ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,665 รายการ
ผู้แต่ง : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2503
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี ป.ม., ท.จ.ว.
หนังสือจินดามณีเล่มนี้ เป็นเล่ม 2 นิพนธ์เป็นคำโคลง ตอนท้ายมีพระนิพนธ์กาพย์และโคลงกระทู้สุภาษิต มีความไพเราะ และยังเป็นสุภาษิตที่ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติได้ดีจนถึงทุกวันนี้
ชื่อผู้แต่ง ขจร สุขพานิช อ.บ. , ป.ม.
ชื่อเรื่อง เมื่อเซอร์ยอนเบาริงเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๗
จำนวนหน้า ๗๖ หน้า
หมายเหตุ มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ถวาย หม่อมเจ้า ชัชวลิต เกษมสันต์ ในมงคลสมัยมีพระชนม์ ๕ รอบ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗
หนังสือเรื่องนี้ แสดงพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชกรณียกิจที่ทรงนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ ศาสนา เป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาก เขาได้พรรณนาพระคุณไว้หลายอย่าง ล้วนแต่พวกเราชาวไทยควรทราบโดยแท้
ยารักษาโรคและฤกษ์ยาม ชบ.ส. ๑๒๔
พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.34/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม มีประภามณฑลหลังพระเศียร สำริด สูง ๒๔.๕ เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ ปี มาแล้ว) ได้จากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พระพุทธรูปปางแสดงธรรม พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา มีขอบพระโอษฐ์เป็นเส้นตรง อมยิ้มเล็กน้อย ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นรูปกรวย ประทับยืนตรง ครองจีวรห่มคลุม จีวรบางแนบพระวรกาย พระหัตถ์แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) ทั้งสองข้าง ขอบจีวรด้านหน้าตกลงจากข้อพระหัตถ์เป็นวงโค้งอยู่เหนือขอบสบง ด้านหลังตกลงเป็นสี่เหลี่ยมมุมมน เบื้องหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงโค้งประดับลวดลายเปลวไฟอยู่โดยรอบ พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี ซึ่งมีประภามณฑลเป็นวงโค้งล้อมรอบด้วยเปลวไฟเช่นนี้ พบที่เจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๓ องค์ พระพุทธรูปที่มีประภามณฑลแบบนี้ปรากฏอยู่ในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ (ประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) และศิลปะอินเดียแบบปาละ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นจึงกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์แสดงถึงพัฒนาการอันเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะทวารวดี ผสมผสานกับการตกแต่งด้วยประภามณฑลรูปวงโค้งที่ล้อมรอบด้วยลวดลายเปลวไฟ ซึ่งยังคงอิทธิพลของศิลปะอินเดียอันเป็นต้นแบบ ทั้งนี้การทำประภามณฑลเป็นรูปวงโค้งล้อมรอบด้วยลวดลายเปลวไฟนี้ ยังพบในประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธแบบมหายาน ศิลปะศรีวิชัย ซึ่งเจริญขึ้นบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย อีกด้วย------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓, กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๐.
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้ทราบข่าวว่ามีกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง พบพระพุทธรูปโบราณทิ้งอยู่ริมถนนใกล้โบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม และได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าพระพุทธรูปดังกล่าวถูกพบระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ ขณะที่รถแบคโฮได้ขุดลงไปที่ความลึกประมาณ ๔ เมตร จึงมีการนำส่วนขององค์พระพุทธรูปไปวางไว้บริเวณป้อมของเจ้าหน้าที่กั้นทางรถไฟ และนำส่วนเศียรไปไว้ที่บริเวณเจดีย์วัดพระงาม นายประทีป กล่าวว่าได้มอบหมายให้ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้น เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐานและนำพระพุทธรูปมาเก็บรักษาไว้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ วิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรมเพิ่มเติม ซึ่งผลการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่า เป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีปางสมาธิ สลักจากหินสีเทา แตกเป็น ๒ ชิ้น ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร สูงรวมพระเศียร ๗๙ เซนติเมตร ประทับขัดสมาธิราบ ครองจีวรห่มคลุม บางแนบพระองค์ พระหัตถ์ข้างขวาวางซ้อนเหนือพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา พระหัตถ์และพระบาทมีขนาดใหญ่ ฐานสลักเป็นรูปกลีบบัวหงาย พระพักตร์แสดงลักษณะพื้นเมือง รูปค่อนข้างยาว พระหนุป้าน พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ เม็ดพระศกใหญ่ โอษฐ์หนา แบะกว้าง แย้มพระโอษฐ์ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐-๑,๔๐๐ มาแล้ว ซึ่งพระพุทธรูปทวารวดีนั้นโดยทั่วไปสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท โดยได้รับรูปแบบแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ หลังคุปตะ และปาละ นับเป็นพุทธศิลป์รุ่นแรกในดินแดนประเทศไทย สะท้อนถึงการรับอิทธิพลศิลปกรรมจากต่างแดน เข้ามาผสมผสานกับสุนทรียภาพของท้องถิ่นจนเกิดเป็นรูปแบบของตนเอง พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารและพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ โดยพระพุทธรูปที่พบใหม่นี้ จะอยู่ในกลุ่มโบราณวัตถุสำคัญ ที่จะนำมาจัดแสดงในนิทรรศการถาวรในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป-------------------------------------------ข่าว/ภาพ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
องค์ความรู้ เรื่อง การผ่าตัดใหญ่ครั้งแรกในสยาม
การผ่าตัดตามหลักวิชาการแพทย์แผนตะวันตก เป็นวิทยาการการแพทย์ที่นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ผู้คน ตลอดจนการแพทย์และสาธารณสุขไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งการรักษาโดยวิธีการนี้เริ่มเป็นที่สนใจและยอมรับในสังคมไทยอย่างกว้างขวางขึ้น ภายหลังจากนายแพทย์แดน บีช แบรดเลย์ (Dan Beach Bradly) หรือ หมอบรัดเลย์ แพทย์มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้ทำการผ่าตัดใหญ่ครั้งแรกในสยาม เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๙
การผ่าตัดครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ปืนใหญ่ที่ใช้จุดไฟพะเนียง ในงานเฉลิมฉลองวัดประยุรวงศาวาสเกิดระเบิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) จึงขอให้หมอบรัดเลย์ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุไปรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ ซึ่งคนเจ็บส่วนใหญ่เลือกรักษากับหมอไทยเท่านั้น แต่มีผู้บาดเจ็บเพียง ๒ ราย ที่ยินยอมให้หมอบรัดเลย์ทำการรักษา ในจำนวนนี้คือ พระภิกษุรูปหนึ่งที่กระดูกแขนแตก จำเป็นต้องตัดแขนทิ้ง หมอบรัดเลย์จึงได้ผ่าตัดแขนพระภิกษุรูปนั้นในที่เกิดเหตุนั่นเอง ซึ่งในขณะนั้นคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าจะสามารถตัดอวัยวะออกจากร่างกายมนุษย์ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ทำอันตรายแก่ชีวิต เนื่องจากไม่เคยปรากฏวิธีการรักษาเช่นนี้ในระบบการแพทย์ไทยมาก่อน ความสำเร็จของการผ่าตัดครั้งนั้นจึงเป็นที่เลื่องลือกันมากในสังคมไทย สร้างความน่าเชื่อถือให้กับหมอบรัดเลย์และทำให้การรักษาโดยวิธีผ่าตัดแบบตะวันตกเริ่มเป็นที่ยอมรับ ยังผลให้การแพทย์แบบตะวันตกเริ่มมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้นในเวลาต่อมา
.....................
นางสาวระชา ภุชชงค์
นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ
กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ : ค้นคว้าเรียบเรียง
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสูตฺต (มาลัยสุตร) สพ.บ. 412/6หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา มาลัยสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 57.2 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี