ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.1/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 1หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม 


***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.  มาลัยอนุสรณ์.  พระนคร : โรงพิมพ์ไทยแบบเรียน, ๒๕๐๖.


ชื่อเรื่อง                     นำเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ Guide to Ayudthaya and Bang-Pa-Inผู้แต่ง                       ตรี อมาตยกุลประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว    เลขหมู่                      915.931 ต181นทสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์บำรุงปีที่พิมพ์                    2505ลักษณะวัสดุ               158 หน้าหัวเรื่อง                     พระนครศรีอยุธยา -- ภูมิประเทศ – นำเที่ยว                              พระนครศรีอยุธยา – ความเป็นอยู่และประเพณี                              ไทย -- โบราณวัตถุสถาน ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                       จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟประมาณ 72 กิโลเมตร ตามถนนพหลโยธิน 66 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือจดจังหวัดลพบุรี จังหวัดอ่างทองและจังหวัดสระบุรี ทิศตะวันออกจดจังหวัดสระบุรี ทิศใต้จดจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี ทิศตะวันตกจดจังหวัดสุพรรณบุรี ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำลำคลองหลายสาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยเฉพาะข้าว อีกทั้งมีโบราณสถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง อาทิ ป้อมและปราการรอบกรุง ป้อมเพชร พระราชวังและตำหนักต่างๆ พระราชวังหลวง วังหลัง และวัดต่างๆ  


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                             บาลีหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   12 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว  58 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534




ชื่อผู้แต่ง           สุนทรภู่ชื่อเรื่อง            โคลงนิราศสุพรรณ ฉบับสมบูรณ์ครั้งที่พิมพ์ ๘ พ.ศ. ๒๕๒๑สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด นนทชัยปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๒๑             จำนวนหน้า         ๒๐๘ หน้าคำค้น              โคลงนิราศสุพรรณหมายเหตุ  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเชื้อ  บวรสิน                หนังสือ โคลงนิราศสุพรรณ ฉบับสมบูรณ์  ผู้อ่านสามารถสร้างจินตนาการตามระยะเดินทางของสุนทรภู่ กรมศิลปากรจึงได้ให้เจ้าหน้าที่จัดทำอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ตามที่ปรากฏในเส้นทางเดิน พร้อมทั้งทำแผนที่สังเขปแสดงระยะเดินทางประกอบขึ้นไว้ นิราศสุพรรณ เป็นสำนวนของเสมียนมี เพราะมีโคลงกระทู้บอกไว้ตอนท้ายว่า เสมียนมีแต่งถวาย และเมื่อคิดเทียบศักราชเท่าที่ปรากฏอยู่ในตอนต้นของนิราศ


1. ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น ยาจุดฝี, ยาแก้การภายนอกภายใน, ยาแก้การขึ้นในปาก, ยาแก้การมุดจับหัวใจ, ยาแก้สลบ, ยากวาดละออง, ยาขับพิษไข้, ยาตัดรากไข้ ฯลฯ 2. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม ภาษาบาลี


ชื่อเรื่อง : นิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำ เล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม ชื่อผู้แต่ง : สุนทรโวหาร (ภู่), พระ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์แพร่การช่าง จำนวนหน้า : 126 หน้า สาระสังเขป : นิราศภูเขาทอง เป็นนิราศที่สุนทรภู่ประพันธ์ระหว่างการเดินทางไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงเก่า  ถ้อยคำสำนวนกลอนชี้ให้เห็นถึงความอาลัยอาวรณ์ และความจงรักภักดีของสุนทรภู่ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 ได้บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของความเป็นมาของบ้านเมืองในสมัยนั้น กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา แต่งขึ้นเพื่อเป็นแบบสอนอ่านคำเทียบให้ศิษย์ได้เล่าเรียน เป็นบทกวีที่ไพเราะ เข้าใจง่ายมีคติสอนใจ และประชุมลำนำเห่กล่อมพระบรรทมนั้น สุนทรภู่แต่งเป็นพื้น สำหรับข้าหลวงร้องเห่พระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ เวลาไกวพระอู่ให้บรรทม


ชื่อเรื่อง : รูปหล่อบูชาพระครูบาศรีวิชัย 2540 วัดดอยขุมเงิน ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.


“ภาพจิตรกรรมไทยฝีพระหัตถ์” พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชมพรเขตอุดมศักดิ์ ภายในอุโบสถวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท           ภายในอุโบสถของวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญอย่างมาก โเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่๕ ราวปี พ.ศ.๒๔๖๔ โดยประมาณ ตั้งอยู่ในส่วนของผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระประธาน คือภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของ “กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” พระองค์ทรงเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองร่วมกับข้าราชบริพาร ส่วนผนังด้านล่างระหว่างช่องประตูเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ ตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส โดยมี หม่อมเจ้าจารุภัตรา อาภากร พระธิดาองค์โต ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีส่วนร่วมในการเขียนภาพจิตรกรรมนี้ด้วย ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเขียนภาพโดยใช้เทคนิคจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ผสมผสานกับการเขียนภาพจิตรกรรมเทคนิคแบบตะวันตกจะเห็นได้จากมีการใช้แสงเงาเข้ามาเขียนภาพ การจัดองค์ประกอบภาพทำได้อย่างลงตัว มีการเขียนสอดแทรกภาพเหมือนข้าราชบริพารที่ตามเสด็จด้วย เช่น นายทหารแม่ครัว เป็นต้น ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนจิตรกรรมฝาผนังที่อื่นๆ คือในส่วนลายชายริ้วด้านซ้าย และขวาของภาพจิตรกรรม มีการจารึกอักษรขอมตัวบรรจง ซึ่งกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงมีความรู้ความสามารถในด้านคาถาเป็นอย่างมาก โดยมีพระครูวิมลคุณากร หรือที่รู้จักกันคือ หลวงปู่ศุข เกสโร เป็นพระอาจารย์ที่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก คาถาที่เขียนไว้คือ คาถา “ชัยมังคะละอัฏฐะกะคาถา”หรือเรียกกันสั้นๆว่า คาถาพาหุง ซึ่งเป็นคาถาที่แปลว่า “การชนะมารทั้ง ๘ ประการ อันเป็นมงคลสูงสุดของพระพุทธเจ้า” จารึกอักษรขอมเป็นคาถาที่สอดคล้องกับจิตรกรรม และเรื่องราวของภาพมารผจญเป็นอย่างมาก และมีจารึกต่อท้ายด้วยตัวอักษรไทยความว่า พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นายเทียบ นายรังสี นายแฉล้ม นายผ่อน ได้เขียนไว้ ลงท้ายความว่าเพื่อศุขประโยชน์ภายหน้า นิพพาน ปัจโย โหตุ อ้างอิง : รายงานการอนุรักษ์จิตรกรรมวัดปากคลองมะขามเฒ่า พ.ศ๒๕๔๔ หนังสือประวัติพระครูวิมลคุณากร เรียบเรียง : นายศุภกิจจ์ เสถียรอินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง : นิพนธ์ต่างเรื่อง ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ   ชื่อผู้แต่ง : สฤษดิ์ ธนะรัชต์   ครั้งที่พิมพ์ : -   สถานทีพิมพ์ : -   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล   ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๙   หมายเหตุ : พิมพ์น้อมถวายเป็นสักการะในงานพระราชทางเพลิงศพเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์   ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙          นิพนธ์ต่างเรื่องนี้บรรจุไว้ด้วยบทนิพนธ์ ๔๕ เรืื่อง โดยจัดเป็นหมวดธรรมเทศนา หมวดโอวาท หมวดบทความ และหมวดสารคดีซึ่งแต่ละเรื่องล้วนมีรสนิยมและอุดมคติสูง มีคำขวัญเพื่อปลุกใจคนในชาติให้มีความรักหวงแหนถิ่นกำเนิด เช่น                                                               คำขวัญถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือว่า ถิ่นไทยดี ถิ่นไทยอุดม ถิ่นกลางว่า ถิ่นจอมไทยและถิ่นเหนือว่า ถิ่นไทยงาม ฯ


สืบเนื่องจากการเกิดภาวะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID - 19 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จึงขอนำเสนอข้อมูลโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ 1 เดียวในคาบสมุทรสทิงพระ อันถือเป็นเทพผู้พิทักษ์ในคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ผู้มีอำนาจปราบภูติผีร้ายไม่ให้ทำอันตรายมนุษย์ ด้วยหวังให้ช่วยขจัดเภทภัยต่าง ๆ นั่นคือ “พระเหวัชระ” .................................................................................... พระเหวัชระ วัสดุ สำริด ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 18 พบที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส ....................................................................................           พระเหวัชระองค์นี้เป็นพระเหวัชระ 2 กร (มือ) อยู่ในอิริยาบทประทับยืน มี 4 พระบาท (เท้า) พระหัตถ์ (มือ) ขวาถือกระดิ่ง พระหัตถ์ (มือ) ซ้ายถือวัชระ (สายฟ้า) พระเศียร (ศีรษะ) ทรงกิรีฏมกุฎ พระศอคล้องอักษมาลา หรือลูกประคำ และทรงพระภูษา (ผ้านุ่ง) สั้นเหนือพระชานุ (เข่า) ลักษณะคล้ายเทวรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร           คำว่า “เหวัชระ” (Hevajra) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง เทพผู้พิทักษ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ยิดัม” เป็นเทพที่มีความสำคัญองค์หนึ่งในพุทธศาสนา นิกายมหายาน สกุลวัชรยาน เชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นมาจากพระธยานิพุทธอักโษภยะ มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา มีอำนาจในการปราบภูตผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้ทำอันตรายมนุษย์ ปรากฏความเชื่อและการนับถือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 สมัยราชวงศ์ปาละ           ในคัมภีร์เหวัชระตันตระ (Hevajra Tantra) ระบุถึงลักษณะทางประติมานวิทยาของพระเหวัชระว่า มีพระวรกายสีน้ำเงิน มี 8 พระเศียร แต่ละพระเศียรมี 3 พระเนตร มี 16 พระกร โดยพระกรทั้ง 16 พระกรถือถ้วยกะโหลก ซึ่งถ้วยกะโหลกด้านขวาบรรจุสัตว์โลก ส่วนถ้วยกะโหลกด้านซ้ายบรรจุเทพเจ้าแห่งแผ่นดิน ซึ่งถ้วยกะโหลกทั้ง 16 ใบ เป็นสัญลักษณ์ของความว่างเปล่าทั้ง 16 หรือศูนยตา มีพระบาท 4 พระบาท และพระเหวัชระมักแสดงออกในท่ายับยุม หรือยับยัม (กอดรัด) พร้อมศักติเสมอ           ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบมีลักษณะเฉพาะ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบกปาละธร (Kapaladhara) ถือถ้วยกะโหลก และรูปแบบศาสตราธร (Shastradhara) ถืออาวุธ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบที่พบมักมีพระกรตั้งแต่ 2, 4, 6, และ 16 พระกร และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่นิยมอีก เช่น เหวัชระมณฑล ที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์เหวัชระตันตระระบุว่า พระเหวัชระมี 8 พระเศียร ทุกพระเศียรมี 3 พระเนตร มี 4 พระบาท 16 พระกร ยืนเหยียบอยู่บนมารทั้ง 4 องค์ มีนางโยคินีล้อมรอบมณฑลเป็นบริวารทั้ง 8 ตน นางโยคินีเหล่านี้มีหน้าที่ทำลายล้างอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้าย และรักษาทิศทั้งแปดของจักรวาล           ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบในประเทศอินเดียมีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศเนปาล และประเทศทิเบต โดยส่วนมากที่พบมักเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดไม่ใหญ่มาก และเป็นเป็นรูปแบบกปาละธร คือ มี 8 พระเศียร 16 พระกร 4 พระบาท อยู่ในท่ากอดรัดกับศักติ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไป           ในประเทศไทยประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมลอยตัวทำจากสำริดฝีมือช่างขอม และฝีมือช่างท้องถิ่น แต่ก็มีพบเป็นพระพิมพ์แสดงภาพเหวัชระมณฑล และแม่พิมพ์สำริดด้วย ส่วนในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พบประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระเพียงองค์เดียวที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้มีลักษณะเป็นงานฝีมือช่างท้องถิ่น และมีลักษณะของศิลปะขอมสมัยเมืองพระนครอยู่ด้วย ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้น่าจะมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 และการที่ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้มีลักษณะอิทธิพลของศิลปะขอมยังแสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของขอมในดินแดนแถบคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-19 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เรียบเรียง/ กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง : 1. กรมศิลปากร. เทวสตรี: คติพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2558. 2. ชัญธิกา มนาปี. “การศึกษารูปแบบประติมากรรมเหวัชระที่ปรากฏในศิลปะเขมร.” ดำรงวิชาการ 15, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559): 67 - 87. 3. ชัยวุฒิ พิยะกูล. “พระพุทธศาสนาบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ.” ใน เก้าสิบปีทองชาตกาล พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมฺโม), 205-236. ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์, บรรณาธิการ. สงขลา: วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (พระอารามหลวง), 2562. 4. ธีรนาฎ มีนุ่น. “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส.” ใน เก้าสิบปีทองชาตกาล พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมฺโม), 103-130. ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์, บรรณาธิการ. สงขลา: วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (พระอารามหลวง), 2562. 5. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543. 6. พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2523. 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ปฐมบทพระพุทธศาสนาในภาคใต้ ประเทศไทย: หลักธรรมและหลักฐานโบราณคดี. นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง จำกัด, 2557. 8. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548. 9. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2539. 10. องอาจ ศรียะพันธ์. “รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533. อ้างอิงรูปภาพ: เหวัชระ ที่มา : tumblr.com/magictransistor. Hevajra and Consort. Ngor Monastery, Tibet. 1843. . Accesed April 28, 2020. Available from https://magictransistor.tumblr.com/post/157789262861/hevajra-and-consort-ngor-monastery-tibet-1843


วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ได้จัดโครงการเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ กิจกรรม "เล่าเรื่องเมืองกาญจน์" โดยมี นายสมยศ ศิลปีโยดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานเปิดงาน ในช่วงเช้า มีการบรรยาย หัวข้อ "เล่าเรื่องเมืองกาญจน์จากหลักฐานทางโบราณคดี" โดย นางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ และการบรรยาย หัวข้อ "เล่าเรื่องเมืองกาญจน์จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์" โดย ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ในช่วงบ่าย เป็นการบรรยาย หัวข้อ "ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองกาญจน์" โดย นายประพฤติ มลิผล (ครูเล็ก บ้านใต้) และช่วงสุดท้ายเป็นการเสวนา หัวข้อ "เรียนรู้ ท่องเที่ยวไปในเมืองกาญจน์" โดยมีวิทยากรทั้งหมด ๔ ท่าน ได้แก่ - ท่องเที่ยวแหล่งโบราณคดี โดย นางสาวพยุง วงษ์น้อย ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี - ท่องเที่ยวแหล่งศิลปวัฒนธรรมและวิถีชุมชน โดย ผศ.ฟ้อน เปรมพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี - ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย นายปรยุษณ์ ไวว่อง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเอราวัณ - ดำเนินการเสวนา โดย ดร.ลักษิกา เจริญศรี นักวิชาการด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว


          หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ รูปเคารพ โบราณสถาน จารึก พงศาวดาร และจดหมายเหตุ เป็นต้น ในบรรดาหลักฐานที่กล่าวมา จารึก ถือเป็นหลักฐานชั้นต้นประเภทลายลักษณ์อักษรที่สำคัญและน่าเชื่อถือที่สุดเนื่องจากทำขึ้นในช่วงเวลาที่เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น และบางจารึกมีการระบุศักราชหรือชื่อผู้สร้าง โดยจารึกที่พบในภาคใต้มักเป็นตัวอักษรและภาษาที่ใช้กันในประเทศอินเดียสมัยโบราณ           จารึกที่แสดงถึงการเข้ามาชาวอินเดียที่พบในแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามัน คือ จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง และจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) โดยมีรายละเอียดดังนี้ จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง อักษร/ภาษา : อักษรพราหมี ภาษาทมิฬ อายุ : พุทธศตวรรษที่ ๘-๙ พบที่ : แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ คำอ่าน-คำแปล : อ่านว่า เปรุมปาทัน กัล แปลว่า หินของนายเปรุมปาทัน หรือ อ่านว่า เปรุมปาตัน กัล แปลว่า หินลองเครื่องมือของช่างทองผู้ยิ่งใหญ่ (หรือช่างทองอาวุโส) คำว่า เปรุมปาทัน แปลตามตัวอักษรได้ว่า ตีนโตภาพ : พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม จังหวัดกระบี่           การพบหินลองเครื่องมือของช่างทองที่มีจารึกภาษาทมิฬในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘-๙ นี้ อาจสะท้อนให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) เป็นเมืองท่าโบราณที่มีชาวอินเดียใต้ที่เป็นช่างฝีมือเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ สอดคล้องกับอายุสมัยของแหล่งและการพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เช่น ลูกปัดหินประเภทกึ่งอัญมณี (semi–precious) ทั้งแบบเรียบ และแบบฝังสี (etched bead) ลูกปัดแก้ว (glass bead) ลูกปัดแก้วหลายสี (striped bead) ลูกปัดมีตา (eye bead) หัวแหวนสลักจากหินมีค่า (intaglios-cameo) เหรียญ และตราประทับ เป็นต้น ---------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ---------------------------------------อ้างอิง : - อมรา ศรีสุชาติ. ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๗.- Wheatley,Paul. The Golden Khersonese. Kuala Lumpur: University of Malay Press, ๑๙๖๑.


Messenger