ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,014 รายการ

ขอเชิญร่วมงานเทศกาลไหว้พระนอนประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567 ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน ซึ่งนับเป็นงานบุญ งานสำคัญประจำปีงานหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา ภายในงานนี้ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เข้าร่วมจัดซุ้มนิทรรศการและมีกิจกรรมต่าง ๆให้ร่วมสนุก พร้อมทั้งนำเหรียญพระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ แบบ มาให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเช่าบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล * เหรียญ​บรอนซ์​นอกขัดเงา * เหรียญ​โลหะสัมฤทธิ์​ขัดเงา * เหรียญ​ทองแดงรมซาติน *และเหรียญพระพิฆเนศวร กรมศิลปากร ปี ๒๕๔๗ เนื้อทองแดงรมดำ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม "กรมศิลป์ชวนตามรอย คนก่อนสูงเนิน" ที่จะพาทุกท่านทัวร์ชมโบราณสถานสำคัญในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ฟรี !!  วันที่ 12-14 ก.ค.2567 วันละ 2 รอบ 10.30 น. และ 13.30 น. ** เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม สามารถลงทะเบียนผ่านเพจหรือพบกันที่บูธกิจกรรม ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พิเศษ ! รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน/รอบ


          วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เข้าดำเนินการถากถางกำจัดวัชพืชแหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย ตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร


วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เข้าดำเนินการถากถางกำจัดวัชพืชในเขตโบราณสถานวัดบ้านโคกคอน (พระธาตุมีชัย) บ้านโคกคอน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร


เมื่อวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2567 นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรโครงการอบรมยุวชนจิตอาสาพิพิธภัณฑ์ ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมพุทธสมาคม จังหวัดนครราชสีมา จัดโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ในการนี้ได้ทำการบรรยายในหัวข้อการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี พร้อมทั้งร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลงานองค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจากคณะนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เข้าร่วมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหากุฏวิทยมหาราช ในโอกาสออกทรงผนวชครบ ๒๐๐ ปี ณ ศาลาอตุโล วัดบูรพาราม พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๓-๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๒๕๔ คน


วันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๕๐ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง นายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา (ขาหรือตัก) ส่วนพระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ขวาชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เรียกกันอีกชื่อว่า “ปางชนะมาร” คำว่า วิชัย แปลว่า ชัยชนะ พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระประธานองค์ใหญ่ที่สำคัญของล้านนา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดสำริดองค์ใหญ่ และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา.  ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา, ๒๕๖๐.ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค).  พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖.พระรัตนปัญญาเถระ.  ชินกาลมาลีปกรณ์.  แปลโดย แสง มนวิทูร.  พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑.พิริยะ ไกรฤกษ์.  ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย.  กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑.


พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา (ขาหรือตัก) ส่วนพระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ขวาชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เรียกกันอีกชื่อว่า “ปางชนะมาร” คำว่า วิชัย แปลว่า ชัยชนะ พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระประธานองค์ใหญ่ที่สำคัญของล้านนา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดสำริดองค์ใหญ่ และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา.  ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา, ๒๕๖๐.ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค).  พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖.พระรัตนปัญญาเถระ.  ชินกาลมาลีปกรณ์.  แปลโดย แสง มนวิทูร.  พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑.พิริยะ ไกรฤกษ์.  ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย.  กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑.  


             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ขอเชิญชวนไปเที่ยวงานเทศกาลไหว้พระนอน ประจำปี 2567 จัดโดยอำเภอสูงเนิน ระหว่างวันที่ 12 - 14 กรกฎาคม 2567 ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งนับเป็นงานบุญ งานสำคัญประจำปีงานหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา นอกจากจะมีซุ้มนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมเสวนาเรื่อง “หินตั้ง : จากวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์สู่เสมาศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา” ในวันที่ 13 กรกฎาคม.2567 เวลา 17.30 น. ร่วมพูดคุยเรื่องหินตั้งและวัฒนธรรมการปักเสมาโดยมุมมองจาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ โดยรศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของผลงานหลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยคุณทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา มุมมองของคนบ้านหินตั้งกับการใช้ชีวิตร่วมกับโบราณสถาน โดยคุณเอนก. หุนสูงเนิน คุณเปรมฤดี ลาสูงเนิน คน “บ้านหินตั้ง” ดำเนินรายการโดยคุณจิตจา ที่หนองสังข์ คน “สูงเนิน” สามารถรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live และรอติดตามข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่เฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย             นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม "กรมศิลป์ชวนตามรอย คนก่อนสูงเนิน" ที่จะพาทุกท่านทัวร์ชมโบราณสถานสำคัญในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ฟรี !! วันที่ 12 - 14 กรกฎาคม 2567 วันละ 2 รอบ 10.30 น. และ 13.30 น.  (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)  ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านเฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย หรือพบกันที่บูธกิจกรรม ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา *พิเศษ ! รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน/รอบ  





          วันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เข้าดำเนินการถากถางกำจัดวัชพืชในเขตโบราณสถานดอนหอ บ้านโพนบก หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร



Messenger