ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 29,920 รายการ

แนะนำ E-book หนังสือหายากคทาดำ.  ฆ่าบุคคลสำคัญ.  พระนคร: โอเดียนการพิมพ์, 2503.



แนะนำ E-book หนังสือหายาก  จรูญ กุวานนท์.  ชีวิตรักของจอมพลป.  พระนคร: ร.พ. ประเสริฐอักษร, 2502. 


                                                                                                  แนะนำ E-book หนังสือหายากโบราณราชธานินทร์, พระยา.  อธิบายแผนที่ พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์.           พระนคร:โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2496.




แนะนำ E-book หนังสือหายาก ลมูล อติพยัคฆ์.  ร่อนไปปารีส กับ นายควง อภัยวงศ์.  พระนคร: คลังวิทยา, 2499.


แนะนำ E-book หนังสือหายากเลียง ไชยกาล.  ชีวประวัติ ผู้ยิ่งด้วยความอดทนเสียสละเพื่อเอกราช เนห์รู.  พระนคร: ร.พ. เฟื่องอักษร, 2502. 


   บรรณานุกรมรายชื่อหนังสือใหม่ห้องหนังสือทั่วไป ประจำเดือน  มกราคม 2566      หมวด 300  สังคมศาสตร์ กิตติกร  เกื้อกูล.  เตรียมสอบข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ภาค ก. องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นทุกสายงาน.  กรุงเทพฯ: ProED Education, 2558. (352.14076 ก673ต ) คณาจารย์ Think Beyond Genius.  Key  Map  ท้องถิ่นแผนที่ความคิด พิชิต ข้อสอบมั่นใจ 100 %.  นนทบุรี: ธิงค์ บียอน บุ๊คส์, 2564. ( 352.14076 ค127ค ) ณุภา  นันทเกียรติ.  คู่มือเตรียมสอบราชการส่วนท้องถิ่น วิชากฎหมาย (หลักเกณฑ์ ใหม่ 2564-65 ).  นนทบุรี: ไอดีซี, 2564.   ( 352.14076 ณ999ค ) นิธิมา  ไตรรัตน์.  Short  Note  and Lecture สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบท้องถิ่น.  นนทบุรี: ธิงค์ บียอน บุ๊คส์, 2564.   ( 352.14076 น614ช ) มรดกโลกทางวัฒนธรรมในอาเซียน.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2556.         ( 306.48 ม192 ) มานพ  แก้วสนิท.  นิทานพื้นบ้านไทย 4 ภาค  เล่ม 2.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2553.        ( 398.2 ม443น   ล.2 ) _______.  นิทานพื้นบ้านไทย 4 ภาค  เล่ม 3.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2553.        ( 398.2 ม443น   ล.3 ) _______.  นิทานพื้นบ้านไทย 4 ภาค  เล่ม 4.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2549.        ( 398.2 ม443น   ล.4 ) หมวด 500 วิทยาศาสตร์ โชติ  ศรีสุวรรณ.  ท่องโลกมหัศจรรย์สิ่งมีชีวิต.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2549.         ( 570 ช822ท )   หมวด 600  วิทยาศาสตร์ประยุกต์ โช,  โอกะ.  Organic  Farm สร้างฟาร์มสุขยั่งยืนด้วยวิธีเกษตรอินทรีย.  กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์, 2565.      ( 631.584 ช799อ ) พัชรี  สำโรงเย็น.  ผักในโรงเรือนต้นทุนต่ำ 5 ภาค.  กรุงเทพฯ: นาคา อินเตอร์มีเดีย, 2559.   ( 635 พ524ผ ) ภวพล  ศุภนันทนานนท์.  ไม้ใบ ไม้ด่าง.  กรุงเทพฯ: บ้านและสวน, 2564. ( 635.975 ภ211ม )   หมวด 800  วรรณคดี โชติ  ศรีสุวรรณ.  ดอกไม้บานที่เชิงภู.  พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2556.        ( 895.913  ช822ด ) วันทนีย์  วิบูลกีรติ.  หนูจิ๊บผู้มาจากดาวลูกไก่.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2547.               895.913 ว432ห )   หมวด 900  ภูมิ-ประวัติศาสตร์ ฝ่ายวิชาการสถาพรบุ๊คส์.  7บูรพกษัตริย์ ราชภักดิ์.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2559.                ( 923.1593 ฝ211จ ) *******************************************************


   บรรณานุกรมรายชื่อหนังสือใหม่ห้องหนังสือทั่วไป ประจำเดือน  กุมภาพันธ์ 2566    หมวด 000  เบ็ดเตล็ด ตรีภพ  เที่ยงตรง.  ย่อยประวัติ 1.0.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2562.  ( 089.95911 ต187ย ) หมวด 100  ปรัชญา เตชินี  ชวลิต.  ฝันดี-ฝันร้าย.  อุดรธานี: ร้านสุริยา, ม.ป.ป.  ( 135.3 ต677ฝ ) ภาวิดา  ชุณหะวัต.  พลังตัวเลขมหาเศรษฐี.  กรุงเทพฯ: Feel Good Publishing, 2565.    ( 133.335 ภ478พ ) โย  บรรยงค์.  ตำราทำนายฝัน.  กรุงเทพฯ: เพชรประกาย, 2565.  ( 135.3 ย729ต )   หมวด 300  สังคมศาสตร์ เกริก  ท่วมกลาง.  คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนช่วงชั้นที่ 2 ( ป.4-ป.6 ).         กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2546.    ( 371.36 ก638 ) จุฬา  ละคร.  อะไรเอ่ย? ท้าทายได้ความรู้ เล่ม 1.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ: สถาพร บุ๊คส์, 2552.   ( 398.6 จ678อ  ล.1 ) _______.  อะไรเอ่ย? ท้าทายได้ความรู้ เล่ม 2.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพร บุ๊คส์, 2552.   ( 398.6 จ678อ  ล.2 ) _______.  อะไรเอ่ย? ท้าทายได้ความรู้ เล่ม 3.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2548.   ( 398.6 จ678อ  ล.3 )   โชติ  ศรีสุวรรณ.  นิทานพื้นบ้านไทย 4 ภาค เล่ม 1.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2556.   ( 398.6 ช822น  ล.1 ) วัฒนธรรมโบราณชนชาติจ้วงกับความเข้าใจวัฒนธรรมไทย : รวมบทความวิจัย รายงานวิจัยและคำอภิปรายจากการสัมมนาทางวิชาการ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562.  กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2562.   ( 303.482 ว394 ) ส.  พลายน้อย.  นิทานจีน.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2559.   ( 398.2 ส113น )   หมวด 500 วิทยาศาสตร์ แฮรารี,  ยูวัล  โนอาร์.  เซเปี่ยนส์ ประวัติศาสตร์ฉบับกราฟฟิก  เล่ม 1.  กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2564.    ( 599.9 ฮ865ซ  ล.01 ) _______.  เซเปี่ยนส์ ประวัติศาสตร์ฉบับกราฟฟิก : เสาหลักแห่งอารยธรรม เล่ม 2.  กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2565.    ( 599.9 ฮ865ซ  ล.02 )   หมวด 600  วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จอห์นเคอ,  โรเจอร์.  ชี่เพื่อการบำบัดเยียวยา.  กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์(1977), ม.ป.ป.   ( 613.7148 จ212ช ) ชลิตา  สุนทรีย์.  วิธีสังเกตสัญญาณเตือนของโรคร้าย.  กรุงเทพฯ: เพชรประกาย, 2564.   ( 613 ช253ว ) เทวัญ  ธานีรัตน์.  ฟ้าทะลายโจร ภูมิปัญญาไทย สู้ภัยโควิด-19.  กรุงเทพฯ: ต้นคิด, 2564.    ( 615.321 ท645ฟ ) มหัศจรรย์กัญชา พืชแห่งอนาคต.  กรุงเทพฯ: มติชน, 2565.  ( 633.79 ม224 ) หมออาสาแพทย์แผนไทย.  มหัศจรรย์พืชสมุนไพรรักษามะเร็งร้าย ทุเรียนเทศ เหนือกว่าคีโม.  กรุงเทพฯ: เพชรพินิจ, 2565.  ( 615.321 ห177ม ) หมวด 800  วรรณคดี กรกานท์.  ผู้พิทักษ์รักสุดใจ.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2559.      ( 895.913 ก152พ ) ฉัตรฉาย.  กรงกฤษณา.  กรุงเทพฯ: แจ่มใส พับลิชชิ่ง, 2559.  ( 895.913 ฉ213ก ) เฉินสู่กวง.  แม่ผมอยากกินสับปะรด.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2552.  ( 895.13 ฉ491ม ) โชติ  ศรีสุวรรณ.  พระจันทร์ทรงกลด.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2553.      ( 895.91301 ช822พ ) _______.  มะหมาเพื่อนซี้.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2558.    ( 895.913 ช822ม ) _______.  ไหมน้อย.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2553.   ( 895.913 ช822ห ) diary.  ปั้นรัก.  กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์, 2557.   ( 895.913 ด993ป ) เทพิตา.  เล่ห์นางหงส์.  กรุงเทพฯ: พี.อาร์., 2555.   ( 895.913 ท634ล ) นิลปัทม์.  เดือนล้อมดาว.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2559.   ( 895.913 น663ด ) รอยพระจันทร์.  แผนรักลบเหลี่ยมตะวัน.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2559.   ( 895.913 ร192ผ ) วลีวิไล.  สะดุดรักนักข่าว.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ: แจ่มใส พับลิชชิ่ง, 2557. ( 895.913 ว354ส )   หมวด 900  ภูมิ-ประวัติศาสตร์ จินซี่มูน.  เที่ยวไม่ง้อทัวร์ไต้หวัน.  กรุงเทพฯ: ทิบไทยอิเตอร์บุ๊คส์, 2560.         ( 915.1249 จ487ท ) รงค์  ประพันธ์พงศ์.  10 กษัตริย์จักรีวงศ์.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2560.           ( 923.1593 ร113ส  ฉ.03 ) รักษ์รัฐ  สิทธิโชค.  เที่ยวรัสเซีย Russia.  กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น, 2562.  ( 914.7 ร294ท ) เริงวุฒิ  มิตรสุริยะ.  บุพเพสันนิวาสในประวัติศาสตร์อยุธยา.  นนทบุรี: ดินแดนบุ๊ค, 2564.    ( 959.33 ร798บ )         *******************************************************  


วันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนดงรักวิทยา ตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑๗๐ คน คุณครู ๑๙ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - ๑๙ อย่างเคร่งครัด


วันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔๖ คน คุณครู ๘ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - ๑๙ อย่างเคร่งครัด


วันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ บรรยายนำชมโบราณสถานปราสาทมีชัย(หมื่นชัย) ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ แก่นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๒ โรงเรียนกระเทียมวิทยา ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ผู้เข้าร่วมโครงการงานสืบสานตำนานปราสาทมีชัย ประจำปี ๒๕๖๖ โดยองค์การบริการส่วนตำบลกระเทียม ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ ๙-๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๕๗๐ คน โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิท ๑๙ อย่างเคร่งครัด


          วันนี้ (วันพุธที่ ๑๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖) เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวส่งมอบผลงานโครงการความร่วมมือระหว่างวัดเบญจมบพิตรกับกรมศิลปากรเพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร โดยถวายคัมภีร์ใบลานที่ได้รับการอนุรักษ์แล้ว พร้อมหนังสือบัญชีทะเบียนเอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร แด่เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่ภาคีเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ ณ วัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดเบญจมบพิตรกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ รวมระยะเวลา ๕ เดือน ในการปฏิบัติงานอนุรักษ์ ได้บูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร คณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) รุ่นแรกในส่วนกลาง ซึ่งเป็นรุ่นบุกเบิกของการสร้างเครือข่ายดูแลรักษาเอกสารโบราณให้ขยายวงกว้างออกไป โดยการดำเนินการดังกล่าว สอดรับพันธกิจของ  กรมศิลปากรที่ต้องธำรงรักษา อนุรักษ์ สืบสาน มรดกทางศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่นให้คงอยู่สืบไป ความสำเร็จของการดำเนินงานครั้งนี้  จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่สร้างความมั่นใจในการเป็นผู้นำการอนุรักษ์ให้กับประชาชน และสร้างการรับรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดเอกสารโบราณ โดยมีวัดเป็นแหล่งเอกสารโบราณ และคณะสงฆ์เป็นผู้เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าเหล่านี้ไว้ สรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานได้ ดังนี้            ๑. กรมศิลปากร ได้ดำเนินการอนุรักษ์จัดทำทะเบียนเอกสารโบราณ ซึ่งเป็นการจัดระบบเอกสารโบราณ เพื่อให้บริการตามหลักวิชาการ ดำเนินการออกเลขทะเบียนบัญชีรายชื่อเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน จำนวนมากถึง ๔๒๕ มัด ออกรหัสเลขที่ได้ ๗๑๙ เลขที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๖,๒๗๕ ผูก และเอกสารโบราณ ประเภทหนังสือสมุดไทย จำนวน ๖ เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งเอกสารโบราณกลางกรุงที่ใหญ่มาก และได้รับการพัฒนาไปสู่แหล่งเรียนรู้อีกระดับหนึ่ง             ๒. ความสำคัญของเอกสารโบราณเหล่านี้ไม่แพ้ความสำคัญของวัด โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานมีการสืบสายธารแห่งประวัติศาสตร์ไม่ขาดสาย ถึง ๓ สมัย ได้แก่ คัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ผูก และพบคัมภีร์ที่เก่าแก่แต่ละสมัย ดังนี้ สมัยอยุธยา ได้แก่ วบจ.๒๒-๒๕  (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๒๒-๒๕) เรื่อง วิมติวิโนทนี วินยฎีกา สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาทอง พ.ศ.๒๑๘๖ อายุ ๓๘๐ ปี สมัยธนบุรี ได้แก่ วบจ.๓๓๘ (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๓๓๘) เรื่อง สารสังคหะ สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๐ อายุ ๒๔๖ ปี สมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ วบจ.๒๗๑ (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๒๗๑) เรื่อง ธรรมบทอัฏฐกถา สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) พ.ศ.๒๓๒๘ อายุ ๒๓๘ ปี  ภาพ : คำภีร์ใบลานสมัยอยุธยา เรื่อง วิมติวิโนทนี วิยฏีกา อายุ ๓๘๐ ปี            ๓. พบคัมภีร์ใบลานสมัยรัตนโกสินทร์ที่สืบต่อกันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ ทำให้เห็นว่าวัดเบญจมบพิตรเป็นแหล่งเอกสารโบราณที่สามารถศึกษาเปรียบเทียบยุคสมัยของตัวอักษรแต่ละรัชกาลได้ในแหล่ง เอกสารเดียวกัน พร้อมกันนี้ ยังศึกษาประวัติศาสตร์การสร้างคัมภีร์ถวายในพระพุทธศาสนาในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ใบลานสู่กระดาษแบบฝรั่ง             ๔. สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปริวรรตพระไตรปิฎกจากอักษรขอมเป็นอักษรไทยจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรกของโลก หลังจากนั้นจึงไม่มีการผลิตซ้ำทำเพิ่มคัมภีร์ใบลาน แต่ในความเป็นจริง คัมภีร์ใบลานยังคงความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาสืบมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สร้างคัมภีร์ใบลานถวายไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก และเจาะจงสร้างถวายเป็นการเฉพาะสำหรับวัดเบญจมบพิตร   อีกด้วย ตัวอย่างเช่น คัมภีร์ใบลาน เลขที่ ๕๒๔ เรื่อง เวสสันตรชาตกกถา พ.ศ.๒๔๖๑ อายุ ๑๐๕ ปี              ๕. ข้อสันนิษฐาน คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วบจ.๑๖๑ เรื่อง มังคลัตถทีปนี ใช้นามผู้สร้างว่า “เจ้าทับ” พ.ศ. ๒๓๘๖ อายุ ๑๘๐ ปี ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสอดคล้องกับพระนามเดิมของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่า ร.๓ สร้างเป็นการส่วนพระองค์จึงให้ชื่อว่า “เจ้าทับ” ตาม พระนามเดิมของพระองค์ ไม่ประทับตราพระราชลัญจกร              ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้มรดกภูมิปัญญาและแหล่งศึกษาเรียนรู้นี้มีประโยชน์และทรงคุณค่าต่อไป คือการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ผู้สนใจและใฝ่รู้ทั้งหลายได้หันมามองสิ่งอันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้อย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศไทย ดังคำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรมสร้างชาติ นั่นเอง