ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,451 รายการ

ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-18  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.236/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  12 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 113 (180-193) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ฉลองผ้าอุโบสถ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.371/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 12 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 140  (420-433) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ฉลองข้าวประดับดิน --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


กรมศิลปากร.  กองโบราณคดี.  หน่วยศิลปารที่ 8 นครศรีธรรมราช.  แหล่งโบราณคดีโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช.            กรุงเทพฯ: หน่วยศิลปากรที่ 8  สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2536.          ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง แหล่งโบราณคดีโมคลานของหน่วยศิลปากรที่ 8 นครศรีธรรมราชรายละเอียดที่ตั้ง สภาพทางภูมิอากาศ การศึกษาประวัติ การศึกษาแหล่งสภาพ แหล่งการขุดแต่ง การดำเนินงานโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีโมคลาน





องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “ทุเรียน ” จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย และยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองผลไม้ ที่มีผลไม้นานาชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน ที่เป็นผลไม้มีชื่อเสียงของจันทบุรี ได้ชื่อว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ ประเทศจีนนิยมชมชอบผลไม้จากจันทบุรี จนเป็นสินค้าส่งออก โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง เดิมทีเดียวทุเรียนเมืองจันท์ เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ต้นสูงแหงนคอตั้งบ่า ลูกเล็ก เนื้อบาง เม็ดใหญ่ ชาวสวนจึงเริ่มเสาะหาทุเรียนพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เมื่อก่อนราวๆ 50 – 60 ปี สมัยนั้นเรียกว่าทุเรียนหม้อ เพราะเป็น กิ่งตอนที่ชำมาในหม้อดินขนาดย่อมๆจากจังหวัดนนทบุรีเข้ามาปลูก และค่อยๆตัดโค่นต้นพันธุ์พื้นเมืองลง ปัจจุบันเมื่อเอ่ยถึงทุเรียนเมืองจันท์ ถือว่าเป็นทุเรียนพันธุ์ดีทุกสวนทุกต้น พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากคือ พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี และพันธุ์ก้านยาว ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ตลาดนิยม รสชาติอร่อย มีการผสมพันธุ์ทุเรียนพันธุ์ใหม่ๆอีกหลายสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี เนื้อนุ่มสวย เม็ดลีบ ถึงแม้จะมีราคาแพง แต่คนที่อยากบริโภคก็จะหาซื้อมารับประทานกัน ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีสีสันไม่เหมือนเงาะเมื่อสุกแล้ว ทุเรียนเมื่อสุกจะมีกลิ่นหอมชวนกิน นอกจากจะรับประทานสดๆเมื่อสุกแล้ว เนื่อทุเรียนยังนำไปแปรรูปเพื่อให้เก็บไว้กินได้นานๆนอกฤดูกาล มีทั้งทุเรียนกวน ทุเรียนทอด ท๊อฟฟี่ทุเรียน ทองม้วนพับทุเรียน และยังทำเป็นอาหารอื่นๆที่มีทุเรียนเป็นส่วนประกอบอีกด้วย อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533 ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ทำไม ? โรงเชือดจึงหยุดฆ่าสัตว์ในวันพระ ในปี ๒๔๘๑ - ๒๔๘๗ และ ๒๔๙๑ - ๒๕๐๐ เป็นช่วงที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย เอกสารจดหมายเหตุชุดจังหวัดจันทบุรี ได้ระบุว่า พ.ศ.๒๔๙๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งถึงทุกจังหวัด ด้วยนายกรัฐมนตรีเห็นควรสั่งห้ามการฆ่าสัตว์ในวันพระและในวันหยุดราชการเนื่องในวันทางพระพุทธศาสนา . ต่อมาในปี ๒๔๙๒ กระทรวงมหาดไทยได้ชี้แจงถึงคำสั่งดังกล่าวว่า การห้ามฆ่าสัตว์ตามที่สั่งการมานั้น มีความประสงค์เพื่อแสดงถึงการเคารพสักการะในพระพุทธศาสนา และเพื่อประหยัดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ด้วย ทั้งนี้ให้งดฆ่าเฉพาะวันที่ตรงกับวันพระ โดยให้ถือหลักการนับเวลาทางสุริยคติตามประกาศนับเวลาในราชการ . ปัจจุบันราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๙ เรื่องกำหนดวันและเวลาฆ่าสัตว์ พ.ศ.๒๕๖๕ ความในข้อ ๓ ให้หยุดฆ่าโค กระบือ แพะ แกะ สุกร และนกกระจอกเทศ ยกเว้นสัตว์ปีก ในวันและเวลา ดังต่อไปนี้ (1) วันพระ นับตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑ นาฬิกา จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา (2) วันเข้าพรรษา นับตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑ นาฬิกา จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา (3) วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี นับตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑ นาฬิกา จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/ ผู้เรียบเรียง นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ------------------------------ เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๘/๒๙ เรื่องห้ามการฆ่าสัตว์ในวันพระและวันหยุดราชการทางพระพุทธศาสนา (๑๙ ตุลาคม - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๑). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๔/๓๗๖ เรื่องขออนุญาตทำการฆ่าสุกรในวันพระ และการนับวันทางสุริยคติ (๑๗ มกราคม - ๒ มีนาคม ๒๔๙๒). กรมศิลปากร. ๒๕๐๐. บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๙. พระนคร : ศิวพร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๔๐ ก วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ หน้า ๗ เรื่องกำหนดวันและเวลาฆ่าสัตว์ พ.ศ.๒๕๖๕.


รายงานผลการตรวจสอบโบราณวัตถุที่พบจากที่พักสงฆ์เกาะโนนข่า ภายในเขตอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ ตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม


          วันอังคารที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๙ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เดินทางเข้ารับตำแหน่ง พร้อมเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกรมศิลปากร โดยมีนางรักชนก โคจรานนท์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรให้การต้อนรับ ณ กรมศิลปากร


       แผ่นโลหะดุนรูปพระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทรา ขนาบข้างด้วยบริวาร        ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖        กรมศิลปากร ขุดได้ที่วัดพระประโทณ จังหวัดนครปฐม เมื่อเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓        ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        แผ่นโลหะสัมฤทธิ์และทองคำดุนรูปพระพุทธรูปยืนแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) สองพระหัตถ์ ขนาบข้างด้วยบริวาร พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะทรงยืนสมภังค์ (ยืนตรง) พระเศียรมีเม็ดพระศกมีขนาดใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเปิด พระนาสิกใหญ่แบะออก และพระโอษฐ์แย้มพระสรวล รอบพระเศียรมีวงโค้งแทนความหมายถึงศิรประภา* พระวรกายครองจีวรห่มคลุม ชายจีวรด้านหน้าตกลงมาเป็นวงโค้งรูปอักษรโรมันตัวยู (U) ทรงยืนอยู่เหนือฐานบัว ใต้ต้นโพธิพฤกษ์ ขนาบข้างด้วยพระอาทิตย์-พระจันทร์        รูปบุคคลเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ส่วนพระเศียรแสดงการทรงมงกุฎยอดแหลม พระกรรณทรงกุณฑลขนาดใหญ่ รอบพระเศียรมีวงโค้งแทนความหมายถึงศิรประภา ทรงกรองศอ พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว พระหัตถ์ขวาชำรุดหักหายไปบางส่วน ท่อนล่างแสดงการนุ่งผ้าสั้น ทรงยืนเหนือฐานบัว จากรูปแบบการแต่งกายดังกล่าวรูปบุคคลนี้สันนิษฐานว่าหมายถึงพระอินทร์เนื่องจากทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ส่วนรูปบุคคลเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า พระเศียรรวบพระเกศาเกล้าขึ้นเป็นมวย รอบพระเศียรมีวงโค้งแทนความหมายถึงศิรประภา พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำ ท่อนล่างแสดงการนุ่งผ้ายาว ทรงยืนเหนือฐานบัว จากรูปแบบการแต่งกายดังกล่าวรูปบุคคลนี้สันนิษฐานว่าหมายถึงพระพรหมเนื่องจากทรงเครื่องอย่างนักบวช        พระพุทธรูปยืนแสดงวิตรรกมุทราในศิลปะทวารวดีแต่เดิมเชื่อกันว่าสื่อถึงพุทธประวัติตอนแสดงธรรม เช่น แสดงธรรมโปรดพุทธมารดา แต่เนื่องจากมักพบพระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทราขนาบข้างด้วยบริวารจึงทำให้ปางนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “เสด็จลงจากดาวดึงส์” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากในศิลปะทวารวดี ทั้งรูปแบบประติมากรรมเหนือพนัสบดี เช่น พระพุทธรูปและบริวารยืนเหนือพนัสบดีพบที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ใบเสมาสมัยทวารดีมีตัวอย่างคือใบเสมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์สลักภาพพระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทรา มีบริวารอยู่ด้านข้าง และเหนือขึ้นไปมีรูปบุคคลอยู่บนเมฆ** พระพิมพ์สมัยทวารวดีมีตัวอย่างเช่น พระพิมพ์พบที่บ้านหนองกรด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์*** ทั้งนี้การแสดงมุทราดังกล่าวเชื่อว่ารับรูปแบบมาจากการแสดงมุทราของพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียใต้ (แบบอมราวดี) และศิลปะลังกา (แบบอนุราธปุระ)         แผ่นโลหะสัมฤทธิ์และทองคำชิ้นนี้ค้นพบจากการขุดแต่งโบราณสถานเจดีย์วัดพระประโทณ จังหวัดนครปฐม โดยความร่วมมือระหว่างเมอร์ซิเออร์ ปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) ผู้แทนสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (ฝรั่งเศส: École française d'Extrême-Orient) กับกรมศิลปากร เริ่มดำเนินการขุดแต่งบูรณะเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๓ และดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ บรรดาโบราณวัตถุที่พบนั้น โบราณวัตถุประเภทปูนปั้นพบมากที่สุด กระนั้นก็ตามโบราณวัตถุประเภทสัมฤทธิ์นั้นพบอยู่ ๔ องค์ หนึ่งในนั้นคือแผ่นโลหะดุนชิ้นนี้ ซึ่งในรายงานระบุไว้ว่า   “...มีพระพิมพ์ที่ทำแปลกอยู่องค์หนึ่ง คือ องค์พระพุทธรูปทำด้วยทองคำสีดอกบวบ สูงประมาณ ๙ เซ็นต์ แต่ส่วนเรือนพระพิมพ์ (มีรูปเทวดายืนสองข้าง) ทำด้วยสัมฤทธิยังเห็นชัดเจนดี ชิ้นนี้นับว่าเป็นของมีราคากว่าสิ่งอื่น...”        *ศิรประภา หมายถึง รัศมีที่เปล่งรอบศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูป        **ปัจจุบันใบเสมาแผ่นนี้จัดแสดงอยู่ ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        **ปัจจุบันพระพิมพ์ชิ้นนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี     อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔. เชษฐ์ ติงสัญชลี, มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของ รูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู (นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๕. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี:  เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ศธ.๐๗๐๑.๒๖.๑/๑๔. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง ส่งรายงานการขุดแต่งโบราณสถานบางแห่ง (จังหวัดนครปฐม).


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           31/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               56 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           45/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง           งานวิจัยเรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์วัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2394 ชื่อผู้แต่ง         ปัญญา บริสุทธิ์ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       ประกายพรึก ปีที่พิมพ์          2529 จำนวนหน้า      ๑๓๐  หน้า รายละเอียด                    งานวิจัยเรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์วัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2394 มีจุดมุ่งหมายที่วิเคราะห์วรรณคดีไทยที่แต่งในรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2  และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งมีความสัมพันธ์สืบเนื่องมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา โดยมีวัฒนธรรมไทยแท้เป็นพื้นฐานแล้วรับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์และปัจจัยอื่นๆ เข้ามาประสานกลมกลืนเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน  และเพื่อให้เห็นว่ากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงทำนุวัฒนธรรมไทยอย่างไร  


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)