ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,128 รายการ

ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศิวพร จำนวนหน้า : 952 หน้า สาระสังเขป : หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เป็นบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติไทย กล่าวถึงเรื่องการสร้างกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วยเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติไทย ประวัติขอม ประวัติพม่า พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทอง ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย และประวัติอาณาจักรล้านนาไทย และอธิบายเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



องค์ความรู้เรื่อง วัดเหนือคู่บ้าน วัดกลางคู่เมือง จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด


ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2500 หมายเหตุ : หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี พิมพ์แจกในงานบำเพ็ญกุศลถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติประวัติ พ.ศ. 2500               หนังสือเทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นลักษณะคำเทศนา มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์และธรรมคดีเป็นอันมาก


•หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในเวียงกุมกามนั้นมีมากมายทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ เวียงกุมกามนั้นพบหลักฐานมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๑๓ ในหลักฐานเอกสารชั้นที่ ๑ นั่นก็คือศิลาจารึกวัดพระยืน ซึ่งชื่อของ "กุมกาม" ได้ปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจนครั้งแรก (เท่าที่สามารถตรวจสอบได้ขณะนี้) และจนกระทั่งเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผาเป็นจำนวนมากในบริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ กลางเวียงกุมกามทางกรมศิลปากรจึงเข้าไปสำรวจโบราณสถานในเขตของเวียงกุมกามทั้งหมด และเริ่มทยอยขุดแต่งบูรณะโบราณสถานมาโดยลำดับจนกระทั่งปัจจุบัน โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ภายในเขตกำแพงเวียงกุมกาม ๒๔ แห่ง และนอกกำแพง ๕ แห่ง รวมเป็น ๒๙ แห่งแต่และแห่งล้วนมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นส่วนใหญ่ เนื่องด้วยจากการกำหนดรูปแบบของศิลปะนั้นไม่สามารถสืบหาเรื่องราวการสร้างเวียงกุมกามได้คงมีแห่งเดียวคือ วัดกานโถม ที่สามารถศึกษางานด้านศิลปกรรมของเวียงกุมกามได้ ซึ่งวัดนี้เคยพบร่องรอยของชุมชนดั้งเดิมก่อนการสร้างเวียงกุมกามโดยได้พบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รวมทั้งยังพบเครื่องถ้วยจีนจากการขุดแต่งในวัดหนานช้าง ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมของเวียงกุมกาม ทั้งยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญและทรงคุณค่าที่พบในเวียงกุมกาม เพื่อเป็นข้อมูลและหลักฐานในด้านโบราณคดี ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ตามหลักฐานที่ขุดพบ •  ที่มาข้อมูล : การจัดการการท่องเที่ยวศิลปกรรมเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทลัยศิลปากร                         : โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม


ชื่อเรื่อง                           อรรถกถาธัมมสังคิณีสพ.บ.                                  196/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           76 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 54.8 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี    



วัดชมชื่น  อยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย ห่างจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงมาทางทิศตะวันตกมา ๔๐๐ เมตร ก่อนถึงวัดเจ้าจันทร์ โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ประกอบหลักได้แก่ ๑. เจดีย์ทรงกลมหรือเจดีย์ทรงระฆัง เป็นประธานของวัด ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลง ฐานเขียงชั้นล่างสุดมีซุ้มพระตรงกึ่งกลางทั้ง ๔ ด้านและบริเวณมุม คล้ายกับเจดีย์ของลังกาและล้านนา ๒. มณฑป อยู่ทางด้านหลังของวิหาร มีส่วนฐานติดกัน เป็นมณฑปทรงจั่วแหลม ด้านหน้ามีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ภายในเต็มพื้นที่ สว่นด้านหลังของมณฑปทำเป็นซุ้มจระนำเคยมีพระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานอยู่ บริเวณหน้าบันของทางด้านหลังเป็นรูปสถาปัตยกรรมคล้ายกับซุ้มประตูที่มีส่วนยอดเป็นปรางค์ของเขมร บริเวณปั้นลมก็มีปูนปั้นประดับ ๓. วิหาร อยู่ทางด้านหน้าสุด เป็นวิหารโถง ขนาด ๖ ห้อง ฐานทำเป็นรูปบัวคว่ำ จากการขุดแต่งและบูรณะวิหารพบว่ามีฐานวิหารรูปบัวคว่ำซ้อนอยู่ภายในฐานวิหารที่เราเห็นในปัจจุบันอีกชั้นหนึ่ง แสดงว่าวิหารหลังนี้มีการสร้างซ้อนทับกัน ๒ ครั้ง วัดนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของล้านนาคือลวดลายปูนปั้นบนมณฑป คือลายบัวคอเสื้อ ซึ่งยังสามารถเห็นร่องรอยได้อยู่ ดร.ฌ็อง บัวสเซอลีเย่สันนิษฐานว่าเจดีย์ประธานของวัดน่าจะสร้างครอบทับปราสาทศิลาแลง ซึ่งกลายเป็นห้องบรรจุพระธาตุไป


เลขทะเบียน : นพ.บ.81/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8หมื่น) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.139/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 83 (330-333) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตำราดูฤกษ์ยาม ชบ.ส.๖๘ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.27/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


องค์ความรู้ทางวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรื่อง "โบราณวัตถุบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์" ประวัติความเป็นมาของโบราณวัตถุ --- ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมชลประทานได้กำหนดจะทำการปิดกั้นกระแสน้ำเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งจะทำให้โบราณสถานจำนวน ๑๘ แห่ง ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำท่วม กรมศิลปากร โดยหน่วยศิลปากรที่ ๓ จังหวัดสุโขทัย (ในขณะนั้น) จึงได้ดำเนินการเข้าสำรวจและขุดค้น ตั้งแต่ ในเดือนธันวาคม ๒๕๑๓ - กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ เพื่อศึกษาและรวบรวมโบราณวัตถุ --- วัดที่ได้มีการสำรวจและขุดค้นบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์  จำนวน ๑๘ แห่ง ได้แก่ วัดห้วยเลิศ วัดชัยศรีห้วยต้า (ใต้) วัดห้วยต้าเหนือ วัดปากลี วัดหาดลั้ง วัดท่าแฝก วัดท่าปลา วัดหาดไก่ต้อย วัดตีนดอย วัดนาโห้ง วัดจริม วัดเสกษนาราม (วัดนาต้นลาน) วัดปากกั้ง วัดห้วยอ้อย วัดน้ำปิง วัดหาดสองแคว วัดหาดหล้าใต้ และวัดหาดหล้าเหนือ --- ในอดีตเมืองท่าปลาขึ้นอยู่กับเมืองน่าน ในสมัยที่เมืองน่านยังมีเจ้าเมืองเป็นผู้ครองนครน่าน โดยรวมแขวงศีรษะเกษกับแขวงท่าปลาเข้าด้วยกันเป็นเขตน่าน ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๖๖ จึงแยกมาขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ --- อำเภอท่าปลา หรือ เมืองท่าปลา สันนิษฐานว่าคำว่า “ท่าปลา” คงมาจากคำว่า “ทัพป่า” หมายความว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งทัพในการออกศึกสงครามหรืออาจหมายถึง ท่าน้ำแถบนี้ท้องน้ำเต็มไปด้วยหินที่ใสเหมือนดวงตาหรือแก้วตาปลา ซึ่งถือกันว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ คำว่า ท่าปลา จึงอาจเพี้ยนมาจากคำว่า “ตาปลา” ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านและเมืองท่าปลาในอดีต --- พ.ศ. ๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่งตั้งเจ้าหนานนันทปโชติ ขึ้นเป็น เจ้ามงคลวรยศให้มาครองเมืองน่าน ในขณะนั้นเมืองน่าน รกร้างว่างเปล่าเนื่องจากถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลากว่า ๒๓ ปี จากการถูกกองทัพพม่าจากเมืองเชียงแสนกวาดต้อนผู้คน  เจ้ามงคลวรยศ (พ.ศ. ๒๓๒๖ - ๒๓๒๙) จึงได้รั้งเมืองอยู่ที่เมืองท่าปลา (อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์) --- พ.ศ. ๒๓๕๑ สมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ (หลานเจ้ามงคลวรยศ) เจ้าเมืองน่าน เสด็จลงไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในท้องที่อำเภอท่าปลา คือ เมื่อท่านเสด็จมาถึงบ้านท่าแฝก (หมู่ที่ ๖, ๗ ตำบลท่าแฝก) ท่านทราบข่าวว่ามีสามเณร ๒ รูป ได้แก่ สามเณรอริยะ กับสามเณรปัญญา ได้พบไหจีนบรรจุพระเกศาธาตุและของมีค่าหลายรายการ ท่านจึงนำพระเกศาธาตุและของมีค่าเหล่านี้ไปถวายรัชกาล ที่ ๑ ทำให้เจ้าเมืองน่านได้รับความดีความชอบเป็นอย่างมาก โบราณวัตถุที่สำรวจและขุดพบบริเวณวัดที่อยู่เหนือเขื่อนสิริกิติ์ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ และเงินตรา ซึ่งถูกบรรจุไว้ในองค์เจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปบุเงิน พระพุทธรูปสำริด และพระพุทธรูปไม้อีกจำนวนหนึ่ง ด้วยความสัมพันธ์ในอดีตดังกล่าวมาแล้วข้างต้นระหว่างเมืองท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และเมืองน่าน ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จึงได้นำโบราณวัตถุบางส่วนที่พบจากการสำรวจและขุดค้นบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดแสดงให้เข้าชม ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราวสมัยประวัติศาสตร์ ชั้นล่างของอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เอกสารอ้างอิง --- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาของจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๔๔. --- หน่วยศิลปากรที่ ๓ สุโขทัย. รายงานการสำรวจและขุดค้นโบราณวัตถุสถานเหนือเขื่อนสิริกิติ์. ๒๕๑๔.