ร้อยเรื่อง (เล่า) เมืองสามอ่าว ตอนที่ 1 ถ้ำภาพเขียน
ประจวบคีรีขันธ์จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดทางภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศที่มีความลาดชันค่อนข้างสูง ลาดเอียงในด้านตะวันตกซึ่งเป็นเทือกเขาตะนาวศรีลงสู่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นอ่าวไทยตลอดแนวเขตของจังหวัด ประกอบด้วยเทือกเขาและภูเขาอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเลและพื้นที่ตอนกลางของจังหวัด มีเทือกเขาสำคัญเช่น เทือกเขาสามร้อยยอด และมีเกาะเล็ก ๆ รวม ๕๘ เกาะ ประกอบด้วยแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปราณบุรีในอำเภอปราณบุรี แม่น้ำกุยบุรีในอำเภอกุยบุรี แม่น้ำบางสะพานในอำเภอบางสะพาน คลองบางนางรมในอำเภอเมือง คลองกรูดตั้งอยู่ในอำเภอบางสะพาน ประกอบไปด้วยอ่าวน้อย อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาว จึงได้ฉายาว่าเมืองสามอ่าว ทำให้สะดวกต่อการติดต่อดินแดนภายนอก มีดินร่วนปนทรายลึกลงไปเป็นดินเหนียวปนทรายที่เหมาะแก่การเพาะปลูก แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แร่ควอร์ทซ หินอ่อน ดีบุก ทองคำ ลูโคซิน โปแตสเซียม และเฟลด์สปาร์
ภาพที่ 1 แผนที่ตำแหน่งแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน
นอกจากอาณาเขตทางทะเลที่ประกอบไปด้วยอ่าวทั้งสามแล้ว ประจวบคีรีขันธ์ยังมีอาณาเขตติดกับสหภาพพม่าตลอดแนวทิศตะวันตกประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร สามารถสัญจรถึงกันได้ ๓๐ ช่องทาง ชายแดนที่สำคัญคือ ด่านสิงขร อำเภอเมืองซึ่งเชื่อมต่อกับบ้านมูด่อง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า โดยปรากฏชื่อด่านสิงขรในพงศาวดารสมัยอยุธยาในฐานะช่องทางเดินทัพระหว่างไทย-พม่า และปรากฏชื่อเมืองซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในคำให้การชาวกรุงเก่า ได้แก่กุยบุรี ปราณบุรี เมืองนารัง เมืองบางตะพาน เมืองสิงคอง (สิงขร) เมืองคลองวาฬ และเมืองบางตะพานน้อยอีกด้วย อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสนใจว่าการศึกษาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภายในภาคตะวันตกยังคงมีไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเกิดโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันตกของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๓ โดยสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรีขึ้น
ภาพที่ 2 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 1
ภาพที่ 3 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 2
ภาพที่ 4 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 3
ภาพที่ 5 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 4
ร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ปรากฏที่อำเภอกุยบุรี อำเภอปราณบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอสามร้อยยอด แหล่งโบราณคดีที่น่าสนใจแห่งหนึ่งคือถ้ำภาพเขียน ตั้งอยู่หมู่ ๒ บ้านโรงเจ ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่แห่งนี้มีลักษณะเป็นเพิงผาหินปูน รายล้อมไปด้วยป่าเบญจพรรณ ภายในถ้ำไม่พบโบราณวัตถุ พบเพียงภาพเขียนสีบนเพิงผาทางด้านเหนือของปากถ้ำซึ่งได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะของน้ำและการกะเทาะของหิน โดยระดับของภาพมีความสูงต่ำที่สุดที่ ๑.๕๐ เมตร สามารถยืนเขียนได้ตามปกติ และระดับสูง ๖ เมตรที่ต้องใช้เครื่องมือเช่น นั่งร้านหรือบันได เพื่อปีนขึ้นไปเขียนภาพ
ภาพที่ 6 สภาพแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน
ภาพที่ 7 สภาพภายในแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน
ภาพที่ 8 ภาพเขียนสี ถ้ำภาพเขียน
ภาพเขียนสีที่พบในถ้ำภาพเขียนมีจำนวน ๑๐๖ ภาพ สามารถจำแนกออกได้ ๓ ประเภท ได้แก่ ภาพคน ๑๓ ภาพ ภาพสัตว์ ๑๒ ภาพ ภาพสัญลักษณ์ ๕๘ ภาพ และภาพที่เสียหายไม่สามารถพิจารณาได้จำนวน ๒๓ ภาพ เล่าเรื่องราวของของการล่าฝูงวัวและเก้งหรือกวาง และมีบุคคลที่สวมเสื้อคลุมยาว ศีรษะประดับด้วยเขายาวแหลมกำลังประกอบพิธีกรรม มีวิธีการลงสีแบบเงาทึบ (Silhouette) แบบโครงร่างภายนอก (Outline) แบบเงาทึบบางส่วน (Partial Silhouette) และแบบลายเส้น (Line) //เนื่องจากสภาพแหล่งไม่เอื้ออำนวยให้ใช้เป็นที่พักพิงถาวร จึงสันนิษฐานว่าถ้ำภาพเขียนไม่ใช่แหล่งที่อยู่อาศัยและไม่ใช่ที่พักชั่วคราว แต่เป็นสถานที่เชิงพิธีกรรมโดยกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ตามพื้นราบในบริเวณใกล้เคียง เช่น ในเขตบ้านพุน้อย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด, บ้านโป่งกระสัง อำเภอกุยบุรี, เขาจ้าว อำเภอปราณบุรี และเขตที่ราบหุบเขาในอำเภอหัวหิน ภาพสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มีรูปแบบและเทคนิคคล้ายกับที่พบจากแหล่งศิลปะถ้ำประตูผา จังหวัดลำปาง จึงสันนิษฐานว่ากลุ่มที่เข้ามาเขียนภาพนั้นอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมกสิกรรม ประมาณ ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ภาพที่ 9 กลุ่มภาพคนล่าสัตว์และสัญลักษณ์
ภาพที่ 10 กลุ่มภาพคนไล่ต้อนฝูงสัตว์
ภาพที่ 11 กลุ่มภาพสัญลักษณ์
ภาพที่ 12 กลุ่มภาพสัญลักษณ์
ภาพที่ 13 คณะทำงาน
ภาพที่ 14 คณะทำงาน
อ้างอิง
-กรมศิลปากร, ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๓๙. -กรมศิลปากร, วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๔. -สำนักศิลปากรที่ ๑ จังหวัดราชบุรี, ศิลปะถ้ำเขาสามร้อยยอด ราชบุรี: กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.
ภาพที่ 1 แผนที่ตำแหน่งแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน
นอกจากอาณาเขตทางทะเลที่ประกอบไปด้วยอ่าวทั้งสามแล้ว ประจวบคีรีขันธ์ยังมีอาณาเขตติดกับสหภาพพม่าตลอดแนวทิศตะวันตกประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร สามารถสัญจรถึงกันได้ ๓๐ ช่องทาง ชายแดนที่สำคัญคือ ด่านสิงขร อำเภอเมืองซึ่งเชื่อมต่อกับบ้านมูด่อง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า โดยปรากฏชื่อด่านสิงขรในพงศาวดารสมัยอยุธยาในฐานะช่องทางเดินทัพระหว่างไทย-พม่า และปรากฏชื่อเมืองซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในคำให้การชาวกรุงเก่า ได้แก่กุยบุรี ปราณบุรี เมืองนารัง เมืองบางตะพาน เมืองสิงคอง (สิงขร) เมืองคลองวาฬ และเมืองบางตะพานน้อยอีกด้วย อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสนใจว่าการศึกษาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภายในภาคตะวันตกยังคงมีไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเกิดโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันตกของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๓ โดยสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรีขึ้น
ภาพที่ 2 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 1
ภาพที่ 3 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 2
ภาพที่ 4 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 3
ภาพที่ 5 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 4
ร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ปรากฏที่อำเภอกุยบุรี อำเภอปราณบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอสามร้อยยอด แหล่งโบราณคดีที่น่าสนใจแห่งหนึ่งคือถ้ำภาพเขียน ตั้งอยู่หมู่ ๒ บ้านโรงเจ ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่แห่งนี้มีลักษณะเป็นเพิงผาหินปูน รายล้อมไปด้วยป่าเบญจพรรณ ภายในถ้ำไม่พบโบราณวัตถุ พบเพียงภาพเขียนสีบนเพิงผาทางด้านเหนือของปากถ้ำซึ่งได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะของน้ำและการกะเทาะของหิน โดยระดับของภาพมีความสูงต่ำที่สุดที่ ๑.๕๐ เมตร สามารถยืนเขียนได้ตามปกติ และระดับสูง ๖ เมตรที่ต้องใช้เครื่องมือเช่น นั่งร้านหรือบันได เพื่อปีนขึ้นไปเขียนภาพ
ภาพที่ 6 สภาพแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน
ภาพที่ 7 สภาพภายในแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน
ภาพที่ 8 ภาพเขียนสี ถ้ำภาพเขียน
ภาพเขียนสีที่พบในถ้ำภาพเขียนมีจำนวน ๑๐๖ ภาพ สามารถจำแนกออกได้ ๓ ประเภท ได้แก่ ภาพคน ๑๓ ภาพ ภาพสัตว์ ๑๒ ภาพ ภาพสัญลักษณ์ ๕๘ ภาพ และภาพที่เสียหายไม่สามารถพิจารณาได้จำนวน ๒๓ ภาพ เล่าเรื่องราวของของการล่าฝูงวัวและเก้งหรือกวาง และมีบุคคลที่สวมเสื้อคลุมยาว ศีรษะประดับด้วยเขายาวแหลมกำลังประกอบพิธีกรรม มีวิธีการลงสีแบบเงาทึบ (Silhouette) แบบโครงร่างภายนอก (Outline) แบบเงาทึบบางส่วน (Partial Silhouette) และแบบลายเส้น (Line) //เนื่องจากสภาพแหล่งไม่เอื้ออำนวยให้ใช้เป็นที่พักพิงถาวร จึงสันนิษฐานว่าถ้ำภาพเขียนไม่ใช่แหล่งที่อยู่อาศัยและไม่ใช่ที่พักชั่วคราว แต่เป็นสถานที่เชิงพิธีกรรมโดยกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ตามพื้นราบในบริเวณใกล้เคียง เช่น ในเขตบ้านพุน้อย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด, บ้านโป่งกระสัง อำเภอกุยบุรี, เขาจ้าว อำเภอปราณบุรี และเขตที่ราบหุบเขาในอำเภอหัวหิน ภาพสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มีรูปแบบและเทคนิคคล้ายกับที่พบจากแหล่งศิลปะถ้ำประตูผา จังหวัดลำปาง จึงสันนิษฐานว่ากลุ่มที่เข้ามาเขียนภาพนั้นอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมกสิกรรม ประมาณ ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ภาพที่ 9 กลุ่มภาพคนล่าสัตว์และสัญลักษณ์
ภาพที่ 10 กลุ่มภาพคนไล่ต้อนฝูงสัตว์
ภาพที่ 11 กลุ่มภาพสัญลักษณ์
ภาพที่ 12 กลุ่มภาพสัญลักษณ์
ภาพที่ 13 คณะทำงาน
ภาพที่ 14 คณะทำงาน
อ้างอิง
-กรมศิลปากร, ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๓๙. -กรมศิลปากร, วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๔. -สำนักศิลปากรที่ ๑ จังหวัดราชบุรี, ศิลปะถ้ำเขาสามร้อยยอด ราชบุรี: กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.
(จำนวนผู้เข้าชม 2435 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน