ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ


เลขทะเบียน : นพ.บ.123/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ตำรายาและเวทย์มนต์คาถา ชบ.ส. ๓๐ เจ้าอาวาสวัดพลับ  ต.พนัสนิคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๑ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.21/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)




         วันศุกร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีรับมอบทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังจากปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายดุสิต เมนะพันธุ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ นายเอริค แมคล็อคลิน ผู้ช่วยทูตประจำภูมิภาค สำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประเทศไทย ในนามสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธี          การติดตามทับหลังปราสาทหนองหงส์และปราสาทเขาโล้น เริ่มต้นเมื่อปี ๒๕๕๙ เมื่อมีกระแส เรียกร้องให้ติดตามนำโบราณวัตถุของไทยที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย จากความร่วมมือ ของภาคเอกชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในนาม “คณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย” ที่ลงนามแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักงานสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Homeland Security Investigations) หรือ HSI สหรัฐอเมริกา ดำเนินการสืบสวนจนกระทั่งได้รับมอบทับหลังทั้งสองรายการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคมที่ผ่านมา และกลับคืนสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔           กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จึงได้จัดพิธีรับมอบทับหลังทั้ง ๒ รายการ พร้อมทั้งนำมา จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “ทับหลังปราสาทหนองหงส์ และปราสาทเขาโล้น กลับคืนสู่ประเทศไทย” โดยนิทรรศการนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของทับหลังทั้ง ๒ รายการ หลักฐานต่าง ๆ ที่ได้สืบค้น รวมถึงขั้นตอน การดำเนินงานในการติดตาม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการกว่าจะได้มาซึ่งโบราณวัตถุที่ต้องใช้ระยะเวลา ความพยายาม และความร่วมมือจากหลายฝ่าย อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกรักและหวงแหนมรดกวัฒนธรรมของไทยและร่วมกันปกป้องดูแลรักษาให้สืบทอดไปยังคนรุ่นหลังต่อไป           นิทรรศการพิเศษ “ทับหลังปราสาทหนองหงส์ และปราสาทเขาโล้น กลับคืนสู่ประเทศไทย” จัดแสดง ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ และอังคาร) เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ , ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐           เป็นเวลามากกว่า ๕๐ ปี ที่ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ได้ถูกโจรกรรมและนำออกไปจากประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายโดยขบวนการลักลอบค้าโบราณวัตถุเพื่อส่งต่อให้กับนักสะสมและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งกรณีของทับหลังทั้งสองรายการนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่มรดกทางวัฒนธรรมของ คนไทยถูกลักลอบนำออกไป ที่ผ่านมาทับหลังจากปราสาทกู่สวนแตง และปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ก็เคย ถูกโจรกรรมไป และได้ติดตามนำกลับคืนมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ และ พ.ศ. ๒๕๓๑ ตามลำดับ           ทับหลังคือส่วนประกอบของศาสนสถานจำพวกปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยมีลักษณะ เป็นแผ่นหินรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดตั้งอยู่เหนือกรอบประตูของอาคารหรือปราสาทหิน วัสดุหลักที่ใช้ทำทับหลังคือหินทราย โดยจะมีการจำหลักลวดลายเป็นภาพเล่าเรื่อง ภาพเทพต่างๆ หรือลวดลายประดับลงบนทับหลัง ลวดลายเหล่านี้มีรูปแบบและวิวัฒนาการในการสร้างที่ชัดเจน จึงสามารถใช้เป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดอายุในการสร้างโบราณสถานนั้น ๆ ได้ และทับหลังก็มีรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกันไปเนื่องจากเป็นของที่แกะสลักขึ้นมาทีละชิ้น มีเอกลักษณ์และสวยงาม เป็นที่ต้องการของเหล่าบรรดาผู้สะสมโบราณวัตถุ ในอดีตจึงมักถูกโจรกรรมจากแหล่งโบราณสถานที่อยู่ห่างไกลและลักลอบนำออกไปขายยังต่างประเทศ----------------------------------------------------เอกสารประกอบ ดาวน์โหลดได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1kCB73EnDdXHi1qTHfJkd7DhG2XhcxmIV?usp=sharing


เปิดประวัติ !! พรีเซนเตอร์แห่งเรือนพระยาสุนทรานุรักษ์ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ !! เชื่อว่าหลายท่านเคยผ่านตาภาพหญิงสาว 4 คน ที่ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้นำมาใช้ในการออกแบบป้ายประชาสัมพันธ์หรือข้อมูลต่าง ๆ และอาจมีความสงสัยว่า แม่จ๊ะแม่จ๋า ทั้ง 4 นาง มาจากไหน มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้จึงขอนำเสนอองค์ความรู้พิเศษเพื่อเปิดเผยที่มาของสาวงามทั้ง 4  …………………………………………………………… “แม่ไม่ได้มาแต่เมืองทิพย์ แม่มาแต่เมืองทิ้ง (พระ)”   ภาพที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา นำมาใช้ประชาสัมพันธ์ เป็นภาพจำลองมาจากจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพ่อเฒ่านอน วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทิ้งพระ เป็นการเรียกแบบย่อในภาษาถิ่นใต้ หมายถึงเมืองสทิงพระ เมืองที่มีความเป็นมายาวนานนับพันปี ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีแสดงถึงการตั้งถิ่นฐาน และการพัฒนาเป็นชุมชนต่อเนื่องกันมาหลายช่วงสมัย มีการรับอิทธิพลทางศาสนา วัฒนธรรมจากโลกภายนอกในระยะแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งเจริญขึ้นเป็นเมืองที่มีอำนาจเป็นศูนย์กลางการปกครองท้องถิ่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 โดยมีศูนย์กลางการปกครองเมืองอยู่ในบริเวณตำบลจะทิ้งพระ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปปางสมาธิ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ศิวลึงค์และฐานโยนี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 เป็นต้น ปัจจุบันมีโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน เช่น วัดราชประดิษฐ์ (วัดพะโคะ) วัดดีหลวง เขาคูหา วัดสนามไชย และวัดจะทิ้งพระ ซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นด้าน อันเป็นต้นกำเนิดของภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอกเพื่อเตรียมตัวไปทำบุญ  วัดจะทิ้งพระ ตั้งอยู่ในเขตตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีภูมิประเทศเป็นเนินทรายและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ นับเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นวัดคู่เมืองสทิงพระมาแต่โบราณ ตามตำนานนางเลือดขาวกล่าวว่าเจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองสทิงพาราณสีเป็นผู้สร้างวัดขึ้นประมาณ พ.ศ. 1542 ต่อมาถูกโจรสลัดมลายูทำลายไป กระทั่งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ตามหลักฐานเอกสารกัลปนาหัวเมืองพัทลุงสมัยอยุธยาระบุว่า วัดจะทิ้งพระในสมัยนี้แยกออกเป็น 2 วัด คือ วัดสทิงพระ กับวัดพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเจ้าพี่วัดเจ้าน้อง ขึ้นกับวัดเขียนบางแก้ว คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง ภายหลังในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 25 จึงได้รื้อกำแพงกั้นกลางระหว่างวัดออกรวมเป็นวัดเดียว  สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดจะทิ้งพระ ประกอบด้วย 1.เจดีย์พระมหาธาตุ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ รูปแบบเดียวกับเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอิทธิพลที่รับมาจากลังกา 2. เจดีย์บริวาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ประธาน ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส องค์ระฆังเป็นทรงลังกา 3. วิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วิหารพ่อเฒ่านอน” ภายในประดิษฐานพระนอนขนาดใหญ่ และเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ 4. หอระฆัง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับลวดลายปูนปั้น รูปหน้าหนังตะลุง ที่แสดงศิลปะพื้นบ้านอย่างแท้จริง  วิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพ่อเฒ่านอน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สันนิษฐานว่าเดิมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ต่อมาภายหลังมีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5  ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน มีการเรียกขานกันว่า “พ่อเฒ่านอน” ที่ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ โดยรายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนังวัดจะทิ้งพระ เมื่อปี 2523 ระบุว่า ผู้เขียนภาพมี 3 คน คือ พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) อดีตเจ้าอาวาส นายเคลื่อน และลูกมือนายช่างใบ้ ได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันได้ลบเลือนไปเกือบหมด คงเหลือให้เห็นเพียงด้านทิศตะวันออก ทั้งนี้ รายงานการสำรวจฯ ยังระบุว่าตำแหน่งภาพเขียนเริ่มจากด้านพระเศียรจรดพระบาท และบริเวณด้านหลังพระประธาน ส่งผลให้ภาพจิตรกรรมนี้มีลักษณะเป็นฉากหลังพระ ประกอบด้วยพุทธประวัติตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านเศียรของพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติ ตอนเสด็จโปรดพุทธมารดา และเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างแสดงภาพพระภิกษุสงฆ์รับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชนที่พากันมาร่วมทำบุญตักบาตร ถวายดอกบัว เรียกการตักบาตรนี้ว่า “ตักบาตรเทโว” ซึ่งภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอกเพื่อเตรียมตัวไปทำบุญถูกสอดแทรกอยู่ในบริเวณนี้ ส่วนด้านล่างสุดเป็นฉากนรกภูมิ ซึ่งรายละเอียดของภาพจิตรกรรมในด้านนี้เผยให้เห็นโลกทั้ง 3 อันได้แก่ สวรรค์ โลก และนรก ดังคำกล่าวในพุทธประวัติว่าวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเปิดโลกทั้ง 3 คือ เทวโลก มนุษยโลก และยมโลก จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศใต้ แสดงภาพพุทธประวัติตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ รับข้าวมธุปายาส และธิดามารยั่วยวน ขณะที่จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันตก แสดงภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย   จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์มีลักษณะการเขียนภาพบนพื้นสีเหลืองอ่อน เขียนด้วยสีขาว เทา ฟ้า และเขียว ซึ่งการใช้สีดังกล่าวสันนิษฐานว่าเป็นวัตถุประสงค์ของช่างที่ต้องการให้ภาพเขียนมีความสว่างสดใส ขณะเดียวกันอาจช่วยให้ภายในวิหารมีความสว่างมากขึ้นได้ โดยหนึ่งในลักษณะโดดเด่นของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้คือการสอดแทรกภาพที่สะท้อนวัฒนธรรมและสังคมในสมัยนั้น อาทิ การแต่งกายของชาวบ้าน ผู้ชายไม่นิยมสวมเสื้อ มีทั้งนุ่งผ้าลอยชายหรือโสร่ง และนุ่งโจงกระเบนปะปนกัน ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าในลักษณะเดียวกัน ห่มผ้าแถบพาดไปด้านหลัง ชายสองข้างพาดไขว้ปิดหน้าอก และภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอก ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายที่ทั้งหญิงและชายในสมัยก่อนนิยมเปลือยอก แต่หากต้องเข้าศาสนสถานอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก็จะให้ความเคารพด้วยการนุ่งห่มปกปิดหน้าอกอย่างเรียบร้อย ภาพหญิงสาวที่ปรากฏจึงเป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยของตนเองก่อนเข้าวัด    …………………………………………………………… เรียบเรียง/ กราฟฟิก: นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา  อ้างอิง:  1. กรมศิลปากร.  รายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ:  กรมศิลปากร,  2523.  2. กรมศิลปากร.  หนังสือนำชมโบราณสถานที่สำคัญในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้.  สมุทรสาคร: บางกอกอินเฮ้าส์,  2557. 3. วรรณิภา ณ สงขลา. “จิตรกรรมฝาผนังวัดจะทิ้งพระ” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 4 (2542): 1617-1620. 4. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร.  ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. สงขลา : ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา, 2539 5. สกรรจ์ จันทรัตน์ และสงบ ส่งเมือง.  การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองเก่าสงขลา.  กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร,  2534.  6. สงบ ส่งเมือง.  “จะทิ้งพระ, วัด”  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 3 (2542): 1475-1479. 7. สุวรรณี ดวงตา.  “ภาษากายจากจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างสงขลาที่วัดโพธิ์ปฐมาวาส อำเภอเมืองสงขลา วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ และวัดคูเต่า อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา” ศิลปะนิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,  2551.  8. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549.


ทวดเขากัง           ทวดเขากังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นัยว่ามีฐานะเป็นเทพยดาผู้รักษาเขากัง จึงมีการสร้างประติมากรรมแสดงรูปร่างของทวดเขากัง ลักษณะเป็นปูนปั้นรูปงูโผล่จากซอกหินของผนังถ้ำ ทวดเขากังนี้เป็นที่นับถือของราษฎร นอกจากนี้ผนังถ้ำด้านนอกยังมีปูนปั้นรูปงูขนาดเล็กเชื่อว่าเป็นบริวารของทวดเขากังด้วย การประกาศขึ้นทะเบียน           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเขากังในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ หน้า ๓๖๙๔ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ----------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูลโดย : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ I กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายระพี (สำอาง) จันทโรจวงศ์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๕





          สะพานแห่งนี้ ใน พ.ศ.๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเปล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างสิ่งสำคัญเพื่อเป็นอนุสรณ์นี้เพื่อการสมโภชพระนคร ๑๕๐ ปี (พ.ศ.๒๔๗๕) ด้วยทรงพระราชวินิจฉัยว่า สิ่งอนุสรณ์ที่จะสร้างในครั้งนี้ มี ๒ สิ่ง ได้แก่ สิ่ง ๑ คือ สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี เพื่อมหาชนได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสืบไป สิ่งที่ ๒ คือ สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยา ทำทางถนนเชื่อมกรุงเทพฯ กับธนบุรี เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่มหาชน โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างบริเวณปลายถนนตรีเพ็ชร์ไปทางด้านทิศใต้ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (บริเวณที่ทำการกรมทดน้ำ เดิม ซึ่งต่อมา คือ กรมชลประทาน) ต่อข้ามไปยังวัดประยูรวงศาวาส ในธนบุรี           พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่ประดิษฐาน ณ เชิงสะพานนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงอำนวยการแผนกศิลปากร ทรงออกแบบ หล่อด้วยสำริด สูง ๔.๖ เมตร ส่วนสะพานข้าม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงอำนวยการสร้าง มีกรมรถไฟหลวงเป็นผู้ออกแบบโครงการ ในการก่อสร้างดำเนินการจ้างด้วยวิธีประกวดราคาจากบริษัทต่างประเทศ จำนวน ๕ บริษัท จาก ๕ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เดนมาร์ก และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเลือกบริษัท เมสส์ ดอร์แมน ลอง จำกัด (Messrs Dorman Long & Co.Ltd, Middlesbrough, England) จากอังกฤษ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เนื่องจากเสนอราคาการก่อสร้างต่ำกว่าบริษัทอื่นๆ กล่าวคือ ราคาก่อสร้างสะพานเหล็กและทางลาดคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒๔๔,๓๓๒ ปอนด์ และค่าตกแต่งสะพาน ๗๕,๐๙๓ ปอนด์ พร้อมทั้ง พระราชทานนามสะพานแห่นี้ว่า “สะพานพระพุทธยอดฟ้า” โดยมีการลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๗๒ เริ่มส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ กำหนดส่งมอบงานก่อสร้างในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๕           สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ รวมทั้งสิ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยที่มาของงบประมาณในการก่อสร้างส่วนหนึ่งมาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรขึ้นร่วมกับเงินที่ประชาชนบริจาคพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสถานที่ก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ณ บริเวณสำนักงานกรมทดน้ำพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงอธิบายแผนผังถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์    (ซ้าย – ขวา) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๗๒การประกอบสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งกรุงเทพฯ โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและเสาเชิงสะพาน เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓การก่อสร้างตอม่อกลางแม่น้ำเจ้าพระยาของสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งธนบุรี โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและโครงสะพานเหล็กฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีประทับเรือพระที่นั่งจักรีเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔ สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อช่องกลางสะพานปิด (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔) สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อเปิดช่องกลางสะพาน (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔)-----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี-----------------------------------------------------------(หมายเหตุ : ภาพประกอบข้อมูลมาจาก :- อำมาตย์โท หลวงประกอบยันตรกิจ(โยน ใยประยูร). สะพานพระพุทธยอดฟ้า ข่าวช่าง ฉบับพิเศษ เนื่องในงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕(พระนคร : สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม, ๒๔๗๕) หน้า ๒ – ๓๔)



Messenger