ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ


ผ้าป่าแถวแห่งเดียวในโลก ทอดกลางสายฝน สาธุชนผู้มีจิตศรัทธา ใฝ่บุญเหนียวแน่น ไม่ถอยหนีนายธานีธัญญาโภชน์ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร  นายรุ่งชัย ใบกว้างรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายนลิน ตั้งประสิทธิ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรนายมนต์ ชัยรุ่งชาญชัยประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกำแพงเพชร นายดนัย ยอดนิลท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร นายรวีโรจน์ ส่องศรีประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร นางรัชนี อัศวสุธีรคุณ นางธีรยา ธรรมสุคติ นางชมดี สุทธะมุสิก คณะเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร นางจันทร์จิรา ยอดนิลผู้อำนวยการกองสาธารณสุข ตัวแทนเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการทุกภาคส่วน สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้ร่วมพิธีทอดผ้าป่าแถวในงานประเพณีเนื่องในวันสารทไทยเทศกาลวันสารทไทยตรงกับ (แรม 15 ค่ำ เดือน 10) ปีนี้ตรงกับวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ชาวเมืองกำแพงเพชร จะทำบุญตักบาตรเนื่องในวันสารทไทย ผลไม้ที่นิยมกล้วยไข่คู่กับกระยาสารทไปทำบุญตักบาตร จึงเป็นที่มาของการจัดงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา ในปีนี้หลังจากทำบุญภาคเช้าแล้ว ภาคค่ำก็มีพิธีทอดผ้าป่าแถว บริเวณวัดพระแก้ว ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ถือเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในโลกนี้เนื่องจากประเพณีการนุ่งห่มของพระสงฆ์ กล่าวคือ สมัยพุทธกาล พระสงฆ์ทั้งหลายต้องเก็บเศษผ้าที่ชาวบ้านทิ้งแล้ว เพราะเปรอะเปื้อนด้วยของไม่สะอาด เป็นต้น จากที่ต่าง ๆ เอามาซัก ตัด เย็บย้อม ทำผ้านุ่งห่มดูเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร ชาวบ้านบางท่านประสงค์จะถวายผ้าแต่พระสงฆ์ก็รับไม่ได้ เพราะพระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้รับเพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวนชาวบ้าน และฟุ่มเฟือยเกินไปเมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะให้พระสงฆ์มีผ้านุ่งห่มอย่างเพียงพอ โดยการนำผ้าไปทิ้งไว้ตามที่ต่าง ๆ พระสงฆ์ไปพบเข้าพิจารณาดูแล้วไม่มีเจ้าของหวงแหน จึงนำมาทำเป็นผ้านุ่งห่ม นี่เป็นมูลเหตุของการทอดผ้าป่า โดยจุดประสงค์รวม ๆ ก็คือ อุปถัมภ์พระสงฆ์ให้มีผ้านุ่งห่มนั่นเอง ต่อมาพระพุทธองค์ ทรงเห็นความจำเป็นและความลำบากของพระสงฆ์ในเรื่องผ้านุ่งห่ม จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าจากผู้มีจิตศรัทธาได้ฉะนั้น การทอดผ้าป่า จึงเป็นแต่สมัยพุทธกาลประเทศไทยเราก็คงรับประเพณีนี้มาพร้อม ๆ กับการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา แต่คงเป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ไม่เด่นชัดนัก จนมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเพณีการทอดผ้าป่าจึงได้รับการรื้อฟื้นขึ้นใหม่จนเป็นที่นิยมปฏิบัติของ ชาวพุทธไทยเราตราบเท่าทุกวันนี้ต่อมาในงานประเพณีสำคัญ เทศกาลวันสารทไทย (แรม 15 ค่ำ เดือน 10) งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ได้จัดพิธีทอดผ้าป่าแถว บริเวณวัดพระแก้ว ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดเตรียมสถานที่ โดยปักหลักสำหรับพาดพุ่มผ้าป่าแถว ไว้เป็นแถว ๆ รวมประมาณ 172 หลัก จำนวนเลขก็เท่ากับจำนวนพระสงฆ์  สำหรับสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาก็จะพากันจัดพุ่มผ้าป่า (ของใช้ต่าง ๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือผ้า) นำไปทอดผ้าป่าแถว บริเวณวัดพระแก้ว ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อไปถึงก็ไปจับสลากแล้วนำพุ่มผ้าป่าไปวางไว้ตามหลัก  (ไม่มีการเรียงลำดับไว้ให้) แล้วเอาสลากที่จับไปติดไว้ที่พุ่มผ้าป้าของตนให้พระสงฆ์เดินดูแล้วมองเห็นได้ง่าย เมื่อถึงเวลาประมาณ 20.00 น. พระสงฆ์มาพร้อมกัน เมื่อเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้ว พระสงฆ์ จะเดินไปตามแถวผ้าป่า เพื่อชักพุ่มผ้าป่าที่ติดเลขตรงกับเลขของท่าน โดยแสดงเลขสลากให้เจ้าของพุ่มผ้าป่าให้เห็นด้วย  เป็นประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของเมืองกำแพงเพชรที่มีเอกลักษณ์ควรอนุรักษ์ อย่างยิ่งแม้ว่าในปีนี้จะมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง สาธุชนผู้มีจิตศรัทธา ก็ไม่ได้หวั่นไหว สู้ตากสายฝนถวายกองผ้าป่าจนแล้วเสร็จพิธี ถือเป็นบุญอันในยิ่งใหญ่เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสร่วมในพิธีทางศาสนาภายวัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์ ที่มีอายุยืนยามมากว่า 700 ปี  


ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ครบกำหนดรื้อถอนอาคารรุกล้ำกำแพงดินแล้วแต่สถานการณ์ยังนิ่ง ผู้ว่าฯ ยันสั่งแล้วต้องดำเนินการ เทศบาลเผยเจ้าของอาคารอุทธรณ์กลับต้องนำเสนอจังหวัดอีกรอบก่อนดำเนินการต่อ ด้านศิลปากรบอกต้องอุทธรณ์กับส่วนกลางเท่านั้น แต่ไม่รู้เจ้าของอาคารดำเนินการหรือยัง ส่วนธนารักษ์แจงความเห็นแตก “รื้อหมด-รื้อเฉพาะที่ล้ำ” รอชี้ขาดในที่ประชุมติดตามความคืบหน้า 17 ก.พ. นี้ วันนี้ (17 ก.พ.) หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมติดตามและเร่งรัดการแก้ไขปัญหา กรณีเอกชนก่อสร้างอาคารบริเวณแนวกำแพงเมือง-คูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ อาคารศูนย์ราชการกระทรวงการคลังจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวเข้าร่วมประชุม การประชุมดังกล่าวเป็นการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ปัญหากรณีที่เอกชน 2 ราย ก่อสร้างรุกล้ำพื้นที่แนวกำแพงดิน ซึ่งนับตั้งแต่มีการเปิดเผยเรื่องราวผ่านทางสื่อมวลชน หน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวได้มีการประชุมหารือ และกำหนดมาตรการแก้ไข โดยล่าสุด ได้มีการออกคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่เป็นปัญหาทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ อาคารโรงแรม บริเวณตรงข้ามโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง ของนางสาวเพ็ญสินี พรหมเศรณี และอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น จำนวน 4 คูหา ข้างร้านเต้ยติ่มซำ ของนายวลัญช์ชัย เกียรตินิยมรุ่ง ในที่ประชุมได้มีการพิจารณากรณีที่ นางสาวเพ็ญสินี พรหมเศรณี ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอาคารไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย นายณภัทร ประเสริฐดี ผู้อำนวยการส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ แจ้งต่อที่ประชุมว่า เรื่องการยื่นอุทธรณ์ของนางสาวเพ็ญสินี อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ระดับจังหวัด ส่วนนายวิเศษ เพชรประดับ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ แจ้งว่า ทางสำนักได้แจ้งให้ นางสาวเพ็ญสินี ทราบแล้วว่าการยื่นอุทธรณ์นั้นต้องยื่นไปที่กรมศิลปากร แต่การยื่นอุทธรณ์นั้นจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าว ขณะที่ ว่าที่ ร.ต.ยงยุทธ เรืองภัทรกุล ธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ได้รายงานต่อที่ประชุมว่า เนื่องจาก นางสาวเพ็ญสินี ได้แจ้งมาในคำร้องอุทธรณ์ ว่า ยินดีที่จะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เปลี่ยนแปลงต่อเติมใหม่จากอาคารของเดิมที่มีอยู่ และจะปรับสภาพอาคารที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพเดิมก่อนการเช่า ประกอบกับผู้ตรวจราชการ นางสาวจินตนา กิจจำนง ได้ให้ความเห็นภายหลังการเข้าตรวจสอบพื้นที่ ว่า ควรจะพิจารณาเรื่องการรื้อถอนให้รอบคอบ เนื่องจากหารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกทั้งหมดแล้ว ในอนาคตหากไม่มีการปรับปรุงพื้นที่ก็อาจมีปัญหาถูกรุกล้ำอีก ธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ จึงได้ทำหนังสือขอให้กรมธนารักษ์ประสานกับกรมศิลปากร เพื่อหารือว่าจะขอปรับสภาพอาคารที่มีการก่อสร้างไปโดยไม่ได้รับอนุญาตให้กลับคืนอยู่ในสภาพเดิม ก่อนที่จะมีการจัดให้เช่า จะสามารถทำได้หรือไม่ แม้ที่ประชุมจะยังไม่มีข้อสรุปในกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตามแนวทางที่ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกัน ก็คือ จะรอให้คณะกรรมการอุทธรณ์ระดับจังหวัดพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นก่อน เมื่อคณะกรรมการมีมติอย่างไรก็จะดำเนินการตามแนวทางนั้น ขณะที่สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงคำสั่งต่างๆ ของกรมศิลปากรนั้นเป็นอำนาจของอธิบดี แต่ในเบื้องต้นหน่วยงานเห็นควรให้ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ออกไปแล้ว เช่นเดียวกับ หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้ให้ความเห็นว่าควรปล่อยให้เรื่องดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการฟื้นฟูสภาพแนวกำแพงดินในส่วนที่ยังคงสภาพอยู่ โดยสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ได้เสนอพื้นที่ช่วงถนนกำแพงดิน บริเวณตรงข้ามวัดช่างฆ้องจนถึงสี่แยกถนนกำแพงดินตัดกับถนนลอยเคราะห์ ให้เป็นพื้นที่สำหรับทำการบูรณะฟื้นฟูแนวกำแพงดินส่วนที่ยังคงสภาพ ซึ่งยังคงมีเหลืออยู่ในบริเวณดังกล่าว เพื่อให้เป็นจุดตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของกำแพงดินเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ความสนใจในแนวทางดังกล่าว และมีความเห็นว่า ให้สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ไปศึกษาถึงแนวทางในการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าว โดยอาจจะใช้วิธีการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตอนุรักษ์ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกับประชาชนส่วนที่ยังอยู่ในพื้นที่ ส่วนธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ และสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จะดูในส่วนของการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ และให้เทศบาลนครเชียงใหม่ดูแลในส่วนของการก่อสร้างและงบประมาณ ซึ่งในส่วนของงบประมาณอาจจะขอความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2554 15:40 น http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000021498



ชื่อวัตถุ ชุดเครื่องถ้วยจีน ทะเบียน ๒๗/๓๕๕/๒๕๓๒ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) กระเบื้องเคลือบสี ประวัติที่มา ทำจากเมืองจีน มีตราที่ก้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้รับมอบจากนายประชา ตัณฑวณิช บ้านเลขที่ ๙๘ ถนนกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “ชุดเครื่องถ้วยจีน” ชุดเครื่องถ้วยจีน ประกอบด้วย ถ้วย จาน และช้อน ถ้วยปากฝายออก ขอบหยักคล้ายคลื่น เขียนด้วยสีทอง ด้านนอกถ้วยใต้ขอบปากตกแต่งด้วยสีชมพู เหลือง เขียว และน้ำเงิน เป็นลายมงคลต่างๆ เช่น วัฏสงสารหรือปมเชือกที่ไม่สิ้นสุด จีนเรียก “ฉาง”(panchang) เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืน การประสานรวมกันและปลาคู่ จีนเรียก “ยู”(yu)เป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์และดอกบัว เป็นต้น ลำตัวตกแต่งด้วยสีชมพู เหลืองเขียว และน้ำเงิน ทำเป็นลายนกฟีนิกส์(Phoenix) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีและสง่างาม และลายดอกโบตั๋น(Peony) ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าโบตั๋นเป็นราชาแห่งหมู่มวลดอกไม้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและเกียรติยศ ส่วนเชิงของถ้วยเป็นสีชมพู ก้นถ้วยมีตราสี่เหลี่ยมภายในมีตัวอักษรจีนสีส้มด้านในถ้วยใต้ขอบปากตกแต่งด้วยลายมงคลต่างๆ เช่น หอยสังข์ จีนเรียก “ลั่ว”(luo) เป็นสัญลักษณ์แทนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และฉัตรหรือร่ม จีนเรียก “ไก”(gai) เป็นสัญลักษณ์แทนการปกปักรักษา และดอกบัว เป็นต้น ส่วนก้นด้านในเป็นลายดอกโบตั๋น จานรองขอบปากหยักคล้ายคลื่นเขียนด้วยสีทอง ด้านในจานตกแต่งด้วยสีชมพู เหลือง เขียว และน้ำเงิน เป็นรูปสัญลักษณ์มงคลต่างๆ เช่น หอยสังข์ ร่ม(ฉัตร) และดอกบัว เป็นต้น ส่วนกลางของจานตกแต่งด้วยสีต่างๆ เช่น สีชมพู เหลือง เขียว และน้ำเงิน เป็นต้น ทำเป็นรูปนกฟีนิกส์และรูปดอกโบตั๋น ส่วนด้านนอกขอบจานตกแต่งด้วยสีชมพู เหลือง และฟ้า เป็นลายดอกไม้ ก้นจานมีตราสี่เหลี่ยมภายในมีตัวอักษรจีนสีส้ม ช้อน ด้ายบนตกแต่งด้วยสีต่างๆ เช่น ชมพู เขียว และส้ม เป็นต้น ด้ามช้อนเป็นรูปนกฟีนิกส์ส่วนที่ตักเป็นรูปดอกโบตั๋น เครื่องถ้วยรูปแบบนี้เรียกกันว่า “เครื่องถ้วยนนยา” (Nyonya Wares)ซึ่งคำว่า นนยา (Nyonya) เป็นคำภาษาชวาที่ยืมมาจากคำว่า “dana”ซึ่งเป็นภาษาดัชต์ หมายถึง ผู้หญิงต่างประเทศแต่งงาน ต่อมาใช้เรียกกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เรียกว่า “เปอรานากัน” แปลว่า “เกิดที่นี่” ซึ่งส่วนใหญ่อยู่อาศัยในแถบประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ส่วนในภูเก็ตเรียกคนที่มีเชื้อสายจีนผสมกับพื้นเมืองว่า “บาบ๋า” “เครื่องถ้วยนนยา” คือ เครื่องถ้วยลงยาสีบนเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดนี้มีราคาที่แพง เนื่องจากมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากและมีการเผาหลายครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกต้องเผาด้วยอุณภูมิที่ต่ำ เรียกว่า “เผาดิบ” จากนั้นนำไปชุบน้ำเคลือบแล้วเผาอีกครั้งด้วยอุณภูมิที่สูงขึ้นแล้วจึงได้ภาชนะเคลือบสีขาวแล้วจึงนำไปลงยาสี “การลงยา” หมายถึง การนำน้ำเคลือบมาผสมกับน้ำมันการบูรซึ่งเป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติต่างๆ คือ ทำให้สีแห้งเร็ว สามารถละลายตัวสีให้มีความข้นพอที่จะทำให้ตัวสีติดกับผิวเคลือบ สีที่ติดบนผิวภาชนะจะสดใส มีความหนา และแข็งตัวง่ายเมื่อถูกอากาศ แล้วจึงเผาอีกครั้ง และหากมีการลงสีทองต้องมีการเผาครั้งสุดท้ายในอุณภูมิที่ต่ำกว่า ลายที่นิยมใช้ตกแต่งบนเครื่องถ้วยนนยา เช่น ลายดอกไม้ นก เป็นต้น เครื่องถ้วยนนยาแบบที่ตกแต่งด้วยการลงยาบนสีเคลือบ มีอายุสมัยเก่าที่สุดในช่วงราชวงศ์ชิง พ.ศ.๒๓๖๔ – ๒๔๙๓ แต่ถูกผลิตมากในช่วง พ.ศ.๒๔๐๕ – ๒๔๕๑ ซึ่งตรงกับยุครัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) ซึ่งในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่มีชาวจีนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองแร่บนเกาะภูเก็ต “เครื่องถ้วยเขียนสี” หรือ “เครื่องถ้วยนนยา” ชุดนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมอบจากนายประชาตัณฑวณิช ชาวภูเก็ตซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีเชื่อชาติผสมระหว่างพื้นเมืองและจีนหรือที่เรียกว่า “บาบ๋า” เครื่องถ้วยชุดนี้ จึงเป็นหลักฐานการเข้ามาของชาวจีนในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ และสะท้อนถึงความนิยมเครื่องถ้วยจีนในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ลวดลายบนเครื่องถ้วยยังเป็นสัญลักษณ์มงคลที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย เอกสารอ้างอิง - ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และนิสิต มโนตั้งวนพันธุ์. “เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋า ย่าหยา) จากเครื่องถ้วยนนยา,” วารสารนักบริหาร ๓๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓):, ๖๒– ๖๗. -The Brithish Museum. Chinese symbols.Available at: URL:https://www.britishmuseum.org/pdf/Chinese_symbols_๑๑๐๙.pdf. Accessed May ๔, ๒๐๑๘.


                                 คาถาโอม มณี ปัทเม ฮัม (Om Mani Padme Hum)      มนตราบทหนึ่งของชาวธิเบตที่นับถือพุทธศาสนา ซึ่งแปลความได้ว่า ‘โอม อัญมณีในดอกบัว’ บทสวดนี้เป็นบทสวดที่ใช้ในการสวดอ้อนวอนต่อเชนเรสี (Chenrezi, พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร) หรือเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษาชาวธิเบต และมักจะพบบทสวดนี้ได้ตามหินผา                                การอ่านมนตรานี้ซ้ำๆ จะเป็นการเพิ่มพูนกุศลบุญ และลดบาปอันเกิดจากการกระทำส่วนการเจริญสมาธิ เชื่อว่าเป็นการชำระล้างใจและกายให้สะอาดบริสุทธิ์ ช่วยให้พวกเขาไม่ต้องตกนรกหมกไหม้ และได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ เชื่อกันว่าการหมุนกงล้ออธิษฐานนั้นให้ผลเช่นเดียวกับการสวดมนตรานี้พร้อมไปกับการใช้นิ้วมือหมุนสร้อยลูกประคำไปทีละเม็ด                                  มีการสันนิษฐานว่าบทสวดนี้น่าจะแปลความหมายได้ว่า มนุษย์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงกายเนื้อ คำพูด และจิตใจที่แปดเปื้อนมีมลทินไปเป็นกายเนื้อ คำพูด และจิตใจอันบริสุทธิ์ได้ เหมือนดังพระพุทธองค์ที่ครั้งหนึ่งเคยต้องมัวหมองทั้งกาย ใจ และคำพูดมาก่อนแต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงสามารถตัดกิเลสและตรัสรู้ได้เอง การเดินตามรอยพระพุทธองค์ด้วยวิธีการเดียวกันนั้น จะทำให้วิธีคิดและปัญญาไม่แยกออกจากกัน                                 คำว่า โอม (om) นั้นเป็นตัวแทนของมนุษย์ที่มีร่างกาย คำพูด และจิตใจที่มัวหมอง          มณี (Mani) หมายถึง อัญมณี เป็นตัวแทนขององค์ประกอบของความเมตตา กรุณาและความรักความห่วงใย           ปัทเม (padme) แปลว่า ดอกบัว และเป็นเครื่องหมายของปัญญา การที่ดอกบัวมีกำเนิดมาจากโคลนตม แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดอกบัวต้องมัวหมองด้วยโคลนตม ด้วยเหตุนี้ดอกบัวจึงถูกนำพาไปเปรียบเทียบกับปัญญาที่นำมนุษย์ให้พ้นจากความมัวหมองทั้งปวง          ฮัม (hum) แปลว่า สิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์และสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการรวมเอาวิธีการและปัญญาไว้ด้วยกัน จากหนังสือนัยแห่งสัญลักษณ์ ภาพประกอบ http://board.palungjit.com    


ทรัพย์ในดินสิงห์บุรีแสดงสภาพภูมิศาสตร์ธรณีวิทยา แหล่งกำเนิดของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะดิน หิน แร่ ของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแหล่งโบราณคดีบ้านคูเมืองเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ แสดงหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีสมัยทวารวดี ขุดค้นพบที่ บ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปศิลา ภาชนะดินเผา แท่นหินบดยา ชิ้นส่วนศาสนสถาน เช่น ยอดสถูปดินเผาแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยเป็นเตาเผาผลิตเครื่องปั้นดินเผาสมัยอยุธยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 - 24 ตั้งอยู่ที่วัดพระปรางค์ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งกรมศิลปากรได้ขุดแต่งแล้วเป็นเตาเผาขนาดใหญ่ 3 เนิน ปัจจุบันนี้สร้างหลังคาคลุมเตา ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเตาเผาแห่งนี้มี 2 ประเภท คือ ภาชนะใช้สอย เช่น ไห กาน้ำ และเครื่องมือประกอบสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องเชิงชาย มกร อาคารดุริยางกูร


          เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมีแหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย บริเวณลำน้ำลาว บริเวณบ้านป่าส้าน และบ้านทุ่งม่าน ลักษณะของเตาเผาเป็นเตาชนิดระบายความร้อนผ่านในแนวนอน ขุดเข้าไปในเนินดิน           ลักษณะเด่นของเครื่องถ้วยจากแหล่งเตานี้มักมีน้ำหนักเบา เนื่องจากเนื้อดินที่ใช้ปั้นภาชนะมีความละเอียด และสามารถขึ้นรูปได้บางกว่าเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย เนื้อดินมีสีขาว สีเหลืองนวล และสีเทา น้ำเคลือบบางใส และรอนรานเป็นรอยเล็กละเอียด เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมักเคลือบถึงบริเวณขอบเชิง บางใบมีการเคลือบก้นด้วย รูปทรงของเครื่องถ้วยที่ผลิต ได้แก่ จาน ชาม แจกัน โถ ผางประทีป ถ้วย รวมถึงตัวหมากรุก และตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ           แหล่งเตาเวียงกาหลงจะผลิตเครื่องถ้วย 4 ประเภท คือ ประเภทเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ประเภทเคลือบใส ประเภทเคลือบสีเขียว และประเภทเคลือบสีน้ำตาล           ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องถ้วยเวียงกาหลงประเภทเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ได้แก่ ลายกลีบดอกไม้หรือใบไม้ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ลายกา” นอกจากนี้ยังพบลายช่อดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา ลายดอกไม้ก้านขด ลายรูปสัตว์ รวมทั้งลายที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากภายนอก เช่น ลายเก๋งจีน ลายภูมิประเทศ ลายกิเลน เป็นต้น           ส่วนเครื่องถ้วยเวียงกาหลงประเภทเคลือบใสมักตกแต่งด้วยการขูดขีดลายซี่หวีหรือกลีบดอกไม้ลักษณะต่างๆ เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน


          เฟื้อ หริพิทักษ์ (พ.ศ. 2453 - 2536) เป็นศิลปินระดับแนวหน้าคนสำคัญในยุคเบิกเบิกงานศิลปะสมัยใหม่ไทย ผู้เป็นทั้งศิลปินชั้นเยี่ยมและอาจารย์สอนศิลปะ ต้นธารแห่งแรงบันดาลใจในการบุกเบิกสร้างสรรค์งานศิลปกรรมสมัยใหม่แก่คนรุ่นหลัง จนได้รับการยกย่องในฐานะ “ครูใหญ่แห่งวงการศิลปะ”             ภาพเหมือนศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (พ.ศ.2478) ผลงานภาพเหมือนศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในผลงานจิตรกรรมชิ้นเด่นระยะแรกๆ ของอาจารย์เฟื้อ คาดว่าเป็นผลงานที่อาจารย์เฟื้อ วาดขึ้นขณะศึกษาศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง ก่อนจะย้ายมาเรียนศิลปะกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรมในระยะเวลาต่อมา แม้จะเป็นผลงานภาพเหมือนขนาดเล็ก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงทักษะชั้นเยี่ยมในการใช้สีชอล์คของอาจารย์เฟื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพื้นผิวและการจัดองค์ประกอบแสงซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นอย่างสวยงามลงตัว อาจารย์เฟื้อใช้เทคนิคการปาดสีชอล์คสร้างพื้นผิวภาพบุคคลอย่างฉับไว ในสไตล์ทีแปรง (Painterly Style) ของศิลปินอิมเพรสชันนิสต์ แว่นตาทรงกลม ถูกวาดขึ้นด้วยลายเส้นที่หนาและหนักจนเป็นลักษณะเด่นของพื้นผิวภาพบริเวณดังกล่าวที่แลดูนูน-ลอย ใบหน้าของอาจารย์ศิลป์ ถูกเน้นย้ำให้เด่นชัดขึ้นจากการจัดแสงบนใบหน้า ตั้งแต่หน้าผากจรดส่วนคาง ซึ่งระบายด้วยสีในโทนเหลือง-ส้ม           ภาพเหมือนหญิงสาวสวมเสื้อคอกลมสีแดง นั่งเอี้ยวตัวแบบ “คอนทราโพสโต้” (Contrapposto) เป็นหนึ่งในงานภาพเหมือนบุคคลชิ้นเด่นของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ซึ่งชนะรางวัลเหรียญทองจากการประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ใน พ.ศ. 2500 เป็นผลให้อาจารย์เฟื้อ ได้รับการยกย่องเป็น “ศิลปินชั้นเยี่ยม” จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งดังกล่าว เนื่องมาจากการคว้ารางวัลเหรียญทองจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ รวมกันทั้งสิ้น 3 ครั้ง (ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492 / ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493 และครั้งที่ 8 พ.ศ.2500) ความเจนจัดในการปาดชั้นสีด้วยฝีแปรงที่ฉับพลัน ยังคงเป็นลักษณะเด่นในงานจิตรกรรมของอาจารย์เฟื้อ แม้กระทั่งงานในระยะหลัง ภาพ “เสือแดง” หรือในอีกชื่อหนึ่ง “สาวอีตาเลียน” เป็นภาพเหมือนบุคคลที่แลดูเรียบง่าย ทว่าสะท้อนความสันทัดในการสร้างดุลยภาพของสี ที่สอดรับกันเป็นอย่างดีกับการถ่ายทอดน้ำหนักของแสงตลอดทั้งภาพ เทคนิคทางศิลปะของสำนักคิดบาศก์นิยม หรือ คิวบิสม์ (Cubism) พอจะปรากฏให้เห็นประปรายในงานชิ้นนี้ ผ่านการจงใจตัดองค์ประกอบภาพบุคคลบางส่วนออกจากเฟรมภาพ เพื่อสร้างผลทางความรู้สึก  อาทิ ส่วนศีรษะด้านบน และปลายเท้า           องค์ประกอบ (พ.ศ. 2500) แสดงภาพหญิงเปลือยนั่งบนเก้าอี้ แขนข้างหนึ่งท้าวอยู่บนพนักผิงด้านหลัง ช่วงล่างของภาพ ศิลปินจงใจที่จะเน้นย้ำภาพพื้นผิวภาพ 2 มิติ ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากด้านข้าง โดยการสร้างภาพจากการซ้อนทับกันของระนาบพื้นผิวสีรูปทรงเรขาคณิต การใช้ฝีแปรงและแสงเงาในภาพเป็นไปเพื่อเน้นย้ำความสำคัญเชิงองค์ประกอบ ส่วนศีรษะและเท้าบางส่วนของนางแบบถูกจงใจตัดออกบริเวณขอบเฟรม พื้นผิวเนื้อและเสื้อผ้าของนางแบบที่สวมไว้อย่างหลวมๆ มีลักษณะเป็นระนาบพื้นผิวที่แตก ซึ่งเป็นเทคนิคเด่นในการเขียนภาพแบบคิวบิสม์ (Cubism)            น้ำเงิน-เขียว (พ.ศ. 2501) ผลงานจิตรกรรมชิ้น master piece ของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ในยุคที่ท่านเขียนภาพในแนวทางคิวบิสม์ แสดงภาพเปลือยของสตรีเกล้าผมมวย นั่งไขว่ห้างบนเก้าอี้ การถ่ายทอดรูปลักษณ์ของสตรียังคงเป็นประเด็นความสนใจและแนวทางการแสดงออกที่สำคัญของอาจารย์เฟื้อ โครงร่างของสตรีในภาพถูกสร้างขึ้นจากการบิดของรูปทรงเรขาคณิต จังหวะความอ่อน-แก่ของสีหลัก คือ สีน้ำเงิน เขียวและเหลือง นอกจากช่วยผลักระยะความตื้น-ลึก ยังช่วยสร้างจังหวะทางสายตาจากการผันแปรของรูปทรงเรขาคณิตที่ประกอบเป็นภาพสตรี           การสร้างภาพบุคคลจากการบิดรูปทรงเรขาคณิต จนส่วนขอบมีลักษณะคล้ายสันคมของใบมีด (Knife edge) นั้นอาจารย์เฟื้อ อาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพสตรี ในงานจิตรกรรมของปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินผู้นำแนวคิดแบบคิวบิสม์ อาทิ ผลงานชิ้นเด่นที่มีชื่อว่า “หญิงสาวแห่งอาวีญง” (Les Demoiselles d’Avignon)            ส่วนการตั้งชื่อภาพ “น้ำเงิน-เขียว” นอกจากโทนสีหลักของภาพแล้ว อาจารย์เฟื้อ อาจตั้งชื่อภาพให้มีความเชื่อมโยงไปถึงยุคสีน้ำเงิน (Blue period) และยุคสีกุหลาบ (Rose period) ในงานของปิกัสโซด้วยเรียบเรียง โดย : รัฐพงศ์ เกตุรวม                    ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป


***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก พระวรเวทย์พิสิฐ.  วรเวทย์นิพนธ์  อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวรเวทย์พิสิฐ  ป.ม.,  เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา  อ.ด. (กิตติมศักดิ์)  ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๐๓.   พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร, ๒๕๐๓.


ชื่อเรื่อง                     ประชุมพงศาวดาร เล่ม 42 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 67 (ต่อ 68)  จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3 ตอนที่ 1 (ต่อ) และตอนที่ 2ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชีย  เลขหมู่                      959.304 ป247สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 องค์การค้าของคุรุสภาปีที่พิมพ์                    2512ลักษณะวัสดุ               296 หน้าหัวเรื่อง                     ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงธนบุรีภาษา                       ไทย                   บทคัดย่อ/บันทึกประชุมพงศาวดารเล่มนี้คือเหตุการณ์ตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2375 จนถึงปีกุน พ.ศ.2382  และประชุมพงศาวดารภาคที่ 68 เป็นตอนที่ 2 คือเหตุการณ์ส่วนหนึ่งในปีชวด พ.ศ.2383  


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐเกาหลี   ๑.  ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางคศิลป์ แบบบูรณาการ ภายใต้โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน กิจกรรมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย  ณ สาธารณรัฐเกาหลี (ประจำปี ๒๕๕๙)    ๒. วัตถุประสงค์           ๑.  เพื่อศึกษาดูงานการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และโรงละครแห่งชาติเกาหลี (National Theater  of Korea) ๒.  เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้ชาวต่างประเทศได้รับรู้ถึงคุณค่าของศิลปะการแสดงชั้นสูงด้านนาฏศิลป์ และดนตรี ของกรมศิลปากร           ๓.  เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ ดนตรีของไทย           ๔. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์โดยใช้ศิลปะวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน  เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อขยายสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ต่อไป                                                     ๓. กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รวมวันเดินทางไปกลับ   ๔. สถานที่  Chung-Ang University, National Theater of Korea ณ สาธารณรัฐเกาหลี   ๕. หน่วยงานผู้จัด  สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม   ๖. หน่วยงานสนับสนุน  ไม่มี ๗. กิจกรรม วันเสาร์ที่  ๑๙  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒๓.๓๐  น.                 เดินทางออกจากประเทศไทย  โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG656   วันอาทิตย์ที่ ๒๐  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ๐๖.๓๕ น.                  เดินทางถึงสนามบินอินชอน ณ สาธารณรัฐเกาหลี  ๑๐.๐๐ น.                  ทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม สาธารณรัฐเกาหลี   ๑๘.๐๐ น.                  เดินทางกลับเข้าที่พัก   วันจันทร์ที่ ๒๑  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ๐๙.๐๐ น.                  เดินทางไปโรงละครแห่งชาติเกาหลี (National Theater of Korea) ๑๐.๐๐ น.                  เข้าร่วมประชุม และพบศิลปิน ณ โรงละครแห่งชาติเกาหลี (National Theater of Korea) ๑๓.๐๐ น.                  ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์ศิลปะการแสดงแห่งชาติ (The Performance Art Museum of Korea) ๑๖.๐๐ น.                  เดินทางกลับเข้าที่พัก   วันอังคารที่ ๒๒  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ๑๙.๐๐ น.                  เดินทางไป Chung-Ang University ๑๓.๐๐ น.                  การจัดการแสดงและแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์และดนตรี          มอบของที่ระลึกพร้อมบันทึกภาพหมู่ ๑๖.๐๐ น.                  เดินทางกลับเข้าที่พัก   วันพุธที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ๐๙.๐๐ น.                  จัดเก็บอุปกรณ์ และสัมภาระของการแสดง ๑๗.๐๐ น.                  เดินทางถึงสนามบินอินชอน ๒๑.๒๕                     เดินทางกลับประเทศไทย โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG657   วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙   ๐๑.๒๐                     เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ  กรุงเทพมหานคร     ๘. คณะผู้แทนไทย  ประกอบด้วย ข้าราชการ กรมศิลปากร และสำนักงบประมาณ  จำนวน ๑๗ คน คือ ๑. นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา  นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ ๒. นายจรัญ  พูลลาภ               นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ ๓. นางอัมไพวรรณ  เดชะชาติ      นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ ๔. นายรัฐศาสตร์  จั่นเจริญ        นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ ๕. นายวัชรวัน ธนะพัฒน์           นาฏศิลปินชำนาญงาน ๖. นายกิตติ  จาตุประยูร            นาฏศิลปินชำนาญงาน ๗. นายศราวุธ  อารมณ์ชื่น         นาฏศิลปินชำนาญงาน ๘. นายเอก อรุณพันธ์               นาฏศิลปินชำนาญงาน ๙. นายสุทธิ  สุทธิรักษ์              นาฏศิลปินชำนาญงาน ๑๐. นางสาวมณีรัตน์  มุ่งดี         นาฏศิลปินชำนาญงาน ๑๑. นางสาวหนึ่งนุช  เคหา         นาฏศิลปินชำนาญงาน   ๑๒. นางสาวสุพัตรา  แสงคำพันธุ์  นาฏศิลปินชำนาญงาน ๑๓. นางสาวศรีสุคนธ์  บัวเอี่ยม    นาฏศิลปินชำนาญงาน ๑๔. นายสุรพงศ์  โรหิตาจล        ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ๑๕. นายจตุพร  ดำนิล              ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ๑๖. นายรณชัย  ผาสุกกิจ           ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ๑๗. นางสาวลัดดา  บรรพบุรุษ     เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน   ๙. สรุปสาระของกิจกรรม                 สำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีนโยบายกำหนดทิศทางการบริหารจัดการวัฒนธรรม ในลักษณะ    เชิงรุก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมโลก ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน และผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม โดยการบริหารจัดการวัฒนธรรมในเชิงรุก มีแนวทางการนำเสนอศิลปะการแสดงของชาติดังกล่าวข้างต้น มุ่งสู่สังคมชาวโลก ให้เกิดการยอมรับ และเรียนรู้มรดกชาติที่สำคัญนี้ด้วยการวางแผน การบริหารจัดการโดยองค์กร โดยการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์ดนตรี ณ Chung-Ang University สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีงามในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี โดยใช้ศิลปะวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน นำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ต่อไป ๑๐. ข้อเสนอแนะจากกิจกรรม           สมควรให้การสนับสนุนการเดินทางไปปฏิบัติราชการเพื่อจัดการแสดง และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์และดนตรี แบบบูรณาการในลักษณะเช่นนี้ เพราะ                                 ๑.  เป็นการส่งเสริมให้บุคลากร ได้รับความรู้ และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพ            และนำความรู้มาบูรณาการกับการปฎิบัติงานในองค์กรในอนาคต                    ๒.  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หรือสร้างเครือข่ายทางพันธมิตรทางด้านศิลปะวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประชาคมโลก                                                                                                                                           ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ                                                                                                                                                      นายรัฐศาสตร์   จั่นเจริฐ                                                                 นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ



เลขทะเบียน : นพ.บ.4/1คห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  62 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 2 (11-19) ผูก 9หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



Messenger