ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 34,637 รายการ

          กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ Museum Talk “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” พร้อมเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยขอเชิญร่วมรับฟัง Museum Talk “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” กับมุมมองหลากหลายและประสบการณ์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กรมศิลปากร ที่จะมาเป็นแรงพลังให้พิพิธภัณฑ์ไทยอีกมากมาย ก้าวเดินต่อไปพร้อมกับสังคมโลกอย่างมั่นคง ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ น เป็นต้นไป และถ่ายทอดสดผ่านทาง YouTube และ Facebook : Office of National Museums, Thailand ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง พิพิธภัณฑ์กับการอนุรักษ์มรดกไทย โดยอธิบดีกรมศิลปากร การบรรยายพิเศษ “A New Museum Definition: ICOM Prague 2022” โดยนางสมลักษณ์ เจริญพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA) และการบรรยายใน ๓ หัวข้อ ได้แก่           "The Power of Achieving Sustainability" เรื่อง การเพิ่มคุณค่าสู่การสร้างมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพระปลัดประพจน์ สุปภาโต เจ้าอาวาสวัดสำโรง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง จังหวัดนครปฐม เรื่อง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน การอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนายเอิบเปรม วัชรางกูร ที่ปรึกษาด้านโบราณคดี มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เรื่อง พิพิธภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความหลากหลายและความยั่งยืนทางวัฒนธรรม โดย ผศ.ดร.พรู คูศรีพิทักษ์ วิวิธชาติพันธุ์ พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล            “The Power of Innovating on Digitalisation and Accessibility" เรื่อง การปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์: นิทรรศการหมุนเวียนเล่าเรื่องอาคารกับวันวานรอบพิพิธภัณฑ์และการเริ่มต้นเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา โดยนางกาญจนา ศรีปัดถา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง E-BOOK ใน QR CODE โดย นาวาเอก ไพรัช สมุทรสินธุ์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ กองประวัติศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ เรื่อง การบริหารพิพิธภัณฑ์ในยุคดิจิทัล โดยนางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เรื่อง พิพิธภัณฑ์กับการสื่อสารร่วมสมัย โดยนายชนะภพ วัณณโอฬาร ภัณฑารักษ์ สำนักศิลปและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา            “The Power of Community Building Through Education” เรื่อง พิพิธภัณฑ์ในสังกัดกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยนายชลทิตย์ ไชยจันทร์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ เรื่อง งานวิจัยพื้นที่สามวัยโดยบริบทของนิทรรศการ และกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นฐาน โดยนางสาววิลาสินี ไตรยราช ผู้อำนวยการกองวิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เรื่อง ความรู้เรื่องที่ดินกับชุมชนผ่านวัตถุจัดแสดง โดยนายชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน เรื่อง พิพิธภัณฑ์รัฐสภา: MUSEUM FOR ALL โดยนายเชษฐา ทองยิ่ง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง มิวเซียมสยามและชุมชนท่าเตียน โดยนายทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ          ทั้งนี้ ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้บริการเป็นกรณีพิเศษ งดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม โดยสามารถเข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการได้ทุกห้องจัดแสดง  อาทิ นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน การจัดแสดงนิทรรศการถาวร ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล การจัดแสดงนิทรรศการถาวร ประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาคารมหาสุรสิงหนาท และอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ผู้สนใจสามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนำผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. บรรยายนำชมโดยวิทยากรจากทีมงานผู้จัดนิทรรศการฯ ทั้งนักโบราณคดี ภัณฑารักษ์และนักวิชาการอิสระ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าชมและฟังการบรรยายได้อย่างทั่วถึง จึงจัดการเข้าชมเป็นสองรอบคือ รอบแรกเวลา ๑๓.๓๐ น. (ลงทะเบียน เวลา ๑๓.๐๐ น.) และรอบที่สองเวลา ๑๔.๔๕ น. (ลงทะเบียนเวลา ๑๔.๐๐ น.) รอบละ ๓๐ คนเท่านั้น ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่หน้าห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. วันพุธ - วันอาทิตย์ สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทางผู้จัดฯ มีของที่ระลึกแจกสำหรับผู้ที่แต่งกายเข้ากับบรรยากาศของนิทรรศการพิเศษ 


อาสาฬหบูชา “การบูชาในเดือน ๘”       หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นการพิเศษ เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะคำรบพระรัตนตรัย       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?        ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เอกสารอ้างอิงพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต เข้าถึงได้โดย https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D2%CA%D2%CC%CB%BA%D9%AA%D2พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนา เข้าถึงได้โดย https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=4...


ชื่อเรื่อง                                วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรีครั้งที่                                   -ผู้แต่ง                                  กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ประเภทวัสดุ/มีเดีย               หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                          -หมวดหมู่                             ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่                                959.373 ว394สถานที่พิมพ์                        กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                          โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                              2544ลักษณะวัสดุ                        30 ซม. : 269 หน้าหัวเรื่อง                               วัฒนธรรม -- สุพรรณบุรี                                          สุพรรณบุรี -- ประวัติศาสตร์                                          สุพรรณบุรี -- ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว                                          สุพรรณบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                                 ไทยบทคัดย่อ/บันทึก            รวบรวมเรื่องราวท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การตั้งถิ่นฐาน มรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาและวรรณกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น เอกลักษณ์ของจังหวัด บุคคลสำคัญ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาท้องถิ่น เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ




           กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมเรียนรู้พร้อมรับพรปีใหม่อันเป็นมงคลจากผู้คุ้มครองดวงชะตาทั้งจากพระและเทพเจ้า รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ผู้ทำหน้าที่ปกปักรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในกิจกรรม “นบพระ ไหว้ (เทพ) เจ้า” เนื่องในเทศกาลปีใหม่ ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. วันละ ๑ รอบๆ ละ ๔๐ – ๕๐ คน ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในวันงาน (เวลา ๑๖.๓๐ น.) ณ ศาลาลงสรง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             เส้นทางกิจกรรมนำชมในครั้งนี้ แบ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. เทพเจ้ากับพระพุทธ ผู้ครองเรือนชะตามนุษย์ และ ๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกปักรักษา ดังนี้            ๑. ผู้ครองเรือนชะตามนุษย์ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ได้แก่ นพเคราะห์ทั้ง ๙ (อุปสรรค) ผู้ให้คุณและโทษแก่ผู้เกิดในวันนั้น ๆ โดยมีพระคเณศเป็นเจ้าแห่งอุปสรรคทั้งหลาย นพเคราะห์เหล่านี้เองที่เป็นต้นแบบให้กับ รูปแม่ซื้อ ที่แขวนไว้เหนือเปลเด็กเกิดใหม่ โดยนำภาพสัตว์เทพพาหนะของแต่ละองค์มาแทนศีรษะ  แม่ซื้อในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์์โปรดให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคัดเลือกลักษณะปางหรือมุทราตามที่ปรากฏในพุทธประวัติของพระบรมศาสดา จำนวน ๔๐ ปาง มาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงปรากฏการสร้างพระพุทธรูปแทนนพเคราะห์ประจำวันเกิด ดังปรากฏใน   พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่อัญเชิญมาให้สักการะในปีใหม่นี้           ๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกปักรักษา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นั้น ประกอบด้วย พระชัยหลังช้าง ผู้ปกปักรักษากองทัพในการสงคราม พระพุทธรูปแกะสลักจากนอระมาด ของทนสิทธ์ผู้ปกปักรักษาบ้านเรือนให้ร่มเย็น รอดพ้นจากอัคคีภัย สัตตมงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของครูโขนละคร ผู้ปัดเสนียดจัญไร พระภูมิเจ้าที่ผู้ปกปักรักษาบ้านเรือน ไร่นา และยุ้งฉาง และเจ้าพ่อหอแก้ว ศาลพระภูมิประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์            สำหรับเส้นทางนำชมเรียงตามลำดับทักษิณาวรรต ได้แก่            ๑. พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธรูปประจำวันเกิด ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์              ๒. พระชัยในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระแกะสลักจากนอระมาด ณ พระตำหนักแดง              ๓. บัตรนพเคราะห์และแม่ซื้อ ณ พระตำหนักแดง              ๔. พระคเณศและสัตตมงคล ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข              ๕. พระภูมิเจ้าที่ ณ มุขเด็จ              ๖. พระชัยเมืองนครราชสีมา ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข              ๗. เจ้าพ่อหอแก้ว ณ ศาลพระภูมิประจำวังหน้า             นอกจากนี้  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ยังได้ร่วมลุ้นรับของที่ระลึกสุดพิเศษ (*วันละ ๑๐ ชิ้นเท่านั้น) "เครื่องรางโอมาโมริแก้ชง ปีเถาะ ธาตุน้ำ" ภายในบรรจุยันต์ "องค์ไท่ส่วย" ปี ๒๕๖๖ รับเมตตาอธิษฐานจิตจากพระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นงี้) เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 149/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6ฉเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสวัสดิ์วรสาส์น (สวัสดิ์ คชะสุต) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : การพิมพ์ไชยวัฒน์ จำนวนหน้า : 76 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสวัสดิ์วรสาส์น (สวัสดิ์ คชะสุต) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2514 หลวงสวัสดิ์วรสาส์นเคยรับราชการประจำ ณ สถานฑูตสยาม กรุงลอนดอนระหว่าง พ.ศ. 2466-2471 เคยใกล้ชิดเจ้านายหลายพระองค์ด้วยความภักดี จึงเห็นสมควรจัดพิมพ์ลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่ระหว่างเสด็จประพาสยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2473



ชื่อเรื่อง : เมขลา-รามสูร ของเสฐียรโกเศศ นางสาวสมจิตร ชิตินทร พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวไขศรี ชิตินทร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 28 มิถุนายน 2507 ชื่อผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : การพิมพ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 114 หน้าสาระสังเขป : เมขลา-รามสูร ของเสฐียรโกเศศ นางสาวสมจิตร ชิตินทร พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวไขศรี ชิตินทร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 28 มิถุนายน 2507 เนื้อหาในหนังสือตอนแรกจะกล่าวถึงประวัติของนางสาวไขศรี ชิตินทร ตอนต่อไปจะเป็นเรื่อง เมขลา-รามสูร ของเสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป เนื้อเรื่องจะเป็นการเล่าถึงเรื่องราวของเมขลากับรามสูรพร้อมทั้งข้อสันนิษฐานบางอย่าง โดยเรื่องบางเรื่องที่นำมาอ้าง เป็นข้อความที่คัดเอามาลงไว้ทั้งตอน เพื่อให้ได้อ่านกวีนิพนธ์ที่อาจจะลืมไปบ้างแล้ว ตอนที่ 2 บันทึกคำว่าเมขลา ของนายกี อยู่โพธิ์



ชื่อเรื่อง                          สวดมนต์สิบสองตำนาน (สวดมนต์สิบสองตำนาน)สพ.บ.                            435/1ประเภทวัสดุมีเดีย         คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                      พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                82 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                         บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ไปดูเค้าปล่อยปลา -- ปี 2520 รัฐบาลจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น สถานีประมงจังหวัดจึงกำหนดกิจกรรม "เฉลิมฉลองรับขวัญ" ครั้งนี้คือ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ. เอกสารจดหมายเหตุเรื่องการปล่อยปลาลงกว๊านพะเยาให้รายละเอียดว่า สถานีประมงจังหวัดพะเยาจัดงานปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2520 ภายหลังการประกอบพิธีถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เนื่องในวันปิยมหาราชแล้ว โดยเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาเป็นประธาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการทุกท่านร่วมกิจกรรม. สำหรับสายพันธุ์สัตว์น้ำที่นำมาปล่อยมีจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม ปลาสวาย ปลานิล ปลาไน ปลายี่สกเทศ ปลาจีนหรือปลาเฉา ลิ่น ซ่ง ปลาตะเพียนขาว และปลาสร้อยขาว รวมทั้งสิ้น 370,000 ตัว. เอกสารจดหมายเหตุฉบับนี้จึงเป็นหลักฐานชั้นต้น (Primary Source) หรือประจักษ์พยานการฉลองการก่อตั้งจังหวัดพะเยาเป็นอย่างดี อีกทั้งเนื้อหาระบุความหมายมงคลแฝงไว้ กล่าวคือ.  1. กิจกรรมครั้งนี้ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ร่วมด้วย  2. สร้างประโยชน์แก่ชาวประมงและประชาชนรอบกว๊านพะเยาได้อาศัยอุปโภคบริโภค 3. สายพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อยมีปลานิลซึ่งรับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาเพาะเลี้ยง กับปลาจีนหรือปลาเฉา ลิ่น ซ่ง ที่รัฐบาลนำเข้ามาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงสู่แหล่งน้ำกว้างใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ. ดังนั้น กิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นการกุศลแด่สาธารณะมหาศาล สายพันธุ์สัตว์น้ำให้คุณูปการทั้งปัจจัยสี่ การประกอบอาชีพ รวมถึงการอนุรักษ์ไปพร้อมกัน ประชาชนจึงได้ประโยชน์ตราบเท่าทุกวันนี้.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/8 เรื่อง การปล่อยปลาลงกว๊านพะเยา [ 27 มี.ค. 2515 - 13 ต.ค. 2521 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ