ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,309 รายการ


ชื่อผู้แต่ง           แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และแพทยสภา ชื่อเรื่อง           วารสารสุขภาพ สำหรับประชาชน (ปีที่๒ ฉบับที่๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๗) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        อักษรสมัย ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๗ จำนวนหน้า      ๑๒๗ หน้า รายละเอียด      เป็นวารสารที่คณะผู้จัดทำได้สรรหา เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ ในหลาย ๆ ด้าน มานำเสนอให้ผู้อ่านได้ศึกษา ในเล่มนี้มีทั้งหมด ๑๒ เรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงอาการของโรค ต้นเหตุของการเกิดโรค และวิธีหลีกเลี่ยงหรือรักษาเบื้องต้น  


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 145/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



มังกร (ภาษาอังกฤษ : Dragon, ภาษาจีน :龙 อ่านว่า หลง) เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสัตว์วิเศษในตำนานและวรรณกรรมของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกหากแต่มีลักษณะแตกต่างกันไปตาความเชื่อของแต่ละชนชาติโดยมังกรปรากฏเด่นชัดในดินแดนแถบเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวัฒนธรรมจีนให้ความสำคัญกับมังกรจนถึงกับยกย่องเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติเลยทีเดียวมังกรที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียแตกต่างกันทั้งในแง่ของลักษณะและสัญลักษณ์โดยลักษณะของมังกรในดินแดนเอเชียตะวันออกเป็นสัตว์ผสมจากสัตว์ ๙ ชนิด จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีกแต่สามารถบินไปในอากาศได้ขณะที่มังกรของทางยุโรปจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้ในแง่สัญลักษณ์ในคติความเชื่อของจีนซึ่งแผ่ขยายไปยังวัฒนธรรมเกาหลีและญี่ปุ่นด้วยนั้นจะถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟ้าฝนและแหล่งน้ำ มีสถานะเป็นเทพเจ้ารวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิซึ่งเป็นสมมติเทพดังจะเห็นได้จากการสงวนให้มังกร ๕ เล็บ ใช้ประดับตกแต่งบนข้าวของเครื่องใช้ของจักรพรรดิและรัชทายาทลำดับที่ ๑ - ๒ เท่านั้น สำหรับรัชทายาทในลำดับถัดมาหรือขุนนางในระดับต่าง ๆ จะจำแนกด้วยการประดับมังกรที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน นอกจากนี้มังกรยังถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ประจำทิศตะวันออกในศาสตร์ฮวงจุ้ยอีกด้วย ขณะที่ตำนานทางยุโรปจะถือมังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้ายซึ่งเป็นคติที่สืบมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรปและยังเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษ ผู้ใดสามารถสังหารมังกรได้จะได้รับการยอมรับและขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เหตุนี้มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ทั้งที่มีตัวตนจริงและกษัตริย์ในตำนานจากความเชื่อในวัฒนธรรมจีนมังกรจึงติดตัวชาวจีนไปทุกหนทุกแห่งและได้แผ่ขยายความเชื่อไปยังดินแดนที่ไปถึงโดยปรากฏในงานศิลปกรรมจีนทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมสถาปัตยกรรมประติมากรรม หรือแม้แต่ของใช้อย่างเครื่องถ้วยก็ตามซึ่งนอกจากจะใช้ในชีวิตประจำวันแล้วยังใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งอาคารสถานที่เพื่อเสริมบารมีและความเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของและผู้อยู่อาศัยเช่นกัน


ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมสาร (ปีที่ 30 ฉบับที่ 5  ตุลาคม 2520) ชื่อผู้แต่ง         วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       สหมิตรการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2520 จำนวนหน้า      56 หน้า รายละเอียด                     เป็นวารสารส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดง           ความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความริเริ่มเพื่อขยายงานที่กระทำอยู่ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื้อหาภายในประกอบด้วย ๗ บทความ เช่น การกำหนดอัตราส่วนปลอดภัยสำหรับฐานรากอาคาร  การรับน้ำหนักของเสาเข็มสั้นที่มีหน้าตัดต่างกันในกรุงเทพฯ สูตรสำหรับทดสอบเสาเข็ม ฯลฯ  


      50Royalinmemory ๑๐ มีนาคม ๒๔๓๕ (๑๓๐ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล [พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น ๕ พระองค์เจ้าชั้นโท]       พระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) (พระนามเดิม : หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เป็นพระองค์เจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๔ และเป็นพระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระโอรส ๓ พระองค์ สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐ พระชันษา ๖๕ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๑๖๐.)       Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๔๗ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖             (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


เลขทะเบียน : นพ.บ.527/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 68 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176  (267-279) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/19หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  58 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                              มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) อย.บ.                                 423/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                           พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                      26 หน้า : กว้าง 4.6 ซม.  ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                             พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                            ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  


องค์ความรู้เรื่อง "การสังคายนาสวดมนต์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" นายทัตพล พูลสุวรรณ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเรียบเรียง



          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กำหนดจัดกิจกรรม “การอนุรักษ์เรือพระราชพิธี ศิลปะบนผืนน้ำ” ในวันเสาร์ที่ ๘, ๑๕, ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร           ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการและร่วมอนุรักษ์เรือพระราชพิธี ศิลปะบนผืนน้ำ ต่อยอดสร้างงานศิลป์ ร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมผ่าน google form โดยสแกน QR-code ในภาพด้านล่าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๔๒๔ ๐๐๐๔


บทกวีผาแดงจีนเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยอารยธรรมที่สืบทอดกันมาหลายพันปี นอกจากขนบธรรมเนียมประเพณี แนวคิดหลักปรัชญาแล้ว จีนยังเต็มไปด้วยความรุ่มรวยทางศิลปกรรมหลากหลายแขนง เช่นเดียวกับงานวรรณกรรม ในประวัติศาสตร์จีนจึงพบกวีได้ในทุกยุคสมัย แม้บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์หลายคนก็เป็นกวีที่มีฝีมือจับตัวได้ยาก และกวีนิพนธ์ที่หลงเหลืออยู่นั้นได้ถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะมากมายในเวลาต่อมา เฉกเช่น บทกวีผาแดง ซึ่งเป็นหนึ่งในบทกวียอดนิยมที่ผู้คนยังคงกล่าวขวัญถึงกระทั่งปัจจุบันบทกวีผาแดง (赤壁賦 ชื่อปี้ฟู่ ; Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๐๘๒ (พ.ศ. ๑๖๒๒) โดย ซูซื่อ (苏轼) หรือซูตงโพ (東坡) กวีที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งของราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. ๑๐๓๗ – ๑๑๐๑ หรือ พ.ศ. ๑๕๘๐ – ๑๖๔๔) ขณะที่เขาโดนลดตำแหน่งไปเป็นขุนนางที่เมืองหวงโจว มณฑลหูเป่ย (อยู่ในเขตเมืองหวงกังปัจจุบัน) บทกวีดังกล่าวแบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนที่หนึ่ง เรียกว่า เฉียนชื่อปี้ฟู่ (前赤壁賦; Former Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นในเดือนเจ็ดตามปฏิทินจันทรคติ เล่าถึงครั้งซูซื่อและเพื่อนเดินทางเที่ยวชมแก่งกลางน้ำชื่อปี้ (ผาแดง) ในแม่น้ำแยงซีเกียง นอกเมืองหวงโจว โดยนำเรื่องราวของสามก๊กตอนยุทธการที่ผาแดง (หรือตอนโจโฉแตกทัพเรือ) มาเปรียบเปรยว่าทุกสิ่งไม่จีรัง สิ่งใดที่ไม่ใช่ของตนย่อมไม่สามารถครอบครองได้ บทกวีตอนที่สอง เรียกว่า โฮ่วชื่อปี้ฟู่ (後赤壁賦; Latter Ode to the Red Cliff) เขียนขึ้นสามเดือนให้หลังเมื่อซูซื่อและเพื่อนเดินทางไปยังแก่งกลางน้ำชื่อปี้อีกครั้ง ระหว่างทางกลับพวกเขาพบนกกระเรียนตัวหนึ่งบินผ่านไป และในคืนนั้นซูซื่อได้ฝันว่ากระเรียนตัวนั้นคือนักพรตในลัทธิเต๋าแปลงกายมาบทกวีผาแดงทั้งสองตอนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศจีนและเป็นต้นแบบให้กับงานศิลปกรรมในสมัยหลังมากมาย อาทิ ภาพวาด การแสดง รวมไปถึงการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วย เราจึงพบความนิยมในการตกแต่งเครื่องกระเบื้องจีนด้วยตัวอักษรในบทกวีผาแดง ซึ่งนอกจากสร้างความสวยงามให้กับวัตถุแล้ว ยังเป็นการสืบทอดมรดกทางวรรณกรรมให้ดำรงอยู่ต่อไปอีกทางหนึ่ง