ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,421 รายการ
การสำรวจการเพาะปลูกกัญชาในจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๔-๒๔๗๕
กัญชา เป็นพืชที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากรัฐบาล ให้มีการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับกัญชา ให้ประชาชนสามารถปลูกและใช้ประโยชน์ได้เสรีมากขึ้น ซึ่งในอดีตนั้นมีการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มาอย่างยาวนานปรากฎหลักฐานมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยาและปรากฎในตำรายาหลายฉบับ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช ๒๔๖๕" ออกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อปราบปราม "ฝิ่น" แต่อีก ๓ ปีถัดมา เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เห็นชอบคำแนะนำของอธิบดีกรมสาธารณสุข ให้เพิ่มชนิดยาเสพติดให้โทษในบัญชี โดยระบุว่า "ยาที่ปรุงด้วยกันชา (กัญชา) ก็ดี ยาผสมฤาของปรุงใดๆ ที่มีกันชาก็ดี กับทั้งยางกันชาแท้ฤาที่ได้ปรุงปนกับวัตถุใดๆ เหล่านี้ ให้นับว่าเปนยาเสพย์ติดให้โทษทั้งสิ้น" ด้วยเหตุนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๘ กัญชาจึงเป็นของผิดกฎหมาย ก่อนที่ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติกัญชา(กันชา) ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ ซึ่งห้ามผู้ใดปลูก นำเข้า ซื้อขาย หรือครอบครองกัญชาโดยเด็ดขาด จึงเป็นจุดที่ทำให้กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในสังคมไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติกัญชา ๒๔๗๗ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม โดยกรมตำรวจกสิกรรม ได้มีการสำรวจการเพาะปลูกกัญชา ในจังหวัดต่างๆขึ้นในปี ๒๔๗๔ โดยสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อที่การเพาะปลูกในจังหวัด จำนวนผู้ปลูก จำนวนผลผลิตกัญชาต่อไร่ ฤดูกาลปลูกกัญชาในจังหวัด มีการใช้ประโยชน์จากกัญชาส่วนใดบ้าง และราคาของกัญชา เป็นต้น
พระพิสิฐสุทธเลขา ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ในสมัยนั้นได้แจ้งไปยังอำเภอต่างๆ ให้สำรวจการเพาะปลูกกัญชาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรายงานไปยังกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมต่อไป ซึ่งพบว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔-๒๔๗๕ มีเพียงอำเภอมะขามเท่านั้นที่มีการเพาะปลูกกัญชา โดยปลูกกัญชากันในท้องที่กิ่งกำพุช มีประมาณ ๑ ไร่ ผู้ปลูกมีประมาณ ๑๐ คน จำนวนกัญชาที่ได้ต่อไร่ ประมาณ ๑ หาบ ซึ่งจะเริ่มเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม การใช้ประโยชน์ในพื้นที่นิยมใช้ต้นกัญชาและกะหรี่กัญชาหั่นและตำให้ละเอียด มวนปนกับยาสูบหรือใช้กล้องสูบ โดยหากเหลือขายจะขายอยู่ที่ ชั่งละ ๕๐ สตางค์
อดิศร สุพรธรรม
นักจดหมายเหตุชำนาญการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
เอกสารอ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (๑๓)มท ๑.๒.๕/๓๘ เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ส่งคำถามของกรมตรวจกสิกรรม เรื่องขอทราบการเพาะปลูกกัญชามาให้สอบสวน (๑๕ มีนาคม ๒๔๗๔ – ๒๒ เมษายน ๒๔๗๕)
สรวลเฮฮา เล่าเรื่องกัญชาในประวัติศาสตร์ สืบค้นออนไลน์จาก https:/ /voicetv.co.th/read/B1Id7u_9X
อ้างอิงภาพจาก
https: //voicetv.co.th/read/B1Id7u_9X
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 31/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 45/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง ดาวเรือง
ชื่อผู้แต่ง กรมศิลปากร
พิมพ์ครั้งที่ พิมพ์ครั้งที่ 4
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ 2529
จำนวนหน้า ๑๐๗ หน้า
รายละเอียด
หนังสือเรื่อง “ดาวเรือง” พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางบาง เวมลาน ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 14 ธันวาคม พุทธศักราช 2529 ดาวเรืองนี้ เป็นวรรณกรรมที่มีลักษณะคำประพันธ์ประกอบด้วยกาพย์ยานี สุรางคนางค์ และฉบัง เนื้อเรื่องกล่าวถึงอดีตชาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นมนุษย์มีนามว่าดาวเรือง
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ช เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 13/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
วันพุธที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๙ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบวรราชเจ้าและบำเพ็ญกุศลในโอกาสปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต นายสุรัฐกิจ พีรพงศ์ศิลป ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ นางพูนทิพย์ สร้อยสุวรรณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมในพิธี ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้แต่ง แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และแพทยสภา
ชื่อเรื่อง วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน (ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๑๗)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๗
จำนวนหน้า ๑๒๔ หน้า
รายละเอียด
วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน ฉบับนี้ประกอบด้วยบทความทั้งหมด ๑๒ บทความ อาทิ แสงธรรม ความสุขของเราอยู่แล้ว พระบิดาของการแพทย์ไทยแผนปัจจุบัน การสาธารณสุขในสาธารณรัฐประชาชนจีน สุขภาพจิตของสตรีทำงานนอกบ้าน ฯลฯ ท้ายเล่มมี ถาม – ตอบและรายชื่อสมาชิก
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.511/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 3.5 x 49 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 171 (243-247) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : ผ้าอาบน้ำฝน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม