ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 14/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงเนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘ .๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ดังรายการต่อไปนี้
+วันจันทร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖
การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด นางลอย ทศกัณฐ์ยกรบ
++วันอังคารที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖
การบรรเลงดนตรีสากล “กำเนิดวงสากลในประเทศไทย เล่าขานตำนานเพลงไทย ๑”
+++วันพุธที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๖
การบรรเลงดนตรีสากล “กำเนิดวงสากลในประเทศไทย เล่าขานตำนานเพลงไทย ๒”
นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมชมการแสดงเนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร "ฟรี " ไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น ของที่ระลึก และหนังสือกรมศิลปากร ลดราคาพิเศษ พร้อมลุ้นรับของที่ระลึกจากกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อีกด้วย
ชื่อผู้แต่ง สำนักงานเนติบัณฑิตยสภา
ชื่อเรื่อง บทบัณฑิต นิตยสารของเนติบัณฑิตยสภา (เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๐๘)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ สำนักงานเนติบัณฑิตยสภา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๙
จำนวนหน้า ๒๐๙ หน้า
รายละเอียด
บทบัณฑิต นิตยสารของเนติบัณฑิตยสภา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔ เดือนตุลาคม ๒๕๐๘ ประกอบด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับที่ดิน ความผิดฐานทำให้แท้งลูก กฎหมายใหม่ที่น่าสนใจ ข่าวของเนติบัณฑิตยสภาและสมาชิก เป็นต้น ท้ายเล่มมีปัจฉิมลิขิต ใบแทรกและสารบาญบทบัณฑิต ประกอบอีกด้วย
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/16ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 16 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.518/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 173 (254-258) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ. 241/2หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 62 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "พฤษภาคม" เชิญพบกับ "พัดฝัดข้าว" เครื่องมือเครื่องใช้จากภูมิปัญญา จัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ พัดฝัดข้าว (วี หรือ ก๋าวี) เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้พัดแยกเมล็ดข้างที่ไม่มีเนื้อ (ข้าวลีบ) เศษผง เศษฟางต่าง ๆ ออกจากเมล็ดข้าวดี ให้เหลือเพียงเมล็ดข้างเปลือกที่มีน้ำหนักและใช้ได้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "พัดฝัดข้าว" ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง นิทานเทียบสุภาษิต ฉบับ พระสุวรรณรัศมี (ทองคำ สีหอุไร) ภาคที่ 2 และภาคที่ 3ผู้แต่ง สุวรรณรัศมีประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ขนมธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่ 398.2 ส839นวสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 70 หน้าหัวเรื่อง สุภาษิตและคำพังเพยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในงานฌาปนกิจศพ จ.ส.ต.วิชัย เจตสิกทัต หนังสือเรื่องนิทานเทียบสุภาษิตนี้เป็นเรื่องที่มีคุณค่า เป็นแนวทางสอนที่ดีให้ยึดถือปฏิบัติซึ่งพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร) หรือพระสุวรรณรัศมี ได้รวบรวมแต่งไว้เป็นนิทาน 84 เรื่อง ในเล่มนี้ ประกอบด้วย เรื่องที่ 1-16
องค์ความรู้: สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง: เข็มข้าหลวงเดิม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือที่เรียกกันว่า ตรา เป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ รวมถึงเหรียญที่ระลึกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ ทรงนำรูปวชิราวุธมาใช้ประกอบในเครื่องหมายและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ และเมื่อวันที่ 15 เมษายน ร.ศ.130 (พ.ศ.2454) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติเข็มข้าหลวงเดิม"
เข็มข้าหลวงเดิม เป็นเข็มชั้นเดียว มีลักษณะเป็นรูปวชิราวุธแนวตั้ง คมเงินด้ำทอง พระราชทานแก่ข้าราชบริพารในพระองค์ ผู้ได้รับราชการในพระองค์มาแต่ก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และยังคงรับราชการสืบมา แม้ไม่ได้ถวายตัวด้วยดอกไม้ธูปเทียนก็ตาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเข็มนี้แล้ว เมื่อมีความผิดรับพระอาญาต้องคืนเข็มยกเว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระมหากรุณาเป็นพิเศษจึงสามารถประดับเข็มต่อไปได้ เข็มข้าหลวงเดิมนั้นให้ประดับที่เสื้อข้างซ้ายได้ทุกเวลา ให้ติดระหว่างกระดุมเม็ดที่ 2 และเม็ดที่ 3 ยกเว้นถ้าแต่งเครื่องยศประดับเครื่องราชอิศริยาภรณ์ ห้ามประดับเหนือเครื่องราชอิศริยาภรณ์และเหรียญ
เข็มข้าหลวงเดิมนี้ พระราชทานแต่เฉพาะฝ่ายหน้า ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเติมเข็มข้าหลวงเดิมสำหรับสตรี ลักษณะลวดลายเหมือนเข็มข้าหลวงเดิมของบุรุษ มีขนาดสูง 5.5 เซนติเมตร สามารถประดับเพชรพลอยเพิ่มขึ้นที่ลายริมคมและที่ลายต้นเข็ม พระราชทานเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติยศแก่ข้าราชบริพารฝ่ายในที่เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนเสด็จเสวยราชย์สมบัติ
-----------------------------------------------
รายการอ้างอิง
สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2540.
พระราชบัญญัติเข็มข้าหลวงเดิม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2565, จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/A/7.PDF
เรียบเรียงโดย: นางสาวพีรญา ทองโสภณ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
๑๑ กรกฎาคม วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง
"สถาปัตยกรรมพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช"
เรียบเรียงโดย นายกฤษฎา นิลพัฒน์ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
ชื่อเรื่อง: ศิลปินแห่งละคอนไทย ผู้แต่ง: ธนิต อยู่โพธิ์ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๗สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์พระจันทร์จำนวนหน้า: ๑๑๖ หน้า เนื้อหา: "ศิลปินแห่งละคอนไทย" กรมการสังคีต กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ตำนานทางนาฏศิลปของไทย และเกียรติประวัติของศิลปินทางโขนและละคอนไทยปรากฏแพร่หลาย และเป็นแบบฉบับแก่การศึกษาของศิลปินอนุชนรุ่นหลัง โดยธนิต อยู่โพธิ์ ได้รวบรวมตำนานและประวัติของศิลปินแต่ละท่านจากในหนังสือและคำบอกเล่า เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และสิ้นสุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยส่งฉบับไป ตีพิมพ์ลงเป็นตอนๆ ในวารสารศิลปากร ประจำปี ๒๔๙๑ และ ๒๔๙๒ ต่อมานำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาว่าด้วย ศิลปินแห่งละครไทย การแบ่งแยกของชาวไทย ละคอนไทยในสมัยต่างๆ อาทิ ละคอนผู้หญิงในราชสำนัก ละคอนผู้ชายของหลวง ละคอนของเอกชน ละคอนไทยในประเทศพม่า ละคอนของนายบุญยัง ละคอนของเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ละคอนไทยในราชสำนักเขมร เป็นต้น นับว่าเป็นประโยชน์แก่การศึกษาความเป็นมาของนาฏศิลปไทยและเป็นที่เชิดชูเกียรติของท่านศิลปินผู้มีคุณกับมรดกทางวัฒนธรรมด้านนาฎศิลปของชาติไทย เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๖๒๑เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๐๙หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
วันรพี ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักนิติศาสตร์และทรงวางระบบแบบแผนศาลยุติธรรม รวมถึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประสูติจากเจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ทรงเข้าศึกษา ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แล้วเสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้ว ทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ 14 ชันษา ได้ศึกษาต่อ จนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมาย ชั้นเกียรตินิยม โดยใช้เวลาศึกษาเพียงแค่ 3 ปี ด้วยพระชันษาเพียง 20 พรรษา
เมื่อปี พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารับราชการในกรมเลขานุการ ทรงปฏิบัติงานเป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ เป็นอย่างยิ่ง พระภารกิจของพระองคืนับได้ว่าเป็นภาระที่หนักยิ่ง ทรงเสียสละทุกอย่าง คิดถึงแต่งานเป็นใหญ่ ทรงยึดหลักที่ว่า “คนทุกคนต้องเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะทำอะไรต้องคิดถึง คนอื่น” ทรงยึดหลักความยุติธรรม และหลักที่ว่า “My life is service” คือ ชีวิตของข้าพเจ้าเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ
ปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ (ไต) ไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระอาการ ก็ไม่ทุเลา และพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 รวมพระชนมายุได้ 47 พรรษา
ในวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี วงการนักกฎหมายได้ถือเอาวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยใช้ชื่อว่า “วันรพี” ขนานนามพระองค์ว่า “พระบิดาและปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย” โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพี วางพวงมาลาถวายราชสักการะเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่อนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม ศาลที่เป็นสถานที่ราชการทั่วประเทศ และคณะนิติศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507