ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,451 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ฉ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           13/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              32 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ครุฑในอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกับที่พบในประเทศกัมพูชา ซึ่งพบในสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะภาพสลักครุฑที่ทับหลัง ซึ่งนิยมสลักเป็นรูปครุฑยุดนาคเช่นทับหลังที่วัดทองทั่ว ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก รุ่นถาลาบริวัติอายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ครุฑมีใบหน้าเป็นมนุษย์พุงพลุ้ย มือทั้งสองจับลำตัวนาคไว้ในสมัยต่อมาครุฑในภาพสลักมักมีเศียรเป็นนก สวมกะบังหน้า มีปีกคล้ายปีกนก ส่วนมือทั้งสองข้างยุดนาคไว้มักปรากฏขึ้นในฐานะเป็นเทพพาหนะของพระวิษณุเช่นครุฑในทับหลังศิลปะ แบบบาแคงที่ปราสาทหินพนมวันจังหวัดนครราชสีมา ทับหลังศิลปะแบบแปรรูปที่จังหวัดปราจีนบุรีทับหลังแบบนครวัดจากปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบรูปครุฑในทับหลังที่สลักภาพเล่าเรื่องด้วย เช่นภาพครุฑขโมยน้ำอมฤตซึ่งพบเป็นภาพแทรกในภาพเล่าเรื่องการกวนเกษียรสมุทร ที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภาพครุฑในฐานะผู้ช่วย พระรามพระลักษณ์ตอนนาคบาศ ภาพครุฑแบกที่มักสลักเรียงเป็นแนวอยู่ใต้ภาพเล่าเรื่อง เช่นในภาพสลักเล่าเรื่อง พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานที่ปราสาทพิมาย Based on the cultural influence of Khmer art in Thailand, the appearances of Garuda images are mostly similar to the architectural artworks discovered in Cambodia especially lintels engraved with the popular scenes of Garuda holding Naga. For example, carved Garuda on lintel in Sambor Prei Kuk Style, Thala Bariwatt, around the middle of 7th Century CE, found in Wat Thong Tua. Afterwards engravings of Garuda often had a bird’s head, a visor and wings with his hands holding Naga, appearing as the divine vahana of Vishnu seen on various lintels, such as lintel in Bakheng art style found at Prasat Hin Phanom Wan, Nakhon Ratchasima Province, lintel in Pre Rup art style found in Prachin Buri Province, lintel in Angkor Wat art style found in Prang Ku, Si Sa Ket Province, etc. In addition, Garuda images were found on lintels telling stories, such as lintel describing the scene of Garuda stealing the amrita, episode of Agitation in the Ocean found at Prasat Phimai, Nakhon Ratchasima Province, lintel depicting Garuda represented as the assistant of Rama and Lukshman, episode of Nagapasha as well as a line of Garuda images in carrying posture engraved at the bottom of the scene telling the story of Bodhisattva related to Mahayana Buddhism found at Prasat Phimai. ภาพ: ทับหลังรูปครุฑจับช้าง จากปราสาทพิมาย ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ สลักรูปพญาครุฑฆ่าช้างยืนอยู่บนตัวสิงห์ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จ.นครราชสีมา ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค


    ชื่อผู้แต่ง          แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และแพทยสภา ชื่อเรื่อง           วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน  (ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๘  พฤษภาคม   ๒๕๑๗) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์อักษรสมัย ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๗ จำนวนหน้า      ๑๒๖  หน้า รายละเอียด                    วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน  ฉบับนี้ได้รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดต่างๆ พร้อมกับภาพของต้นฝิ่น ซึ่งเป็นยาเสพติดที่ร้ายแรง อีกทั้งยังมีบทความที่น่ารู้และศึกษาได้แก่ แสงธรรม การชนะเลิศ เมื่อท่านสูบบุหรี่อะไรจะเกิดขึ้น การสูบบุหรี่ทำให้ชีวิตสั้น กัญชา ฯลฯ รวมทั้งรายการ    ถาม – ตอบและรายชื่อสมาชิก  


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.510/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 171  (243-247) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : สลองบาด--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ “กิจกรรมทวีปัญญา” ประจำปี ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๑ รับฟังการเสวนาเรื่อง “ปกิณกะจากจดหมายเหตุราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” วิทยากรโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีรศรี โพวาทอง และ พระศรีวชิรากรณ์กิตฺติธโร ดำเนินรายการโดย นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน ในวันพุธที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ            ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://forms.gle/RGshxo5Pq537NMxC6 รับจำนวนจำกัดเพียง ๘๐ คน (ปิดรับสมัครในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖)



UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียน "คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ" เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก !! เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 ณ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้พิจารณาวาระการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลก (Nominations of new items of documentary heritage to be inscribed on the Memory of the World International Register) โดยคัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ (National Collection of Palm-Leaf Manuscripts of Phra That Phanom Chronicle) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกในครั้งนี้ด้วย คัมภีร์ใบลาน เรื่องอุรังคธาตุ อยู่ในความดูแลและให้บริการของกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีจำนวน ๑๐ รายการ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องตำนานอุรังคธาตุ ได้ที่ https://www.nlt.go.th/unesco_award/40


          วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2566) เวลา 10.30 น. นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานในพิธีรับมอบสื่อจัดแสดงดิจิทัล ห้องอยุธยา ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   พระนคร โดยมีนายจอง มุนซอบ ประธานกรรมการบริหารของ Busan IT Industry Promotion Agency (BIPA) สาธารณรัฐเกาหลี และนางสาวซอย อินฮยอง ประธานกรรมการบริหารบริษัท FunIT เข้าร่วมในพิธี           นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมมือกับบริษัท FunIT ผู้ผลิตสื่อจัดแสดงดิจิทัลจากสาธารณรัฐเกาหลี และ Busan IT Industry Promotion Agency (BIPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของเมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ที่มีภารกิจเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีและภูมิภาคอาเซียน ดำเนินการพัฒนาและจัดทำสื่อดิจิทัลห้องอยุธยา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เนื้อหาและสื่อจัดแสดงเกี่ยวกับแผนที่อยุธยาจากภาพวาดของ โยฮัน วิงโบนส์ จิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ ในรูปแบบภาพอนิเมชั่นมุมกว้างที่แสดงบรรยากาศของเมืองอยุธยาในอดีต ให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งนำเสนอตู้พระธรรมลายรดน้ำฝีมือช่างวัดเชิงหวาย และตู้พระธรรมลายรดน้ำภาพชาวต่างชาติภายในห้องอยุธยา ในรูปแบบ 3 มิติ อินเตอร์ แอคทีฟ โดยทางสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนข้อมูล บริษัท FunIT ดำเนินการเก็บข้อมูลและจัดทำสื่อดิจิทัล และ Busan IT Industry Promotion Agency (BIPA) เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างสองประเทศในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมานำเสนอแก่ผู้ชมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่อไปในอนาคต ซึ่งกรมศิลปากรตั้งใจพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทย และเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ ด้านศิลปวัฒนธรรม ให้ประชาชนตระหนักรู้ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ หวงแหน และภาคภูมิใจในมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ           ผู้สนใจสามารถเข้าชมสื่อจัดแสดงดิจิทัล ห้องอยุธยา และการจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ – โบราณคดีของชาติ ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้บริการทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 08.30 – 16.00 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2224 1402 , 0 2224 1333



ชื่อเรื่อง: บัญชีพัดรอง แลบัญชีผ้ากราบที่มีแล้วในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร  ผู้แต่ง: ราชบัณฑิตยสภา ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๗๑  สถานที่พิมพ์: พระนคร สำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร จำนวนหน้า: ๒๖ หน้า  เนื้อหา: "บัญชีพัดรอง แลบัญชีผ้ากราบที่มีแล้วในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร" ราชบัณฑิตยสภาพิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณร ในคราวมาเยี่ยม        หอพระสมุดฯ แลพิพิธภัณฑสถาน เมื่อเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๔๗๑ เนื้อหาว่าด้วย ๑) บัญชีพัดรองที่มีในพิพิธภัณฑสถานสหรับพระนคร เรียงตามศักราช          อาทิ พัดรองการพระราชพิธีบรมราชาภิเศก ครั้งปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ พัดรองงานสมภาคาภิเศกรัชกาลที่ ๕ เท่ารัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๒๘ (จ.ศ. ๑๒๔๗)    พัดรองการพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๑) เป็นต้น ๒) พัดรองงานสมโภชสิริราชสมบัติครบ    หมื่นวัน ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๘ (จ.ศ. ๑๒๕๗) อาทิ พัดรองตราพระราชลัญจกร พระครุธพาหนะ พัดรองตราเครื่องราชอิศริยาภรณ์ มหาจักรี          บรมราชวงศ์ พัดรองการพระบรมศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พ.ศ. ๒๔๔๓ (ร.ศ. ๑๑๙) เป็นต้น ๓) บัญชีผ้ากราบที่มีในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เรียงตามศักราช อาทิ ผ้ากราบงานฉลองวัด พระเชตุพน พ.ศ. ๒๓๙๑ (จ.ศ. ๑๒๑๐) ผ้ากราบงานพระศพ พระองค์เจ้า   อุรุพงศ์รัชสมโภช พ.ศ. ๒๔๕๒ (ร.ศ. ๑๒๘) ผ้ากราบการสมโภชพระแก้วน้อย พ.ศ. ๒๔๕๗ (ร.ศ. ๑๓๑) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพัดรองและผ้ากราบที่ยัง     ไม่ได้สอบศักราช อาทิ พัดรองตราเลข ๕ มีพระเกี้ยว พัดรองรัตนาภรณ์ชั้น ๔ รัชกาลที่ ๖ ตรา ว.ป.ร. ผ้ากราบตรา พ.พ. ของกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ผ้ากราบตรากอบัว กับมงกุฏ เป็นต้น  เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๖๐ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๐๒ หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖



  กองโบราณคดี โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี ร่วมกับมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา จัดโครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย ครั้งที่ ๒ หัวข้อ “จากโบราณคดีบนความขัดแย้งสู่องค์ความรู้ก่อนประวัติศาสตร์ไทย” เพื่อนำอาสาเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชิงโบราณคดีแห่งความขัดแย้ง (Conflict Archaeology) จากสงครามโลก ครั้งที่ ๒ อันนำมาซึ่งการค้นพบและการศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Archaeology) ในประเทศไทย ถ่ายทอดองค์ความรู้โดยคณะวิทยากรจากกรมศิลปากร อาทิ คุณสุภมาศ ดวงสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี, ดร.ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ กองโบราณคดี และคุณศุภภัสสร หิรัญเตียรณสกุล สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี รายละเอียดเพิ่มเติมในเพจ Facebook มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา