ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
โบราณสถานหอพระอิศวร
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย บูชาพระอิศวรหรือพระศิวะเป็นใหญ่เหนือเทพองค์อื่น
หอพระอิศวร มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๘.๕๐ เมตร สูงประมาณ ๙ เมตร ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย หลังคาทรงจั่ว ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา เดิมเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ศิลา ฐานรูปเคารพ และเทวรูปสำริด ได้แก่ พระศิวะนาฏราช พระอุมา พระคเณศ และหงส์ ซึ่งปัจจุบันศิวลึงค์ศิลาและฐานรูปเคารพได้เคลื่อนย้ายมาประดิษฐาน ณ โบราณสถาน โบสถ์พราหมณ์ นครศรีธรรมราช ส่วนรูปเคารพองค์อื่น ๆ นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช สำหรับศิวลึงค์ศิลาที่ประดิษฐานอยู่ในหอพระอิศวรในปัจจุบันนั้น พบจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเก็บรักษา ณ วัดนารายณิการาม ตำบลเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๖๕ จึงเคลื่อนย้ายมาประดิษฐาน ณ หอพระอิศวร
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานหอพระอิศวร ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๒๖ หน้า ๓๙๘๑ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๖๒.๕ ตารางวา
Ho Phra Isuan
(Ishavara or Shiva Shrine)
Ho Phra Isuan is located on Ratchadamnoen Road, Nai Mueang Sub-district, Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province, opposite Ho Phra Narai. It is a Brahmin sanctuary in Shivaism.
Ho Phra Isuan was assumed to be built in Ayutthaya period. It is a rectangular building, made of bricks and lime, has a plain gable. The size of the shrine is 6.50 metres wide, 8.50 metres long and 9 metres high. The Lingam, a base of sculpture and the bronze statues, namely Shiva Nataraja (Shiva as Lord of Dance), Uma, Ganesha and Hamsa (Swan) were enshrined here. At present, The Lingam and a base of sculpture was moved to be enshrined at the Nakhon Si Thammarat Brahmin Shrine. The bronze statues are displayed at Nakhon Si Thammarat National Museum. The Lingam, that is enshrined in Ho Phra Isuan, was found from Nakhon Si Thammarat and was kept at Wat Narai Nikaram,
Le Sub-district, Kapong District, Phang Nga Province until 2022, it was moved to be enshrined at Ho Phra Isuan.
The Fine Arts Department announced the registration of Ho Phra Isuan as a national monument in the Royal Gazette, Volume 53, page 1530, dated 27th September 1987 and announced a national monument area in the Royal Gazette, Volume 95 Special Part 126, page 3981, dated 14th November 1978.
***บรรณานุกรม***
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระคาถาพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์สังเขปพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 มูลนิธิภูมิพโลภิกขุพิมพ์ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 พลอดุลยเดช ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525
กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ
2525
ใบปลิว งานมหกรรมหุ่นฟ่างนกและงานกาชาด จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ ๒๘ภาพรวมงานแถลงข่าว มหกรรมหุ่นฟ่างนก จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ ๒๘ งานแถลงข่าวงานมหกรรมหุ่นฟ่างนกและงานกาชาด จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ ๒๘ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ถ่ายภาพรวม งานแถลงข่าว มหกรรมหุ่นฟ่างนกและงานกาชาด จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ ๒๘
งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรนั้นมีมานานคู่เมืองกำแพงเพชร โดยมีประเพณีจัดขึ้นในวันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนา จะพร้อมใจกันกวนกระยาสารท ข้าวมธุปายาส หรือข้าวกระยาทิพย์ ข้าวยาคู น้ำผึ้ง น้ำตาล และกล้วยไข่ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจและสัญญาลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร ไปทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ วัดอารามต่างๆ และกลางคืนจะมีการทอดผ้าป่าแถว พร้อมการละเล่นพื้นบ้าน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการ “ตามรอยเสด็จพระราชดำเนินสู่ล้านนา” ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ พร้อมกันนี้ได้ทรงเปิด “หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่” และ “พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2556
เวลา 09.10 น. ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จถึงหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายสักการะพระอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จากนั้น อธิบดีกรมศิลปากร เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือประกอบนิทรรศการ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและของที่ระลึก ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการ “ตามรอยเสด็จพระราชดำเนินสู่ล้านนา” นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา และหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ต่อจากนั้นทรงพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณและผู้สนับสนุนการดำเนินงานจำนวน 100 ราย จากนั้นทรงเสด็จฯ ไปยังหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ “ตามรอยเสด็จพระราชดำเนินสู่ล้านนา” เสด็จฯ ไปยังที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงวางพวงมาลัยถวายราชสักการะ ทอดพระเนตรนิทรรศการ จากนนั้นทรงเสด็จฯ ไปยังหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ทรงตัดแถบแพรเปิดหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ทอดพระเนตรนิทรรศการ จากนั้นทรงประทับรถไฟฟ้าพระที่นั่งไปยังพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ทรงตัดแถบแพรเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เสด็จเข้าภายในพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ทอดพระเนตรนิทรรศการ ทรงลงพระนามาภิไธยในแผ่นศิลา และเสด็จออกจากพิพิธภัณฑ์ฯ เวลา 11.30 น. ทั้งนี้ มีข้าราชการ พสกนิกรร่วมให้การต้อนรับเสด็จเป็นจำนวนมาก
หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
เทศบาลนครเชียงใหม่ สำรวจหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เพื่อที่จะทำการปรับปรุง เนื่องจากเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน ศิลปะล้านนาโดดเด่นที่ความงดงามและมีรูปแบบที่หลากหลาย สะท้อนภูมิปัญญาและความหมายที่แฝงเร้นมากับคติความเชื่อของบรรพชนล้านนา เมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่ได้วางแนวทางการพัฒนาพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่เพื่อเป็นสถานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยสร้างหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ขึ้น ณ บริเวณอาคารศาลากลางเดิม เป็นสถานที่ให้ความรู้ภาพรวมของเอกลักษณ์สิ่งดีงาม คติความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของคนเมืองเชียงใหม่ พื้นที่บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอัยการเดิมซึ่งอยู่ติดกับหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้สร้างหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ บริเวณที่ตั้งของอาคารศาลแขวงเดิมได้จัดสร้างเป็นหอศิลป์ล้านนา เพื่อจัดแสดงเรื่องราวของประวัติศาสตร์ด้านศิลปะของอาณาจักรล้านนา และภูมิปัญญาทางศิลปะของผู้คนในอาณาจักรล้านนาจากอดีตถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งของอาคารหอศิลป์ล้านนาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของคุ้มกลางเวียง เชื่อว่าเป็นส่วนที่ตั้งของ “วังหน้า” เพราะเป็นมรดกของเจ้าอุปราชสุริยะ เดิมเจ้าอุปราชสุริยะเตรียมถวายให้ใช้เป็นที่ทำการเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ ร.ศ.118 (พ.ศ.2442) แต่เนื่องจากเจ้าจอมมารดาดารารัศมีได้มีพระประสงค์ทูลเกล้าฯ ถวายคุ้มกลางเวียงบางส่วนที่เป็นมรดกของพระองค์ให้รัฐบาลเพื่อจัดสร้างศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ(ปัจจุบันเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่) ดังนั้น คุ้มส่วนนี้จึงตกทอดเป็นมรดกแก่เจ้าน้อยเลาแก้ว(เจ้าราชบุตร) ต่อมาทางราชการขอซื้อเพื่อก่อสร้างที่ทำการศาลแขวง จังหวัดเชียงใหม่ แทนหลังเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงสะพานนวรัฐ พื้นที่ส่วนนี้มีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 ตารางวา ทั้งหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และหอศิลป์ล้านนา เป็นกิจกรรมที่หนุนเสริมกันและมีพื้นที่ต่อเนื่องกัน โน้มนำการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่กลางเมืองเก่าเชียงใหม่ให้มีทิศทางที่เหมาะสมและเป็นการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคุณภาพเพื่อเป็นการโน้มนำการพัฒนาเชียงใหม่ไปสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน
การปรับปรุงหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ที่ให้สาระความรู้ สร้างภาพพจน์ที่ดีด้านการท่องเที่ยวและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวพักอาศัยอยู่ในเชียงใหม่นานขึ้น ให้ผู้มาเยือนได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปะและภูมิปัญญาศิลปะของล้านนาที่เป็นรากฐานของเมืองเชียงใหม่ และเข้าใจในคุณค่าของเมืองอย่างแท้จริง เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่งานวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลป์และภูมิปัญญางานศิลป์ของล้านนา กระตุ้นให้คนในท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนและเกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาเมืองในระยะยาว โดยเชื่อมโยงกับหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่และหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และเพื่อโน้มนำการพัฒนาของภาคธุรกิจเอกชนในพื้นที่เขตเมืองอนุรักษ์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจการที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์เมือง รวมทั้งพัฒนาพื้นที่บริเวณใจกลางเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เมืองในระยะยาว
เมื่อปลายปี 2555 เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ทำการเปิดหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ให้กับชาวเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ได้รับชม และศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา ซึ่งมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยเข้ารับชมและ ศึกษาประวัติสาสตร์อย่างมากมาย อีกทั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ยังมีโครงการนำนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ เข้าศึกษาดูงานด้านประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ วิถีชีวิตของชาวล้านนา พิธีกรรม สถาปัตยกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาถึงรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของชาวล้านนา เพื่อการอนุรักษ์ และสืบทอดต่อไป
วัสดุ หินทราย
แบบศิลปะ ศิลปะทวารวดี
อายุสมัย อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13-15 (ประมาณ 1,100–1,300 ปีมาแล้ว)
สถานที่พบ พบที่บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายวีระ วุฒิจำนงค์ มอบให้เมื่อ 11 เมษายน 2538
หินทรายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหนึ่งแกะเป็นรูปเครื่องประดับลึกลงไปในเนื้อหินเป็นรูปตุ้มหูรูปกลม 3 อัน ตุ้มหูคล้ายดาวหรือกลีบดอกไม้หกแฉก และตุ้มหูรูปดอกไม้มีขอบเป็นหยัก ลักษณะเป็นช่อคล้ายฉัตรขนาดเล็ก แม่พิมพ์แต่ละอันต่อกับร่องหรือก้านสำหรับเทน้ำโลหะ
ลักษณะเป็นแม่พิมพ์แบบประกบกัน 2 ชิ้น ใช้หล่อเครื่องประดับในชีวิตประจำวันซึ่งทำมาจากทอง เงิน ดีบุก เช่น ตุ้มหู และเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ รูปแบบของเครื่องประดับเหล่านี้ แม้จะเริ่มทำมาตั้งแต่สมัยฟูนันราวพุทธศตวรรษที่ 8 แล้วก็ตาม แต่ความเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบนั้นมีน้อยมาก
โครงการสำรวจเอกสารโบราณ
วันพุธที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔
ณ วัดไทรงาม ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ได้รับแจ้งจากอำเภอปราสาทว่าจะทำการถ่ายทำวิดีทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของอำเภอ โดยเข้าถ่ายทำ ณ โบราณสถานปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และขอความอนุเคราะห์สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ส่งบุคลากรร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถานดังกล่าว โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ มอบหมายให้นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ไปควบคุมและให้ข้อมูล
จัดแสดงภูมิปัญญาไทยพื้นถิ่น สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เตาเชิงกราน หม้อดินเผา กระจ่า กระบวย ฯลฯ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา เช่น ไถ คราด ฯลฯ เครื่องประกอบอาชีพเสริม เช่น อุปกรณ์ปั้นหม้อดินเผา เครื่องทอผ้า เครื่องหีบอ้อย ฯลฯ เครื่องมือในการประมง เช่น ชะนาง สุ่ม ตุ้ม ข้อง กระชัง ฯลฯ และพาหนะในการเดินทาง เช่น เกวียน หรือระแทะ เป็นต้นการละเล่นพื้นบ้านจัดแสดงเครื่องการละเล่นต่างๆ ของเด็กไทยสมัยก่อน เช่น เดินกะลา หมากเก็บ ลูกหิน กระโดดเชือก ลูกข่าง ไม้หึ่ง ว่าว เป็นต้น
เลขทะเบียน : นพ.บ.1/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 3หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
กองการต่างประเทศและแถลงข่าว กรมตำรวจ. เกียรติสำนึก. พระนคร : ประชาช่าง, ๒๔๙๘.
ชื่อเรื่อง คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชีย เลขหมู่ 959.303 พ375คสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ คลังวิทยาปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 512 หน้าหัวเรื่อง ไทย -- ประวัติศาสตร์ – กรุงศรีอยุธยา, 2243-2275ภาษา ไทย บทคัดย่อ/บันทึกหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับมาจากเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ.2454 และแปลออกเป็นภาษาไทย รูปเรื่องคล้ายคลึงกับหนังสือชื่อ คำให้การขุนหลวงหาวัด
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ เมืองเว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๑. ชื่อโครงการ
โครงการเข้าร่วมการประชุม MOWCAP General Meeting ครั้งที่ ๗ และสัมมนาทางวิชาการ Recommendation Concerning the Preservation of, and Access to, Documentary Heritage Including in Digital Form
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเข้าร่วมการประชุม MOWCAP General Meeting ครั้งที่ ๗
๒.๒ เพื่อเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ Recommendation Concerning the Preservation of, and Access to, Documentary Heritage Including in Digital Form
๒.๓ เพื่อศึกษาดูงานทางด้านวัฒนธรรม
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
๔. สถานที่
เมืองเว้ (Hue) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๕. หน่วยงานผู้จัด
คณะกรรมการแห่งภูมิภาคว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก UNESCO Memory of the World Regional Committee for Asia and the Pacific (MOWCAP)
๖. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร
๗. คณะผู้แทนไทย
นางสาวนัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ
๘. กิจกรรม
- การประชุม UNESCO Memory of the World Regional Committee for Asia and the Pacific (MOWCAP) General Meeting ครั้งที่ ๗
- การสัมมนาทางวิชาการ Recommendation Concerning the Preservation of, and Access to, Documentary Heritage Including in Digital Form
- การศึกษาดูงานทางด้านวัฒนธรรม
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
๙.๑ การประชุม UNESCO Memory of the World Regional Committee for Asia and the Pacific (MOWCAP) General Meeting ครั้งที่ ๗
สาระของการประชุม ได้แก่ รายงานของเลขาธิการสำนักงาน (Bureau) คณะกรรมการแห่งภูมิภาคว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ได้รายงานผลการดำเนินงานระหว่างปี ๒๐๑๒ – ๒๐๑๔ ในส่วนเรื่องงบประมาณก็ไม่ได้รับงบประมาณอย่างเป็นทางการและไม่มีบัญชีการเงินของตนเอง ซึ่งงบประมาณแต่ละรายการเบิกจาก UNESCO Bangkok Office ส่วนของเว็บไซต์อยู่กับหน่วยดูแล (host) Udamain ที่ฮ่องกง เอกสารรายงานของประเทศ (Country Report) สำนักงานฯ ได้รับรายงานของประเทศออสเตรเลีย กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี ซามัว ไทย ติมอร์เลสเต ตูวาลู อุสเบกิสถาน วานูอาตู และเวียดนาม สำนักงานของแผนงานมรดกความทรงจำแห่งโลก แต่เดิมอยู่ที่สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ต่อไปนี้จะไปตั้งอยู่ที่ Asian Culture Center (ACC) ที่เมืองกวางจู (Gwanggiu) สาธารณรัฐเกาหลี บัดนี้ได้มีการลงนามในข้อตกลงแล้ว
การเสนอรายงานของประเทศสมาชิก จำนวน ๑๐ ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสังคมนิยมเกาหลี ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศซามัว ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศคาซาลสถาน ประเทศติมอร์เลสเต ประเทศตูวาลู และประเทศไทย โดย ดร.ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ ผู้แทนประเทศไทย รายงานผลการดำเนินงาน ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกฯ ของประเทศไทย ๒๐๑๔ – ๒๐๑๕ โดยกล่าวถึงองค์ประกอบ โครงสร้างของคณะกรรมการฯ จุดประสงค์ ที่มาของงบประมาณคือจากกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวัฒนธรรม การดำเนินงานในรอบสองปีที่ผ่านมา เช่น การประชุมประจำเดือน การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ได้จัดการประชุมสัมมนา คุณค่าของภาพยนตร์จดหมายเหตุ ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ การประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะอนุกรรมการจัดทำทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งชาติและพิธีขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ในวันที่ ๒๑ – ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ ที่โรงแรมบียอนสวีท เขตบางพลัด กรุงเทพฯ
การขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปี ๒๐๑๖ ประเทศสมาชิกต่างๆ นำเสนอเอกสารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ๑๖ รายการ ที่ประชุมฯ พิจารณาแล้วและตัดสินขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ๑๔ รายการ ประกอบด้วย Archives of Confucius’ Family of the Ming and Qing Dynasties : Qufu Committee on Cultural Heritage, The Archives of Suzhou silk Samples of Modern and Contemporary Times : Suzhou Industrial and Commercial Archives Management Center, Archives and Manuscripts of Macao Kong Tac Lam Temple (1645 – 1980) : the Macau documentation and information society, Chapas Sinica, Mo ye Do Bo Tong Ji : Comprehensive Illustrated Manual of Martial Arts : National Library of DPR Korea, Arafat-al-Ashiqinva Arasulal-Arifin : Malek National Library and Museum Institution, Suiheisha and Hyeongpyengsa (records of cross border solidarity between the minorities that have been discriminated against), Kitab Ilmu Bedil : Book of Traditional Weaponry : Institute of Language and Literature, Tibetan Dictionary of Definitions and Term entitled as The Space for Attaining Wisdom, King Bayinnong Bell Inscription : Department of Archeology and National Museum, Pyeon-aek : Hanging Wooden Plaque in Korea : Advanced Centre for Korean Studies, Turkestan Collection of the National Library of Uzbekstan, PhucGiang School Woodblocks (18th – 20th Centuries) : Hatinh Museum, Royal Literature on Hua Royal Architecture (1802 – 1945) : Hue Monuments Conservation Center-Thua Thien’s Hue People Committee
๙.๒ การสัมมนาทางวิชาการ Recommendation Concerning the Preservation of, and Access to, Documentary Heritage Including in Digital Form
การจัดการให้ผู้ใช้เข้าถึงมรดกด้านเอกสารโดยสะดวก รวมทั้งในรูปแบบดิจิทัล ประเทศสมาชิกต่างตระหนักถึงความบอบบางของเอกสารมรดกโลก เนื่องจากเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ ความขัดแย้ง/สงคราม และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ได้แสดงความเห็นให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในการดูแลรักษาเอกสารมรดกโลก โดยให้มีกฎหมาย นโยบาย และกลยุทธ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้หลังจากการประชุมหลายครั้ง เช่น โปแลนด์ แคนาดา จนกระทั่งในที่สุดก็ได้รับการรับรองจากการประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ (Intergovernmental meeting) ให้ประเทศสมาชิกริเริ่มตามขั้นตอนที่เหมาะสมในการรับเครื่องมือใหม่นี้ไปใช้ เผยแพร่อย่างกว้างขวางในหลายประเทศ ดำเนินการตามรูปแบบ นโยบาย กลยุทธ์ กฎหมาย ทำให้บังเกิดผลและประเมินทุก ๔ ปี เนื้อหาของ Recommendation ประกอบด้วย ความเบื้องต้น คำจำกัดความ ตัวตนของเอกสาร การอนุรักษ์เอกสารมรดก การดำเนินให้ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารมรดกโลก มาตรการด้านนโยบาย และความร่วมมือในระดับชาติและนานาชาติ
๙.๓ การศึกษาดูงานทางด้านวัฒนธรรม
๙.๓.๑ ป้อมค่ายพระราชวังแห่งเว้ (The Citadel) ภายใต้ราชวงศ์เหวียนหรือเหงียน (Nguyen) 1802-1945 ซึ่งเป็นราชวงศ์เก่าแก่วงศ์สุดท้ายที่ปกครองของเวียดนาม สถานที่แห่งนี้ได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางของประเทศ มีสถาปัตยกรรมโดเด่น เช่นป้อมค่าพระราชวังแห่งเว้ (The Citadel) วัด และสุสาน พระราชวังนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำหอม มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กำแพงคูน้ำล้อมรอบภายในเขียวขจี เคยมีอาคารพระราชวังต่างๆ จำนวนมาก แต่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาขณะนี้ได้สร้างใหม่ขึ้นทดแทนอาคารเดิมแล้วหลายหลัง และกำลังดำเนินการอยู่หลายหลัง ปลุกให้พระราชวังแห่งนี้กลับมามีชีวิตชีวาดังเดิม ที่เห็นเด่นชัดคือประตูโหง่มอน ห้องพระโรง หอราชานุสรณ์ แสดงว่าได้รับอิทธิพลจีนมาก สมกับที่เคยมีอำมาตย์เป็นชาวจีนมาก (Mandarin) ผู้สนใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปะ และสถาปัตยกรรมเวียดนามจึงไม่ควรพลาด
๙.๓.๒ สุสานพระเจ้ามินม่าง (Mausoleum of king Minh Mang) เป็นสุสานที่มีเนื้อที่ขนาดใหญ่ ออกแบบดี เป็นอุทยานที่น่ารื่นรมย์ อาคารสุสานเชื่อมต่อกันเข้าไปเป็นลำดับมีบ่อน้ำล้อมรอบ ที่ฝังพระศพจะอยู่ด้านในสุด ได้รับอิทธิพลจีนมาก
๙.๓.๓ สุสานพระเจ้าไค่ดิ๊น (Mousoleum of King khai Dinh) พระเจ้าหรือจักรพรรดิไค่ดิ๊นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของเวียดนามโบราณก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้าไปปกครอง การออกแบบสุสาน วัสดุที่ใช้ก็ได้รับจากฝรั่งเศสเป็นอันมาก เลือกสถานที่บนไหล่เขาได้อย่างสวยงาม บรรยากาศดี รูปแบบศิลปะผสมผสานเก่าใหม่
๙.๓.๔ เจดีย์วัดเทียนมู่ (Thien Mu) เมืองเว้มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนา (มหายาน) มากที่สุดในเวียดนาม เจดีย์วัดเทียนมู่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญมากของประเทศนี้ และในช่วงที่มีการประชุมตรงกับเทศกาลวันวิสาขบูชา วัดทุกแห่ง รวมทั้งสถานที่สำคัญ แม้แต่กลางลำน้ำหอมพระราชวังก็ประดับด้วยสัญลักษณ์ดอกบัวชมพูเจ็ดดอก สวยงามและมีความหมายดีเยี่ยม
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑๐.๑ นักจดหมายเหตุ และบุคลากรของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ควรได้รับการสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับสากลได้
๑๐.๒ ควรได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมด้านงบประมาณเพื่อเปิดโอกาสให้นักจดหมายเหตุรุ่นใหม่ได้ร่วมเดินทางไปฝึกประสบการณ์ตรงในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรสายงานจดหมายเหตุให้มีความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมในต่างประเทศ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้า
นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา ผู้สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ