เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Beads)
ลูกปัด
อายุสมัย : ศรีวิชัย
วัสดุ : แก้ว ประวัติ : พบที่ผิวหน้าดินทั่วไปที่ควนลูกปัด ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ซึ่งหน่วยศิลปากรที่ ๘ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช และ นายณรงค์ ปั้นทอง นายช่างศิลปกรรม ๕ ได้มาเมื่อเดือนมิถุนายน -กรกฎาคม ๒๕๒๓ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมอบจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒
............................................................................
“ลูกปัด” ลูกปัดแก้วทรงกระบอกสีส้ม เขียว แดง และน้ำเงิน เป็นลูกปัดที่มีขนาดเล็กมากและมีขนาดที่แตกต่างกัน ลูกปัดรูปแบบนี้นิยมเรียนว่า “ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Beads)”หรือ “ลูกปัดลมสินค้า” (Trade winds beads) เนื่องจากได้มีการค้นพบลูกปัดรูปแบบนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค โดยพบตามเมืองท่าโบราณต่างๆ ทั้งในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลูกปัดแก้วเหล่านี้คงเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่มากับเรือเดินสมุทรซึ่งต้องอาศัยลมมรสุมในการเดินทางอันเป็นที่มาของชื่อ “ลูกปัดลมสินค้า”
ลูกปัดแก้วขนาดเล็กเหล่านี้ทำด้วยวิธีการนำแก้วมาหลอมโดยใช้ความร้อน จากนั้นจึงนำมาดึงยืดเป็นเส้นและตัดที่ละลูกจึงทำให้ลูกปัดมีขนาดที่ต่างกัน ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิคมีแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตหลักในประเทศอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ และได้แพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆ ทั้งในเอเชียตะวันตกและเอเชียตะวันออก สำหรับในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ พบที่ประเทศอินโดนีเซียที่เกาะสุมาตรา ประเทศไทยพบในเมืองท่าโบราณของภาคใต้ และในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบในมาเลเซียและเวียดนาม
ในประเทศไทยพบลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค ในหลายพื้นที่ทั้งในภาคกลางและภาคใต้ซึ่งพบในแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ อาทิ แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ และแล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๙ แหล่งโบราณคดีเหล่านี้เป็นแหล่งผลิตลูกปัดแก้วของภาคใต้ ดังได้พบลูกปัดแกวที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต เช่น ลูกปัดแก้วที่หลอมติดกัน และก้อนแก้วสีต่างๆ จึงกล่าวได้ว่าลูกปัดแก้วเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค ที่พบในแหล่งคลองท่อมจึงถือเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการผลิตลูกปัดแก้วในแถบอันดามัน ความนิยมของผู้คนในสมัยนั้น และยังแสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างอินเดียและดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเมืองท่าโบราณต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยอีกด้วย
................................................................................
ที่มาข้อมูล
-ผุสดี รอดเจริญ, “การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย.” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖. - มยุรี วีระประเสริฐ. “คลองท่อม : แหล่งอุตสาหกรรมทำลูกปัดและสถานีขนถ่ายสินค้าสมัยโบราณบนชายฝั่ง ทะเลอันดามัน,”สารัตถะโบราณคดี บทความคัดสรรของ ๔ อาจารย์โบราณคดี.กรุงเทพ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๕๓: ๘๑-๑๐๑.
(จำนวนผู้เข้าชม 3998 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน