ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.5/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่นชื่อชุด : มัดที่ 3 (20-32) ผูก 2หัวเรื่อง : ศัพท์วินัยกิจ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.50/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.6 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 31 (326-330) ผูก 4หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ด้ามมีดรูปพระคเณศ วัสดุ สำริด ศิลปะสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 23 พบที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส พระคเณศองค์นี้ เป็นพระคเณศขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นพระคเณศ 2 กร (มือ) ประทับนั่งชันพระชานุ (เข่า) ทั้งสองข้าง พระบาท (เท้า) ขวาวางทับพระบาท (เท้า) ซ้าย ประทับนั่งบนฐานทรงกลม ด้านล่างฐานมีรู สำหรับเสียบด้ามมีด พระหัตถ์ (มือ) ขวาถือบ่วงบาศแนบพระอุระ (อก) โดยบ่วงบาศ หรือเชือกบ่วงมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า เป็นเสมือนโลกียวิสัยหรือตัณหาราคะในทางโลกที่ถูกควบคุมโดยพระคเณศ เมื่อบ่วงบาศอยู่ในมือของพระองค์ และยังมีการตีความกันอีกว่า บ่วงบาศ หรือเชือกบ่วงเป็นสัญลักษณ์ของพลังที่รัดรึงคนดีเอาไว้กับพระเจ้า หรือคล้องคนดีพาไปสู่การเข้าไปรวมกับพระเจ้า พระหัตถ์ (มือ) ซ้าย ถือขอสับช้าง (อังคุกะ) ด้ามยาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องมือที่ใช้ในการถากถาง และสยบอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางทั้งปวง พระเศียร (ศีรษะ) คาดเครื่องประดับ สวมทองพระกร (กำไลข้อมือ) กำไลใต้ศอก และพาหุรัด (กำไลต้นแขน) สวมสังวาลย์ 2 เส้นไขว้กัน ด้านหลังมีตาบหลังทำเป็นลายประจำยาม ทรงพระภูษา (ผ้านุ่ง) ยาวเกือบถึงข้อพระบาท (ข้อเท้า) 3 พระคเณศองค์นี้เป็นพระคเณศในลักษณะของ “บรมครูช้างผู้ยิ่งใหญ่” ตามคติความเชื่อที่ยึดถือสืบต่อกันมาของผู้มีอาชีพเกี่ยวกับช้าง เชื่อกันว่าประติมากรรมรูปเคารพพระคเณศเป็นของสำคัญของผู้มีหน้าที่เป็นคชบาล ผู้มีตำแหน่งเป็นครูอาจารย์ในทางคชกรรมต้องมีพระคเณศ ซึ่งแกะด้วยงาช้างตระกูลพิฆเนศมหาไพฑูรย์ไว้บูชา ในขณะที่ไปแทรกโพน (การจับช้างกลางแปลง) ช้างเถื่อนก็นำเอาติดตัวไปเป็นเครื่องราง บางคนใช้งาช้างตระกูลพิฆเนศมหาไพฑูรย์แกะเป็น “พระคเณศ” ที่ด้ามมีด ไว้สำหรับใช้เป็นอาวุธประจำตัวในขณะไปทำการคล้องช้างก็มี จากลักษณะของประติมากรรม เครื่องแต่งกาย ลักษณะการใช้งาน และคติการสร้างทำให้สันนิษฐานได้ว่า พระคเณศองค์นี้น่าจะเป็นส่วนด้ามมีดหมอของหมอช้าง หรือด้ามมีดชะน็อก ซึ่งใช้ในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง การพบประติมากรรมพระคเณศองค์นี้ในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ อาจเนื่องมาจากชุมชนบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ และชุมชนโดยรอบทะเลสาบสงขลา เป็นชุมชนที่รับอิทธิพลคติความเชื่อ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมมาจากอินเดียโดยตรง ดังจะเห็นได้จากร่องรอยหลักฐานอันเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย อีกทั้งตามตำนานนางเลือดขาวเชื่อกันว่า ชุมชนบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ และชุมชนโดยรอบทะเลสาบสงขลาเป็นชุมชนเลี้ยงช้างมาก่อนที่จะขยายตัวเป็นชุมชนเมืองที่มีขนาดใหญ่ และช้างยังเป็นสัตว์สำคัญในการค้าข้ามสมุทรอีกด้วย-------------------------------------------------------- เรียบเรียง : นางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ถ่ายภาพ : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง : 1. กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. 2. กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, 2554. 3. จิรัสสา คชาชีวะ. พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2547. 4. ผาสุก อินทราวุธ. “พระคเณศ: ที่พบในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 10 (2542): 4863-4876. 5. พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2523. 6. ศรีศักร วัลลิโภดม. “เมืองพัทลุง” ใน อู่อารยธรรมแหลมทองคาบสมุทรไทย, 217-242. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548. 7. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร. ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา, 2544. 8. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548. 9. อายัณโฆษณ์ [นามแฝง]. “เรื่องพระคเณศที่เกี่ยวกับช้าง” ใน เทพนิยายสงเคราะห์เรื่องเมขลา-รามสูรและพระคเณศ, 70-75. เสถียรโกเศศ [นามแฝง] และนาคะประทีป [นามแฝง], บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555. 10. อุไร จันทร์เจ้า. "ร่องรอยหลักฐานของศาสนาพราหมณ์ในชุมชนโบราณบนคาบสมุทรสทิงพระ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/3040984572632124
ชื่อผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง
ครั้งที่พิมพ์ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๗
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ ห.จ.ก.อรุณการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๗
จำนวนหน้า ๑๘ หน้า
คำค้น ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย สมบูรณ์
หนังสือ ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า อัศวพาหุ เป็นบทความร้อยแก้วสำหรับตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๑ ซึ่งอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑
1. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม ภาษาบาลี เช่น คาถาเสกปูนคาดคอ, ประสานกระดูก ฯลฯ 2. เวทย์มนต์คาถา เช่น เสกน้ำมันทาตัว, เสกน้ำล้างหน้า, คาถานมัสการพระพุทธเจ้า ฯลฯ 3. ตำรายาแก้ลมทรางกำเนิด
ผู้แต่ง : ชวลิต สุริยจันทร์
ปีที่พิมพ์ : 2534
สถานที่พิมพ์ : ลำพูน
สำนักพิมพ์ : กุสุมานานาภัณฑ์
ชื่อผู้แต่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ชื่อเรื่อง นิราศไทรโยค
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรุงเทพการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2518 จำนวนหน้า 385 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางอนงค์ สิงหศักดิ์
นิราศไทรโยคโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงพระนิพนธ์ เมื่อครั้งเสด็จประพาสน้ำตกไทรโยคระหว่างวันที่ 17 ก.พ. ถึง 24 มี.ค. พ.ศ. 2437 ทรงพระนิพนธ์เป็นโคลงสี่สุภาพ รวม 1,441 บท , ทรงพรรณาถึงธรรมชาติบนสองฝั่งแม่น้ำและสถานที่เสด็จประพาส รวมทั้งความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี นอกจากนั้น ทรงแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ จึงนับเป็นนิราศที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
กลศ (Kalaśa) หรือ กุมภะ (Kumbha) คือ หม้อ/เหยือก/โถ/แจกัน บรรจุน้ำ รูปทรงน้ำเต้า คอสูง ปากแคบ คล้ายขวด ไม่มีพวย ไทยเรามักเรียกว่า “คนโท” นิยมใช้เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนยอดวิหารในอินเดีย ในสมัยพระเวทเรียกว่า “หม้อเต็มด้วยน้ำ” ได้แก่ ปูรณ-กลศ (Pūrṇa-kalaśa) ปูรณ-กุมภะ (Pūrṇa-kumbha) หรือ ปูรณฆฏะ (Pūrṇa-ghaṭa) เชื่อว่าบรรจุน้ำอมฤต/น้ำศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ภูมิปัญญา ความบริสุทธิ์ แหล่งกำเนิดของชีวิต และความเป็นอมตะ บางครั้งกลศก็เต็มด้วยเหรียญเงิน ข้าว อัญมณี และทองคำ หรือส่วนผสมของสิ่งกล่าวแทนน้ำ กลศใช้เป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม เช่นใช้ในพิธีหลั่งน้ำโสม (สุรา) เพื่อบวงสรวงเทพเจ้าตั้งแต่สมัยพระเวท ใช้หลั่งน้ำลงดิน หรือหลุมเสาเอกก่อนการก่อสร้าง เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ยังใช้เป็นหม้อน้ำติดตัวคนเดินทางโดยเฉพาะพวกนักพรต นักบวชชาวอินเดียทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ทางประติมานวิทยาเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของเทพเจ้าหลายพระองค์ เช่น พระพรหมา (Brahma) เทพผู้สร้าง ทรงหม้อน้ำในพระหัตถ์ข้างหนึ่ง น้ำซึ่งบรรจุอยู่ภายในกล่าวว่าเป็นน้ำเมื่อแรกกำเนิดจักรวาล พระพรหมทรงโลกขึ้นโดยหย่อนเมล็ดพืชลงในน้ำนั้น พระลักษมี (Lakṣamī) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และพระศิวะ (Śiva) ในฐานะเทพคุรุ ในศาสนาพุทธ พระโพธิสัตว์ถือกลศเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของนักบวช เช่น พระปัทมปาณี (Padmapanī) พระไมเตรยะ (Maitreya) พระนางภฤกุฏี (Bhṛkuṭi) กลศในพุทธศาสนาจัดเป็นหม้อน้ำอมฤต หรือหม้ออาหารทิพย์ หรือยาอายุวัฒนะภาพ 1. เหรียญเงินทวารวดี รูปกลศ หรือ ปูรณกลศ พบที่จังหวัดนครปฐม พุทธศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพ 2. สัญลักษณ์มงคลรูปกลศะ บนแผ่นหินสลัก ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพ 3. กลศ ศิลปะอินเดียแบบคันธารราฐ พุทธศตวรรษที่ 7 – 8 ปกติมักถือในหัตถ์ของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ British Museum ภาพ 4. พระศิวะสี่กร แสดงปางประทานพร ถือตรีสูร สรรปะ (งู) และ กลศะ ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ 16 Asian Art Museum of San Francisco--------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอ้างอิง 1. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี 2. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism 3. Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains 4. https://en.wikipedia.org/ wiki/Kalasha
วันที่ ๒๑ - ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗นายมนตรี ธนภัทรพรชัย นักโบราณคดีชำนาญการและเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาลงพื้นที่ขุดกู้โครงกระดูกมนุษย์ที่พบบริเวณหลังบ้านเลขที่ ๑๔๖หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นโครงกระดูกมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ตอนปลายนายมนตรี ธนภัทรพรชัย นักโบราณคดีชำนาญการนายสมศักดิ์ ฉัตรทองนางสาวพิชญ์สินี กุลกิตติรัตนากรนายอดุลย์ ประพฤติชอบ
อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ตั้งอยู่ภายในวัดประทุมธรรมชาติ บ้านแกใหญ่ หมู่ที่ ๑ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จและมีการผูกพัทธสีมาเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๖๒ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง หน้า ๙ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๔ ไร่ ๐ งาน ๔๖ ตารางวา ร่องรอยของโบราณสถานที่เหลืออยู่ เป็นอาคารอุโบสถ หรือที่เรียกว่า “สิม” สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ สร้างโดยการนำของพระครูธรรมธัชพิมล อดีตเจ้าอาวาส ช่างเป็นชาวเขมรที่มาอยู่ที่บ้านแกใหญ่อุโบสถ หรือ สิมหลังนี้ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน สร้างด้วยไม้ ขนาด ๕ ช่วงเสา กว้าง ๗.๒๕ เมตร ยาว ๑๐.๖๐ เมตร หลังคาทรงจั่วสองชั้น ชั้นบนลดมุขด้านหน้าและด้านหลังหน้าบันมีชานจั่วแกะสลักลวดลาย ส่วนบนหลังคาประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ หลังคาชั้นลดแบบปั้นหยาคลุมตลอดทั้งสี่ด้าน หน้าต่างและประตูเป็นแบบลูกฟักเหมือนกับที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ตัวอาคารตั้งอยู่บนพื้นดิน มีเสาไม้สี่เหลี่ยม รวม ๒๔ ต้น ด้านหน้าด้านทิศตะวันออกมีประตูทางเข้า ๒ บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง ๑ บาน ด้านหลังด้านทิศตะวันตกมีประตูทางเข้า ๒ บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง ๑ บาน ด้านข้างด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้มีช่องหน้าต่างด้านข้างด้านละ ๕ บาน จุดเด่นของสิมหลังนี้อยู่ที่หน้าบันมีชานจั่วเป็นไม้แกะสลักลวดลายด้านทิศตะวันออกแกะสลักลวดลายรูปเทพพนม ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา ด้านทิศตะวันตกแกะสลักลวดลายราหู ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา นอกจากนี้ยังพบการสลักลวดลายที่ตำแหน่งเชิงชายคาของหลังคาทั้งสองชั้น ปัจจุบัน โบราณสถานอุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ไม่มีการใช้ประโยชน์ และไม่ได้รับความเอาใจใส่ดูแลรักษาจากทางวัดเท่าที่ควร เนื่องจากมีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ไว้ที่ด้านทิศใต้ของอุโบสถหลังนี้ สภาพปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ส่วนหลังคาที่เดิมเคยมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ปลายแหลม ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสังกะสีทั้งหมด ส่วนบนหลังคา ที่ประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ ชำรุด ผุพังและหลุดหายไปจากตำแหน่งเดิม ประตู หน้าต่างและฝาผนังไม้ ชำรุด ผุพัง หลุดหายไปมาก ลวดลายหน้าบันที่สลักตกแต่งสวยงามก็ชำรุดหลุดหายไป ภายในอาคารก็มีน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีการนำดินมาปรับถมพื้นที่ด้านนอกโดยรอบทำให้ภายในอยู่ในพื้นที่ต่ำ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของโบราณสถานอุโบสถ วัดประทุมธรรมชาติ จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการสำรวจเพื่อการออกแบบบูรณะโบราณสถานอุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลของโบราณสถาน ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน มีเป้าหมายเพื่อที่จะอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของโบราณสถาน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม คงสภาพความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากที่สุด ทรงคุณค่าในการเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบัน สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ จากกรมศิลปากร เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งศิลปวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยว งบเงินอุดหนุนเพื่อบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ โดยเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุน จำนวน ๗๓๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนสามหมื่นบาทถ้วน) และเงินวัดสมทบ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานบูรณะและปรุบปรุงภูมิทัศน์ และสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จะรายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการเป็นระยะๆ ต่อไป รวบรวมข้อมูลโดย : นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
วันนี้ (วันพุธที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐ น.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วย กิจกรรมทำความสะอาดบริเวณพื้นที่อาคารกระทรวงวัฒนธรรม และกิจกรรมบริจาคโลหิตจากโรงพยาบาลราชวิถี โดยมี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม ประชาชนจิตอาสา เข้าร่วมกิจกรรม ณ บริเวณอาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ
ชื่อผู้แต่ง : ชุมเห็ดชื่อเรื่อง : ตำนานและนิราศของสุนทรภู่ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ -สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : ๒๔๗๒ ตำนานและนิราศของสุนทรภู่ ได้รวบรวมเรื่องตำนานและนิราศของสุนทรภู่ ซึ่งเป็นกวีเอก ยุงกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้ได้เรียนรู้ประวัติของ กวีเอก นอกจากนั้นยังมีนิราศอันไพเราะของท่าน อทิ นิราสอิเหนา นิราศประพระประธม