ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,660 รายการ




วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๗ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จัดกิจกรรม "Big cleaning day" ทำความสะอาดอาคารคลังจัดเก็บโบราณวัตถุ และบริเวณรอบอาคาร



            สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ประกาศ “Grand opening...โบราณสถานปราสาทเมืองแขก” เริ่มเปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมโบราณสถาน วันที่ 25 กันยายน 2567 ค่าธรรมเนียมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30 น. - 17.30 น. สำหรับนักท่องเที่ยว 100 ท่านแรกที่ซื้อบัตรเข้าชมโบราณสถานปราสาทเมืองแขก จังหวัดนครราชสีมา จะได้รับของที่ระลึก ฟรี!!!.             ปราสาทเมืองแขก ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเสมาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร ในเขตบ้านกกกอก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ก่อสร้างด้วยอิฐและหินทราย ประกอบไปด้วยปราสาทประธานขนาบข้างด้วยปราสาทบริวาร 2 หลังตั้งอยู่บน ฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ ปราสาทประธานมีมณฑปยื่นออกมาข้างหน้า ส่วนปราสาทบริวารมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้าง มีบรรณาลัย ข้างละ 1 หลัง หันหน้าเข้าสู่มณฑป อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ตรงกลาง และแนว กำแพงทางด้นทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นห้องยาว ถัดออกมาเป็นกำแพงชั้นนอก มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ตรงกลางโดยกำแพง ชั้นนอกนี้ด้านทิศเหนือก่อด้วยอิฐ ส่วนด้านอื่น ๆ ใช้แนวคันดินของสระน้ำรูปตัวยู (U) ที่ล้อมรอบปราสาทเป็นแนวขอบเขตด้วย ถัดออกมาเป็นอาคารขนาดใหญ่สองหลัง ตั้งหันหน้าเข้าหากัน สันนิษฐานว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15 โดยมีรูปแบบของ ศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์-แปรรูป (ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 15)             ขอเชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวชมปราสาทเมืองแขก ปราสาทเก่าแก่ที่มีอายุนับ 1,000 ปี เก่ากว่าปราสาทพิมาย เก่ากว่าปราสาทพนมวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดนครราชสีมา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย - ชุมพวงตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โทร. 0 4447 1518, 0 4448 1024 Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร


และนี่คือท่านแรกที่ซื้อบัตรเข้าชมโบราณสถานปราสาทเมืองแขก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พร้อมกับรับของที่ระลึกค่า.. . ของที่ระลึกยังมีให้ทุกท่านนะคะ ปราสาทเมืองแขกยินดีต้อนรับค่ะ ค่าธรรมเนียมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30 น. - 17.30 น. . ...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ... ( #นครราชสีมา #ชัยภูมิ #บุรีรัมย์ #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #มหาสารคาม ) สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110 Tel : 044-471518 , 044-481024 E-Mail : fed_10@finrarts.go.th Website : www.finearts.go.th/fad10 Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญร่วมกิจกรรม Painting Workshop with Indonesian Artists ประกอบนิทรรศการ “Blending Souls : Indonesia – Thailand Painting Exhibition” โดยได้รับเกียรติจากศิลปินชาวอินโดนีเซียจำนวน 10 ท่านมาร่วมสอนการทำกิจกรรม workshop อย่างใกล้ชิด งานนี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  *รับจำนวนจำกัดเพียง 50 ท่านเท่านั้น*  สำหรับผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หรือกด https://me-qr.com/ZlH1axSR สอบถามหรือติดตามข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทาง Facebook : The National Gallery of Thailand


กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดมหกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ : A Passage to Wisdom” ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2567 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 150 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมิวเซียมหลวง ณ หอคองคอเดีย และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2417 “พิพิธภัณฑ์ไทย” เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติ ที่สะท้อนภาพชาวสยามในการศึกษาหาความรู้ในกิจการต่าง ๆ และร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองสู่ความ “ซิวิไลซ์” ทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงเป็นโอกาสพิเศษที่คนพิพิธภัณฑ์ และผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์สร้างสรรค์จากพิพิธภัณฑ์ผ่านมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันแห่งองค์ความรู้สำหรับประชาชนและสังคมไทยอย่างยั่งยืน อีกทั้งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมฉลองในวาระสำคัญครบรอบ 150 ปี กิจการพิพิธภัณฑ์ไทยแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีที่คนทำงานพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศได้มารวมตัวกัน เป็นประชาคมที่มีความแข็งแรง แสดงให้เห็นถึงพลังในการสร้างสรรค์งานพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยต่อไป กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย 1. Exhibition นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “แรกสะสม สู่พิพิธภัณฑ์ The Journey of Collections” โดยได้รับความร่วมมือจาก พิพิธภัณฑ์เครือข่าย 24 แห่ง นำสิ่งสะสมรุ่นแรกๆ ของพิพิธภัณฑ์ มาร่วมจัดแสดง จำนวน 71 รายการ 2. Stage การเสวนาและการบรรยายทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และแสวงหาการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์ร่วมกัน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย จำนวน 42 ท่าน 3. Fair การจัดแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม และจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์เครือข่ายทั่วประเทศ จำนวน 20 แห่ง ติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ใน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to wisdom” ได้ทาง Facebook: Thai Museum Day และ Office of National Museums, Thailand Youtube : Office of National Museum, Thailand รับชมภาพบรรยากาศเพิ่มเติม19 Sep : https://drive.google.com/drive/folders/1pFvMGdR66KIQZSAnQi7MxY0JvHkbCjqL?usp=sharing20 Sep : https://drive.google.com/drive/folders/1FhfVukAuarWD2OrOCYcN4YqE8xvgwxaQ?usp=sharing21 Sep : https://drive.google.com/drive/folders/1BBnNczgGfIixiBRDBlvnslUt90MNBafE?usp=sharing #150ปีพิพิธภัณฑ์ไทย #วันพิพิธภัณฑ์ไทย #thaimuseumday2024 #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร


                                กรมศิลปากร กำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๖๗ ณ วัดมงคลนิมิตร  ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต ในวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น.  และขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยโดยเสด็จพระราชกุศลได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป                              ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ตามที่กรมศิลปากรขอพระราชทานไปทอดถวายยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต ในวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยจะมีพิธีสมโภชผ้าพระกฐินพระราชทาน   ในวันศุกร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ น. และการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ขับพิเภก - พิเภกสวามิภักดิ์ - ถอนต้นรัง - ยกรบ ในเวลา ๑๙.๐๐ น. เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย              วัดมงคลนิมิตร ได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต วัดมงคลนิมิตรเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๖ - ๒๓๙๒  มีพระภูเก็ต (แก้ว) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ตเป็นผู้สร้าง โดยสร้างขึ้นเป็นวัดแรกพร้อมกับการสร้างเมืองภูเก็ต ปรากฏหลักฐานในใบบอกของพระยาภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (ลำดวน) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ต เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔               กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัย ได้ที่ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร (ชั้น ๓) เลขที่ ๘๑ /๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ  หรือบัญชีธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี ๐ ๒ ๗ ๐ ๓ ๓ ๔ ๔ ๔ ๐ สาขาถนนข้าวสาร ชื่อบัญชี "การกุศลกรมศิลปากร"  ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗  ทั้งนี้  กรมศิลปากรจะได้รวบรวมนำเข้าสมทบถวายบำรุงวัดมงคลนิมิตรต่อไป  สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๓๐๕๕ , ๓๐๖๓  


             นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรพัฒนาระบบการจ่ายค่าบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ โดยไม่ต้องใช้เงินสด รองรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต (VISA, MASTER CARD) บัตรเดบิต หรือการสแกนจ่ายผ่านโมบายแบงก์กิ้ง เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้บริการให้มีความหลากหลายและสะดวกมากขึ้น       รมว. สุดาวรรณ กล่าวอีกว่า การเพิ่มช่องทางการชำระเงินในการเข้าชมแหล่งเรียนรู้ในสังกัด  กรมศิลปากร เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในยุคดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมได้อีกด้วย ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้เริ่มดำเนินการนำระบบดังกล่าวไปใช้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา จึงให้กรมศิลปากรเก็บสถิติการใช้งานเพื่อนำไปปรับใช้กับแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ในสังกัดกรมศิลปากรต่อไป โดยนำร่องที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี จากนั้นจะขยายไปยังแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ในช่วงปีใหม่ 2568 โดยมีเป้าหมายจะดำเนินการให้ครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 11 แห่ง ทั่วประเทศภายในปี 2568 


            หอสมุดแห่งชาติขอเชิญชมภาพยนตร์เพื่อการอนุรักษ์ “หนังดี14นาฬิกา” ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากหอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน) ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 จัดฉายภาพยนตร์ เรื่อง “สมิงบ้านไร่” เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2507 กำกับโดย พันคำ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ โมกขศักดิ์ ผู้มีอิทธิพลในตำบลบ้านไร่ และผู้จัดการโรงงานน้ำตาลที่กำลังจะทรุดตัวลง เขาจึงบังคับให้ชาวบ้านร่วมมือกันทำไร่อ้อยเพื่อส่งมาให้ยังโรงงานของตน หนึ่งในนั้นมี สมิง บ้านไร่ ชายหนุ่มที่ไม่คิดจะทำตามข้อบังคับ ทั้งยังเป็นคนที่สนิทสนมกับ นกเขียว ลูกสาวคนเดียวของโมกขศักดิ์ จึงเป็นเหตุให้เขาไม่กล้าที่จะเล่นงานสมิง เพราะกลัวว่าจะเป็นการทำร้ายหัวใจลูกสาวของตน กำกับโดย พันคำ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์ ความยาว 132 นาที และอนุรักษ์ภาพยนตร์ โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กำหนดการฉายภาพยนตร์ เวลา 14.00 น. ณ ห้อง NLT mini theatre อาคาร 1 ชั้น 1 (จำกัดที่นั่ง 20 ท่าน)             นอกจากนี้ยังสามารถติดตามชมภาพยนตร์ในครั้งต่อไป วันที่ 16 ตุลาคม 2567 เรื่อง เงิน เงิน เงิน (2508), วันที่ 30 ตุลาคม 2567 เรื่อง ทรชนคนสวย (2510), วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง อีแตน (2511), วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง เกาะสวาทหาดสวรรค์ (2512), วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เรื่อง ไอ้ทุย (2514), วันที่ 18 ธันวาคม 2567 เรื่อง สาย สีมา นักสู้สามัญชน (2524), วันที่ 25 ธันวาคม 2567 เรื่อง Lumierel (2559) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2281 3634 และสามารถติดตามกิจกรรมอื่น ๆ ของหอสมุดแห่งชาติ ได้ทางเฟซบุ๊ก เพจ : National Library of Thailand  



            สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสครบ 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง “จากหอคองคอเดีย สู่วังหน้า ภาพเก่าเล่าพิพิธภัณฑ์” บอกเล่าเรื่องราวการก่อกำเนิดพิพิธภัณฑ์ไทย 19 กันยายน 2417 ตั้งแต่หอคองคอเดีย กระทั่งพัฒนาสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน นำเสนอผ่านข้อมูล เอกสาร และภาพถ่ายเก่าเล่าเรื่อง พร้อมนำโบราณวัตถุที่น่าสนใจมาจัดแสดงให้ชม ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2224 1402ภาพ: หอคอคอเดีย โรงทหารมหาดเล็กที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนศาสดารามภาพ: พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นฤษี หรือโยคี ศิลปะอยุธยาภาพ: พระพุทธรูปปางถวายเนตร จำหลักจากแก้วสีต่าง ๆภาพ: ขวดแก้วมีตะกร้อ ต้นไม้ สิ่งของต่างๆอยู่ภายใน และโคมไม้ไผ่ฉลุลายภาพ: กล้องยาแดงทำด้วยรากไม้ไผ่ป่าแต่งเป็นรูปทรงต่างๆภาพ: ช้างทรงรูปพระโพธิสัตว์ในขบวนแห่วันวิสาขบูชา ภาพ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย เส้นที่เขียนเป็นอักษรญี่ปุ่นโบราณภาพ: ตะกร้าสาน ของชาวม้อย เมืองดาลาต เวียดนามภาพ: ต้นไม้กระดาษภาพ: พระวิษณุ และพระครูประกำ


           เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ในปัจจุบัน ขอเชิญทุกท่านพบกับกิจกรรม "Twilight at the Museum" นำชมพิพิธภัณฑ์ยามเย็น นิทรรศการ Black & White Palace เมื่อครั้ง...วังนี้สี "ขาวดำ" นิทรรศการ Homecoming โบราณวัตถุคืนถิ่น อาคารจัดแสดงและโบราณสถานในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในวันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2567 เวลา 17.30 - 19.00 น. รับจำกัดจำนวน 20 ท่าน/วัน เท่านั้น ผู้สนใจร่วมกิจกรรมสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://forms.gle/Htwo7sKZcLtWnajr6 หรือแสกน QR Code บนโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์            ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมตามปกติ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท ติดตามข้อมูลข่าวสารรายละเอียดกิจกรรม ได้ที่ Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3641 1458


Messenger