ครุฑในอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศไทย


ครุฑในอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกับที่พบในประเทศกัมพูชา ซึ่งพบในสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะภาพสลักครุฑที่ทับหลัง ซึ่งนิยมสลักเป็นรูปครุฑยุดนาคเช่นทับหลังที่วัดทองทั่ว ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก รุ่นถาลาบริวัติอายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ครุฑมีใบหน้าเป็นมนุษย์พุงพลุ้ย มือทั้งสองจับลำตัวนาคไว้ในสมัยต่อมาครุฑในภาพสลักมักมีเศียรเป็นนก สวมกะบังหน้า มีปีกคล้ายปีกนก ส่วนมือทั้งสองข้างยุดนาคไว้มักปรากฏขึ้นในฐานะเป็นเทพพาหนะของพระวิษณุเช่นครุฑในทับหลังศิลปะ แบบบาแคงที่ปราสาทหินพนมวันจังหวัดนครราชสีมา ทับหลังศิลปะแบบแปรรูปที่จังหวัดปราจีนบุรีทับหลังแบบนครวัดจากปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบรูปครุฑในทับหลังที่สลักภาพเล่าเรื่องด้วย เช่นภาพครุฑขโมยน้ำอมฤตซึ่งพบเป็นภาพแทรกในภาพเล่าเรื่องการกวนเกษียรสมุทร ที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภาพครุฑในฐานะผู้ช่วย พระรามพระลักษณ์ตอนนาคบาศ ภาพครุฑแบกที่มักสลักเรียงเป็นแนวอยู่ใต้ภาพเล่าเรื่อง เช่นในภาพสลักเล่าเรื่อง พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานที่ปราสาทพิมาย
Based on the cultural influence of Khmer art in Thailand, the appearances of Garuda images are mostly similar to the architectural artworks discovered in Cambodia especially lintels engraved with the popular scenes of Garuda holding Naga. For example, carved Garuda on lintel in Sambor Prei Kuk Style, Thala Bariwatt, around the middle of 7th Century CE, found in Wat Thong Tua. Afterwards engravings of Garuda often had a bird’s head, a visor and wings with his hands holding Naga, appearing as the divine vahana of Vishnu seen on various lintels, such as lintel in Bakheng art style found at Prasat Hin Phanom Wan, Nakhon Ratchasima Province, lintel in Pre Rup art style found in Prachin Buri Province, lintel in Angkor Wat art style found in Prang Ku, Si Sa Ket Province, etc.
In addition, Garuda images were found on lintels telling stories, such as lintel describing the scene of Garuda stealing the amrita, episode of Agitation in the Ocean found at Prasat Phimai, Nakhon Ratchasima Province, lintel depicting Garuda represented as the assistant of Rama and Lukshman, episode of Nagapasha as well as a line of Garuda images in carrying posture engraved at the bottom of the scene telling the story of Bodhisattva related to Mahayana Buddhism found at Prasat Phimai.
ภาพ: ทับหลังรูปครุฑจับช้าง จากปราสาทพิมาย
ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย
พุทธศตวรรษที่ ๑๗
สลักรูปพญาครุฑฆ่าช้างยืนอยู่บนตัวสิงห์
จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จ.นครราชสีมา
ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค


Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.