ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,142 รายการ

          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการแสดงงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ถึง วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ  เวทีกลางแจ้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร  วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลง - ขับร้อง วงดุริยางค์สากล (ก่อนพิธีเปิด) ๒. การบรรเลงดนตรีไทย “เพลงเทพสมภพ เถา” ๓. การแสดงชุดเทพนารีถวายพระพร ๔. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพาลีสอนน้อง วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงเทิด ส.ธ.” ๒. การแสดงละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก – ถอดรูป วันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงมหาสังข์” ๒. การแสดงละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา วันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “เพลงนาคพัน ๓ ชั้น” ๒. ละครเบิกโรง เรื่องพระไพศรพณ์เทพเจ้าแห่งธัญชาติ ๓. การแสดงละครตำนานพื้นเมือง เรื่องสงกรานต์  ตอน “เชิญศีรษะท้าวกบิลพรหม” วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. รำอาศิรวาทราชสดุดีจักรีวงศ์ ๒. ละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่องกำเนิดสุริยะและโสมเทพ ๓. การแสดงละคร เรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง วันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงศรีสุขสังคีต” ๒. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดเล่ห์รักยักขินี วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การแสดงคอนเสิร์ต “เพชรในเพลง” รับฟังบทเพลงไพเราะจากศิลปินแห่งชาติและศิลปินทรงคุณวุฒิ อ.รวงทอง ทองลั่นธม อ.วิรัช อยู่ถาวร อ.วินัย พันธุรักษ์ อ.พิเชฏฐ ศุขแพทย์ อ.โฉมฉาย อรุณฉาน พร้อมด้วยศิลปินรางวัลเพชรในเพลง หนู มิเตอร์ ปาน ธนพร รัชนก ศรีโลพันธุ์ จ่อย รวมมิตร คงชาตรี ใบเฟิร์น สุทธิยา ธัช กิตติธัช โบ๊ท ปรัชญา นัน อนันต์ และเปาวลี พรพิมล บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร และยังสามารถรับชมการแสดงคอนเสิร์ตนี้ได้ผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และในเวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. รับฟังการบรรเลงดนตรี  ณ ศาลาลงสรง   ทั้งนี้ การแสดงในวันที่ ๓ - ๗ เมษายน ๒๕๖๗  นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต /อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑



ฤดูฝน แสนชุ่มฉ่ำ ชวนมาอ่านนิทานแสนสนุก เข้ากับบรรยากาศหน้าฝน กับนิทาน 4 เรื่อง 4 รส อ่านได้ที่ห้องหนังสือเยาวชน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#นิทานวันฝนพรำ#NLTCHIANGMAI#แนะนำนิทานอ่านสนุก


"หนังสือ(เข้า)ใหม่ !! พร้อมให้บริการแล้ว เชิญนักอ่าน มาชม มาใช้งานได้วันนี้  ณ ห้องหนังสือทั่วไป 1 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ตามวันเวลาทำการ (อังคาร-เสาร์ : 09.00 -17.00 น.)  มากันเยอะๆ นะคะ หนังสือดีน่าอ่าน...รอให้บริการแก่ผู้ใช้ทุกท่านค่ะ ^^


แนะนำ e-book#วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม): สมบัติวัด ศรัทธาวัดหนังสือที่ระลึกงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปีพุทธศักราช 2556 วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่ถูกตั้งชื่อตามชื่อของบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่ได้มีการขุดขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างวัด ในราวปี พ.ศ. 1323 บ่อน้ำขนาดใหญ่แห่งนี้เรียกเป็นภาษาพื้นเมือง (คำเมือง) ว่า น้ำบ่อหลวง จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อวัดเนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วย ภาคที่หนึ่ง ทำเลที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ของวัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) ประวัติวัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม)   ชุมชนโบราณ เวียงแม-วัดน้ำบ่อหลวง น้ำบ่อหลวง น้ำบ่อทิพย์ น้ำบ่อหลวงในมุมมองของนักคณิตศาสตร์ และรายงานการศึกษาคุณภาพน้ำในวัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม)  ภาคที่สอง พระสุธรรมยานเถร สงฆ์ผู้นำในการบูรณะวัดน้ำบ่อหลวง ธรรมนิพนธ์เรื่องอุททาน 10 ประการ ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์อำเภอสันป่าตอง และพระครูธรรมาภิรม เจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) รูปปัจจุบันภาคที่สาม ศรัทธาเค้า : ขุนอนุพลนคร และนางคำบาง นิ่มแสงเฮง พิธีตากธรรม ผ้ายันต์โขงชะตา คำยอคุณพระรัตนตรัย คาถาหยาดน้ำเมื่อภาวนาภาคที่สี่ การสร้างชุมชนในจินตนาการใหม่ : กะเหรี่ยงกับขบวนการครูบาในภาคเหนือของประเทศไทยสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดหรือคลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านในรูปแบบ e-book ได้ค่ะhttps://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/19133-วัดน้ำบ่อหลวง--วนาราม----สมบัติวัด-ศรัทธาวัด


หนังสือ The Rights of the reader ของ Daniel pennac นักเขียนชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1992 มียอดขายมากกว่าล้านเล่มในฝรั่งเศส เนื้อหาของหนังสือกล่าวถึงสิทธิ์ของผู้อ่าน 10 ข้อ ที่ทำให้รู้ว่าเราจะอ่านอะไรก็ได้ อ่านแบบไหนก็ได้ หรือยังไม่อ่านก็ได้ ตราบใดที่เรายังมีความสุขกับตัวเอง มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย1. สิทธิ์ที่จะไม่อ่าน The right not to read.  ถ้ายังไม่อยากอ่าน ก็ไม่ต้องรีบอ่านก็ได้ อยากซื้อมาดองเก็บไว้ก็ไม่เห็นเป็นอะไร2. สิทธิ์ที่จะอ่านข้าม The right to skip. ไม่ต้องอ่านตามลำดับก็ได้ จะข้ามไปอ่านตอนที่ชอบก่อนแล้วค่อยวกกลับมาก็ยังได้ 3. สิทธิ์ที่จะอ่านหนังสือไม่จบเล่ม The right not to finish a book.  ถ้าอ่านแล้วไม่สนุก จะทิ้งไว้ก่อนก็ได้ ไม่ต้องฝืนอ่านจนจบ4. สิทธิ์ในอ่านหนังสือซ้ำ The right to read it again. ถ้าเป็นเล่มที่ชอบ จะอ่านซ้ำกี่รอบก็ย่อมได้ 5. สิทธิ์จะอ่านอะไรก็ได้ The right to read anything. ลองอ่านหนังสือให้หลากหลาย เท่าที่คุณอยากอ่าน 6. สิทธิ์ที่จะอินไปกับหนังสือ The right to mistake a book for real life. อ่านแล้วคิดจินตนาการไปว่าเป็นตัวละครตัวนั้นตัวนี้ 7. สิทธิ์ที่จะอ่านที่ไหนก็ได้ The right to read anywhere. ในรถไฟฟ้า ในสวน ในห้องนอน หรือใต้โต๊ะ 8. สิทธิ์ที่จะเปิดไปอ่านตรงไหนก็ได้ The right to dip in.  ไม่ต้องเริ่มตั้งแต่หน้าแรก อ่านแบบสุ่มหน้าก็น่าสนใจดี9. สิทธิ์ที่จะอ่านออกเสียง The right to read out loud. เคยอ่านหนังสือให้ใครฟังไหม มันน่ารักดีนะ 10. สิทธิ์ที่จะอ่านเงียบๆ The right to be quiet. ดื่มด่ำกับความรู้สึกมีความสุข และผ่อนคลายฉะนั้น เจอใครซื้อหนังสือมาดองไว้ ยังไม่อ่าน ก็อย่าไปทักเค้าเชียวล่ะ "You can't make someone read. Just as you can't make them fall in love or dream..."ข้อมูลจาก https://cdn.literacytrust.org.uk/.../HO4_Rights_of_the...https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/1659330207734/สร้างโลกมหัศจรรย์ให้ลูกด้วยพลังของการ-‘อ่านเล่น’https://www.goodreads.com/.../2127973.The_Rights_of_the...เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#สิทธิ์ของผู้อ่าน#บรรณารักษ์ชวนรู้


ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “กรุงศรีอยุธยาในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์” วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 12.00 - 16.00 น.