เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
หินลับ จากหลุมขุดค้นถ้ำเบื้องแบบ
หินลับ
อายุสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ (๖,๕๐๐ – ๔,๗๐๐ ปีมาแล้ว)
วัสดุ : หินทราย
ประวัติ : พบจากหลุมขุดค้นถ้ำเบื้องแบบ หมู่ที่ 3 บ้านเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ โดยโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน กองโบราณคดีกรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
................................................................
หินลับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลับคมให้กับเครื่องมือหินขัดที่สึกกร่อนจากการใช้งานให้มีความคมขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับหินลับมีดในปัจจุบัน จากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบซึ่งพบโบราณวัตถุชิ้นนี้ พบร่องรอยการใช้งานพื้นที่สองสมัย คือสมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจคือ โครงกระดูกมนุษย์ (ไม่ครบส่วน) กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ กระสุนดินเผา เครื่องมือหินรูปแบบต่างๆ หินลับ หินทุบเปลือกไม้ และกำไลหิน
................................................................
ที่มาข้อมูล :
กรมศิลปากร. โบราณสถานถ้ำเบื้องแบบ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๓. เข้าถึงข้อมูลจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/ นงคราญ สุขสม. ประวัติศาสตร์โบราณคดีสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ : อาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น, ๒๕๔๕.
(จำนวนผู้เข้าชม 2188 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน