ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 31,777 รายการ

ต้นกำเนิดเพลงลูกทุ่งได้รับอิทธิพลมาจากเพลงไทยสากล ซึ่งพัฒนามาจากเพลงพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในสังคมเกษตรกรรมมีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องทุ่ง ชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมชาวบ้านมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย เนื้อร้องที่ใช้ภาษาง่ายๆ มีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง รวมถึงลีลาการร้องที่มีลูกคอเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยเฉพาะการร้องเอื้อนที่ใช้ลูกคอ ดังนั้นหากจะกล่าวถึงต้นกำเนิดของเพลงลูกทุ่งที่เป็นเพลงแรก ว่ามีความเป็นมาอย่างไรคงต้องย้อนกลับไปในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ในรายการเพลงประกอบละครวิทยุ เรื่องสาวชาวไร่ เป็นบทประพันธ์คำร้องและทำนอง โดยครูเหม เวชกร และคุณคำรณ สัมบุญณานนท์ เป็นผู้ขับร้อง ซึ่งเป็นบิดาของวงการลูกทุ่งไทย ประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลุกทุ่งไทย” โดยนับจาก พ.ศ. ๒๔๘๑ ครบรอบ ๕๐ ปี  เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเพลงลูกทุ่ง สำหรับเพลงประวัติศาสตร์ต้นฉบับเดิม ซึ่งในบางเพลงคนไทยแทบจะไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินเพลงลูกทุ่งมาก่อนเลย... ผู้รวบรวมและเรียบเรียง : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : เจนภพ จบกระบวนวรรณ.  เพลงลูกทุ่ง.  กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, ๒๕๕๐. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. เหม เวชกร. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เหม_เวชกร สถานีเจนภพ.  เจ้าสาวชาวไร่ - รุ่ง สุริยา (Official Audio). [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖,         จาก https://www.youtube.com/watch?v=Ms28QBPQjgY, ๒๕๖๕. สุรพล วิรุฬห์รักษ์ และรัชดา โชติพานิช.  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๓๓.          กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๕๑. อเนก นาวิกมูล, บรรณาธิการ.  กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค ๒.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ, ๒๕๓๔. phraisin pinthana. สาวชาวไร่ ลูกทุ่งเพลงแรกของไทย เหม เวชกร. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖,         จาก https://www.youtube.com/watch?v=uywYgAFXbsQ, ๒๕๖๕.



          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "พฤษภาคม" เชิญพบกับ "พัดฝัดข้าว" เครื่องมือเครื่องใช้จากภูมิปัญญา จัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖          พัดฝัดข้าว (วี หรือ ก๋าวี) เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้พัดแยกเมล็ดข้างที่ไม่มีเนื้อ (ข้าวลีบ) เศษผง เศษฟางต่าง ๆ ออกจากเมล็ดข้าวดี ให้เหลือเพียงเมล็ดข้างเปลือกที่มีน้ำหนักและใช้ได้          ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "พัดฝัดข้าว" ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี





วันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ยินดีต้อนรับ  คณะอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และนิสิตนักศึกษา ภาควิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จ.ปทุมธานี และคณะเจ้าหน้าที่บริษัทจีเอสเอ็มทราเวลเซอร์วิส จำนวน ๘๗คน  เวลา ๑๔.๓๐ น. เข้าเยี่ยมชมปราสาทพนมรุ้ง  (นำชม/รายงานโดย นายบันเลง กำประโคน)


วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๕ คน อาจารย์ ๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และเวลา ๑๔.๓๐ น. เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทศรีขรภูมิ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ และ ๕ ตำบลคำผง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ ได้เข้าไปตรวจสอบและบันทึกรายละเอียดโบราณวัตถุ เป็นไห ๑ ชิ้น สูง ๖๓.๘ ซม. กว้าง ๔๓ ซม. ปากกว้าง ๑๕.๕ ซม. เคลือบสีน้ำตาล น้ำเคลือบหลุดล่อน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ (๑,๐๐๐ - ๘๐๐ ปีมาแล้ว) ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ โดยนางบุญเลี้ยง ศรีสุนนท์ ชาวบ้านน้อยขยุง ตำบลคำผง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งถูกเก็บไว้ที่วัดป่าเมตตาสามัคคี ตำบลคำผง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จะประสานรับมอบมาเก็บรักษาต่อไป


วันพุธที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้รับการประสานจากนายสมศักดิ์ เพ็งสวัสดิ์ ชาวบ้านหนองกระทม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ว่านายสุริตร สุภาวหา ชาวบ้านหนองกระทม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จะมอบโบราณวัตถุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ และเวลา ๑๓.๐๐ น. มอบให้ณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เข้าไปตรวจสอบและรับมอบ เป็นกระปุกขนาดเล็ก ๓ ชิ้น ฝาภาชนะ ๑ ชิ้น หินลับ ๑ ชิ้น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทไห ๒ ใบ อุปกรณ์เหล็ก และตะกั่ว




          ‘A Room Full of Strangers’ คือนิทรรศการศิลปะที่บอกเล่าเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้เสมือนเป็น “คนนอก” ที่เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งบนแผ่นดินไทยและได้ทิ้งร่องรอยเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่หล่อหลอมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของเรา นิทรรศการประกอบด้วยผลงาน 15 ชิ้น ตีความผ่านมุมมองของนิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเชิญชวนให้ผู้ชมมาสัมผัสกับเรื่องราวสารพันของผู้คนแปลกหน้า ในประสบการณ์ของสีสัน แสง เสียง การแสดง และอื่นๆ อีกมากมาย           นิทรรศการ ‘A Room Full of Strangers’ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอศิลป์เจ้าฟ้า) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการพร้อมกิจกรรมพิเศษกับเหล่าคนแปลกหน้า (Strangers) ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 – 20.00 น. และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการในวันที่ 13 - 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 – 20.00 น.    --------------------------------------------- ข้อมูลการเดินทางมายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป Location https://goo.gl/maps/DmDkWgFLHezz1QR76 สถานที่จอดรถที่ใกล้ที่สุด: วัดชนะสงคราม https://goo.gl/maps/a9yqHecGLvBKK9iw5 อาคารรับฝากรถ กทม. https://goo.gl/maps/kTjR1XNSgBdj2krP9 (วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม สามารถจอดรถได้ที่สำนักงานสรรพากรภาค 3 ตั้งแต่ 17.00 - 20.00 น.) https://goo.gl/maps/d25Kuqyjxx9Cehfo7?coh=178571&entry=tt รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT: สถานีสนามไชย / สถานีสามยอด ทางเรือ: ท่าพระอาทิตย์


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ : การเปลี่ยนผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน” วิทยากร นางสาวรุ่งนภา สงวนศักดิ์ศรี นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


กิจกรรม #ลานวัฒนธรรมสร้างสุขพื้นที่สร้างสรรค์ ตลาดนัดกรีนมอ ทุกวันอาทิตย์ มีกิจกรรมให้ทำมากมาย อาทิเช่น ทำพวงมโหตร วาดรูประบายสี ร้อยลูกปัด ร้องเพลง *ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย*