ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 43,473 รายการ


วันที่ 6 มีนาคม 2568 เวลา 12.30-17.00 น. หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา จัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2568 กิจกรรม “ศิลปะการตัดกระดาษสื่อผสมสร้างสรรค์ - CREATIVE MIXED PAPER CUTTING ART” โดยมีนายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เป็นประธานในพิธี และมีนางพัชมณ ศรีสัตย์รสนา ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เป็นผู้กล่าวรายงาน กิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุวัฒน์ ชะตางาม ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานในงาน Thailand Biennale Korat 2022-2023 และศิลปินอิสระ เป็นวิทยากร ทั้งนี้มีข้าราชการกรมศิลปากร นักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปสนใจเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์ ชั้น 1 หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา จำนวน 78 คน นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมาอีกด้วย



รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์





            กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เปิดอบรมศิลปะภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 42 ให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนผู้สนใจใน 5 ทักษะ ได้แก่ การวาดการ์ตูน การลงสีไม้ ศิลปะและการวาดการ์ตูนเชิงสร้างสรรค์ การวาดสีน้ำ และการวาดเส้น ผู้สนใจสมัครด้วยตนเองได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 มีนาคม 2568 วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.30 – 15.30 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิชาการ โทร. 0 2282 2639 หรือ Facebook: The National Gallery of Thailand             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดอบรมศิลปะในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน "Summer Art Camp 2025" ระยะเวลาอบรม ระหว่างวันที่ 16 - 27 เมษายน 2568 (วันพุธ -อาทิตย์, หยุดวันจันทร์ – อังคาร)หลักสูตรละ 20 คน แบ่งเป็น              หลักสูตรสำหรับเด็ก ระดับชั้น ป.1 - ป.3 ได้แก่ Cartoon & Comics ทักษะการวาดการ์ตูน เวลา 09.00 - 12.00 น. และ Art & Creative Cartoon ศิลปะและงานประดิษฐ์ เวลา 13.00 - 16.00 น.             หลักสูตรสำหรับเด็ก ระดับชั้น ป.4 - ป.6 ได้แก่ Colored pencils ทักษะการลงสีไม้ เวลา 09.00 - 12.00 น. Art & Creative Cartoon ศิลปะและการวาดการ์ตูนเชิงสร้างสรรค์ 2 รอบ รอบเวลา 09.00 - 12.00 น. และเวลา 13.00 - 16.00 น. และ Watercolor for kids ทักษะการวาดสีน้ำ เวลา 13.00 - 16.00 น.             หลักสูตรสำหรับระดับชั้น ม.1 - บุคคลทั่วไป ได้แก่ Drawing ทักษะการวาดลายเส้น เวลา 09.00 - 12.00 น. และ Watercolor ทักษะการวาดสีน้ำ เวลา 13.00 - 16.00 น.               ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมศิลปะภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 42 สามารถสมัครด้วยตนเองหรือผู้ปกครอง ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 มีนาคม 2568 (ไม่รับสมัครหรือรับจองทางออนไลน์) วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.30 – 15.30 น.เอกสารที่ใช้ในการสมัคร ได้แก่ รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้เข้ารับการอบรม ค่าลงทะเบียน คนละ 1,900 บาท ต่อหลักสูตร (รวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมแล้ว) สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า (เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า) เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทร. 0 2282 2639 หรือ Facebook: The National Gallery of Thailand


          หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมรายการ คอนเสิร์ตการแสดงในอดีต "ย้อนเวลาดนตรีในความทรงจำ" ในวันศุกร์ เวลา 13.30 น. ณ ห้องจัดแสดง ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 (จำกัดจำนวน 100 ที่นั่ง) โดยในวันศุกร์ ที่ 7 มีนาคม 2568 รับชมเทปบันทึกคอนเสิร์ต เพลินเพลงพวงร้อยโดย วงดนตรีจารุกนก จัดเมื่อวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2544 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2280 9828 - 32 สามารถติดตามข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ของหอสมุดแห่งชาติ ได้ทาง Facebook : National Library of Thailand






แนะนำหนังสือน่าอ่าน พุทธวจนสถาบัน. พุทธวจน-หมวดธรรม เปิดธรรมที่ถูกปิด ฉบับ4 มรรควิธีที่ง่าย. ปทุมธานี: มูลนิธิพุทธโฆษณ์, 2558. 118 หน้า. ภาพประกอบ.   ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้คนแข่งกันรู้ ให้ได้เร็วที่สุดไว้ก่อนนั้น ได้นำพาสังคมไปสู่วิถีชีวิตที่เสพติดในความง่ายเร็วลัด ของขั้นตอนการเรียนรู้ โดยละทิ้งความถูกต้องตรงจริงในการรู้นั้นไว้เป็นอันดับรอง ในแวดวงของชาวพุทธยุคใหม่ แม้ในส่วนที่มี ปัญญาพอเห็นโทษภัยในทุกข์ มีจิตน้อมไปในการภาวนาแล้ว ก็ยังไม่พ้นที่จะมีการพูดถึงเกี่ยวกับ มรรควิธีที่ง่าย ลัดสั้น ปัญหามีอยู่…คือ การหมายรู้ ในคำว่า “ง่าย” โดยในแง่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนั้น มีความหมาย ไม่ตรงกับรายละเอียดในมรรควิธีที่ง่าย ซึ่งบัญญัติโดย พระตถาคต เมื่อนิยามตั้งต้นไม่ตรงกันเสียแล้ว จะต้อง กล่าวไปในรายละเอียดอื่นๆ ที่ตามมา เมื่อพูดถึงคำว่า “ง่าย” โดยทั่วไป มักจะถูกเข้าใจ ในลักษณะว่า เป็นอะไรสักอย่างที่ได้มาโดยไม่มีขั้นตอนยาก ได้มาโดยไม่ต้องลงแรง โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ใช้การขวนขวายน้อย ใช้ข้อมูลน้อย ใช้การใคร่ครวญน้อย ใช้การกระทำน้อย …กระทั่งไม่ต้องทำอะไรเลย ดังนั้น มรรควิธีที่ง่าย จึงไม่ใช่ว่า ง่าย ในแบบที่ เข้าใจกันว่าใช้ความพยายามน้อย ใช้การกระทำน้อย ขวนขวายน้อยแต่ง่าย ตามเหตุปัจจัยอันสมควรแก่กรณีนั้นๆภายใต้ขีดจำกัดของสาวก ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงยืนยันว่า แม้อรหันต์ผู้ปัญญาวิมุตติ ต่างก็เป็นได้เพียง แค่มัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรคมาทีหลัง) จึงไม่แปลกที่เรา จะได้รู ้ได้ฟังการอธิบายแจงแจกมรรควิธีที่ง่าย ตามแบบของ สาวกในรูปแบบต่างๆ กันไป ซึ่งตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง และไม่สามารถนำามาใช้อ้างอิงเป็นหลักมาตรฐานได้ หากเปรียบการบรรลุมรรคผล คือการถึงจุดหมาย หนังสือเล่มนี้ คือ แผนที่ ซึ่งเขียนโดยมัคคโกวิโท (ผู้ฉลาดใน มรรค คือพระตถาคต) และชาวพุทธต้องหันกลับมาใช้แผนที่ ฉบับถูกต้องนี้ เป็นมาตรฐานเดียวเหมือนครั้งพุทธกาล   ห้องทั่วไป 1 294.315 พ835พ


แนะนำหนังสือน่าอ่าน พุทธวจนสถาบัน. พุทธวจน-หมวดธรรม เปิดธรรมที่ถูกปิด ฉบับ5 แก้กรรม. ปทุมธานี: มูลนิธิพุทธโฆษณ์, 2558. 165 หน้า. ภาพประกอบ.   ในครั้งพุทธกาล มีภิกษุอธิบายเกี่ยวกับวิญญาณว่า วิญญาณ คือสภาพที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ สื่อสารพูดคุยได้ เป็นผู้รับผลของกรรมดีกรรมชั่ว เป็นผู้ที่แล่นไป ท่องเที่ยวไป พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุรูปนั้นมาสอบทันที เมื่อได้ความตรงกันกับที่ถูกโจทก์แล้ว ทรงตำหนิโดยการ เรียกภิกษุรูปนี้ว่า “โมฆะบุรุษ” ซึ่งแปลตามความหมายว่า บุคคลอันเปล่า ไร้ประโยชน์ เป็นโมฆะ มีไว้ก็เท่ากับไม่มี จากนั้น ทรงพยากรณ์ว่า การพูดผิดไปจากคำของตถาคต เช่นนี้ จะทำให้ประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ที่จะทำความเข้าใจว่า วิญญาณ โดยนัยของขันธ์ห้านั้น ไม่ใช่ตัวสัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีกริยารู้ได้ และเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม คืออาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นมีอยู่ ส่วนสัตว์ บุคคลผู้ ทำกรรม รับกรรมนั้น คือขันธ์ห้าอันประกอบด้วยอุปาทาน ปรุงแต่งเสร็จไปแล้ว ว่าเป็นนี้ๆ เป็นนั้นๆ คำถามก็คือ บุคคลประเภทไหนที่สนใจกรรม วิบากกรรมในขันธ์ห้า (อันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา) นี้บุคคลที่ยังมีความเห็นในวิญญาณ คำตอบก็คือ ว่าคือผู้รับรู้ ผู้กระทำ ผู้รับผลของกรรม คือผู้ท่องเที่ยว เวียนว่ายไป โดยนัยลักษณะเดียวกับภิกษุรูปนั้น   หนังสือ พุทธวจน ฉบับ แก้กรรม โดยพระตถาคต นี้ คือการรวมหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับกรรม โดยผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นได้ทันทีคือ ความรู้ในเรื่องกรรม ว่า กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลพึงทราบทั้งหมด ๖ แง่มุมด้วยกันเท่านั้น เป็นการรู้ที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากระบบแห่งกรรมที่ หมู่สัตว์ติดข้องอยู่มานานนับนี้อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางให้ถึงความดับแห่งกรรม โดยตัวของอริยมรรคเอง มีแล้ว ซึ่งการสร้างวิบากอันเป็นเลิศ มีพร้อมแล้วซึ่งอานิสงส์คือการนำไปสู่การสลัดคืนอุปาทานขันธ์ นั่นคือ การกระทำกรรมเพื่อให้ระบบกรรมทั้งหมดทั้งปวงนั้น กลายเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิง   ห้องทั่วไป 1 294.315 พ835พ