฏมกุฎทรงกระบอกเรียบไม่มีลวดลาย พระอุระผึ่งผาย บั้นพระองค์บาง ทรงพระภูษาโจงยาว ไม่มีผ้าคาดพระโสณี พระหัตถ์ที่ถืออาวุธชำรุดหักหายไปทั้ง ๔ ข้าง แต่สามารถสันนิษฐานอาวุธที่พระหัตถ์ได้โดยการเทียบเคียงกับเทวรูปพระวิษณุองค์อื่น คือ พระหัตถ์ขวาบนถือจักร พระหัตถ์ขวาล่างถือก้อนดิน (ภูมิ) พระหัตถ์ซ้ายบนถือสังข์ และพระหัตถ์ซ้ายล่างถือคทา จากลักษณะที่ส่วนพระองค์ไม่มีร่องรอยพระหัตถ์แสดงให้เห็นว่าพระหัตถ์ล่างทั้งสองข้างแยกจากพระโสณี           สำหรับการถือหรือจับอาวุธนั้น รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี เสนอว่า น่าจะถือจักรโดยหันสันออก ถือก้อนดินด้วยการหงายและแบมือ ถือสังข์ด้วยการหงายมืออกโดยก้นสังข์ตั้งขึ้นและหันปากสังข์ออก ถือคทาด้วยการคว่ำมือลง คทาเฉียงเล็กน้อยยาวลงมาจรดพื้น           นอกจากนั้น ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เสนอว่า เทวรูป องค์นี้มีลักษณะถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ มีกล้ามเนื้อที่ชัดเจน มีการเกรงมือทั้งสองข้างไปด้านหลังเหมือนการเบ่งกล้าม รวมทั้งลักษณะนิ้วเท้า เล็บเท้า และสัดส่วนของนิ้ว มีลักษณะเหมือนจริงตามธรรมชาติ สอดคล้องกับที่ พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้เสนอไว้ว่า พระวิษณุองค์นี้ให้ความรู้สึกน่าเกรงขามและให้ความประทับใจมากที่สุดองค์หนึ่งที่พบในประเทศไทย ซึ่งแสดงถึงความสำเร็จทางด้านงานศิลปกรรมขั้นสูง รวมทั้งแสดงถึงความเชี่ยวชาญและความมั่นใจของช่างผู้สลักที่สลักพระกรทั้งสี่แยกห่างจากตัวองค์ ภาพ : เขาพระเหนอ ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ภาพ : โบราณสถานเขาพระเหนอ (ระหว่างดำเนินการบูรณะ) ภาพ : พระวิษณุ (จำลอง) และโบราณสถานเขาพระเหนอ (หลังขุดแต่งและอนุรักษ์ ปี พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๕) โบราณสถานเขาพระเหนอ :           ตั้งอยู่ที่ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นเขาขนาดย่อมตั้งอยู่ตรงข้ามกับแหล่งโบราณคดีเหมือนทอง (ทุ่งตึก-เกาะคอเขา) บนยอดเขามีเทวสถานเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระวิษณุ           ตามที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองภาคใต้ว่า “…เทวรูปนี้ยืนอยู่กลางฐานใหญ่ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ซึ่งให้เห็นได้ว่าคงจะเป็นศาลหรืออะไรสักอย่างหนึ่ง แต่เรื่องราวอะไรก็สืบไม่ได้…”           สันนิษฐานได้ว่า พระวิษณุประดิษฐานบนอาคารที่ก่อด้วยอิฐ และตามที่ ดร.เอช.จี. ควอริทช์ เวลส์ (Dr. H.G. Quaritch Wales) ได้สำรวจที่แหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอได้สำรวจพบอิฐฐานราก (บริเวณที่ตั้งพระวิษณุ) เป็นแนวลดหลั่นแบบขั้นบันได           พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๗ ธราพงศ์ ศรีสุชาติ ได้สำรวจแหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ พบฐานแนวอิฐซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระวิษณุ เป็นแผ่นอิฐเรียงขนาดใหญ่และแนวอิฐกระจัดกระจายในรัศมีประมาณ ๗๕ ตารางเมตร และมีซากแนวอิฐเรียงเป็นแนวลาดจากแนวฐานลงสู่ปลายเนิน           และจากการขุดค้นและขุดแต่งในโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ ของสำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ พบว่าโบราณสถานเขาพระเหนอเป็นอาคารไม่มีหลังคาคลุม มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สูงประมาณ ๐.๖๐-๐.๘๐ เมตร มีการย่อเก็จด้านหน้า กึ่งกลางอาคารมีบันได้และทางเดินปูด้วยอิฐกว้าง ๑.๓ เมตร มีเทคนิคการก่อสร้างโดยการเลือกบริเวณที่สูงที่สุดบนเขาพระเหนอ และมีการปรับพื้นที่รวมทั้งมีการนำก้อนหินต่างๆ มาเรียงก่อซ้อนกันเป็นขอบฐานโบราณสถาน           จากผลการขุดแต่งคาดว่าโบราณสถานเขาพระเหนอน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับพระวิษณุที่พบประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นไป ---------------------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ---------------------------------------------------อ้างอิง : - รายงานการประชุมโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามเส้นทางแม่น้ำตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ (สำเนา). - พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๓. - ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ตะกั่วป่า : ชุมชนโบราณ.” สารานุกรมวัฒนธรรม ภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: สถาบันทักษิณคดีศึกษา, ๒๕๒๙. - รายงานเบื้องต้นการขุดค้น-ขุดแต่งโบราณสถานเขาพระเหนอ ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พ.ศ.๒๕๕๒. - สุขกมล วงศ์สวรรค์. “หลักฐานทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่พบในแหล่งโบราณคดีฝั่งทะเลอันดามัน.” พิพิธวิทยาการ รวมบทความวิชาการด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และพิพิธภัณฑสถานวิทยา ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๙. - H.G. Quaritch Wales, A Newly-Explored Route of Ancient Indian Cultural Expansion.London: India Society, 1937.


วันอังคารทึ่ 10 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9.00 น. อธิบดีกรมศิลปากร(นายประทีป เพ็งตะโก) พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมศิลปากร (นายพนมบุตร จันทรโชติ) ได้มอบนโยบายการนำเข้าและการจัดทำข้อมูลด้านโบราณสถานในระบบฐานข้อมูล GIS กรมศิลปากรแก่นักโบราณคดีท่ัวประเทศ เพื่อให้บริการข้อมูลด้านโบราณสถานแก่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น




Messenger