ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขอนำเสนอ “ศัพท์น่ารู้ก่อนดูพิพิธภัณฑ์ : Definitions Before Visiting the Exhibitions” ช่วยปูพื้นฐานด้านคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เพื่อให้การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ครั้งถัดไปมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยจัดทำองค์ความรู้คำว่า “โบราณวัตถุ : Artifacts” ทั้งนี้ สามารถชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงแบบเต็ม ๆ ได้ที่ : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/songkhla/index.php/th/ ................................................................................... เรียบเรียง / กราฟฟิก /ถ่ายภาพ : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง : กรมศิลปากร. นิยามศัพท์ Definitions Before Visiting the Exhibition. กรุงเทพฯ: ฤทธี ครีเอชั่น, 2558. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/3072612666135981



ชื่อผู้แต่ง          จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๔ ชื่อเรื่อง            จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๔ครั้งที่พิมพ์ -สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์ปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๓๐             จำนวนหน้า       ๑๔๔ หน้าคำค้น              จดหมายเหตุหมายเหตุ  -                หนังสือ จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๔ นี้ รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระบรมราชคุณูปการแก่ประเทศและประชาชนเป็นล้นพ้นสุดที่จะพรรณาได้


1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาลมกระโสกล่อน, ยาริดสีดวง,ยาบิด, ยาแก้จุก, ยารูฝีในท้อง ฯลฯ 2. เวทย์สนต์คาถา อักษรขอม ภาษาบาลี



ชื่อเรื่อง : เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชยทั้งภาษาบาฬีแลคำแปล และเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ผู้แต่ง : พระโพธิรังสี ปีที่พิมพ์ : 2463 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โสภณพิพรรฒธนากร


ป้อมรูปดาว (Star Fort) สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เขาชัยบุรี ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เมืองพัทลุงที่เขาชัยบุรี           เมืองพัทลุงได้ย้ายมาตั้งที่เขาชัยบุรีหรือเขาเมืองตั้งแต่พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ.๒๓๑๐ ตัวเมืองตั้งอยู่ในที่ราบด้านทิศเหนือของเขาชัยบุรีและมีการสร้างกำแพงเป็นระเนียดไม้ปิดช่องเขาด้านตะวันตกระหว่างเขาเมืองกับเขาบ่อฬา แล้วทำกำแพงด้านทิศเหนือต่อจากเขาบ่อฬามาจนถึงเขาเจดีย์ จากนั้นทำกำแพงด้านทิศตะวันออกจากเขาเจดีย์ไปถึงเขาพลู และทำกำแพงปิดช่องเขาระหว่างเขาพลูกับเขาเมือง โดยใช้เขาเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นกำแพงเมืองด้านทิศใต้ รวมระยะเวลาที่เมืองพัทลุงตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลา ๑๓๘ ปี มีเจ้าเมืองปกครองตามที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุงทั้งสิ้น ๙ ท่าน การดำเนินงานทางโบราณคดี           สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โดยได้ดำเนินการขุดค้นต่อจากการขุดค้นของสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราชที่ได้ดำเนินการไว้ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยได้กำหนดหลุมขุดค้นขนาด ๔ x ๔ เมตร ทั้งนี้ได้ดำเนินการขุดค้นเป็นจำนวน ๙๑ กริดคิดเป็นพื้นที่ ๑,๔๕๖ ตารางเมตร ป้อมรูปดาว (Star Fort) คืออะไร?           ป้อมรูปดาว (Star Fort) เป็นระบบป้อมปราการที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในคาบสมุทรอิตาลี ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อต่อสู้กับปืนใหญ่แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพร้ายแรงขึ้น จนส่งผลให้ป้อมแบบเดิมไม่อาจต้านทานพลังการทำลายได้ โดยป้อมลักษณะนี้ได้รับความนิยมไปทั่วยุโรปเป็นระยะเวลาประมาณ ๓๐๐ ปี ทั้งนี้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เซบาสเตียง เลอ เพรส์เทรอ เดอ โวบอง และเม็นโน ฟาน โคฮูร์น สถาปนิกทางสถาปัตยกรรมทหารในราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ได้พัฒนารูปแบบของป้อมรูปดาว จนกลายเป็นระบบป้องกันอันซับซ้อน ป้อมรูปดาว (Star Fort) ที่เขาชัยบุรี           ป้อมรูปดาวที่ขุดพบนี้เป็นป้อมประจำมุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็นแนวกำแพงป้อมที่มีการหักมุมกำแพงเป็นดาว ๕ แฉก โดยมีจุดเริ่มของแนวกำแพงป้อมบริเวณด้านตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือก่อแนวต่อเนื่องไปจนถึงมุมภูเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวกำแพงป้อมมีความยาวรวมกัน ๑๒๖.๗๒ เมตร และมีความกว้างเฉลี่ยอยู่ที่ ๑๔๐-๑๕๐ เซนติเมตร //การวางฐานรากของป้อมรูปดาวที่ขุดพบนั้น เป็นการวางฐานรากบนพื้นธรรมชาติ โดยในส่วนของพื้นที่ปกติจะพบการวางอิฐชั้นแรกอยู่บนผิวดินในระดับที่เป็นพื้นปูนมาร์ล ในขณะที่ในอีกหลายบริเวณซึ่งพบหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ฐานรากในส่วนดังกล่าวจะวางบนหินเหล่านั้น โดยบางส่วนวางคร่อมหินทั้งหมดโดยใช้ปูนสอประสาน ในขณะที่บางส่วนมีการตัดแต่งยอดหินก่อนที่จะวางอิฐคร่อมหินในส่วนที่เหลือ           ตัวกำแพงป้อมนั้น วัดระดับสูงจากพื้นดินได้ ๕.๖๘ เมตร ลักษณะของกำแพงก่อด้วยอิฐสอปูน กำแพงตันไปตลอดแนวไม่มีการสอดไส้กำแพง โดยอิฐก่อกำแพงมีขนาดกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๒๖ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร อย่างไรก็ตามพบว่าตัวกำแพงไม่ได้ตั้งตรง หรือตั้งฉากกับพื้นดิน แต่กลับเอียงเข้าด้านในเล็กน้อย ซึ่งลักษณะนี้ก็พบที่กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชและแบบแปลนป้อมเมืองบางกอกและเมืองมะริดซึ่ง เดอ ลามาร์เป็นผู้ออกแบบเช่นเดียวกัน           ส่วนบนของป้อมก่อเป็นใบบังและจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับใบบังของป้อมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่ออกแบบโดยวิศวกรคนเดียวกันแล้วสามารถกำหนดความสูงของใบบัง ๑๔๘ เซนติเมตร และความยาวของใบบังเท่ากับ ๓.๒๐ เมตร ส่วนแนวช่องประตูหรือบันไดสำหรับขึ้นป้อมนั้น พบแนวอิฐที่แสดงลักษณะของช่องบันไดในพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขา ใครคือวิศวกรผู้ออกแบบ?           ผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างป้อมแห่งนี้คือวิศวกรชาวฝรั่งเศส ชื่อมองสิเออร์ เดอ ลามาร์ ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศสเชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ในพ.ศ.๒๒๒๘ ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ขอตัววิศวกรคนนี้เพื่อดำเนินการปรับปรุงป้อมและกำแพงเมืองสำคัญคือ อยุธยา ลพบุรี บางกอก มะริด นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง           ลาร์มา ออกเดินทางจากเมืองบางกอกเพื่อไปยังเมืองพัทลุง เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๒๒๙ จากและปรากฏหลักฐานว่าแผนผังเมืองพัทลุงที่เขียนโดยลามาร์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.๑๖๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) ได้ปรากฏข้อความภาษาฝรั่งเศส ในคำบรรยายท้ายแผนผังกำแพงเมืองพัทลุงความว่า "...ภูเขาทุกแนวสูงชันปีนขึ้นไปไม่ได้ ด้านนอกมีโขดหินแข็งแรง เมืองนี้มีพลเมืองพอประมาณ เส้นประเป็นเครื่องหมายของกำแพงเดิมที่เป็นไม้ ส่วนเส้นทึบเป็นเครื่องหมายที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นกำแพงอิฐไว้ป้องกันเมือง ผังนี้เขียนขึ้นตามคำสั่งของกษัตริย์สยาม ค.ศ.๑๖๘๗..." วิไชยเยนทร์ตะวันออกคือป้อมต้นแบบ?        จากแผนผังที่ลาร์มาออกแบบไว้ พบว่าเดิมได้กำหนดให้ป้อมแห่งนี้มีลักษณะเป็นป้อมหัวลูกศร ดังเช่นป้อมที่ลาร์มาสร้างไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช แต่การขุดค้นทางโบราณคดีกลับแสดงให้เห็นว่ามีการแก้ไขแผนผังของป้อมแห่งนี้ให้กลายเป็นป้อมรูปดาวห้าแฉก และเมื่อนำแผนผังของป้อมวิไชยเยนทร์ตะวันออก(ป้อมเมืองบางกอก) มาซ้อนทับกันก็จะพบว่าป้อมที่เขาชัยบุรีนี้เกือบจะซ้อนทับกับเส้นโครงร่างของป้อมวิไชยเยนทร์ตะวันออกได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่าป้อมทั้งสองแห่งนี้ใช้อิฐขนาดเดียวกันคือ ขนาดกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๒๖ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร ในการก่อสร้างป้อมด้วยปืนใหญ่ประจำเมือง           ปรากฏหลักฐานว่าเมืองแห่งนี้มีการติดตั้งปืนใหญ่เหล็กของฮอลันดา (Finbanker of Dutch Pattern) ซึ่งโรงหล่อปืนที่ Finspang เมือง Ostergotland ประเทศสวีเดน ส่งมาจำหน่ายให้บริษัท V.O.C. และมักพบจารึกรูปตัว F ที่เพลาปืนด้านซ้ายและขวาเป็นสัญลักษณ์ของโรงงาน //ในปัจจุบันยังคงปรากฏปืนใหญ่ประจำเมืองชัยบุรีให้เห็นอยู่ ๒ กระบอก ตั้งอยูที่หน้าเสาธงโรงเรียนพัทลุง ปืนใหญ่ทั้งสองกระบอกนี้ได้ผ่านการยิงทดสอบ(proof firing) แล้ว โดยได้รับการจารึกสัญลักษณ์รูปประภาคารหรือ ที่เรียกว่า Amsterdam light house เพื่อเป็นการรับรองไว้บนกระบอกปืน นอกจากนี้ยังมีการจารึกน้ำหนักของปืนไว้ที่ท้ายกระบอกปืนด้วย โดยปืกระบอกหนึ่งหนัก 2322 Amsterdam Pound และอีกกระบอกหนึ่งหนัก 2306 Amsterdam Pound เทียบเป็นน้ำหนักปัจจุบันราว ๒ ตันเศษ การบูรณะป้อมรูปดาว (Star Fort) ที่เขาชัยบุรี           กรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณสำหรับบูรณะป้อมแห่งนี้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒ โดยสามารถดำเนินการบูรณะป้อมได้ถึงแฉกดาวที่ ๔ และยังคงเหลืองานบูรณะป้อมในส่วนของแฉกดาวที่ ๕ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือที่ติดกับป้อม และงานปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งจะได้ดำเนินการต่อไปในอนาคต ......................................................................เรียบเรียงเนื้อหาวิชาการ โดย สารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลาลิงค์สำหรับฟังการบรรยาย "การขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองพัทลุงที่เขาชัยบุรี ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง" โดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา : https://bit.ly/3bUkSBR


ชื่อเรื่อง : นิราศตังเกี๋ย   ผู้แต่ง : หลวงนรเนติบัญชากิจ   พิมพ์ครั้งที่ : ๖   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตร   หมายเหตุ: พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาคำนวณคัคณานต์ (ศรี  ปายะนันทน์ ) และงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงอุ่น คำนวณคัคณานต์                นิราศตังเกี๋ยเป็นทำนองจดหมายเหตุ เล่าถึงการเดินทางของข้าหลวงไทยซึ่งร่วมเดินทานไปปราบปรามพวกฮ่อทางเมืองตังเกี๋ยกับกองทัพฝรั่งเศส


ลูกปัด อายุสมัย : ศรีวิชัย วัสดุ : แก้ว ประวัติ : พบที่ผิวหน้าดินทั่วไปที่ควนลูกปัด ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ซึ่งหน่วยศิลปากรที่ ๘ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช และ นายณรงค์ ปั้นทอง นายช่างศิลปกรรม ๕ ได้มาเมื่อเดือนมิถุนายน -กรกฎาคม ๒๕๒๓ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมอบจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒ ............................................................................          “ลูกปัด” ลูกปัดแก้วทรงกระบอกสีส้ม เขียว แดง และน้ำเงิน เป็นลูกปัดที่มีขนาดเล็กมากและมีขนาดที่แตกต่างกัน ลูกปัดรูปแบบนี้นิยมเรียนว่า “ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Beads)”หรือ “ลูกปัดลมสินค้า” (Trade winds beads) เนื่องจากได้มีการค้นพบลูกปัดรูปแบบนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค โดยพบตามเมืองท่าโบราณต่างๆ ทั้งในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลูกปัดแก้วเหล่านี้คงเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่มากับเรือเดินสมุทรซึ่งต้องอาศัยลมมรสุมในการเดินทางอันเป็นที่มาของชื่อ “ลูกปัดลมสินค้า”           ลูกปัดแก้วขนาดเล็กเหล่านี้ทำด้วยวิธีการนำแก้วมาหลอมโดยใช้ความร้อน จากนั้นจึงนำมาดึงยืดเป็นเส้นและตัดที่ละลูกจึงทำให้ลูกปัดมีขนาดที่ต่างกัน ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิคมีแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตหลักในประเทศอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ และได้แพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆ ทั้งในเอเชียตะวันตกและเอเชียตะวันออก สำหรับในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ พบที่ประเทศอินโดนีเซียที่เกาะสุมาตรา ประเทศไทยพบในเมืองท่าโบราณของภาคใต้ และในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบในมาเลเซียและเวียดนาม           ในประเทศไทยพบลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค ในหลายพื้นที่ทั้งในภาคกลางและภาคใต้ซึ่งพบในแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ อาทิ แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ และแล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๙ แหล่งโบราณคดีเหล่านี้เป็นแหล่งผลิตลูกปัดแก้วของภาคใต้ ดังได้พบลูกปัดแกวที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต เช่น ลูกปัดแก้วที่หลอมติดกัน และก้อนแก้วสีต่างๆ จึงกล่าวได้ว่าลูกปัดแก้วเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค ที่พบในแหล่งคลองท่อมจึงถือเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการผลิตลูกปัดแก้วในแถบอันดามัน ความนิยมของผู้คนในสมัยนั้น และยังแสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างอินเดียและดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเมืองท่าโบราณต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยอีกด้วย ................................................................................ที่มาข้อมูล -ผุสดี รอดเจริญ, “การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย.” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖. - มยุรี วีระประเสริฐ. “คลองท่อม : แหล่งอุตสาหกรรมทำลูกปัดและสถานีขนถ่ายสินค้าสมัยโบราณบนชายฝั่ง ทะเลอันดามัน,”สารัตถะโบราณคดี บทความคัดสรรของ ๔ อาจารย์โบราณคดี.กรุงเทพ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๕๓: ๘๑-๑๐๑.


วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ได้จัดโครงการเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ กิจกรรม"เล่าเรื่องเมืองกาญจน์" โดยได้นำผู้เข้าร่วมโครงการไปทัศนศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ดังต่อไปนี้๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า โดยมี นางสาวสำเนา จาดทองคำ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า บรรยายถึงประวัติความเป็นมา และโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดง และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ บรรยายเรื่องการขุดค้นทางโบราณคดี พร้อมทั้งนำชมหลุมขุดค้นบริเวณใกล้เคียง ๒. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ โดยมี นายพิชิต รงค์ฤทธิไกร พนักงานดูแลโบราณสถาน อธิบายถึงประวัติความเป็นมา พร้อมทั้งนำชมโบราณสถาน และหลุมขุดค้นทางโบราณคดี๓. โบราณสถานกำแพงเมืองกาญจนบุรีและโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี โดยมี นายปรัชญา รุ่งแสงทอง นักโบราณคดีปฏิบัติการ อธิบายการเข้ามาบูรณะแนวกำแพงเมืองกาญจนบุรีของกรมศิลปากร และประวัติความเป็นมาของโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี



ผู้แต่ง : พระยามหานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2461 หมายเหตุ : จางวางเอก พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ พิมพ์แจกในงานยืนชิงช้า ปีมะเมีย พ.ศ. 2461               กล่าวถึงเรื่องราวครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีต่อพระเจ้ากรุงจีน แผ่นดินเขี้ยนหลง ณ กรุงปักกิ่ง




             ความรู้วิชาผดุงครรภ์มีในสังคมไทยมานานแล้ว ดังปรากฏในตำราแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น คัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึงการตั้งครรภ์ การดูแลครรภ์ การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด คัมภีร์มหาโชตรัต กล่าวถึงโลหิตระดูสตรี คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึงการดูน้ำนมดีและน้ำนมชั่ว ความรู้เหล่านี้มาจากการสังเกต ประสบการณ์ ผสมผสานกับศาสนาและความเชื่อ จนเกิดเป็นประเพณีปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การอยู่ไฟหลังคลอด การงดกินของแสลง เป็นต้น การอยู่ไฟในอดีตของสยาม       ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ วิชาผดุงครรภ์แผนตะวันตกเริ่มเผยแพร่เข้าสู่สังคมไทย โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือนายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกันซึ่งได้แต่งตำราผดุงครรภ์แผนตะวันตกเป็นภาษาไทยพร้อมภาพประกอบ ชื่อว่า “คัมภีร์ครรภ์ทรักษา” พิมพ์เผยแพร่และแจกจ่ายแก่หมอหลวง ถือเป็นตำราแพทย์แผนตะวันตกเล่มแรก ๆ ของไทย  หมอบรัดเล                                         ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อเจ้าจอมมารดาแพประสูติพระราชธิดาองค์แรก คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ และเกิดอาการไข้สูงขณะอยู่ไฟ จึงโปรดเกล้าฯ ให้หมอบรัดเลไปรักษาเจ้าจอมมารดาแพในพระตำหนักฝ่ายใน ซึ่งหมอบรัดเลก็ให้เจ้าจอมมารดาแพเลิกอยู่ไฟทันที และรักษาตามวิชาผดุงครรภ์แผนตะวันตก จนเจ้าจอมมารดาแพมีอาการดีขึ้น เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภาพวิธีทำคลอดแผนตะวันตกในคัมภีร์ครรภ์ทรักษา            อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของหมอบรัดเลในการรักษาเจ้าจอมมารดาแพครั้งนั้นไม่ได้ทำให้สตรีในราชสำนักเปลี่ยนไปใช้การผดุงครรภ์แผนตะวันตกแต่อย่างใด แม้แต่เจ้าจอมมารดาแพเองก็ยังคงใช้วิธีอยู่ไฟในการประสูติพระราชโอรสธิดาองค์ต่อ ๆ มา จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในคราวประสูติพระราชธิดาองค์ที่ ๕ คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ด้วยอาการเลือดออกในมดลูก เนื่องจากรกติดค้างอยู่ แม้จะโปรดเกล้าฯ ให้หมอบรัดเลไปช่วยรักษาจนสามารถดึงรกออกมาได้ แต่ก็ไม่อาจรักษาชีวิตของเจ้าจอมมารดาแพเอาไว้ได้         ดังนั้นในระยะแรก การผดุงครรภ์แผนตะวันตกไม่ได้รับความนิยมในสยาม เนื่องจากไม่สอดคล้องกับความเชื่อเดิม โดยเฉพาะการปฏิเสธการอยู่ไฟ ซึ่งเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ราษฎรเกรงกลัวผลร้ายที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้อยู่ไฟ           ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้เกิดเหตุการณ์อันเป็นมูลเหตุให้การผดุงครรภ์แผนตะวันตกได้รับความนิยมมากขึ้นในสมัยต่อมา กล่าวคือ เมื่อครั้งที่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ มีโอรสองค์แรกกับหม่อมเปี่ยม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ หม่อมเปี่ยมได้อยู่ไฟจนถึงแก่กรรม นับแต่นั้นมา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ทรงห้ามไม่ให้หม่อมอยู่ไฟเมื่อประสูติโอรสธิดา และเปลี่ยนไปใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตกแทน ปรากฏว่าปลอดภัยสบายดีทุกคราว พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์            ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ให้ทรงเห็นคุณประโยชน์ของวิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตก และทำให้มีพระราชดำริจะเปลี่ยนแปลงวิธีการผดุงครรภ์ในราชสำนัก ครั้นเมื่อพระองค์มีพระประสูติการสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเลิกอยู่ไฟ และให้หมอเกาแวนพยาบาลตามวิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตก ปรากฏผลเป็นที่พอพระราชหฤทัย ตั้งแต่นั้นมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกการอยู่ไฟในพระบรมมหาราชวัง และพวกผู้ดีมีบรรดาศักดิ์นอกวังก็เริ่มทำตามมากขึ้นเรื่อย ๆ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง           ขณะนั้น โรงศิริราชพยาบาลต้องการใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตกกับผู้ที่มาคลอดบุตรในโรงศิริราชพยาบาลด้วยเช่นกัน แต่ราษฎรยังไม่นิยมเพราะยังคงกลัวผลร้ายจากการไม่อยู่ไฟ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งชี้แจงแก่ผู้ที่ไปคลอดบุตรในโรงศิริราชพยาบาลว่า พระองค์ทรงเคยอยู่ไฟมาก่อน แล้วทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตก ทรงสบายกว่าอยู่ไฟมาก จึงทรงชักชวนให้ราษฎรทำตาม และพระราชทานเงินทำขวัญลูกให้ผู้ที่ทำตามพระองค์คนละ ๔ บาท ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมากในสมัยนั้น ราษฎรจึงสมัครใจใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตกมากขึ้น จนไม่เหลือผู้ที่ขอรับการอยู่ไฟในโรงศิริราชพยาบาลอีก           สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ยังโปรดให้พระบำบัดสรรพโรค (หมอฮานส์ อดัมเซน) จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ทำให้มีผู้เข้ารับการศึกษาวิชาผดุงครรภ์แผนตะวันตกเพิ่มขึ้นทุกปี และออกรักษาพยาบาลราษฎรอยู่ทั่วไป ทั้งยังมีการผลิตและเผยแพร่ตำราแพทย์และผดุงครรภ์สำหรับคนทั่วไป ทำให้การแพทย์และผดุงครรภ์แผนตะวันตกแพร่หลายในหมู่ราษฎรมากขึ้น จนกลายเป็นวิธีหลักในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ในที่สุด ส่วนการผดุงครรภ์แผนไทยและการอยู่ไฟก็ได้รับการปรับปรุงให้ถูกหลักวิชาและเหมาะกับกาลสมัยยิ่งขึ้น จนเป็นการแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยมนักอักษรศาสตร์ชำนาญการกลุ่มประวัติศาสตร์


Messenger