ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,922 รายการ

หมวด 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และความรู้ทั่วไป นิ้วกลม.  ฝนกล้วยให้เป็นเข็ม.  กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์, 2553. (089.95911 น672ฝ) ประภาส ชลศรานนท์.  มีเพื่อนเป็นภูเขา.  ปทุมธานี: เวิร์คพอยท์, 2558. (089.95911 ป346ม) ปราบดา หยุ่น.  อย่าอ่านเลยก็แล้วกัน.  กรุงเทพฯ: openbooks, 2546. (089.9591 ป448อ) วรพจน์  ประพนธ์พันธุ์.  มังกรเฒ่า.  กรุงเทพฯ: สามัญชน, 2550. (089.95911 ว225ม) วินทร์ เลียววารินทร์.  หรรษาคดี – [อำ].  กรุงเทพฯ: 113, 2547. (089.95911 ว617ห) Chapter 1: Lost issue: รวมเรื่องเล่าระหว่างทางเดิน.  กรุงเทพฯ: แซลมอน, 2563. (089.95911 ค933)   หมวด 100 ปรัชญา จิตวิทยา กลุ่มจิตติวัฒน์.  จิตผลิบาน.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2548. (158.1 ก318จ) ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา.  78 ใบ ไพ่ยิปซีภาคพิศดาร.  กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม, 2548. (133.32424 ข525จ) นีทเช่, เฟรดริช วิลเฮม.  คือพจนาซาราทุสตรา.  กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์, 2546. (193 น711ค) บราวน์, เบอรเน่.  กล้าที่จะนำ.  กรุงเทพฯ: แอร์โรว์, 2562. (158.1 บ214ก) พิชชารัศม์.  เมื่อจิตวิทยาทำให้คนรักกัน.  กรุงเทพฯ: วีเลิร์น, 2560. (158.2 พ638ม) พิชิต นัยธรรม.  คือคุณค่าของความคิดดีดี.  กรุงเทพฯ: ดีดี, 2550. (158 พ647ค) แมนสัน, มาร์ค.  ชีวิตติดปีกด้วยศิลปะแห่งการช่างแม่ง.  กรุงเทพฯ: บิงโก, 2559. (158.1 ม879ช) วอสส์, คริส.  ต่อยังไงไม่ให้เป็นรอง.  นนทบุรี: Move Pub, 2561. (158.5 ว371ต) อุดมพร แพงอ่อน.  โหงวเฮ้งดีดูตรงไหน.  กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2531. (138 อ791ห ฉ.2)   หมวด 200 ศาสนา ธรรมวุฒิ.  ปรัชญาธรรมคำสอน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร.  กรุงเทพฯ: อาศรมปัญญา 5980, 2554. (294.30922 พ348ธป) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตตโต).  แผนที่ชีวิต.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ, 2555. (294.3144 พ349ผ) พุทธวจน ฉบับภพภูมิ.  ปทุมธานี: มูลนิธิพุทธโฆษณ์, 2555. (294.315 พ835)   หมวด 300 สังคมศาสตร์ เจริญชัย  ไชยไพบูลย์วงศ์.  เลิกเป็นแมงเม่า.  กรุงเทพฯ: เอ็มไอเอส, ม.ป.ป. (332.6 จ731ล) ชาย  กิตติคุณาภรณ์.  เลียนเล่นหุ้นจากข่าว เล่ม 2.  นนทบุรี: คอลซัลแท้นท์, 2557. (332.6322 ช523ล ล.2) พรนภา ทัดดอกไม้.  วารสารนาวิกศาสตร์: กับความรู้วิทยาศาสตร์ในกองทัพเรือสยาม 2460-2560.  พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อ     การวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (359 พ245ว ฉ.1-2) พิษณุ  จันทร์วิทัน.  กลสุลไทยในเมืองลาว.  กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์, 2548. (327.5930594 พ764ก) เฟอร์กูสัน, นีลล์.  ความรุ่งเรืองของเงินตรา: ประวัติศาสตร์การเงินโลก.  กรุงเทพฯ: มติชน, 2554. (332 ฟ579ค) วัธนา บุญยัง.  คนกับต้นไม้.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2550. (370.942 ว421บ) วัธนา บุญยัง.  ใบไม้ผลิที่เคมบริดจ์.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2550. (304.2 ว421ค) เอกรินทร์  กุลภักดีสิงวร.  เศรษฐีวัยรุ่น (อสังหา).  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน, 2560. (333.33 อ881ศ)   หมวด 400 ภาษาศาสตร์ จารึกสันสกฤตที่สำคัญในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1.  กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,      2564. (491.2 จ319) เนตรปรียา (มุสิกไชย) ชุมไชโย.  ภาษาอังกฤษคิดแบบไทยๆ.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: นะเพชรเผ็ด, 2548. (428.24 น785ภ)   หมวด 500 วิทยาศาสตร์ กฤชกร กอกเผือก.  ค้นเอาทรัพย์ในดิน: ธรณีวิทยารัฐประชาชาติและสภาวะประวัติศาสตร์ของโลกธรรมชาติในสังคมไทย.       พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (551 ก271ค ฉ. 1-2) ชนิดา  พรหมพยัคฆ์.  กองรักษาด่านอารยธรรม: แถลงการณ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของสยามสมาคมและความรู้      ณ พรมแดนเชิงประจักษ์.  พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (509.593 ช152ก ฉ. 1-2)  ชาติชาย มุกสง.  หมอกธุมเกตุและละอองธุลีพิษ: ประวัติศาสตร์ภูมิอากาศและปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในสังคมไทย.      พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (551.6 ช518ห ฉ. 1-2) ดารุณี สมศรี.  สำนักวิทยาศาสตร์แห่งราชบัณฑิตยสถานกับการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในสยาม. พิษณุโลก:      มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (509 ด429ส ฉ. 1-2) ทิวาพร ใจก้อน.  ธัญชาติภิวัฒน์: ประวัติศาสตร์ความรู้เรื่องพืชในสังคมไทย 2325-2535.  พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการ      วิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (580 ท493ธ ฉ. 1-2) พีรณัฐ เปี่ยมศักดิ์สันติ.  สายพันธุ์พ้นธรรมชาติ: การจัดจำแนกสัตว์และการคัดสรรสารพันธุ์ภายใต้การอนุบาลในสยาม.       พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (591 พ791ส ฉ. 1-2) สถาปณา เชิงจอหอ.  ความรู้กับอำนาจในการเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์: กรณียุทธโกษและเสนาศึกษาและแผ่        วิทยาศาสตร์ 2430-2480.  พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (509 ส181ค ฉ. 1-2) สิกขา สองคำชุม.  วารสารวิทยาศาสตร์: กับการทำให้ “วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์” เป็นวิชาชีพในประเทศไทยยุคสงครามเย็น.       พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (509 ส714ว ฉ. 1-2)   หมวด 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คู่มือเด็กปฐมวัยเพื่อคุณภาพที่ดีของเด็กไทย.  กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, 2553.      (649.5 ค695) โทเวลล์, โคลิน.  คู่มือเอาชีวิตรอด: ทักษะสำคัญสำหรับการผจญภัยกลางแจ้ง.  กรุงเทพฯ: วาราพับลิชชิ่ง, 2564.      (613.6909152 ท871ค) ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ.  30 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรค. กรุงเทพฯ: มูลนิธิดุลยภาพบำบัดเพื่ออายุและสุขภาพ, 2546.      (615.8 ล118ส) วิวัฒน์  สุรพรสวัสดิ์.  รูมาติซั่ม 11 โรคข้อที่รอไม่ได้.  กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2546. (616.723 ว743ร) สิทธา ลิขิตนุกูล.  เด็กหัวหมอ.  กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์, 2550. (641.9 ส719ด) สุวัสดี โภชน์พันธุ์.  แสงสว่างในความมืด: จดหมายเหตุทางการแพทย์ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยกับการ สร้างความ     รู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย 2460-2560.  พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566.      (610.6952 ส877ส ฉ. 1-2)   700 ศิลปะ วัธนา บุญยัง.  เดียวดายในไพรกว้าง.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2564. (796.51 ว421ด) _________.   พ่อครัวหัวป่า.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2561. (796.51 ว421ฟ)   หมวด 800 วรรณคดี จันทมณี.  พันธนาการนางฟ้า.  กรุงเทพฯ: ไอวี่ บุ๊คเฮ้าส์, 2553. (895.913 จ248พ)  จาง, เลสลี่ ที.  สาวโรงงาน = Factory Girls.  กรุงเทพฯ: สันสกฤต, 2552. (813.54 จ293สว) ชนม์สิตา.  เกมล่าหัวใจ.  กรุงเทพฯ: ธนัสสรณ์, 2551. (895.913 ช137ก)  ชะพลูแก้ว.  กลร้ายในเงารัก.  กรุงเทพฯ: ธราธรพับลิเคชั่น, 2555. (895.913 ช331ก)  ซ่อนกลิ่น.  คุณชายรัชชานนท์.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2554. (895.913 ซ116ค)  _______.  เพลิงแค้นซ่อนรัก.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2551. (895.913 ซ116พ)  ญนันทร.  เจ้าบ่าวยมทูต.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2558. (895.913 ญ115จ)  ดาราพร.  เจ้าสาวพันชั่ง.  กรุงเทพฯ: อักษรศาสตร์, 2553. (895.913 ด425จ)  ดารินทรา. เชลยเจ้าสาวบำเรอชีค.  กรุงเทพฯ: จอย บุ๊คส์คลับ, 2554. (895.913 ด429ช) ดาลัด.  รักสุดหัวใจ My Seoul, My Soul.  นนทบุรี: ทัช , 2554. (895.913 ด432ร) เตชิตา.  ใต้อาณัติหัวใจ.  กรุงเทพฯ: มายดรีม, 2557. (895.913 ต676ต)  น้ำรินทร์.  เพลิงทรายปลายตะวัน.  กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2554. (895.913 น531พ)  เบอร์เน็ตต์, ฟรานเซส ฮอดจ์สัน.  ในสวนศรี = The Secret Garden.  กรุงเทพฯ: แพรวเยาวชน, 2548. (813.4 บ829น)  เบิร์นฟอร์ด, เชลา.  เส้นทางเถื่อน.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2558. (813 บ871ส) ป.ศิลา.  24-24 รักนี้มิอาจกั้น.  กรุงเทพฯ: ปริ้นเซส, 2554. (895.913 ป111ย) พลิ้วอ่อน.  ปักใจพิศวาส.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2559. (895.913 พ458ป) พันวลี.  หัวใจใต้เงาตะวัน.  กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, 2551. (895.913 พ573ห) พาสเวิร์ด.  ตำนานรักทะเลทราย ตอน ทรายซ่อนเล่ห์.  กรุงเทพฯ: ภัทร์โญธิน อักษรศาสตร์, 2552. (895.913 พ626ต)  พิฌา.  คนชื่อแทนไท.  กรุงเทพฯ: เลิฟปริ้น, 2561. (895.913 พ655ค)  ภัทรนิษฐ์  เกียรติธนวิชญ์ สุรรังสรรค์.  สยามไซไฟ: นิยายวิทยาศาสตร์และจินตนาการถึงโลกวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย      2470-2520.  พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย (วอช.), 2566. (895.91308762 ภ366ส) ภาขวัญ.  ทัณฑ์รักแรงปรารถนา.  กรุงเทพฯ: ไอวี่ บุ๊คเฮ้าส์, 2554. (895.913 ภ412ท)  โมริสา.  บังเอิญเกิดมาคู่กัน.  กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000, 2553. (895.913 ม946บ) รงค์ วงษ์สวรรค์.  ไฟอาย.  กรุงเทพฯ: 222, 2538. (895.91301 ร113ฟ) รจนาพร.  ดอกไม้ของซาตาน.  กรุงเทพฯ: เดอะเกรทพับลิเคชั่น, 2554. (895.913 ร117ด ฉ.2)  รพัด.  วิวาห์ (รัก) ขัดใจ.  กรุงเทพฯ: มายดรีม, 2556. (895.913 ร142ว)  รวิอร.  ธุรกิจเถื่อนแลกสวาท.  กรุงเทพฯ: อินเลิฟ พับลิชชิ่ง, 2555. (895.913 ร167ธ) รินท์ลภัส.  คุณแม่แก้ขัด.  กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2555. (895.913 ร479ค) ลักษณะปรีชา.  รักพรางใจ.  ชูการ์ บีท, 2558. (895.913 ล225ร) วัธนา บุญยัง.  ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่.  พิมพ์ครั้งที่ 11.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2560. (895.913 ว421บ) _________.  เพื่อนเก่าและเหล้าป่า.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2555. (895.91301 ว421พ) _________.  รอยยิ้มในป่าใหญ่.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2555. (895.91301 ว4217) _________.  หอมกลิ่นป่า.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2556. (895.913 ว421ห) เวฬุรี.  วังวนหัวใจ.  กรุงเทพฯ: ไอวี่ บุ๊คเฮ้าส์, 2551. (895.913 ว913ว)  ศศิขันฑ์.  พันหนึ่งดวงดาว.  กรุงเทพฯ: กรีนมายด์ บุ๊คส์, ม.ป.ป. (895.913 ศ288พ)  สิรินดา.  ทุ่งหญ้า ป่าสน และคนเหงา.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: แจ่มใส, 2548. (895.913 ส732ท) อนัญชญา.  ลุ้นรักข้ามขอบฟ้า.  กรุงเทพฯ: ไอวี่ บุ๊คเฮ้าส์, 2555. (895.913 อ121ล)  อสิตา.  โมรารัตติกาล.  กรุงเทพฯ: อรุณ,  2557. (895.3913 อ443ม) อาภา ทเวศร.  เบบี้จี = Babyji.  กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์, 2551. (891.43 อ634บ) หมวด 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ พวงทิพย์  เกียรติสหกุล.  ญี่ปุ่นสามทศวรรษของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ค.ศ. 1945 – 1975.      นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558. (925 พ466ญ) เมื่องน่าน อดีตที่คุณอาจไม่เคยรู้.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  แพร่: เมืองแพร่การพิมพ์, 2550. (959.356 ม845) วัธนา บุญยัง.  คนละซีกโลก.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2555. (910.4 ว4218) _________.  บันทึกของคนรักภูเขา: บันทึกจากอินทนนท์ถึงหิมาลัย.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2560.      (915.9143 ว421บ) _________.  ใบไม้เปลี่ยนสีที่เสฉวน.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2559. (915 ว421บ) _________.  ปีนภูดูดอกไม้.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  นนทบุรี: บ้านหนังสือ, 2558. (915 ว421ป) สภา  ปาลเสถียร.  กรุยทางผ่านสยามกับโฮจิมินห์.  กรุงเทพฯ: โพสต์,  2558. (959.7 ส226ก)  


วันที่ 18 ตุลาคม 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้บริการวิชาการแก่บุคลากรในโครงการ“สุวรรณภูมิเน็กซิสทิเรียม: พิพิธภัณฑ์เสมือนแห่งจุดเชื่อมโยงโลกยุคโบราณ” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งขอความอนุเคราะห์ดำเนินการถ่ายภาพโบราณวัตถุสำคัญแบบ 3 มิติ เพื่อเผยแพร่ในพิพิธภัณฑ์เสมือนต่อไป


วันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เจ้าหน้าประจำโบราณสถานเมืองเสมา ดำเนินการถากถางกำจัดวัชพืช บริเวณพื้นที่โครงการ​ปลูกต้นไม้ ๗๒ ล้านต้น พลิกฟื้นผืนป่า เฉลิมพระ​เกียรติ​พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี​มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา​ ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม​ ๒๕๖๗ และเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา​สมเด็จพระ​นางเจ้าฯ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน​ ๒๕๖๗ บริเวณพื้นที่โบราณสถาน​เมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัด​นครราชสีมา


       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการบูรณะหลังคาอาคารจัดแสดง ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ ในโอกาสนี้จึงนำชุดภาพถ่ายเก่า Then & Now มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อย้อนวันวานที่สวยงาม และเตรียมรับอาคารจัดแสดงโฉมใหม่ มีจำนวน ๔ ภาพดังนี้             ภาพที่ 1 : พระยาสขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) และข้าราชการ พ่อค้า คหบดีในจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2449 ในการเลี้ยงส่งเมื่อจะย้ายไปรับตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงโยธาธิการ ภาพจาก : หนังสือโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา            ภาพที่ 2 : ข้าราชการในจังหวัดสงขลาถ่ายภาพร่วมกัน ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ไม่ปรากฏปีที่ถ่าย ภาพจาก : Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา            ภาพที่ 3 : ถ่ายภาพโปสการ์ดขาวดำโดยร้านบ้วนเฮงสงขลา ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2480 ที่ระบุชื่อสถานที่ว่า “ศาลารัฐบาล” ภาพจาก : The National Archives of Thailand, Songkhla หอจดหมายเหตุเเห่งชาติฯ สงขลา            ภาพที่ 4 : ระหว่างการบูรณะอาคารศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) เพื่อปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2518 ภาพจาก : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา   ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมโพสต์ภาพความทรงจำที่เคยถ่ายคู่กับอาคารพิพิธภัณฑ์ได้ทางเฟซบุ๊ก Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ในช่องคอมเมนท์ใต้โพสต์นี้ https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/pfbid0M7NYKytX5VVce3FLbNjprU6eSuQ421sYEEEA1i8MfpZ9GJ8F3wAB7CD2zP8Pe1Nil 


            หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ขอเชิญชวนน้อง ๆ ร่วมกิจกรรม "ดีไซเนอร์ตัวน้อย" ออกแบบเสื้อผ้าให้กับลอล่าและเดวิดในแบบที่ตัวเองชื่นชอบ กิจกรรมมีตลอดทั้งเดือนตุลาคม 2567 ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3451 3926 หรือทางเฟสบุ๊ก เพจ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี https://www.facebook.com/nlkanhanaburi


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรมต้อนรับวันฮาโลวีนแบบไทย ๆ กิจกรรม “Mystery Talks & Tour” วันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๒๖ - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีกำหนดการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ วันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗            - เวลา ๐๙.๐๐ น.                       - ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Talks                      - หมุนกาชาปองที่ระลึก "Thai Amulets"  ไม่ใช่อาร์ตทอยแต่เป็นเครื่องรางจริง ๆ หมุนละ ๕๐ บาท ไม่จำกัด                      - จำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมและอาร์ตทอย                      - เปิดมุมพยากรณ์กับ Pride Oracle และเนตรธิป พรหมญาณ             - เวลา ๑๐.๐๐ น. เริ่มกิจกรรม Mystery Talks เรื่อง "ประสบการณ์หลอนของนักเขียนเรื่องลึบลับ" โดยคุณจุติ จันทร์คณา นักเขียนเรื่องลึกลับ              - เวลา ๑๑.๓๐ น.  พักกลางวันตามอัธยาศัย              - เวลา ๑๓.๐๐ น.  ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Tour               - เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๕.๓๐ น.  เริ่มกิจกรรม Mystery Tour  เรื่อง "The In-between สื่อ-เชื่อม-โลก" นำชมพิพิธภัณฑ์เป็นกรณีพิเศษ โดยนายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ / นางสาวมุทิตา อร่ามรุ่งทรัพย์ ภัณฑารักษ์ / นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ / นางสาวอาทิมา ชาโนภาศ ภัณฑารักษ์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ใน ๔ หัวข้อหลักคือ                       ๑. โลกนี้กับโลกหน้า สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาคารมหาสุรสิงหนาท                       ๒. โลกแห่งวิทยาคม สมัยอยุธยา - กรุงรัตนโกสินทร์ หมู่พระวิมาน                       ๓. สามโลก จักรวาลวิทยาในทัศนะไทย-เทศ นิทรรศการบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระตำหนักแดง และโรงราชรถ                      ๔. โลกเก่าปะทะโลกใหม่ สมัยรัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์             - เวลา ๑๖.๐๐ น.  ปิดกิจกรรมวันแรก ตามเวลาให้บริการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  --------------------------------------------------- วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗             - เวลา ๐๙.๐๐ น.                      - ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Talks                     - หมุนกาชาปองที่ระลึก "Thai Amulets"                       - จำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมและอาร์ตทอย                     - เปิดมุมพยากรณ์กับ Pride Oracle และเนตรธิป พรหมญาณ            - เวลา ๑๐.๐๐ น.  เริ่มกิจกรรม Mystery Talks เรื่อง "เรื่องหลอนในวังหน้า Update!" โดยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์            - เวลา ๑๑.๓๐ น.  พักกลางวันตามอัธยาศัย            - เวลา ๑๓.๐๐ น.  ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Tour             - เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๕.๓๐ น.  เริ่มกิจกรรม Mystery Tour เรื่อง "The In-between สื่อ-เชื่อม-โลก" นำชมพิพิธภัณฑ์เป็นกรณีพิเศษ             - เวลา ๑๖.๐๐ น.  ปิดกิจกรรมตามเวลาให้บริการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ------------------------------------------------------ พิเศษ! สำหรับผู้ร่วมกิจกรรมที่บันทึกภาพหน้าจอโทรศัพท์ - นะหน้าทอง - นางกวัก - กุมารทอง - สาลิกาลิ้นทอง - ควายธนู แค่แสดงหน้าจอมือถือด้วยภาพใดภาพหนึ่งในนี้ มีสิทธิ์หมุนกาชาปองที่ระลึก "Thai Amulets" ฟรี ๑ ครั้ง  -------------------------------------------------           ขอเชิญชวนผู้สนใจไปร่วมเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกในพิพิธภัณฑ์ด้วยกันนะคะ ทั้งนี้ ทุกกิจกรรมไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซื้อบัตรเข้าชมตามปกติ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท สามารถติดตามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ทางเฟซบุ๊ก : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร------------------------------------------------- *หมายเหตุ - ไม่มีอาหารว่างและอาหารกลางวัน - กาชาปอง "Thai Amulets" ประกอบด้วย สาลิกาลิ้นทอง หวายลูกนิมิต ยันต์พระสีวลี  ยันต์นางกวัก ด้ายแดงครูบาบุญชุ่ม และพระพิมพ์คเณศ "ภัทรบูชา" ปี ๒๕๖๖ รุ่นลองพิมพ์  - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำชมฯ ทั้งสองรอบ มีสิทธิ์ลุ้นรับพระพิมพ์พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี ๒๕๕๒ และควายธนูมหาลาภ หลวงปู่แผ้ว ผลปุญโญ ปี ๒๕๖๒          


             กรมศิลปากร โดยศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ร่วมจำหน่ายหนังสือในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ทั้งหนังสือออกใหม่ หนังสือเก่า และหนังสือหายาก ลดราคาสูงสุดถึง 20% ตั้งแต่วันที่ 10 – 20 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG บูธ H18               นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้นำหนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทั้งจดหมายเหตุ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรจัดพิมพ์ใหม่และหนังสือยอดนิยม มาจำหน่ายในราคาลดพิเศษ 10 - 20% ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากรได้ภายในงานเดียว โดยมีหนังสือที่น่าสนใจ อาทิ หนังสือเรือพระราชพิธี จัดพิมพ์โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หนังสือตามรอยฝรั่งเล่าความหลังเมืองพริบพรี จัดพิมพ์โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ หนังสือศาลาไทยในต่างประเทศ จัดพิมพ์โดยสำนักสถาปัตยกรรม หนังสือช่างศิลป์ไทยเทิดไท้องค์ราชัน จัดพิมพ์โดยสำนักช่างสิบหมู่ หนังสือการเสด็จประพาสยุโรป ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังมีนิตยสารศิลปากร และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โปการ์ดภาพจดหมายเหตุ โปสการ์ดที่ระลึก มาจำหน่ายอีกด้วย              ขอเชิญผู้สนใจเยี่ยมชมและเลือกซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG บูธ H18 ระหว่างวันที่ 10 – 20 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 21.00 น. หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร หนังสือเทเวศร์ที่(ไม่)รู้จัก ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 256 บาท หนังสือวัวในวัฒนธรรมไทย ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 120 บาท หนังสือเวตาลปกรณัม ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 208 บาท หนังสือกามโรคในสังคมไทย ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 104 บาทหนังสือตามรอยฝรั่ง เล่าความหลังเมืองพริบพรี ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 240 บาทหนังสืออุภัยพจน์ คำกลอนพิศาลการันต์ ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 176 บาท



วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ - ๓ กลุ่มวิชาเลือกเสรี รายวิชาการจัดการจดหมายเหตุเบื้องต้น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๑๙ คน อาจารย์ ๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม







ปรางค์กู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วยปรางค์ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ปรางค์หลังทิศเหนือ เป็นปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงจนถึงกลางองค์ จากนั้นจึงใช้อิฐก่อไปจนถึงส่วนยอด ปรางค์หลังทิศใต้และหลังกลาง เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐขัดเรียบ ปรางค์ทั้ง 3 หลัง ใช้ศิลาทรายเป็นส่วนประกอบ ส่วนบริเวณทับหลัง กรอบประตู และเสาประดับกรอบประตู ลักษณะแผนผังของฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ย่อมุมเฉพาะด้านหน้า โดยมีบันไดทางขึ้นตรงกึ่งกลางฐานตั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งตรงกันกับประตูทางเข้าปรางค์องค์กลาง สำหรับปรางค์ทั้ง 3 หลังนั้น มีประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว ส่วนอีก 3 ด้าน ทำเป็นประตูหลอก ส่วนชั้นหลังคาก็จำลองรูปแบบลดหลั่นกันขึ้นไป อันเป็นลักษณะโดยทั่วไปของแผนผังปรางค์อิฐในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 17


Messenger