ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,404 รายการ

อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา.  ชีวิตของชาววัด.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2499.         หนังสือชีวิตของชาววัด เป็นหนังสือที่กล่าวถึงชีวิตของชาววัด และชาวบ้านซึ่งพึ่งพาอาศัยกันอยู่แต่ก่อนอย่างใกล้ชิด คือชาววัดย่อมพึ่งชาวบ้าน และชาวบ้านต้องพึ่งชาววัด ด้วยวัดเป็นสถานที่อบรมจิตใจและให้วิชาความรู้แก่ชาวบ้าน เพราะชาวบ้านแต่ก่อน เมื่อวัยเด็กอยู่วัดเพื่อศึกษาวิชา เรียนหนังสือ และศึกษาศาสนเป็นเบื้องต้นด้วย


ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบันลือ รักวานิช 26 มีนาคม พ.ศ. 2510             จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 23 นี้ เป็นหนังสือที่รวมเรื่องราวพระราชกิจรายวันในแต่ละวัน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเกจ้าอยู่หัว มีเนื้อหากล่าวถึงการออกพระราชบัญญัติ กฎหมายหรือราชการแผ่นดินอื่นๆ เรื่องเกี่ยวกับการเมือง รัฐประสาสโนบายทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศและการภายในประเทศของไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำประเทศไทยผ่านมรสุมทางการเมืองด้วยความยากลำบาก ซึ่งเป็นทิฏฐานุคติแก่นักการเมืองรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี






ชื่อเรื่อง                     นิทานเทียบสุภาษิต ฉบับพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร) (พระสุวรรณรัศมี ภาคที่ 8ผู้แต่                        พระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   นิทานพื้นเมืองเลขหมู่                      398.2 ส735นบสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ พ. พิทยาคาร ปีที่พิมพ์                    2509ลักษณะวัสดุ               104 หน้า หัวเรื่อง                     นิทาน                              สุภาษิตและคำพังเพย        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบุญชัย ตัณฑ์วิไล นิทานเทียบสุภาษิตนี้ พระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร) ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมแต่งไว้เป็นนิทาน 84 เรื่อง แล้วนำมอบไว้ ณ หอพระสมุดสำหรับพระนคร   


ชื่อเรื่อง                           เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ.                                  191/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ภิกฺขุปาติโมกฺข (ปาติโมกข์)สพ.บ.                                  228/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           84 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระปาติโมกข์                                           พระพุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


- อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีอะไรน่าสนใจ ? -  10 สถานที่ควรชมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  1.โบราณสถานวัดพระพายหลวง 2.วัดศรีชุม 3.หอพระพุทธสิริมารวิชัยและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 4.วัดมหาธาตุ 5.วัดสระศรี 6.พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 7.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง 8.วัดเชตุพน 9.วัดสะพานหิน 10.เขื่อนสรีดภงส์ . ปล.เที่ยวตามแผนที่อาจจะไม่หลงทาง แต่อาจจะหลงรักเลยก็ได้นะ เดินทางปลอดภัยครับ ^^



          พระพิมพ์ดินเผาจากโบราณสถานหมายเลข ๕ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           พระพิมพ์ดินเผา ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพระรัศมีเป็นลูกแก้ว อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์รูปวงรี พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง ทรงแย้มพระโอษฐ์ สีพระพักตร์แสดงถึงอารมณ์ของความสงบในสมาธิ ถือเป็นฝีมือการปั้นชั้นยอดของศิลปิน พระศอเป็นปล้อง ทรงครองจีวรห่มเฉียง จีวรบาง ชายสังฆาฏิสั้น ซ้อนบนพระอังสาซ้าย ชายจีวรยาวจากข้อพระหัตถ์ซ้ายพาดคลุมพระเพลา แลเห็นขอบสบงโค้งเป็นเส้นบริเวณบั้นพระองค์ และปรากฏชายผ้าพับซ้อนบนข้อพระบาทด้านหน้า จีวรทาน้ำดินสีแดง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ซ้ายวางทับอยู่บนพระชงฆ์ขวา ด้านหลังของพระพิมพ์แบนเรียบมีร่องรอยปูนติดอยู่ จากรูปแบบศิลปกรรมแบบทวารวดี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)           จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๕ เมืองโบราณอู่ทอง ยังมีการค้นพบส่วนเศียรของพระพิมพ์ดินเผารูปแบบเดียวกัน แต่มีสภาพแตกหักอีกจำนวนหนึ่ง สันนิษฐานว่าทำจากแม่พิมพ์เดียวกัน นอกจากนั้นพระพิมพ์รูปแบบดังกล่าวนี้ ยังพบอีกเป็นจำนวนมากจากโบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ และ โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒           พระพิมพ์ดินเผาจากโบราณสถานหมายเลข ๕ รวมถึงพระพิมพ์ดินเผารูปแบบเดียวกัน ซึ่งพบเป็นจำนวนมากจากโบราณสถานในเมืองโบราณอู่ทอง ถือเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมทวารวดี ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบรูปแบบดังกล่าวจากเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีแห่งอื่น ๆ การสร้างเป็นประติมากรรมนูนสูง ด้านหลังแบนเรียบ และใช้เทคนิคการขึ้นรูปจากแม่พิมพ์เพื่อให้ได้ประติมากรรมที่มีลักษณะเดียวกันเป็นจำนวนมาก และบางองค์มีร่องรอยของเศษปูนติดอยู่ที่ด้านหลังนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานบนผนังของศาสนถาน ตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างพระพิมพ์จำนวนมากเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ก็เป็นได้ ------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง เด่นดาว ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพ : อรุณการ พิมพ์, ๒๕๕๙. ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขา ศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. ห้างหุ้นส่วนจำกัดโบราณนุรักษ์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. ๒๕๕๘.


เลขทะเบียน : นพ.บ.148/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ภาพที่ ๑ ภาพเปรียบเทียบทรงผมม้าของลิซ่า ภาพจากแอปพลิเคชัน Tiktok กับหนังใหญ่รูปม้า คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ     “หน้าม้า” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น ไม่ได้ให้ความหมายถึงเรื่องทรงผม แต่กลับให้ความหมายของ “ผมม้า” ว่า น. ทรงผมผู้หญิงที่หวีส่วนหนึ่งลงมาปรกหน้าผากราวระดับคิ้วสอดรับกับลักษณะขนม้าที่ปรกลงมาบริเวณหัว ซึ่งสามารถเห็นได้ในงานศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น หนังใหญ่รูปม้า เป็นต้น  ภาพที่ ๒ ไม้แกะสลักรูปเต่า คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กับหางเต่าในพจนานุกรม           นอกจากนี้ ในพจนานุกรมฉบับเดียวกัน ยังระบุถึงลักษณะทรงผมอย่างที่เรียกว่า “หางเต่า” มีคำอธิบายกล่าวว่า น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หีเต่า ก็เรียก. ลักษณะเดียวกับหางปลายแหลมของเต่า บ้างก็ว่าเกิดขึ้นตามกรรมพันธุ์ มักนิยมไว้ผมทรงนี้ในช่วงวัยเด็ก รวมถึงเป็นทรงยอดนิยมของวัยรุ่นช่วงเวลาหนึ่งด้วย  ภาพที่ ๓ ไม้แกะสลักรูปหัวล้านชนกัน คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กับ “ขุนช้าง” จากละครโทรทัศน์ เรื่อง “วันทอง” ภาพจาก www.one31.net           ทว่า หากย้อนไปดูทรงผมโบราณ “หัวล้าน ๗ ชนิด” ของชายไทย อันเป็นที่มาของการละเล่นพื้นบ้าน “หัวล้านชนกัน” แม้ไม่ปรากฏหลักฐานที่มาแน่ชัด และแตกต่างกันไปหลายสำนวน แต่ส่วนใหญ่มักใช้คำเรียกที่คล้องจองกัน เช่น ทุ่งหมาหลง ดงช้างข้าม ง่ามเทโพ ชะโดตีแปลง แร้งกระพือปีก ฉีกหาง(ขวาน)ฟาด และราชคลึงเครา โดยจะเห็นได้ว่าจะมีชื่อหรือชนิดของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น หมา ช้าง ปลา (เทโพ/ชะโด) หรือแร้ง รวมถึงพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดมาใช้อธิบายลักษณะของทรงผม เช่น “ทรงง่ามเทโพ” ลักษณะคือผมช่วงหน้าล้าน ตรงกลางเป็นรูปคล้ายเงี่ยงสองแฉกของปลาเทโพ “ทรงชะโดตีแปลง” ลักษณะจะหัวล้านตรงกลาง แต่มีผมขึ้นรอบทิศทางซึ่งน่าจะมีที่มาจากพฤติกรรมของปลาชะโดตัวผู้ที่ตีแปลงสร้างอาณาเขตให้ปลาตัวเมียในฤดูวางไข่ “ทรงแร้งกระพือปีก” มีลักษณะล้านเถิกลึกเข้าไป คงเหลือผมไว้คล้ายปีกแร้งสองข้าง หรือ “ทรงฉีกหางฟาด” ที่มีลักษณะเป็นหัวล้านเหมือนถูกหางปลาฟาดลงไปเป็นแนว เว้นผมตรงกลางไว้เป็นหย่อม เป็นต้น           อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงหัวล้านแต่ละชนิดของไทยแล้ว หนึ่งตัวละครเอกในวรรณคดีไทยที่จะลืมเสียมิได้ คือ “ขุนช้าง” โดยที่มาของนาม บ้างว่าได้ชื่อนี้จากที่เมื่อตอนคลอด มีผู้นำช้างเผือกมาถวายสมเด็จพระพันวษา บ้างก็ว่าได้ชื่อนี้เพราะมารดาฝันว่านกตะกรุมคาบช้างตายมาให้ บิดาจึงทำนายฝันว่าบุตรชายจะมีวาสนาดี เสียแต่ว่ารูปไม่งาม ศีรษะล้านมาแต่กำเนิด ดังมีการพรรณนารูปลักษณ์ของขุนช้างในเสภา ความว่า “...จะกล่าวถึงขุนช้างเมื่อรุ่นหนุ่ม หัวเหมือนนกตะกรุมล้านหนักหนา เคราคางขนอกรกกายา หน้าตาดังลิงค่างที่กลางไพร...” อย่างไรก็ดี แม้ไม่มีการระบุแน่ชัดว่าขุนช้างหัวล้านแบบใด แต่ภาพลักษณ์จากวรรณคดีแสดงให้เห็นว่าขุนช้างเป็นคนใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย แม้จะใจน้อยบ้างตามสำนวน “คนหัวล้านขี้ใจน้อย” แต่ก็รักใครรักจริงนั่นเอง             เผยแพร่โดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ / เทคนิคภาพ นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ


ตราหมอดู ชบ.ส. ๔๙ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


Messenger