ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
ตัวเมืองกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาของชาวไทยถิ่นเหนืออาณาจักรล้านนามีตัวอักษรใช้ คือ ตัวเมืองหรืออักษรธรรมล้านนา คนล้านนาจะแทนตนเองว่า "คนเมือง" และแทนอักษรที่ใช้ว่า "ตัวเมืองหรือตั๋วเมือง" ซึ่งอักษรธรรมล้านนาหรือตัวเมืองนั้น เป็นอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นภาษาที่เกิดขึ้นมานานในดินแดนล้านนานับพันปี อักษรธรรมล้านนานิยมใช้บันทึกสิ่งต่าง ๆ เช่น หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา พิธีกรรม พระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ธรรมชาดก พงศาวดารตำนาน ศิลาจารึก ประวัติศาสตร์ ตำรายาสมุนไพร วรรณกรรมล้านนา คติคำสอนต่าง ๆ ตำราไสยศาสตร์ในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ (พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๔๘๒) เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง โดยล้านนาได้ถูกผนวกเข้ารวมกับราชอาณาจักรไทยกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย มีการใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาทางราชการ ทำให้เกิดกระแสการเรียนรู้ภาษาไทยกลางมากขึ้น วัดต่าง ๆ จึงลดบทบาทในการสอนอักษรตัวเมืองลงไปปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักตัวเมือง แต่ยังใช้คำเมืองในการสื่อสารกันในกลุ่มชาวไทยถิ่นเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน และยังพบตัวเมืองตามป้ายวัดหรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีไม่มากนัก วัดที่เปิดสอนการเรียนตัวเมืองให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ภาษาตัวเมือง คือ วัดพระวรสิงห์มหาราช (วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร) จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดสอนทุกวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : ๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่๒. หนังสือให้บริการของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่อ้างอิง :๑. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๒. "ตั๋วเมือง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" สาระน่ารู้ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/955357/, ๘ สิงหาคม ๒๕๖๔.๒. วัลลภ มณีเชษฐา. ๒๕๖๑. "กระบวนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา." วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์" ๑๔ (๑): ๑๗๖-๑๘๘.๓. สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ. อักขรธัมม์ล้านนา. เชียงใหม่: สถาบัน กศน.ภาคเหนือ.๔. Tipitaka. ๒๕๕๙. “อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม”. อยู่ในบุญ (Online). https://www.dmc.tv ,๕ สิงหาคม ๒๕๖๔.
กรมศิลปากร. ถลาง ภูเก็ต และทะเลฝั่งทะเลอันดามัน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์และเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2532. ความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเมืองถลาง ภูเก็ต กล่าวถึงหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ริมฝั่งทะเลอันดามัน ชุมชนกลุ่มน้อย การทำเหมือง การทำสวนยางพารา และประเพณีถือศีลกินเจ
ชื่อผู้แต่ง สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)
ชื่อเรื่อง ไกลวัด
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ ห.จ.ก.อรุณการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2517
จำนวนหน้า 112 หน้า
รายละเอียด หนังสือไกลวัดจัดพิมพ์โดยสมเด็จพระราชกุศลงานพระเมรุพระศพ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) นิพนธ์โดยพระองค์เอง โดยใช้นามปากกา”ศรีวัน”นิพนธ์ขึ้นคราวเสด็จไปต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑
โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
บริเวณสันเขาด้านทิศเหนือ ภูฝ้าย เป็นภูเขาลูกโดด สูงจากพื้นที่ราบโดยรอบ ประมาณ 50-120 เมตร เเละห่างจากเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นพรมแดนเเละระหว่างไทยกับกัมพูชา มาทางทิศเหนือ ระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร เท่านั้น ทั้งนี้โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย คงเป็นศาสนสถานประจำชุมชน
ผลจากการขุดเเต่งศึกษาปราสาทภูฝ้าย ในปี 2556 สามารถกำหนดอายุสมัย เเละรูปแบบการใช้งานโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ได้ดังนี้
#ปราสาทประธาน สร้างด้วยอิฐ และศิลาเเลง อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีขนาดด้านละ 7.20 เมตร สร้างบนลานหินธรรมชาติของภูฝ้าย ปัจจุบันหลงเหลือเฉพาะส่วนฐานรองรับเรือนธาตุ ซึ่งก่อด้วยศิลาเเลง สูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.75 เมตร มีศึกษาเปรียบเทียบกับปราสาทหลังอื่นๆ พบว่า แผนผังเรือนธาตุของปราสาทภูฝ้าย มีลักษณะคล้ายกับปราสาทเนียงเขมา กลุ่มโบราณสถานเกาะเเกร์ ปราสาทมีชัย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรเเบบแปรรูป พ.ศ.1487- 1511) และปราสาทเบง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรแบบบันทายสรี พ.ศ.1511-1544) จากรายงานฉบับดังกล่าว จึงกำหนดให้ ปราสาทภูฝ้าย น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง กลางพุทธศตวรรษที่ 15 - กลางพุทธศตวรรษที่ 16
อีกไฮไลต์ สำคัญ ของปราสาทภูฝ้าย คือ ภาพสลักทับหลัง #พระวิษณุอนันศายินปัทมนาภะ (นารายณ์บรรทมสินธุ์) ปัจจุบันไม่ได้ติดกับตัวปราสาท เเต่เก็บรักษาไว้ ณ วัดสุพรรณรัตน์ (วัดบ้านพราน) ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
แม้ว่าร่องรอยหลักฐานของภูฝ้าย จะหลงเหลือไม่มากนัก เเต่ด้วยทำเลที่ตั้ง ซึ่งสร้างปราสาทอยู่บนเขาลูกโดด ในฐานะ ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เเละเป็นสถาปนาภูเขานี้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะเดียวกันนี้ ยังปรากฏให้เห็นในหลายแห่ง อาทิ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทปลายบัด 1 ปราสาทปลายบัด 2 และปราสาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาลูกโดด ด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีกุรุเกษตร. รายงานผลการปฏิบัติงาน โครงการขุดแต่งเเละจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ตำบลภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ม.ป.พ. . 2556.
บทความความความรู้จากงานจดหมายเหตุ จาก หจช. สงขลา ลำดับที่ ๐๐๑
บทความความรู้จากงานจดหมายเหตุจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
ลำดับที่ ๐๐๑ เรื่อง เอกสารจดหมายเหตุกับการ
ขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทยส่วนท้องถิ่น
กรณีภาพเก่าของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
บทความนี้กล่าวถึง เอกสารจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย ส่วนท้องถิ่น ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ โดยเข้ารับเกียรติบัตรในวันจัดการประชุมสัมมนา เรื่อง การจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
เอกสารดังกล่าวประกอบด้วย ภาพเก่าของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา จำนวน ๓ ชุด ได้แก่
ชุดที่ ๑ แรกสร้างสถานีรถไฟหาดใหญ่
ชุดที่ ๒ แหลมสมิหลาสงขลาและบริบทที่เกี่ยวข้อง
และชุดที่ ๓ ซุ้มรับเสด็จ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๒
ซึ่งนางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ได้เรียบเรียงเเละเเนะนำชุดเอกสารดังกล่าวไว้ในบทความจำนวน ๑๐ หน้า
ดังที่เเนบในอัลบั้มนี้
ภาพถ่ายที่นำมาแสดงในข้างต้นเป็นเพียงภาพตัวอย่างในแต่ละชุดเท่านั้น สำหรับภาพถ่ายทั้ง ๓ ชุดฉบับจริงทั้งหมด สามารถเข้าใช้บริการได้ที่
หอจดหมายเหตุ
แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา ถนนกาญจนวนิช ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐
โทร. ๐ ๗๔๒๑ ๒๕๖๒, ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙
โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒
E-mail : national.archives.songkhla@gmail.com
Website : http://www.finearts.go.th/songkhlaarchives/
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8”
วันอาสาฬหบูชา หรือวันธรรมจักร เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ มีชื่อเต็มว่า “อาสาฬหปูรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คิอ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนา จนถือได้ว่า เป็นวันแรกที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย ในปี พ.ศ. 2565 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันพุธที่ 13 กรกฎาคม
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) แก่ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คือ “ธัมมจักกัปปนวัตนสูตร” ซึ่งมีอริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันได้แก่ ทุกข์ (ความไม่สบายกายสบายใจ) สมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (หลักปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) และเนื้อหาเกี่ยวกับ ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพพาน
หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ได้บังเกิดพระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก จึงได้กราบทูลขอบวชเป็นสาวกในพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธองค์ทรงอนุญาตและบวชให้แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา
คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางราชการตั้งแต่ พ.ศฯ. 2501 สำนักสังฆนายกได้กำหนดให้มีการประกอบพิธีขึ้นเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญ เวียนเทียน และฟังพระธรรมเทศนาเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#องค์ความรู้
#วันอาสาฬหบูชา
#วันสำคัญทางพุทธศาสนา #กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
#สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#กรมศิลปากร
#กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐ กถา(สุวรรณสาม)สพ.บ. 420/1งหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พระพุทธศาสนา ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ 52 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 56 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๒๒ วันประสูติหม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช
อำมาตย์เอก หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช เป็นพระโอรสพระองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ที่ประสูติแต่หม่อมอุ่ม ธิดาขุนทิพเสนา (จุ้ย) ประสูติเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๒๒
หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช ทรงเข้ารับราชการเป็นเลขานุการมณฑลอิสาณ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๓ ต่อมาเป็นปลัดจังหวัดสุรินทร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๒ ในเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์โท วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๔๕๖ เป็นผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๕๖ ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖ เลื่อนยศเป็นอำมาตย์โท เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๖๐ เป็นนายหมวดโท ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๒ ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๕ เป็นนายเรือเอก ราชนาวีเสือป่า ต่อมาวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๗ เป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดสวรรคโลก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และเป็นอำมาตย์เอก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑
หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช ชีพิตักษัยในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๔๗๒ (นับแบบปัจจุบัน พุทธศักราช ๒๔๗๓) สิริพระชันษา ๕๑ ปี
หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา
ภาพ : หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 46/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สามชาย
ชื่อผู้แต่ง บุปผา นิมมานเหมินท์,ม.ล.
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บริษัท ไทยร่มเกล้า จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2529
จำนวนหน้า 252 หน้า
รายละเอียด
สามชาย” เป็นเรื่องของชายสามคนซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เติบโตขึ้นในสิ่งแวดล้อมชนิดเดียวกัน แต่ได้รับประสบการณ์ชีวิตต่างกัน มีเนื้อหาสอดแทรกขนบธรรมเนียมประเพณีไทย รวมทั้งข้อคิดการผูกมิตร การเลือกคบคน การเข้าสมาคม การใช้ธรรมะระงับกิเลสต่างๆของมนุษย์
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 143/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2คเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปปางต่างๆ ชื่อผู้แต่ง : สมพร อยู่โพธิ์ ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ จำนวนหน้า : 152 หน้าสาระสังเขป : หนังเล่มนี้จัดพิมพ์เนื่องในพระราชทานเพลิงศพ พันเอก นายแพทย์บุญยศ สุพรรณโรจน์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร หนังสือเรื่องพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งนายสมพร อยู่โพธิ์ เรียบเรียงขึ้นจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นายประพัฒน์ โยธาประเสริฐ หัวหน้าแผนกสำรวจ นายมานิต รัตนกุล ข่างศิลปโท นายระพีศักดิ์ชัชวาล ช่างศิลปโท นายเสรี นิลประพันธ์ นายช่างศิลปโท นายภิรมย์ จีนะเจริญ สถปนิกโท และนายอิทธิศาสตร์ วิเศษวงษา ช่างศิลปจัตวา ได้ช่วยวาดภาพลายเส้นพระพุทธรูปปางต่างๆ และแผนที่ประเทศอินเดียสมัยโบราณประกอบเพื่อให้หนังสือเล่มนี้มีค่ายิ่งขึ้น
ตำราทางยกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่า ในรัชกาลที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2564. ตำราทางยกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่า ในรัชกาลที่ 2 เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเส้นทางเดินทัพอันเป็นเส้นทางที่ใช้ในการติดต่อของผู้คนในภูมิภาคต่างๆ ของไทยและเป็นหลักฐานสำคัญถึงร่องรอยของชุมชน บ้านเมือง และสถานที่สำคัญบางแห่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น