ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ


ชื่อเรื่อง                     ศิลปากร ปีที่ 2 เล่ม 3ผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ทั่วไปเลขหมู่                      030 ศ528ศสถานที่พิมพ์               พระนคร  สำนักพิมพ์                 กรมศิลปากรปีที่พิมพ์                    2481ลักษณะวัสดุ               170 หน้าหัวเรื่อง                     วารสาร                              รวมเรื่องภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกวารสารศิลปากร ปีที่ 2 เล่ม 3


#สุทธาสวรรย์พรรณเพริศแพร้ว ตอนที่ 3 ในตอนที่แล้วได้นำเสนอข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และเขตพระราชฐานชั้นในไป โดยจากข้อมูลที่เป็นบันทึกของชาวต่างชาติ และเอกสารของไทย สามารถสรุปลักษณะของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์และเขตพระราชฐานชั้นในได้ดังนี้ เขตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลังคาของพระที่นั่งประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่ของพระที่นั่งมีสระน้ำใหญ่สี่สระมีกระโจมคลุมกั้นเป็นที่สรงสนานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สระน้ำด้านขวามือมีเขามอ พรรณไม้ขึ้นเขียวชอุ่มอยู่เสมอ มีธารน้ำแจกจ่ายน้ำให้แก่สระทั้งสี่นี้ บริเวณพระที่นั่งมีอาคารขนาดเล็กขนาบด้านซ้ายและด้านขวา มีน้ำพุอ่างแก้วบริเวณทิศเหนือและทิศใต้ของพระที่นั่ง เหล่าสนมกำนัลมีที่พักอาศัยเป็นตึกแถวยาวขนานไปกับพระที่นั่ง ............................................................ แม้ในปัจจุบันพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเหลือเพียงซากของอาคารบนฐานไพทีแต่ยังคงไว้ซึ่งหลักฐานที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระที่นั่งองค์นี้ ดังจะกล่าวต่อไป ระบบการจัดการน้ำ เป็นจุดเด่นของพระราชวังเมืองลพบุรี โดยได้รับการออกแบบระบบประปาจากวิศวกรชาวอิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาสานต่อการวางระบบประปาที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยในปัจจุบันยังมีหลักฐานอันเกี่ยวข้องกับการนำน้ำมาใช้ในพระที่นั่งอย่างชัดเจนคือ รางน้ำ ท่อระบายน้ำ และน้ำพุ ยังคงปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน - รางน้ำ และสระน้ำ (หรืออ่างน้ำ) พบร่องรอยของรางน้ำบนฐานพระที่นั่งด้านทิศเหนือ ตะวันออก และทิศใต้ ส่วนทิศตะวันตกปัจจุบันไม่พบร่องรอยของรางน้ำ นอกจากรางน้ำที่ด้านทั้ง 3 ของพระที่นั่ง พบร่องรอยของสระน้ำ หรืออ่างน้ำทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายื่นออกมาจากส่วนฐานของพระที่นั่ง โดยมีรางน้ำล้อมรอบทั้งสี่ด้าน บริเวณมุมทั้งสี่พบร่องรอยของการถากอิฐคล้ายกับลักษณะของหลุมเสา เห็นได้อย่างชัดเจนที่อ่างน้ำด้านทิศใต้ - ท่อระบายน้ำ พบระบบการระบายน้ำโดยการนำท่อน้ำดินเผาวางตั้งฉากกับพื้นพระที่นั่ง ส่วนปลายท่อหันออกนอกพระที่นั่งเพื่อระบายน้ำส่วนเกินออก โดยท่อระบายน้ำวางเป็นช่วง ๆ ขนานไปกับแนวรางน้ำรอบพระที่นั่ง โดยมีการวางแผนผังอย่างเป็นระบบ และค่อนข้างสมมาตรกัน - น้ำพุ? ที่กึ่งกลางของอ่างน้ำ หรือสระน้ำ ด้านทิศตะวันออก และทิศใต้ของพระที่นั่งพบท่อโลหะถูกฝังไว้ในลักษณะของการตั้งฉากกับพื้นพระที่นั่ง ฝังลึกลงไปในฐานพระที่นั่ง โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อโลหะประมาณ 2 เซนติเมตร ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าคงเป็นการลดขนาดของท่อส่งน้ำ เพื่อให้เกิดแรงดันจนน้ำสามารถไหลขึ้นมาด้านบน แม้ไม่อาจจิตนาการได้ว่าน้ำพุในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะมีลักษณะอย่างไร แต่ท่อโลหะนี้ถือว่าเป็นหลักฐานอันใกล้เคียงกับองค์ประกอบของน้ำพุมากที่สุดเท่าที่ยังคงหลงเหลือหลักฐานอยู่ นอกจากระบบการจัดการน้ำยังคงหลงเหลืออาคารและสิ่งก่อสร้างบริเวณพระที่นั่งคือ เขามอ หรือภูเขาจำลอง และพระปรัศว์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างประกอบพระที่นั่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว เขามอ หรือภูเขาจำลอง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระที่นั่ง มีส่วนเชื่อมต่อกับสระน้ำ หรืออ่างน้ำด้านทิศเหนือ ที่ฐานของเขามอมีการเจาะรูทะลุเป็นอุโมงค์ บริเวณฐานของเขามอพบท่อน้ำดินเผาฝังไว้ โดยอาจเป็นท่อสำหรับนำน้ำเข้าไปยังพระที่นั่งหรืออาจเป็นท่อเพื่อระบายน้ำออก บริเวณเขามอ หรือภูเขาจำลองนี้ สอดคล้องกับบันทึกของ นิโกลาส์ แชร์แวส ที่ได้บรรยายไว้ว่า “...สระน้ำที่อยู่ทางขวามือ (หากหันหน้าเข้าหาด้านหน้าของพระที่นั่ง เขามอ จะอยู่ทางด้านขวามือ) มีลักษณะคล้ายถ้ำเล็ก ๆ มีพรรณไม้เล็ก ๆ ขึ้นเขียวชอุ่มอยู่เสมอ...” พระปรัศว์ เป็นอาคารขนาดเล็กขนาบข้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ภายในพบลักษณะของการทำอ่างน้ำขนาดประมาณ 1 x 1.5 เมตร โดยมีรางน้ำจ่ายน้ำเข้ามาในอ่างโดยเชื่อมต่อมาจากรางน้ำที่ล้อมพระที่นั่งด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ ลักษณะสำคัญของอ่างน้ำภายในพระปรัศว์ทั้งด้านทิศเหนือ และทิศใต้นี้ คือการนำหินอ่อนมากรุรอบอ่างน้ำ . ดังที่ได้กล่าวไป เกี่ยวกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบจัดการน้ำที่ถูกนำมาเป็นส่วนตกแต่งสถาปัตยกรรมที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ โดยสามารถสันนิษฐานได้อย่างคร่าว ๆ ว่า พระที่นั่งองค์นี้มีการนำน้ำมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพระราชวัง โดยอาจเป็นการเดินท่อประปามาจากอ่างเก็บน้ำบริเวณหน้าพระราชวัง การจ่ายน้ำหล่อพระที่นั่งใช้ระบบรางน้ำ หรือลำธารประดิษฐ์เป็นแนวบังคับน้ำให้ไหลไปยังส่วนต่าง ๆ และระบบการระบายน้ำส่วนเกินออกจากพระที่นั่งด้วยท่อประปาดินเผาวางตั้งฉากกับฐานพระที่นั่งแล้วปล่อยน้ำออกด้านนอกพระที่นั่ง . การตกแต่งพระที่นั่งด้วยการนำน้ำมาเป็นส่วนหนึ่งของพระที่นั่งโดยเฉพาะการวางรางน้ำ หรือธารน้ำประดิษฐ์มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นการรับเอาวิทยาการมาจากสถาปัตยกรรมแบบอินโด-เปอร์เซีย โดยสามารถเปรียบเทียบการจัดวางแผนผังและระบบน้ำในพระราชวังที่อิหร่านและอินเดีย เช่น พระตำหนักฮัทซ์เบชัท (Hasht Behesht : พ.ศ. 2212-2213) ในอิหร่าน และ พระตำหนักในพระราชอุทยานชาลิมาร์ (Shalimar Garden : พ.ศ. 2112-2170) นอกจากนี้การทำอ่างน้ำที่กรุผนังด้วยหินอ่อนหรือกระเบื้องเคลือบก็พบได้ทั่วไปในระบบจัดการน้ำของสถาปัตยกรรมอินโด-เปอร์เซีย (ท่านที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงก์: https://so04.tci-thaijo.org/inde.../NAJUA/article/view/16707 ) ในตอนต่อไปจะพาทุกท่านเข้าไปสำรวจด้านหลังของแนวกำแพง ซึ่งถูกทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานาน การบูรณะครั้งใหญ่ในปี 2563 จะเปิดเผยหลักฐานอะไรบ้าง ติดตามได้ใน สุทธาสวรรย์พรรณเพริศแพร้ว ตอนที่ 4 ค่ะ ……………………………………………… อ้างอิง คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/คำให้การขุนหลวงหาวัด-ฉบับหลวง จุฬิศพงศ์ จุฬารันต์. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมอินโด-เปอร์เซีย กับรูปแบบสถาปัตยกรรม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี. เข้าถึงได้จาก : https://so04.tci-thaijo.org/inde.../NAJUA/article/view/16707 นิโกลาส์ แชร์แวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม : ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2506. พิทยะ ศรีวัฒนสาร. การขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี. เข้าถึงได้จาก : http://bidyarcharn.blogspot.com/2011/03/blog-post.html ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอกพรไพศาล. รายงานการบูรณะพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และขุดแต่งบริเวณด้านหลังพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ปีงบประมาณ 2549. เอกสารอัดสำเนา. ……………………………………………… เรียบเรียงโดย นางสาววสุนธรา ยืนยง นักวิชาการวัฒนธรรม #MuseumInsider . สุทธาสวรรย์พรรณเพริศแพร้ว ตอนที่ 1 : https://www.facebook.com/1535769516743606/posts/3268604856793388/ สุทธาสวรรย์พรรณเพริศแพร้ว ตอนที่ 2 : https://shorturl.at/pwAEH




มาเรียนรู้เกี่ยวกับธงชาติไทยของเราก็เถอะ         สำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดทำสื่อสาระการเรียนรู้เรื่องธงชาติไทยในรูปแบบ e-Poster เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานไตรรงค์เป็นธงชาติไทย


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           44/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม” วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตรงกับวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี โดยวันนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อเดือนธันวาคม 2531 สำนักสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนดให้วันที่ 17 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ที่เลือกวันนี้ เพราะป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงตำแหน่งพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในปี 2526 ต่อมา คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ใหม่ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็ได้เสนอว่า วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ควรเป็นวันที่ 17 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อปี 2376 และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วย จึงกำหนดให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปีเป็น "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้เสด็จไปกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นบิดา สู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (เมืองสอด จังหวัดตาก) ที่ยกทัพมาตีเมืองตากในความปกครองจนได้รับชัยชนะ ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนามให้ว่า “รามคำแหง” ที่มีความหมายว่า รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ ก่อนที่พระองค์จะได้ขึ้นเสวยราชย์ ราวปี 1822 ต่อจากพ่อขุนบาลเมือง พระเชษฐาธิราช ทรงปกครองบ้านเมืองแบบ”พ่อปกครองลูก” ทรงแขวนกระดิ่งไว้หน้าประตูพระราชวัง ใครมีเรื่องร้องทุกข์ก็มาสั่นกระดิ่ง และทรงโปรดให้เข้าเฝ้าเพื่อทูลร้องทุกข์ได้รวดเร็ว โปรดให้สร้างพระแท่นขึ้นด้วยหิน เรียกว่า พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ที่กลางดงตาล ทุกวันโกนวันพระทรงนิมนต์พระมาเทศน์ที่พระแท่นโปรดประชาชน ส่วนวันธรรมดาพระองค์ทรงใช้เป็นที่ปฏิบัติภารกิจเสมอมา มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางการเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ทรงเจริฐสัมพันธ์ไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง”จีน” แล้วยังโปรดให้นำช่างปั้นถ้วยชามจากนมาสอนคนไทย ผลิตเป็น อุตสาหกรรมส่งออกไปยังประเทศจีน มลายู และอินเดีย ถ้วยชามที่ผลิตขึ้นนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก” ข้อความในศิลาจารึกแสดงให้เห็นว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ คือ ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และหากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็ไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกา พระองค์ก็ทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง ด้านศาสนา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย แทนลัทธิมหายาน ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคง ในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแพร่ไปยังหัวเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้ พระองค์ยังโปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า ”สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า "เขื่อนนพพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยามที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ ในปี พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้คิดประดิษอักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เรียกว่า "ลายสือไทย” และให้ช่างสลักอักษรไว้ในศิลาจารึก ณ กรุงสุโขทัย ซึ่งศิลาจารึกได้ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และตัวหนังสือไทยทุกตัวในศิลาจารึกได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่าไทยได้เริ่มเป็นปึกแผ่น นับตั้งแต่รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา ทรงเสวยราชย์นาน 40 ปี พระชนมายุ 60 พรรษา เสด็จสวรรคตประมาณปี พ.ศ. 1842


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 141/4 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 176/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           12/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              42 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เลขทะเบียน : นพ.บ.374/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 141  (1-6) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ทสชาติ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.506/1ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 170  (233-242) ผูก 1ข (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         สํยุตฺตนิกายกถา (สํยุตฺตนิกาย)ลบ.บ.                            35/9หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  60 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระไตรปิฎก                                                                         บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องรัก ไม้ประกับธรรมดา



         แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒          วัสดุ (ชนิด) สำริด           ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๘.๕ เซนติเมตร สูง ๕๖ เซนติเมตร          ประวัติความเป็นมา เดิมเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มอบให้          ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ          พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่งต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเซาะร่องลึก พระนาสิกโด่ง พระหนุเป็นปม พระอังสากว้าง พระวรกายเพรียวบาง ทรงมงกุฎ กุณฑล สังวาล พาหุรัด ทองพระกรและพระธำมรงค์ ทับทรวงประดับพลอยสีแดง มีการตกแต่งจีวรด้วยลายลูกประคำ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐาน ๒ ชั้น โดยฐานตอนบนเป็นฐานปัทม์มีเกสร ตกแต่งส่วนบัวคว่ำด้วยลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะจีน ตอนล่างเป็นฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยม ฐานล่างสุดมีขา หรือส่วนของสายชนวนสำหรับเททอง ๓ ด้าน           พระพุทธรูปทรงเครื่องพบในศิลปะล้านนาค่อนข้างน้อย คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องมีที่มาจากความเชื่อเรื่องพระอนาคตพุทธเจ้า หรือพุทธประวัติ ตอนทรงทรมานพญาชมภูก็เป็นได้ จากรูปแบบเครื่องประดับ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ ซึ่งเป็นเวลาที่ศิลปะภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยอยุธยา ส่งผลให้รูปแบบศิลปกรรมมีความหลากหลายยิ่งขึ้น  


Messenger