ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลีหัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 88 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 52.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.5/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่นชื่อชุด : มัดที่ 3 (20-32) ผูก 1หัวเรื่อง : ศัพท์วินัยกิจ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.50/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.6 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 31 (326-330) ผูก 3หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ทองแดงถมเคลือบ (เครื่องถมปัด) กลศ สูงพร้อมฝา 17 เซนติเมตร ปากกว้าง 14 เซนติเมตร ขัน สูง 9 เซนติเมตร ปากกว้าง 17 เซนติเมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 - 25 ที่มา เป็นของวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา มาแต่เดิม กลศ (หม้อน้ำ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลักจั่นน้ำ และขันน้ำทำด้วยทองแดง เขียนสีลงยา หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ถมปัด” เป็นลายพรรณพฤกษา สีแดง และเขียว บนพื้นสีเหลือง โดยเครื่องถมปัดนั้น หากใช้สีเหลืองเป็นพื้น นิยมสร้างเป็นเครื่องยศอย่างหนึ่งของพระราชาคณะ ทั้งนี้ เครื่องถมปัด เป็นชื่อที่คนไทยใช้เรียกเครื่องลงยาที่ทำจากทองแดง โดยเคลือบพื้นผิวทองแดงให้หนาตามความต้องการ ส่วนใหญ่เคลือบพื้นผิวให้มีสีเหลือง ฟ้า น้ำเงิน แล้วเขียนสีลงยาเป็นลวดลาย จากนั้นนำไปเผาให้สีหลอมละลายกลายเป็นแก้วสีต่าง ๆ ติดแน่นบนพื้นผิว ส่วนสีลงยาที่ใช้ ทำมาจากแก้วหรือลูกปัด บดละเอียด ผสมน้ำ หรือกาว ระบายลงไปในลักษณะเดียวกับการระบายสีทั่วไป.................................................................................... เรียบเรียง/กราฟฟิก โดยฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาอ้างอิง 1. จิรภรณ์ อรัณยะนาค. สารพันของสะสม. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ 2. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/3099249640138950
ชื่อผู้แต่ง ศรีสุนทรโวหาร,พระยา (น้อย อาจารยางกูร)
ชื่อเรื่อง ภาษาไทย(บางเรื่อง)
ครั้งที่พิมพ์ ๘ พ.ศ. ๒๕๑๕
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ กรุงสยามการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๕๒ หน้า
คำค้น ภาษาไทย(บางเรื่อง)
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่สมบูรณ์ ผะเดิมชิต
หนังสือ ภาษาไทย (บางเรื่อง) เป็นแบบฝึกหัดอ่านเขียนภาษาไทยเบื้องต้นของกุลบุตร กุลธิดานามัยก่อน เมื่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนยังไม่แพร่หลายเช่นในปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่มีบทบาทสำคัญในประวัติการศึกษาของชาติ
1. ตอนพระอภัยมณีขอโดยสารท้าวสิลราช จนถึงพระอภัยมณีให้สินสมุทรเป็นสื่อนางสุวรรณมาลี 2. ตอนพระอภัยมณีเป่าปี่แล้วนางผีเสื้อขาดใจตาย จนถึงโจรสุหรั่งเกี้ยวนางสุวรรณมาลี
ผู้แต่ง : เจียงอิ่งเหลียง, ศาสตราจารย์
ปีที่พิมพ์ : 2534
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
ชื่อผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง ไกลบ้าน เล่ม 2
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 3
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ 2536 จำนวน 596 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางทองพับ พานิชพัฒน์
ไกลบ้านฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 เล่มนี้ พิมพ์ตามรูปแบบฉบับพระราชนิพนธ์ เรื่อง ไกลบ้าน ฉบับมีรูปภาพเล่ม 2 ที่จัดพิมพ์ ในงานฉลอง พระชัณษา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฎ เมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นพระหัตเลขา ฉบับที่ 26 วันอาทิตย์ ที่ 30 มิถุนายน ร.ศ. 126 ถึงฉบับที่ 43 วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม ร.ศ. 126 พร้อมรูปภาพ จำนวน 36 ภาพ
ลูกปัด อายุสมัย : ศรีวิชัย วัสดุ : แก้ว ประวัติ : พบที่ผิวหน้าดินทั่วไปที่ควนลูกปัด ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ซึ่งหน่วยศิลปากรที่ ๘ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช และ นายณรงค์ ปั้นทอง นายช่างศิลปกรรม ๕ ได้มาเมื่อเดือนมิถุนายน -กรกฎาคม ๒๕๒๓ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมอบจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒ ............................................................................ “ลูกปัด” ลูกปัดแก้วทรงกระบอกสีส้ม เขียว แดง และน้ำเงิน เป็นลูกปัดที่มีขนาดเล็กมากและมีขนาดที่แตกต่างกัน ลูกปัดรูปแบบนี้นิยมเรียนว่า “ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Beads)”หรือ “ลูกปัดลมสินค้า” (Trade winds beads) เนื่องจากได้มีการค้นพบลูกปัดรูปแบบนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค โดยพบตามเมืองท่าโบราณต่างๆ ทั้งในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลูกปัดแก้วเหล่านี้คงเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่มากับเรือเดินสมุทรซึ่งต้องอาศัยลมมรสุมในการเดินทางอันเป็นที่มาของชื่อ “ลูกปัดลมสินค้า” ลูกปัดแก้วขนาดเล็กเหล่านี้ทำด้วยวิธีการนำแก้วมาหลอมโดยใช้ความร้อน จากนั้นจึงนำมาดึงยืดเป็นเส้นและตัดที่ละลูกจึงทำให้ลูกปัดมีขนาดที่ต่างกัน ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิคมีแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตหลักในประเทศอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ และได้แพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆ ทั้งในเอเชียตะวันตกและเอเชียตะวันออก สำหรับในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ พบที่ประเทศอินโดนีเซียที่เกาะสุมาตรา ประเทศไทยพบในเมืองท่าโบราณของภาคใต้ และในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบในมาเลเซียและเวียดนาม ในประเทศไทยพบลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค ในหลายพื้นที่ทั้งในภาคกลางและภาคใต้ซึ่งพบในแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ อาทิ แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ และแล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๙ แหล่งโบราณคดีเหล่านี้เป็นแหล่งผลิตลูกปัดแก้วของภาคใต้ ดังได้พบลูกปัดแกวที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต เช่น ลูกปัดแก้วที่หลอมติดกัน และก้อนแก้วสีต่างๆ จึงกล่าวได้ว่าลูกปัดแก้วเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค ที่พบในแหล่งคลองท่อมจึงถือเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการผลิตลูกปัดแก้วในแถบอันดามัน ความนิยมของผู้คนในสมัยนั้น และยังแสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างอินเดียและดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเมืองท่าโบราณต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยอีกด้วย ................................................................................ที่มาข้อมูล -ผุสดี รอดเจริญ, “การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย.” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖. - มยุรี วีระประเสริฐ. “คลองท่อม : แหล่งอุตสาหกรรมทำลูกปัดและสถานีขนถ่ายสินค้าสมัยโบราณบนชายฝั่ง ทะเลอันดามัน,”สารัตถะโบราณคดี บทความคัดสรรของ ๔ อาจารย์โบราณคดี.กรุงเทพ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๕๓: ๘๑-๑๐๑.
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา(ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานบูรณะปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมางวดที่ ๒ และงวดที่ ๗ (งวดสุดท้าย)
หินลับ อายุสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ (๖,๕๐๐ – ๔,๗๐๐ ปีมาแล้ว) วัสดุ : หินทราย ประวัติ : พบจากหลุมขุดค้นถ้ำเบื้องแบบ หมู่ที่ 3 บ้านเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ โดยโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน กองโบราณคดีกรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ................................................................ หินลับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลับคมให้กับเครื่องมือหินขัดที่สึกกร่อนจากการใช้งานให้มีความคมขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับหินลับมีดในปัจจุบัน จากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบซึ่งพบโบราณวัตถุชิ้นนี้ พบร่องรอยการใช้งานพื้นที่สองสมัย คือสมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจคือ โครงกระดูกมนุษย์ (ไม่ครบส่วน) กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ กระสุนดินเผา เครื่องมือหินรูปแบบต่างๆ หินลับ หินทุบเปลือกไม้ และกำไลหิน ................................................................ที่มาข้อมูล : กรมศิลปากร. โบราณสถานถ้ำเบื้องแบบ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๓. เข้าถึงข้อมูลจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/ นงคราญ สุขสม. ประวัติศาสตร์โบราณคดีสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ : อาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น, ๒๕๔๕.