ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-ฉกษัตริย์) สพ.บ.                                  417/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           18 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55.7 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ลองชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี      


ชื่อเรื่อง                                ปญฺญาปารมี (ปัญญาปารมี) สพ.บ.                                  416/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.174/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : หิมพานต์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.47/1-3ค  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-4ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.228/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  10 หน้า ; 5 x 54 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 112 (170-179) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : จตุปาริสุทธิสีลกถา(จตุปาริสุทธิศีล) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.360/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ทองทึบ-รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 139  (411-419) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : อภิธฺมมตฺถสงฺคห (อภิธัมมัตถสังคหะ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ จากแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามเหลี่ยม จังหวัดกาญจนบุรี      ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน ๔ ใบ พบที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามเหลี่ยม ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เดิมจัดแสดงและเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ปัจจุบันเคลื่อนย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี      แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามเหลี่ยมเป็นแหล่งฝังศพมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้และภาชนะดินเผาจำนวนมาก ภาชนะบางรูปแบบมีความคล้ายคลึงกับภาชนะดินเผาที่พบจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สันนิษฐานว่ามีอายุร่วมสมัยกัน กำหนดอายุในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่หรือสมัยสังคมเกษตรกรรม ประมาณ ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว           ภาชนะดินเผาใบที่ ๑ ขนาดปากกว้าง ๘.๔ เซนติเมตร สูง ๑๒ เซนติเมตร มีปากกลม ขอบปากผายออกเล็กน้อย ลำตัวโค้ง ลำตัวส่วนล่างมีสันแหลม ฐานทรงกรวยสูง          ภาชนะดินเผาใบที่ ๒ ขนาดปากกว้าง ๙.๒ เซนติเมตร สูง ๑๒.๕ เซนติเมตร มีปากกลม ขอบปากผายออกเล็กน้อย คอทรงกระบอกสูง ตรงรอยต่อระหว่างคอกับไหล่มีขอบยกขึ้นมาเล็กน้อย ลำตัวกลมป่องกลาง ก้นกลมมีลายเชือกทาบ           ภาชนะดินเผาใบที่ ๓ ขนาดปากกว้าง ๑๐ เซนติเมตร สูง ๙.๖ เซนติเมตร มีปากกลมกว้าง ขอบปากผายออก ไหล่ลาด ลำตัวป่องกลางส่วนล่างเรียว ก้นตัด          ภาชนะดินเผาใบที่ ๔ ขนาดปากกว้าง ๑๒.๕ เซนติเมตร สูง ๑๐.๒ เซนติเมตร มีปากกลมกว้าง ขอบปากหนาผายออก ลำตัวตั้งตรงส่วนก้นสอบเข้า ฐานสูง        ภาชนะดินเผาเหล่านี้เป็นตัวอย่างรูปแบบภาชนะขนาดเล็กจำนวนหนึ่งที่พบจากแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีบนเทือกเขาที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า แสดงถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเทือกเขาและกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว       กรมศิลปากรได้รวบรวมและเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเก่าและแหล่งโบราณคดีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเก็บรักษาและจัดแสดง ณ แหล่งโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ทำให้ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุในวัฒนธรรมบ้านเก่าที่ครบถ้วน และสมบูรณ์ที่สุด  นอกจากนั้นยังมีการขุดค้นและดำเนินงานทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง สามารถเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ที่โรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และกรมศิลปากรยังมีโครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่า ขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย ของนักวิชาการด้านโบราณคดี ทำให้ความรู้ทางวิชาการโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเก่าดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านงานโบราณคดี กับองค์ความรู้ด้านต่างๆ เข้าด้วยกันแบบสหวิชาการ   เอกสารอ้างอิง สุด แสงวิเชียรและวัฒนา สุภวัน. เครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำเขาสามเหลี่ยม กาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๒๑. สุภมาศ  ดวงสกุลและคณะ. ฐานข้อมูลโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเก่า. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุเนตร์ฟิล์ม, ๒๕๕๒.  Per Sørensen. Archaeological excavations in Thailand: volume II Ban-Kao neolithic settlements with cemeteries in the Kanchanaburi province. Part one : the archaeological material from the burials.  Copenhagen : Munksgaard, 1967.


ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย พุทธศิลปในประเทศไทย ชื่อผู้แต่ง : บริบาลบุรีกัณฑ์, หลวง ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : เซ็นต์หลุยส์ จำนวนหน้า : 110 หน้า สาระสังเขป : หนังสืออนุสรณ์เล่มนี้พิมพ์เพื่อเป็นวิทยาทาน เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายตำรวจ ทองอยู่ แจ่มทวี เนื้อหาเรื่องพระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย เป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์ในด้านการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดี และเรื่องพุทธศิลปในประเทศไทย พุทธศิลปในประเทศไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 9 แบบด้วยกัน คือแบบพระพุทธรูปอินเดียรุ่นเก่าที่พบในประเทศไทย แบบทวารวดี แบบศรีวิชัย แบบลพบุรี แบบเชียงแสน แบบสุโขทัย แบบอู่ทอง แบบศรีอยุธยา และแบบรัตนโกสินทร์ ในเล่มนี้จะอธิบายถึงแต่ละแบบตามลำดับโดยย่อ



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แจ้งของดกิจกรรม "นำชมวันอาทิตย์" ตลอดเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕ หากมีการเปลี่ยนแปลงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง สอบถามเพิ่มเติมทาง Inbox page และโทร. ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓


การทำ Photogrammetry ซึ่งเป็นการสร้างงานสามมิติรูปแบบหนึ่ง โดยในปัจจุบันเราได้นำมาประยุกต์ใช้กับการบันทึกข้อมูลทางโบราณคดี ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งงานโบราณคดีบนบกและใต้น้ำ



        ทุกวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี ถือเป็นหนึ่งวันพิเศษของชาวตะวันตก ด้วยเชื่อว่าเป็นวัน “ปล่อยผี” กำแพงที่กั้นระหว่างโลกปัจจุบันและโลกแห่งวิญญาณหายไป ทำให้วิญญาณอาจมาปะปนอยู่ร่วมโลกกับมนุษย์ ซึ่งไทยเองก็มีความเชื่อทำนองนี้เช่นกัน เช่น วันพระ วันโกน จะเป็นวันที่วิญญาณจะออกมาหาส่วนบุญ สำหรับกิจกรรมวันฮาโลวีนในประเทศไทยก็นับว่าให้ความสำคัญในระดับหนึ่ง มักจะจัดการประกวดแต่งชุดแฟนซีเพื่อสร้างความบันเทิงแล้วแต่สถานที่จะให้ความสำคัญ        สำหรับชาวคลังกลางฯ เราก็อยากนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับผีๆ ให้เข้ากับบรรยากาศวันฮาโลวีนเช่นกัน เมื่อพูดถึงสถานที่ที่เก็บโบราณวัตถุเอาไว้อย่างพิพิธภัณฑ์คนก็มักจะคิดถึงเรื่องผีที่มากับสิ่งของ ทว่าวันนี้... เพจเราไม่ได้จะมาเล่าเรื่องผีให้ทุกคนฟัง แต่เราจะมาเล่าถึงวัตถุที่คนเชื่อว่าไล่ผีได้!!!        วัตถุชิ้นนั้นคือ “ขวานฟ้า” นั่นเอง เรามาทำความรู้จักขวานที่คนทั่วไปรู้จักกันก่อน         ขวานฟ้า คือ หินขัดคมที่คนทั่วไปเชื่อว่าเป็นขวานที่ตกลงมาจากฟ้า บ้างก็มีตำนานว่าขวานนี้เป็น “ขวานของรามสูร” ที่ไล่ขว้างนางเมฆลาที่กำลังล่อแก้ว แต่ขว้างเท่าไหร่ก็ไม่โดนเสียที ขวานเหล่านั้นก็ตกลงมายังพื้นดิน เหตุผลที่คนเชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่าคนมักจะพบขวานฟ้าตรงบริเวณที่เกิดฟ้าผ่า เมื่อเป็นของที่ตกลงมาจากฟ้าคนยิ่งเชื่อว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ บ้างก็นำขวานฟ้าที่พบใส่พานตั้งบูชาบนหิ้งพระ บ้างก็นำไปพกติดตัว แม้แต่การนำเอาไปแช่ไว้ในโอ่งน้ำฝนแล้วนำน้ำนั้นมาอุปโภคบริโภค หรือที่น่าตกใจที่สุด คือมีการสร้างขวานขึ้นใหม่ทำเป็นสร้อยคอ เพราะเชื่อว่าขวานฟ้าไล่สิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจ หรือวิญญาณได้        ขณะเดียวกัน การศึกษาทางโบราณคดีเราก็ได้เริ่มมีองค์ความรู้เกี่ยวกับขวานฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อประมาณ 80 ปีก่อนนี้เอง เหตุเพราะนายแวน ฮีกเกอเร็น นักโบราณคดีชาวเนเธอร์แลนด์ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะและขวานหินขัดในบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย ตำบลบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ขณะที่ถูกเกณฑ์ให้มาสร้างทางรถไฟสายมรณะ ด้วยความเป็นนักสะสมเขาจึงได้เก็บขวานหินเหล่านั้นกลับไปศึกษาวิเคราะห์หลังจากเสร็จสิ้นสงคราม นำไปสู่การดำเนินงานโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. 2499 ขวานหินขัด เป็นวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ จากการนำหินธรรมดามากระเทาะให้ด้านหนึ่งมีความแหลมคมพอที่จะเฉือนเนื้อขนาดได้เท่ากำปั้นสู่การนำมาการขัดให้คมและมีขนาดเล็กลงเอาไปตัดหรือสับได้ ในการดำเนินการทางโบราณคดีครั้งนี้นำไปสู่การขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และนำพาความเชื่อแบบไทยและองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีมาบรรจบกัน             เผยแพร่โดย วริยา โปษณเจริญ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพโดย พลอยไพลิน ปุราทะกา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


      รูปพระสุภูติมหาเถร       สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔       เป็นของอยู่ในพิพิธภัณฑสถานมาแต่เดิม ได้มาจากไหนไม่ปรากฏ       ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้อง ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       ประติมากรรมรูปบุคคล เงยศีรษะขึ้น ใบหน้ากลม คิ้วโก่ง ดวงตาเหลือบต่ำ จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา แสดงอาการยิ้มเล็กน้อย ใบหูยาว รูปร่างอ้วนครองจีวรแบบห่มดอง*แสดงการคาดผ้ารัดอก มีท้องพลุ้ย มือซ้ายโอบหน้าท้อง ส่วนมือขวายกขึ้น (กิริยากวักเรียกฝน) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว รูปแบบดังกล่าวจึงทำให้ประติมากรรมพระสุภูติมีลักษณะบางประการคล้ายกับประติมากรรมพระมหากัจจายนเถระ        ประวัติของพระสุภูติปรากฏในคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินีอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน กล่าวถึงประวัติพระสุภูติว่า       ครั้งหนึ่งพระสุภูติจาริกถึงกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้อาราธนาให้พระสุภูติประทับอยู่ ณ เมืองราชคฤห์ พร้อมทั้งสัญญาว่าจะสร้างกุฏิถวายให้ แต่เนื่องจากทรงมีพระราชกิจหลายอย่าง ทำให้ทรงลืมข้อสัญญาดังกล่าว ครั้นถึงฤดูฝนปรากฏว่าฝนไม่ตก พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงระลึกขึ้นได้ว่าพระองค์ลืมสร้างกุฏิถวายพระสุภูติ ทรงมีรับสั่งให้สร้างกุฏิที่มุงหลังคาด้วยใบไม้ถวาย เมื่อพระสุภูติเข้าไปอาศัยด้านในแล้วฝนก็ยังตกเพียงเล็กน้อย พระสุภูติจึงกล่าวคาถามีใจความว่า ตนพ้นจากภยันตราย มีอาคารกำบังแล้ว ขอให้เทพเทวดาบันดาลให้ฝนตก เมื่อกล่าวคาถาจบลง เมฆฝนก็ก่อตัวขึ้น เกิดเป็นฝนห่าใหญ่ตกทั่วเมืองราชคฤห์      จากประวัติของพระสุภูติข้างต้น จึงทำให้ประติมานของรูปเคารพพระสุภูติมีลักษณะการแสดงอิริยาบถที่สัมพันธ์กับ “เบื้องบน” หรือ “ท้องฟ้า” เช่น การแหงนหน้ามองด้านบน หรือชูแขนข้างหนึ่งขึ้นในท่ากวักมือเรียกเป็นต้น ในงานพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ พระสุภูติจึงเป็นประติมากรรมองค์สำคัญที่ใช้ประกอบพิธี       อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงมีพระบรมราชาธิบายถึงพระสุภูติในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ไว้ว่า การประดิษฐานพระสุภูติในพระราชพิธีจะตั้งไว้อยู่กลางแจ้ง ตรงกันข้ามกับคาถาที่ใช้สวดในพระราชพิธี คือ “คาถาสุภูโต” ที่มีเนื้อความตามสุภูติเถรคาถา ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงเรียบเรียงขึ้นใหม่ และใช้มาตลอดนับตั้งแต่รัชกาลของพระองค์ในคราวที่ฝนแล้ง ดังมีประกาศให้พระอารามต่าง ๆ สวดคาถาสุภูโต       และงานพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ไม่ได้มีกำหนดตายตัวว่าจะต้องจัดกี่วัน ขึ้นอยู่กับว่าฝนจะตกหรือไม่ และตกมากน้อยเพียงใด หากฝนตกไม่มากก็ยังคงทำพิธีต่อไป อีกทั้งพระราชพิธีพิรุณศาสตร์มิได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หากแต่จัดขึ้นในคราวที่เกิดภาวะแล้งขาดแคลนน้ำฝนเท่านั้น      * ห่มดอง หมายถึง วิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าและมีผ้ารัดอก (ตามความหมายใน ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖ หน้า ๑๓๑๙)     อ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธี ๑๒ เดือน. พระนคร: แพร่พิทยา, ๒๕๑๔. จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ (กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๘. ____________. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๘. มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.


Messenger