ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,920 รายการ
โทเวลล์, โคลิน. คู่มือเอาชีวิตรอด: ทักษะสำคัญสำหรับการผจญภัยกลางแจ้ง. กรุงเทพฯ: วาราพับลิชชิ่ง, 2564.
หนังสือเล่มนี้ เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการอยู่รอดของทหาร อัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระสำคัญของการเอาตัวรอด เผยทักษะสำคัญสำหรับการผจญภัยกลางแจ้ง ทั้งพื้นฐานการอยู่รอด การเตรียมพร้อมและวางแผนการเดินทาง การเลือกจุดที่ดีที่สุดในการตั้งแคมป์ การสร้างที่พักพิง การจับและปรุงอาหารป่า เทคนิคการปฐมพยาบาล ไปจนถึงการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ ถ่ายทอดเรื่องราวอย่างละเอียด อ่านเข้าใจง่าย พร้อมภาพกราฟิกประกอบสวยงาม เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการผจญภัย
613.6909152
ท871ค
ห้องหนังสือทั่วไป 2
วันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ บุคลากรหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ร่วมกิจกรรมทำความสะอาด ณ โบราณสถานวัดหนานช้างและวัดอีก้าง (อีค่าง) พื้นที่เมืองโบราณเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดโดยสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ดำเนินการพัฒนาชุดหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ต้านทุจริตศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้หลักสูตรหรือชุดวิชาการเรียนรู้ด้านการป้องกันการทุจริตเนื้อหาใหม่ที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ภายใต้กรอบแนวคิดผสานพลังต้านทุจริตและสินบนในสังคม (Together against Corruption and Bribery in Society) จำนวน ๓ เรื่อง
๑. ครอบครัวรุ่นใหม่ไม่ทนคอร์รัปชัน และสินบน (New Generation Families with Intolerance to Corruption and Bribery) เพื่อเป็นกลไกระยะยาวใน การปลูกฝังวิธีคิดป้องกันการทุจริตให้แก่ผู้เรียนอย่างเป็นอัตโนมัติ Download Click
๒. องค์กรโปร่งใสไร้ ทุจริตและสินบน (STRONG Organization Anti-Corruption and Bribery) ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วย เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ นำไปสู่องค์กรโปร่งใสไร้ทุจริตและสินบน ทั้งในมิติของการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อเป็นพื้นฐานในการนำไปสร้างวัฒนธรรมองค์กรและผลักดันให้เกิดองค์กร โปร่งใสไร้ทุจริตและสินบนอย่างเป็นรูปธรรม Download Click
๓. การต้าน การลดทุจริตและสินบนในสังคม (Anti-Corruption and Bribery in Society) ด้วยการส่งเสริมวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส ประชาชนจะตื่นตัวและ มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการป้องกันและแจ้งเบาะแสการทุจริต การสร้างรากฐานทางจริยธรรมที่แข็งแกร่งภายใน สังคมอาจเป็นแนวทางระยะยาว แต่ท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลในการแก้ปัญหาการทุจริตตั้งแต่ต้นตอ โดยอาศัยความ ร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อการต้าน การลดทุจริตและสินบนในสังคม (Anti - Corruption and Bribery in Society) ผ่านกลไกต่าง ๆ Download Click
หลักสูตรดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบได้ครอบคลุมทุกเป้าหมาย ได้แก่ สถาบันครอบครัว องค์กร และสังคม รวมถึงหน่วยงานทุกภาคส่วน อีกทั้ง ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือหลักสูตรฝึกอบรมของหน่วยงานตามความเหมาะสม
ปรางค์พะโค อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
.
ประกอบด้วยปราสาท 2 หลัง ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ปราสาทประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุเล็กน้อย มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ซึ่งมีทางเดินปูด้วยอิฐเชื่อมต่อกับปราสาทอีกหลัง ซึ่งเหลือเพียงส่วนฐานและ
เรือนธาตุ ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลงเช่นเดียวกัน
หันหน้าไปทางทิศใต้ ตัวอาคารมีมุขยื่นออกมาด้านหน้า โดยมีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว ที่เหลือทั้งสามด้านสลักลวดลาย
เป็นประตูหลอก เหนือประตูทางเข้าด้านทิศใต้ มีทับหลังสลักภาพสิงห์จับท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง อาคารทั้งสองหลังมีคูน้ำ
รูปตัว U ล้อมรอบ จากการขุดแต่งโบราณสถาน พบทับหลังรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ บัวยอดปราสาท ชิ้นส่วนหน้าบัน
เป็นศาสนสถานขนาดเล็ก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อ
ทางศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16
.
.
...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว
มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ...
( #นครราชสีมา #ชัยภูมิ #บุรีรัมย์ #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #มหาสารคาม )
สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง
ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
Tel : 044-471518 , 044-481024
E-Mail : fed_10@finearts.go.th
Website : www.finearts.go.th/fad10
Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๒๐๒ คน
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าและแสงสว่าง (Light up) บริเวณโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า (ป้อมหมายเลข 9) ตำบลหัวเขา อำเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา และเปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว รวมถึงผู้ที่สัญจรไปมาได้มองเห็นถึงความสวยงาม และคุณค่าของโบราณสถานป้อมหมายเลข 9 ในยามค่ำคืนทุกวัน ระหว่างเวลา 18.00 - 22.00 น. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า การดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าและแสงสว่าง (Light up) โบราณสถานในเขตเมืองเก่าสงขลา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสงขลาสู่มรดกโลก และการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ ตามนโยบาย ซอฟพาวเวอร์ของรัฐบาล และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ โดยหลังจากนำร่องที่โบราณสถานป้อมหมายเลข 9 แล้ว จะได้ดำเนินการกับโบราณสถานอื่น ๆ ในเมืองสงขลาเก่า ต่อไป
ป้อมเมืองสงขลาเก่า หมายเลข 9 เป็นโบราณสถานที่มีความงามทางสถาปัตยกรรมโดดเด่น ตั้งอยู่ใกล้ริมถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ระหว่างตำบลหัวเขากับตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นป้อมปราการเมืองสงขลาเก่า ปรากฎชื่ออยู่ในเอกสารโบราณว่า SINGORA เป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในสมัยอยุธยาเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23 มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการเป็นอาณาเขตและเป็นปราการของเมือง โดยมีคูเมืองและกำแพงเมืองเป็นปราการด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศใต้มีเขาแดงและเขาค่ายม่วงเป็นปราการ ป้อมเมืองเก่าสงขลาหมายเลข 9 เป็นป้อมก่อด้วยหินที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบเชิงเขาน้อยบริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองสงขลาเก่า โดยอยู่ห่างจากโบราณสถานเจดีย์ภูเขาน้อยประมาณ 300 เมตร อยู่ห่างจากป้อมเมืองสงขลาเก่าหมายเลข 1 ประมาณ 1,072 เมตร ทำหน้าที่เป็นป้อมตรวจการณ์ด้านทิศใต้และด้านตะวันตกของเมืองสงขลาเก่า กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานป้อมหมายเลข 9 เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 109 ตอนที่ 119 หน้า 10190 วันที่ 17 กันยายน 2535 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 2,460 ไร่