ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,922 รายการ






           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ สู่ผลงานสะสมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป” วิทยากร นางสาววัชราภรณ์ มธุรกันต์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และนางสาวณิชนันท์ รักพงษ์ไทย ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร           รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๑๔๖ คน



พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๕ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ พระองค์ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก ต่อมาทรงบังคับบัญชางานช่างต่างๆ ร่วมถึงงานบูรณปฏิสังขรณ์ และงานงานโยธาในก่อสร้างสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ได้แก่ เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง), พระราชวังบางปะอิน, สวนสราญรมย์, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร, พระจุฑาธุชราชฐาน, พระราชวังสวนดุสิต, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร และวัดดาวดึงษาราม เป็นต้น นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นช่างทองฝีพระหัตถ์ชั้นเยี่ยมแห่งราชสำนัก ซึ่งทางชาววัง ขนานพระนามพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าช่างทอง”  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระปรีชาสามารถในการถ่ายภาพยนตร์ ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ถ่ายภาพยนตร์ ผลงานฝีพระหัตถ์ ได้แก่ ภาพบันทึกเหตุการณ์เมื่อครั้งล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย รวมถึงภาพบันทึกพระราชกรณียกิจล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงได้รับการถวายสมัญญาพระนามว่า “พระบิดาแห่งการภาพยนตร์ไทย” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าในสมัยเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ควรจะทำการพระราชพิธีและบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองรัชกาลให้เป็นสิริมงคล ส่งเสริมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่บ้านเมือง จึงโปรดฯ ให้ทำพระราชพิธี ทรงแบ่งเป็นงานเป็น ๒ ภาค ภาคที่ ๑ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระอดีตมหาราช กับทั้งพระราชวงศ์ และทรงอุทิศแด่บรรพบุรุษ ผู้มีคุณูปการแก่บ้านเมืองมาแต่ปางก่อน ทรงบำเพ็ญ ณ พระราชวังบางปะอิน ในปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และภาคที่ ๒ จัดเป็นการพระราชพิธีราชาภิเษก ณ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องสักการะทรงพระราชอุทิศถวายเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี ตลอดจนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงยกย่องพระเกียรติคุณพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนคุณงามความดีของขุนนางข้าราชการในอดีตที่มีเกียรติคุณที่ปรากฏอยู่ในอดีตของประวัติศาสตร์ชาติไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์ เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพาตรศุภกิจ ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านงานพระนิพนธ์ พระองค์ทรงแต่งกาพย์ฉบังเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในหนังสือกลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปะอิน หรือเรียกกันว่า “จารึกลับแลไฟที่บางประอิน” ในพระราชพิธีรัชดาภิเษกในรัชกาลที่ ๕ ในครั้งนี้ด้วย เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่องานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๔.          (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ทรงพิมพ์เปนของชำร่วยในงานฉลองพระสุพรรณบัฏ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔). ราชบัณฑิตยสภา.  เฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๓๘. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). ๑๗ ตุลาคม วันสรรพสาตร. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/photos/a.119640254752850/2084899058226950/?type=3 หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน).  พระรูปประติมากรรม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์  กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ. [ออนไลน์].           สืบค้นเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.fapot.or.th/main/sculpture. อัศวิน ทองแถม ณ อยุธยา.  อันเตปุริกามาตย์ สรรพสาตรานุสรณีย์ : พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ.          กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๑. Thairoyalfamily.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://www.facebook.com/thairoyalfamily/photos/a.1476743735697926/1742932285745735/?type=3, ๒๕๖๑.


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๕ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ พระองค์ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก ต่อมาทรงบังคับบัญชางานช่างต่างๆ ร่วมถึงงานบูรณปฏิสังขรณ์ และงานงานโยธาในก่อสร้างสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ได้แก่ เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง), พระราชวังบางปะอิน, สวนสราญรมย์, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร, พระจุฑาธุชราชฐาน, พระราชวังสวนดุสิต, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร และวัดดาวดึงษาราม เป็นต้น นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นช่างทองฝีพระหัตถ์ชั้นเยี่ยมแห่งราชสำนัก ซึ่งทางชาววัง ขนานพระนามพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าช่างทอง”  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระปรีชาสามารถในการถ่ายภาพยนตร์ ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ถ่ายภาพยนตร์ ผลงานฝีพระหัตถ์ ได้แก่ ภาพบันทึกเหตุการณ์เมื่อครั้งล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย รวมถึงภาพบันทึกพระราชกรณียกิจล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงได้รับการถวายสมัญญาพระนามว่า “พระบิดาแห่งการภาพยนตร์ไทย” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าในสมัยเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ควรจะทำการพระราชพิธีและบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองรัชกาลให้เป็นสิริมงคล ส่งเสริมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่บ้านเมือง จึงโปรดฯ ให้ทำพระราชพิธี ทรงแบ่งเป็นงานเป็น ๒ ภาค ภาคที่ ๑ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระอดีตมหาราช กับทั้งพระราชวงศ์ และทรงอุทิศแด่บรรพบุรุษ ผู้มีคุณูปการแก่บ้านเมืองมาแต่ปางก่อน ทรงบำเพ็ญ ณ พระราชวังบางปะอิน ในปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และภาคที่ ๒ จัดเป็นการพระราชพิธีราชาภิเษก ณ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องสักการะทรงพระราชอุทิศถวายเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี ตลอดจนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงยกย่องพระเกียรติคุณพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนคุณงามความดีของขุนนางข้าราชการในอดีตที่มีเกียรติคุณที่ปรากฏอยู่ในอดีตของประวัติศาสตร์ชาติไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์ เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพาตรศุภกิจ ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านงานพระนิพนธ์ พระองค์ทรงแต่งกาพย์ฉบังเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในหนังสือกลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปะอิน หรือเรียกกันว่า “จารึกลับแลไฟที่บางประอิน” ในพระราชพิธีรัชดาภิเษกในรัชกาลที่ ๕ ในครั้งนี้ด้วย เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่องานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๔.          (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ทรงพิมพ์เปนของชำร่วยในงานฉลองพระสุพรรณบัฏ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔). ราชบัณฑิตยสภา.  เฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๓๘. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). ๑๗ ตุลาคม วันสรรพสาตร. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/photos/a.119640254752850/2084899058226950/?type=3 หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน).  พระรูปประติมากรรม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์  กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ. [ออนไลน์].           สืบค้นเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.fapot.or.th/main/sculpture. อัศวิน ทองแถม ณ อยุธยา.  อันเตปุริกามาตย์ สรรพสาตรานุสรณีย์ : พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ.          กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๑. Thairoyalfamily.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/thairoyalfamily/photos/a.1476743735697926/1742932285745735/?type=3, ๒๕๖๑.


   ขอเชิญร่วมกิจกรรม "ขนมปังแฟนซี Fancy Bread" -ในโครงการ KIDsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี - อุปกรณ์ฟรี -สอนฟรี -แล้วพบกันนะคะ


            หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี จัดกิจกรรม "ขนมปังแฟนซี Fancy Bread"  ในโครงการ Kidsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3451 3926 หรือทางเฟสบุ๊ก เพจ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี https://www.facebook.com/nlkanhanaburi


            วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้ นางเสริมกิจ ชัยมงคล รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร ร่วมแสดงความยินดี พร้อมทั้งบริจาคเงินสบทบทุน มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก สภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันก่อตั้งสถาบันการประชาสัมพันธ์ ปีที่ ๖๓ โดยมีนางสาวกัญญ์ณาณัฏฐ์ ภาธรสืบนุกูล หัวหน้าส่วนบริหารการฝึกอบรม เป็นผู้รับมอบ ณ อาคารที่ทำการสถาบันการประชาสัมพันธ์ เขตพญาไท กรุงเทพฯ


          วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้ นางเสริมกิจ ชัยมงคล รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร มอบหนังสือทรงคุณค่าและร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคมชัดลึก ครบรอบ ๒๓ ปี โดยมี นายมารุต อรรถไกวัลวที ประธานกรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับมอบ ณ อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ ทาวเวอร์ บางนา กรุงเทพมหานคร



Messenger