ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,422 รายการ
ผู้แต่ง : อรสรา สายบัว
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2556
หมายเหตุ : -
"ประชุมนิราศภาคใต้" เป็นหนังสือรวบรวมวรรณกรรมนิราศ 3 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาคใต้ ได้แก่ นิราศนครศรีธรรมราช ซึ่งนายแก้ว กรมพระคลังสวน แต่งพรรณนาการเดินทางตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก เมื่อพุทธศักราช 2402 นิราศปักษ์ใต้ ซึ่งพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี ทรงพระนิพนธ์เรื่องการเดินทางตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเดียวกับกับนิราศนครศรีธรรมราช และนิราศแพรกไพร ซึ่งพระครูคง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารแต่งพรรณนาการเดินทางกลับจากนครศรีธรรมราชถึงกรุงเทพมหานครหลังจากไปจำพรรษาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตะกั่วทุ่งในสมัยรัชกาลที่ 4
กรมวิชาการ. เจ้าชายของประชาชน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, 2520. 32 หน้า.
เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับชั้นประถมศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงพ่อเมืองของไทย พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ราชกุมาร ท้ายเล่ม มีคำอธิบายศัพท์923.1593 ว153จ
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เตมียะ)สพ.บ. 224/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 60 หน้า กว้าง 5.2 ซ.ม. ยาว 57.2 ซ.ม. หัวเรื่อง พระเตมี ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
+โบราณสถานวัดสังฆาวาส+
...โบราณสถานวัดสังฆาวาสตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศเหนือ ใกล้กับแนวถนนพระร่วง โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนน โบราณสถานแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ซึ่งตั้งอยู่ห่างกันประมาณ ๑๐๐ เมตร ดังนี้
...กลุ่มแรก ตั้งอยู่ในตอนเหนือ พื้นที่มีคูน้ำล้อมรอบขนาดกว้างประมาณ ๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๘๐ เมตร ประกอบด้วย วิหารก่ออิฐเสาศิลาแลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย พระเศียรหักหาย ด้านหลังมีเจดีย์ประธานทรงระฆัง ส่วนฐานประดับพระพุทธรูปนั่งทั้งสี่ทิศ ส่วนยอดองค์ระฆังหักพัง นอกจากนี้ยังมีเจดีย์รายจำนวน ๙ องค์ ตั้งอยู่โดยรอบ
...กลุ่มที่สอง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ พื้นที่มีคูน้ำล้อมรอบเช่นเดียวกัน แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละประมาณ ๖๐ เมตร ประกอบด้วย อุโบสถ (โบสถ์) ฐานก่ออิฐ มีใบเสมาหินชนวนรูปแบบต่าง ๆ ปักอยู่โดยรอบ และมีเจดีย์ราย ๑ องค์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุโบสถ
...ชื่อวัด สังฆาวาส หรือ สังฆาวาสอารามวิหาร ปรากฏในหลักศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาเขมร พุทธศักราช ๑๙๐๔ แต่ในพระราชนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงวิจารณ์วัดแห่งนี้ว่า สังฆาวาสเท่าที่ปรากฏให้เห็นไม่มีความใหญ่โตเหมือนดังที่กล่าวไว้ในศิลาจารึก จึงทรงสันนิษฐานว่า วัดสังฆาวาสที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกอาจหมายถึง วัดมหาธาตุ
...วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย จากการขุดแต่งพบมกรสังคโลก (บ้างเรียกหัวสิงห์) และลวดลายปูนปั้นต่าง ๆ และโดยเฉพาะอุโบสถ (โบสถ์) วัดสังฆาวาสมีใบเสมาหินชนวนลักษณะแตกต่างกัน ๓ แบบ จึงนับได้ว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานที่มีควรค่าแก่การศึกษายิ่งนัก
สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/.../10l0fRTLev.../view...
เลขทะเบียน : นพ.บ.124/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.7 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 71 (243-247) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ปพฺพชาขนฺธก (ปัพพชาขันธ์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
บทสวดมนต์ ชบ.ส. ๔๒
เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.23/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
รัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. ผสมผสาน. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
พระนคร : ผดุงศึกษา, ๒๕๐๒. ๓๗๙ หน้า.
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ พระนามเดิม พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส. ได้เขียนบทความและพิมพ์รวมเล่มในชื่อผสมผสาน รวมทั้งสิ้น ๔๒ เรื่องด้วยกัน ล้วนแต่น่าอ่านตามแนวการเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เช่น เรื่องพริกไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ชวนให้คนไทยใช้ของไทยใช้ของไทยไม่ต้องไปเสียค่าขนส่งให้แพง และได้ไปซื้อพริกไทยที่ตลาดจันทบุรีมาทำให้รู้ว่าจันทบุรีมีการปลูกไทยมาช้านานแล้ว เป็นต้น
กรมศิลปากร. เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2517.
นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาและคุณค่าของเหรียญกษาปณ์ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนาน อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรลพบุรีอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เงินสมัยธนบุรี และเงินสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงสมัยรัชกาลที่ 9