ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ


ชื่อผู้แต่ง           เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องลงยา และเครื่องถมปัทม์ชื่อเรื่อง            เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องลงยา และเครื่องถมปัทม์ครั้งที่พิมพ์ -สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มิตรสยามปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๓๗            จำนวนหน้า         ๖๐ หน้าคำค้น               -หมายเหตุ  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสิ  บางยี่ขัน                หนังสือ เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องลงยา และเครื่องถมปัด เดิมพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๕ ศิลปวัตถุ กรุงรัตนโกสินทร์ พิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕


1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้ตานปรงสารพัด, ยาเขียวสารพัดตานซาง, ยาแก้จุกเสียด, ยาแก้ลมตะคริว, เด็กดูดนมไม่ได้, เด็กท้องขึ้น, ยาเหลืองหอม ฯลฯ 2. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม ภาบาลี เช่น คาถาจับต้นยา เป็นต้น 3. ยันต์ตรีนิสิงเห 4. เวทย์มนต์คาถา 5. ตำราบอกวันและเวลาที่พิษของยาอยู่ตามส่วนต่างๆ ของต้นยา


ชื่อเรื่อง : นิราศตังเกี๋ย        ชื่อผู้แต่ง : นรเนติบัญชากิจ (แวว), หลวง ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตร จำนวนหน้า : 130 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเรื่องนิราศตังเกี๋ยนี้ หลวงนรเนติบัญชากิต (แวว) เป็นผู้นิพนธ์ขึ้น เล่าถึงการเดินทางของข้าหลวงไทยที่เดินทางไปปราบปรามเหล่าฮ่อทางเมืองตังเกี๋ยกับกองทัพฝรั่งเศส โดยออกเดินทางไปไซ่ง่อน จากนั้นเดินเท้าผ่านป่า จนถึงค่ายทหารฝรั่งเศส ได้พรรณนาถึงความยากลำบากในการเดินทาง เช่น ในป่าที่มีความชื้น หนาวเย็น และมีสัตว์ร้าย การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบากจนผู้ร่วมทางเสียชีวิตไปหลายคน เมื่อเสร็จภารกิจแล้วเดินทางออกจากค่าย กลับมาพักที่เมืองฮานอย ต่อจากนั้นไปเกาะฮ่องกง แล้วเดินทางต่อไปสิงคโปร์เพื่อโดยสารเรือกลับกรุงเทพฯ


ชื่อเรื่อง : รำพันพิลาป ผู้แต่ง : สุนทรภู่ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมแผนที่ทหาร


"จารึก" บนฐานพระคเณศสำริด พบที่โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช           พระคเณศ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย คัมภีร์ปุราณะกล่าวถึงกำเนิดของพระคเณศว่าถือกำเนิดมาจากพระศิวะและพระนางปารวตี ชื่อ “พระคเณศ” หรือ “พระพิฆเนศวร์” แปลตามรูปศัพท์ว่า อุปสรรค ด้วยเหตุนี้พระคเณศจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งการขจัดอุปสรรคและสิ่งกีดขวางทั้งปวง เทพแห่งความสำเร็จ เทพแห่งความฉลาดรอบรู้ และยังเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาและการประพันธ์ด้วย           สำหรับคติการบูชาพระคเณศในภาคใต้ของไทย พบหลักฐานในชุมชนโบราณทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ มาจนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ โดยบริเวณฝั่งตะวันออกพบหลักฐานในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา ส่วนฝั่งตะวันตกพบหลักฐานในบริเวณจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา          โบสถ์พราหมณ์ เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งในภาคใต้ที่พบคติการเคารพบูชาพระคเณศ โดยได้พบประติมากรรมรูปพระคเณศจำนวนทั้งสิ้น ๓ องค์ องค์หนึ่งที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้ คือ พระคเณศ ๔ กร สำริด ซึ่งมีจารึกปรากฏอยู่ที่ฐานทั้ง ๒ ด้าน สำหรับโบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าโบสถ์พราหมณ์สร้างขึ้นราวสมัยอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเทวสถานประจำเมืองนครศรีธรรมราช ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญของพราหมณ์ ภายในเคยประดิษฐานรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่สำคัญหลายองค์ ได้แก่ พระศิวนาฏราชสำริด พระอุมาสำริด พระวิษณุสำริด พระหริหระสำริด หงส์สำริด และพระคเณศสำริด ภายหลังโบสถ์พราหมณ์มีสภาพชำรุดมาก ถูกรื้อลงในปี ๒๕๐๕ (ปัจจุบันโบสถ์พราหมณ์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรแล้ว ในปี ๒๕๖๓) จึงมีการเคลื่อนย้ายรูปเคารพบางส่วนรวมถึง “พระคเณศสำริด” ไปเก็บไว้ในหอพระอิศวรอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะนำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๑๕ ปัจจุบันพระคเณศองค์นี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช           พระคเณศสำริด มีขนาดสูง ๔๖.๕ เซนติเมตร เป็นพระคเณศ ๔ กร ประทับยืนตรง (สมภังค์) บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้นซึ่งมีจารึกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง องค์พระคเณศสวมกรัณฑมกุฏ (คือ หมวกรูปชามคว่ำ เป็นหมวกที่เทพทั่วไปและกษัตริย์นิยมสวม) และเครื่องประดับต่าง ๆ งาข้างขวาหัก มีงาเดียว (จึงมีอีกนามว่า “เอกทันต์”) งวงตวัดไปทางด้านซ้าย สวมสายยัชโญปวีตพาดพระอังสาซ้าย ทรงผ้านุ่งแบบสมพรต (ถกเขมร) พระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือบ่วงบาศ พระหัตถ์ขวาบนทรงถือขอสับช้างหรืออังกุศ พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงถือขนมโมทกะ (คือ ขนมที่ปรุงจากข้าวและน้ำตาล เชื่อว่าขนมโมทกะเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาดรอบรู้) และพระหัตถ์ขวาล่างทรงถืองาข้างขวาที่หัก ทั้งนี้ พบว่าลักษณะการถือสัญลักษณ์ในพระหัตถ์ของพระคเณศองค์นี้คล้ายกับพระคเณศในอินเดียใต้เป็นอย่างมาก           บริเวณฐานชั้นล่างของพระคเณศสำริด ปรากฏจารึกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จารึกด้านหน้าเป็นอักษรทมิฬ ภาษาทมิฬ อ่านว่า มะ ชหา ปิ จิ เท ศะ (ma jhā pi ci de śa) แปลว่า ประเทศอันรุ่งเรืองแห่งมัชหาปิ (มัชปาหิต) ส่วนด้านหลังเป็นจารึก อักษรไทย ภาษาไทย อ่านว่า มหาวิคิเนกสุระ แปลว่า มหาพิฆเณศวร เกี่ยวกับการกำหนดอายุสมัยและการตีความจารึกบนฐานพระคเณศองค์นี้ อาจารย์อัญชนา จิตสุทธิญาณ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึก แห่งภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กำหนดอายุตัวอักษรทมิฬที่ปรากฏในจารึกว่ามีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ แม้ว่าจารึกภาษาทมิฬจะมีการกล่าวถึงราชวงศ์มัชปาหิต ซึ่งเป็นราชวงศ์หนึ่งของชวาที่รุ่งเรืองขึ้นในชวาตะวันออกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ แต่พระคเณศองค์นี้ไม่ได้แสดงให้เห็นอิทธิพลจากศิลปะชวาแต่อย่างใด หากแต่กลับแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะเขมรอย่างเด่นชัด จึงกำหนดอายุของพระคเณศองค์นี้ไว้ในสมัยอยุธยาตอนต้น เรียบเรียง/กราฟฟิค : นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช อ้างอิง: กรมศิลปากร. จารึกที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักโบราณคดีที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐. (อัดสำเนา) จิรัสสา คชาชีวะ. “คติความเชื่อและรูปแบบพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๗. นภัคมน ทองเฝือ. รายงานการขุดค้นโบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๙. ผาสุข อินทราวุธ. “พระคเณศ: ที่พบในภาคใต้” สารานุกรมวัฒนธรรม ภาคใต้ ๖ (๒๕๒๙): ๒๒๒๐ - ๒๒๓๐. ผาสุข อินทราวุธ. ศาสนาฮินดูและประติมานวิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ม.ป.ป. -------------------------- สามารถดูข้อมูลโบราณสถานโบสถ์พราหมณ์เพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง “โบสถ์พราหมณ์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช” https://www.facebook.com/nakonsrifad14/posts/464313600834893/ และสามารถดูภาพพระคเณศสำริดองค์นี้ในแบบ ๓ มิติ ได้ที่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nakhonsithammarat/index.php/th/virtual-model-360/37-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%93%E0%B8%A8-2.html


ชื่่อเรื่อง : นิทานเรื่องพระร่วง   ผู้แต่ง : กรมศิลปากร   ครั้งที่พิมพ์ : ๒   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๗   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : ร.พ. มหามกุฏราชวิทยาลัย   หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรร์ในงานฌาปนกิจศพ นางเจียรนัย  บุญศิริ               นิทานเรื่องพระร่วงคำกลอนนี้ เป็นหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์พระร่วง เรื่องเกี่ยวกับพระร่วงของเราที่เล่ากันมาก็เป็นนิทานแสดงอภินิหารของพระองค์ เช่น ปลาพระร่วง ข้าวตอกพระร่วง พระร่วงลองดาบหรือลองพระขรรค์ และอื่นๆ


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขอนำเสนอโบราณวัตถุชิ้นสำคัญอันมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ภายหลังการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือ “พระพิมพ์ดินเผา แสดงภาพพุทธประวัติ ตอนมหาปาฏิหาริย์” พระพิมพ์แสดงภาพพุทธประวัติ ตอนมหาปาฏิหาริย์ วัสดุ ดินเผา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-13 ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส ...................................................................................           พระพิมพ์ดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าเป็นภาพพระพุทธเจ้าอยู่ในอิริยาบทประทับนั่งขัดสมาธิราบ ล้อมรอบด้วยมนุษยนาค และเหล่าทวยเทพเทวดา พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ มีฉัพพรรณรังสีล้อมรอบพระเศียร ประทับนั่งบนดอกบัว ซึ่งมีก้านบัวงอกออกมาจากเบื้องล่าง ตรงก้านบัวมีรูปบุคคล 3 คน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นมนุษยนาค ถัดขึ้นมาในระดับเดียวกับพระพุทธเจ้า ปรากฏรูปบุคคลยืนในท่าตริภังค์ (ท่ายืนโดยเอียง 3 ส่วนคือ สะโพก ไหล่ และศีรษะ) สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระอินทร์ พระพรหม และเหล่าเทพเทวดา ด้านบนสุดของภาพ มีกลุ่มบุคคลแสดงท่าทางคล้ายกำลังเหาะอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นเหล่าทวยเทพเทวดาที่เสด็จลงมาเฝ้าพระพุทธเจ้า และที่มุมบนด้านข้างของภาพมีวงกลมขนาดเล็ก 2 วง ภายในเป็นรูปบุคคลเห็นเพียงครึ่งตัว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระอาทิตย์และพระจันทร์           ส่วนด้านหลังของพระพิมพ์ เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี มีข้อความเป็นคาถา “เย ธมฺมาฯ” ลักษณะเป็นรอยขูดขีดด้วยวัสดุปลายแหลม ซึ่งน่าจะเป็นการจารึกด้วยมือโดยตรงก่อนนำไปเผา โดยคาถา “เย ธมฺมาฯ” ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นคาถาที่พบได้ทั่วไปในดินแดนที่นับถือพระพุทธศาสนาในเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทย คาถาดังกล่าวมักจารึกบนวัสดุต่าง ๆ หลายประเภท ทั้งแผ่นลานทอง ลานเงิน แผ่นอิฐ แผ่นศิลา จารึกบนพระพิมพ์ พระพุทธรูป และรูปเคารพพระโพธิสัตว์ มักจะจารึกด้วยตัวอักษรตามยุคสมัย และอักษรที่ใช้อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น อักษรพราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ อักษรปัลลวะ เป็นต้น ส่วนภาษาที่จารึกจะเป็นภาษาบาลี หรือสันสกฤต           จากลักษณะองค์ประกอบโดยรวมของพระพิมพ์ดินเผาองค์นี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นพระพิมพ์ดินเผาแสดงภาพพุทธประวัติ ตอนมหาปาฏิหาริย์ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี โดยทรงประทับนั่งบนดอกบัวซึ่งถูกเนรมิตขึ้นโดยราชาแห่งนาค 2 ตนนามว่า นันทะ และอุปนันทะ มีพระพระอินทร์ พระพรหม และเหล่าทวยเทพเทวดาทั้งหลายเสด็จลงมาเข้าเฝ้า           พระพิมพ์ดินเผาองค์นี้เป็นพระพิมพ์ศิลปะทวารวดี น่าจะมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ไม่ปรากฏแหล่งที่มาแน่ชัด แต่น่าจะถูกนำมาจากที่อื่น เนื่องจากเป็นวัตถุที่มีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนย้ายนำไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้ยังพบพระพิมพ์ดินเผาจากแม่พิมพ์เดียวกันนี้ในพื้นที่ที่เป็นเมืองโบราณในสมัยทวารวดีอีกหลายแห่งด้วยกัน เช่น ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กรุพระบรมธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งการพบพระพิมพ์ดินเผาจากแม่พิมพ์เดียวกันเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงการติดต่อเชื่อมโยงกันระหว่างชุมชนโบราณในสมัยทวารวดีได้เป็นอย่างดี            พระพิมพ์ถือได้ว่าเป็นโบราณวัตถุสำคัญอย่างหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา โดยการริเริ่มสร้างพระพิมพ์นั้นเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 สมัยราชวงศ์คุปตะ ซึ่งถือเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย คติในการสร้างพระพิมพ์ แต่เดิมคงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ระลึก แสดงถึงการที่พุทธศาสนิกชนได้ไปบูชาสังเวชนียสถานทางพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (สวนลุมพินี) สถานที่ตรัสรู้ (ตำบลพุทธคยา) สถานที่แสดงปฐมเทศนา (ตำบลสารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (เมืองกุสินารา)            ต่อมาได้พัฒนาจนกลายเป็นการสร้างเพื่อการทำบุญ และอุทิศบุญกุศลแด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว (คติแบบมหายาน) และน่าจะถูกสร้างขึ้นเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วย (คติแบบเถรวาท) เพราะในทางพระพุทธศาสนาเชื่อกันว่า พระพุทธศาสนาจะเสื่อมลงเมื่อครบอายุ 5,000 ปี จึงได้คิดสร้างพระพิมพ์และนำไปฝังไว้ในถ้ำหรือสถูปต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยหวังว่าในอนาคตหากมีผู้บังเอิญขุดพบพระพิมพ์ที่มีรูปของพระพุทธเจ้าหรือหลักธรรมของพระองค์ พระพิมพ์นั้นอาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสและเชื่อถือในศาสนาพุทธอีกครั้ง           ความนิยมในการสร้างพระพิมพ์ในประเทศอินเดีย ได้ส่งอิทธิพลต่อดินแดนที่รับนับถือพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากหลักฐานการขุดค้นพบพระพิมพ์ตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงถือได้ว่าพระพิมพ์เป็นโบราณวัตถุสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในดินแดนที่รับนับถือพระพุทธศาสนา เพราะว่าเป็นสิ่งแทนสัญลักษณ์สำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาในรูปของวัตถุขนาดย่อม สามารถเคลื่อนย้ายนำไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่าย อีกทั้งขั้นตอนในการสร้างก็ไม่ยุ่งยากเหมือนอย่างประติมากรรมรูปแบบอื่น ๆ .................................................................................... เรียบเรียง/กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม/ ฝ่ายวิชาการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา.................................................................................... อ้างอิง : 1. ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. 2. นิติพันธุ์ ศิริทรัพย์. “พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524. 3. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก 1,000 ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, 2556. 4. วิริยา อุทธิเสน. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. 5. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.





          ด้วยภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula) เริ่มที่บริเวณคอคอดกระที่ประมาณละติจูด ๑๐ องศาเหนือ ยื่นยาวลงไปทางใต้จนถึงประเทศมาเลเซีย มีชายฝั่งทะเลขนาบอยู่ ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันตกติดทะเลอันดามัน มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งแบบยุบตัว แคบ เว้าแหว่ง บางแห่งมีภูเขาจดชายฝั่งทำให้เกิดเป็นหน้าผาชันตามแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเหตุนี้จึงมีพื้นที่จำกัดและขยายตัวยากจึงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็ก แต่ด้วยความที่อยู่ด้านตรงข้ามกับอินเดียจึงมีความเหมาะสมต่อการเดินเรือมาขึ้นบกของพ่อค้าชาวต่างชาติ ดังปรากฏหลักฐานว่ามีชุมชนโบราณฝั่งตะวันตกได้พัฒนาขึ้นและมีบทบาทเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลอันดามันอย่างชัดเจนในเวลาต่อมา ส่วนด้านตะวันออกติดทะเลอ่าวไทย มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยกตัวมีการทับถมของโคลนตะกอนที่แม่น้ำและกระแสน้ำในทะเลพัดพามาทำให้เกิดเป็นที่ราบกว้างขึ้นมีสันทรายปรากฏอยู่ทั้งบนหาดและในพื้นน้ำนอกฝั่ง มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกจึงพบร่องรอยชุมชนโบราณอยู่บริเวณเชิงเขาและที่ราบริมฝั่งทะเล ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ในเวลาต่อมา            ชุมชนโบราณฝั่งตะวันตก (ทะเลอันดามัน) : ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ - จังหวัดระนอง เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง แหล่งเรือโบราณคลองกล้วย เป็นต้น - จังหวัดพังงา เช่น แหล่งโบราณคดีนางย่อน ชุมชนโบราณตะกั่วป่า ประกอบด้วย แหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ แหล่งโบราณคดีเหมืองทอง-เกาะคอเขา (ทุ่งตึก) แหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) - จังหวัดกระบี่ เช่น แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) เป็นต้น - จังหวัดตรัง เช่น แหล่งโบราณคดีนาพละ เป็นต้น ชุมชนโบราณฝั่งตะวันออก (อ่าวไทย) : ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ - จังหวัดชุมพร เช่น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว แหล่งโบราณคดีเขาเสก เป็นต้น - จังหวัดสุราษฏร์ธานี เช่น แหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส แหล่งโบราณคดีวัดศาลาทึง แหล่งโบราณคดีท่าชนะ แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ แหล่งโบราณคดีไชยา แหล่งโบราณคดีพุนพิน แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย แหล่งโบราณคดีเวียงสระ เป็นต้น - จังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น แหล่งโบราณคดีริมคลองท่าเรือและบ้านเกตกาย แหล่งโบราณคดีเขาคา แหล่งโบราณคดีท่าศาลา-สิชล แหล่งโบราณคดีโมคลาน แหล่งโบราณคดีตุมปัง เป็นต้น - จังหวัดสงขลา เช่น แหล่งโบราณคดีสทิงพระ แหล่งเตาปะโอ เป็นต้น - จังหวัดปัตตานี เช่น แหล่งโบราณคดียะรัง เป็นต้น ภาพ : แหล่งเรือโบราณคลองกล้วย จังหวัดระนอง (ปัจจุบันกองโบราณคดีใต้น้ำได้นำชิ้นส่วนไม้ที่คาดว่าเป็นส่วนประกอบของเรือไปศึกษาและดำเนินการอนุรักษ์ต่อไป) ภาพโดย : กลุ่มโบราณคดีและอนุรักษ์โบราณสถาน สาขาภูเก็ต ภาพ : โบราณสถานหมายเลข ๑๒ แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ภาพโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช          แหล่งโบราณคดีและชุมชนโบราณต่างๆ เหล่านี้ พบหลักฐานทางโบราณคดีหลายประเภทที่สัมพันธ์กับการติดต่อค้าขายกับอินเดีย เช่น ลูกปัดชนิดต่างๆ เครื่องประดับทองคำ ตราประทับ หัวแหวนหรือจี้สลักจากหินมีค่า เหรียญโลหะ เศษภาชนะดินเผาแบบอินเดีย และบางแหล่งพบหลักฐานทางศาสนา เช่น ประติมากรรมรูปเคารพทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โบราณสถาน และจารึก -------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ -------------------------------------อ้างอิง : - ผาสุข อินทราวุธ, “ร่อยรอยวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”, โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ฉบับครูสังคม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี, ๒๕๔๕. - มหาวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์. ภูมิลักษณ์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๓๔.



ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์ : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ปีที่พิมพ์ : 2555 หมายเหตุ :               ต้นฉบับเดิมของหนังสือเล่มนี้เป็นเอกสารโบราณของพิพิธภัณฑ์วัดพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการจารไว้ด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี-ไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทไหว้พระพุทธเจ้า บทบูชาพระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ และสิ่งสำคัญต่าง ๆ หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ได้นำมาปริวรรตเป็นอักษรไทยปัจจุบันและจัดพิมพ์ โดยมีนายชินเวส สารสาส สนับสนุนงบประมาณ


       ชื่อเรื่อง : คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ กับ DCM Cartoon เล่ม 1      ผู้เขียน : พระเทพญาณมหามุนี วิ. (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)      สำนักพิมพ์ : มูลนิธิธรรมกาย      ปีพิมพ์ : 2558      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-7200-82-8      เลขเรียกหนังสือ : 294.3138 พ328ค ล.1      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1        สาระสังเขป : คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ กับ DCM Cartoon หนังสือที่รวบรวมวรรคธรรม ของพระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่ต้องการสร้างสื่อสีขาวในสังคมที่เต็มไปด้วยสื่อต่างๆ ที่ยั่วยุมอมเมาโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้ลุ่มหลงในวัตถุนิยม เพื่อที่จะช่วยชี้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเป็นหนังสือที่กล่าวถึงแบบแผนการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ดีงามที่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต กระตุ้นจิตสำนึกให้ทุกคนได้หันกลับมาทบทวนตัวเอง เกิดจากความตื่นตัวที่จะละชั่ว ทำความดี และจิตใจให้ผ่องใส ด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย สั้น กระชับ ชัดเจน  แต่ลึกซึ้ง เช่น "ยิ่งให้...ยิ่งเยอะ ยิ่งให้...ยิ่งได้ ยิ่งให้...ยิ่งไม่มีหมด ยิ่งไม่ให้..ยิ่งอด" "จนเพราะตระหนี่ รวยเพราะให้ หวงคือไล่ ให้คือเรียก"      "หยุดให้เป็น เย็นให้พอ รอให้ได้ ง่ายนิดเดียว" "อย่ามัวแต่จับผิดผู้อื่น ทำให้เสียเวลา ในการสร้างความดี" "ความมืดมีไม่นานหรอก อย่างมากก็ 12 ชั่วโมง ชั่วโมงที่ 13 ก็สว่างแล้ว" เป็นต้น พร้อมภาพประกอบการ์ตูนที่สวยงามดึงดูดใจ ทำให้อ่านเพลินและยังสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ทันทีในชีวิตประจำวัน นอกจากที่จะเน้นการสื่อสารถึงเด็กและเยาวชนซึ่งเปรียบเสมือนผ้าขาว ยังเหมาะอย่างยิ่งกับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และทุกเพศทุกวัย เพราะการที่จะสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นเด็กเก่งและดี ต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ดังนั้นผู้ใหญ่เอก็ต้องศึกษาธรรมะและประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อให้พร้อมที่จะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเสมือนคู่มือที่ตอบโจทย์ในการเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดีที่เข้ากับยุคสมัยอย่างแท้จริง 


อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดพิมพ์


Messenger