ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 33,555 รายการ



วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖          บุคลากรหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ร่วมพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบ ๓๔ ปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ของทุกปี ณ ห้องประชุม หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  


แนะนำหนังสือ  ช่างฝรั่งในกรุงสยาม : ต้นแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงช่างฝรั่งในกรุงสยาม : ต้นแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง เป็นหนังสือที่รวบรวม เกี่ยวกับช่างตะวันตกที่เข้ามารับราชการ ปฎิบัติหน้าที่สถาปนิกในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสถาปนิกตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในกรุงสยาม ได้แก่ โยอาคิม แกรซี, จอห์น คลู, สเตฟาโน คาร์ดู และ โจเซฟ ฟารันโด ซึ่งทั้ง 4 ช่างได้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรสยามในช่วงต้นของราชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ระหว่างการรับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษากระบวนการของความเปลี่ยนแปลงในสถาปัตยกรรมไทยผ่านชีวิตและผลงานของช่างทั้ง 4 คน เป็นการศึกษาเบื้องต้นของการเข้าสู่ยุคใหม่ของสถาปัตยกรรมไทย ด้วยความเชื่อที่ว่าสถาปัตยกรรมเกิดขึ้นด้วยกระบวนการทางสังคม ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยอ่านได้ที่  ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่แนะนำโดย  จารุภา  อินยะบุตร


แนะนำหนังสือเรื่อง  บ้าหาเบี้ยสมัยโบราณมีการใช้เปลือกหอย เบี้ย แทนเงินตราสำหรับการซื้อขาย ก่อนจะพัฒนามาเป็นโลหะ มนุษย์รู้จักใช้โลหะเป็นสื่อแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อมาก็พยายามจะจัดรูปแบบโลหะให้เป็นลักษณะต่างๆ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน จนไปจบลงที่ "เหรียญ" เหรียญกษาปณ์อาจกล่าวได้ว่าเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของการใช้โลหะในการแลกเปลี่ยนสินค้า เฉพาะในประเทศไทย "บ้าหาเบี้ย"  เป็นหนังสือบทความของอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ซึ่งนำข้อมูลจากการค้นคว้า และตรวจสอบเกี่ยวกับประวัติแรกเริ่มของการใช้เหรียญในประวัติศาสตร์โลกแหล่งที่มา รูปภาพประกอบประเภทเงินตราต่างๆ ที่ใช้เป็นวัตถุในการซื้อขายในอดีตอ่านได้ที่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่แนะนำโดย  นางสาวจารุภา  อินยะบุตร


สแกนคิวอาร์โค้ดหรือคลิกที่ลิงก์เพื่ออ่าน  e-book ค่ะhttp://164.115.27.97/digital/items/show/17515...


แนะนำหนังสือเรื่อง โทษ(ส)ถานที่อยากไป โทษ(ส)ถานที่อยากไป เป็นหนังสือที่บอกเล่าประสบการณ์ การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน อินเดีย (ในรัฐสิกขิมและรัฐอัสสัม) และ ภูฏาน ซึ่งถือว่ามีคนไปเยือนไม่มากนัก แต่เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยสีสันวัฒนธรรมที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ มากด้วยอารยธรรม และมิตรภาพที่อบอุ่น ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดความรู้ทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม และชาติพันธุ์วิทยา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และเชื้อชาติ แต่หลอมรวมและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หาอ่านได้ที่ ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ แนะนำโดย จารุภา อินยะบุตร


แนะนำหนังสือเรื่อง พระมหามัยมุนี และเจดีย์สำคัญในพม่า พม่าหรือเมียนมาร์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางด้านพระพุทธศาสนาจากอินเดีย และนับถือพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน จึงมีหลักฐานประจักษ์เป็นศาสนสถานเก่าแก่ และงานศิลปกรรมต่างๆ ศิลปกรรมในทางพุทธศาสนาของพม่าที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญอย่างสูงสุด 5 แห่ง หรือที่เรียกกันว่า "5 มหาบูชาสถาน" ซึ่งประกอบด้วย 1. พระมหามัยมุนี (เมืองมัณฑเล) 2. เจดีย์ชเวดากอง (เมืองย่างกุ้ง) 3. เจดีย์ชเวมอดอ หรือพระธาตุมุเตา (เมืองหงสาวดี หรือพะโค) 4.เจดีย์ชเวซีคง (เมืองพุกาม) 5. เจดีย์ชเวสันดอ (เมืองแปร) หนังสือเล่มนี้ได้สืบค้นถึงที่มาของ "คติ 5 มหาบูชาสถาน" ดังกล่าว เบื้องต้นพบว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพม่าเมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว และสืบทอดต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และได้อธิบายถึงมหาบูชาสถานเหล่านี้ไว้ทั้งหมด โดยได้แบ่งการอธิบายออกเป็นด้านต่างๆ คือ ด้านประวัติศาสตร์ ตำนานที่มา และศิลปกรรมอย่างเจาะลึก พร้อมเกร็ดที่น่าสนใจต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก อ่านได้ที่ ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ แนะนำโดย จารุภา อินยะบุตร


แนะนำหนังสือห้องเยาวชนโดยนางสาวจิรัฐิติกาล จักรคำ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


แนะนำหนังสือเรื่อง ชาวอยุธยาที่เมืองสะกาย พม่าเป็นประเทศที่มีอาณาเขตที่ติดต่อกับไทย และมีความสัมพันธ์กับไทยมาเป็นเวลายาวนานทั้งในทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ย้อนกลับไปเวลาทางประวัติศาสตร์พม่า เห็นได้ว่าสังคมพม่าเป็นสังคมหลากหลาย หรือสังคมพหุสังคม ไม่ต่างจากสังคมอื่นๆ ที่ประกอบด้วยเชื้อสายต่างๆ "ชาวอยุธยาที่เมืองสะกาย" เกิดจากการศึกษาค้นคว้าสองชิ้น คือ พม่าในความสัมพันธ์ทางศิลปวัฒนธรรมกับต่างประเทศ และ จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดมหาเตงดอจี ชาวอยุธยาที่เมืองสะกาย ได้เปิดประเด็นลักษณะพหุสังคมของพม่า นั่นคือความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่เจริญงอกงามขึ้นผ่านทางการศึกสงคราม ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ตลอดการเดินทางของประวัติศาสตร์ภูมิภาคจากสงครามระหว่างรัฐพุทธศาสนาเถรวาทด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดมหาเตงดอจี เมืองสะกาย ซึ่งแสดงถึงฝีมือช่างอยุธยาที่ฝากไว้ในดินแดนพม่าเพื่อเป็นพุทธบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งสองประเทศ อ่านได้ที่ ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่ แนะนำโดย จารุภา อินยะบุตร


แนะนำหนังสือห้องหนังสือท้องถิ่นหนังสือหายากภาษาอังกฤษ เรื่อง The 30 Day Loveiness Test แนะนำโดย นางสาวจิรัฐิติกาล จักรคำ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


แนะนำหนังสือเรื่อง A little shop of หมิง "หมิงเฟอร์นิเจอร์" ร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์จีนสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงตอนต้น ตั้งอยู่ ริมถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ พ.ศ.2529 ตลอดเวลาที่ผ่านมา หมิงเฟอร์นิเจอร์ ได้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้เนื้อดี ด้วยความปราณีต ความรักและความตั้งใจ จึงสะสมเป็นประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ หนังสือเล่มนี้ ถือเป็นเรื่องราวเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของครอบครัวที่ทำธุรกิจค้าขายเฟอร์นิเจอร์ เนื้อหาจะมีทั้งเรื่องราวความรัก ความผูกพัน ความสนุกสนาน ความประทับใจ ตั้งแต่ความเป็นมาเป็นไปที่เกิดขึ้นกับ "หมิง" อีกทั้งยังถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์ "หมิง" ซึ่งมีเอกลักษณ์ บ่งบอกความเป็น "จีน" ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังแนะนำเทคนิคการการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ซึ่งในปัจจุบันมีราคาที่สูงและมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ อ่านได้ที่ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ แนะนำโดย จารุภา อินยะบุตร


วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น.  นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการกองโบราณคดี พร้อมด้วยนายฤทธิเดช ทองจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการบูรณะหอระฆังวัดพระยาทำวรวิหาร แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร


วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น.    นายพงศ์ธันว์  สำเภาเงิน ผู้อำนวยการกองโบราณคดี  นายฤทธิเดช  ทองจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม พร้อมด้วย นายสมัคร  ทองสันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ลงพื้นที่ตรวจรับฯ งวดงานที่ ๒ งานโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดบางขนุน โดยมีนายอภิชาติ  สุวรรณ  นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณดี กรมศิลปากร  เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมงานโครงการฯ ให้การต้อนรับและรายงานการดำเนินงานดังกล่าว ณ อุโบสถวัดบางขนุน ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี