ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           50/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                42 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           9/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              36 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ประยูร อุลุชาฎะ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2471 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดกลาง (โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ) ประยูรมีแววเป็นจิตรกรและนักเขียนตั้งแต่เด็ก ฝึกเขียนรูปด้วยการลอกจากหนังสือฝรั่ง ครูเห็นว่ามีฝีมือดี จึงใช้ให้เขียนแผนที่บนกระดานดำ เขียนรูปอวัยวะ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ จนได้ชื่อว่าเป็น “ช่างวาดของโรงเรียน” พ.ศ. 2486 ประยูรเริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง แผนกฝึกหัดครูช่าง พ.ศ. 2488 เข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จบการศึกษาระดับอนุปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม พ.ศ. 2495 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ริเริ่มให้มีการก่อตั้งโรงเรียนศิลปศึกษา หรือโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมอบหมายให้ประยูรเป็นผู้ร่างหลักสูตร เขียนตำราเรียน และดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ควบคู่กับการสอนที่คณะจิตรกรรมฯ พ.ศ. 2500 ประยูรประสบปัญหาจนต้องลาออกจากราชการ จากนั้นได้เริ่มศึกษาค้นคว้าและเขียนบทความวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และโหราศาสตร์ โดยใช้นามปากกาแตกต่างกันไปตามประเภทของหนังสือที่เขียน เช่น น. ณ ปากน้ำ ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ต่อมาประยูรได้ออกเดินทางสำรวจโบราณสถานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเวลา 5 เดือน เพื่อนำข้อมูลมาเผยแพร่ให้ผู้คนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปะไทยมากยิ่งขึ้น ประยูรสร้างสรรค์ผลงานทั้งจิตรกรรมไทยประเพณีและศิลปะสมัยใหม่ ผลงานส่วนใหญ่มีรูปแบบของศิลปะแนวอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) และเอ็กเพรสชันนิสม์ (Expressionism) โดยใช้เทคนิคสีน้ำมัน สีน้ำ และสีชอล์ก ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ผ่านสีและฝีแปรง เช่น ผลงาน “วัดมหาธาตุ อยุธยา” มีการลดรายละเอียดต่างๆ เหลือไว้เพียงโครงร่างของโบราณสถาน โดยใช้เทคนิคการแต้มและปาดสีซ้ำๆ กัน สีที่แต้มลงไปนั้นมีโครงสีที่โปร่ง บาง สะอาดสดใส ประสานกันอย่างนุ่มนวล ผลงาน “จันทบุรี” เป็นผลงานที่สร้างชื่อให้แก่ประยูรเป็นอย่างมาก เป็นภาพทิวทัศน์จากมุมสูง ไม่เห็นรายละเอียดมากนัก เน้นการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกตามบรรยากาศของแสงและสีแบบผลงานแนวอิมเพรสชันนิสม์ ลักษณะของฝีแปรงมีความรวดเร็ว แม่นยำ และมีชีวิตชีวา สีสันที่เลือกใช้มีความสดใสและสอดประสานกันเป็นอย่างดี มีการให้น้ำหนักของสีแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพื่อสร้างระยะใกล้ไกลให้กับภาพ ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง สาขาจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2498) นอกจากนี้ ประยูรยังได้คัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังตามแหล่งโบราณสถานและวัดวาอารามต่างๆ ที่ไปทำการสำรวจร่วมกับศิลปินท่านอื่นๆ ได้แก่ เฟื้อ หริพิทักษ์ อังคาร กัลยาณพงศ์ และอวบ สาณะเสน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงคุณค่าและความงดงามของภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อันเป็นประโยชน์แก่การศึกษาทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ประยูรได้รับปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาประยุกตศิลปศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2526 และด้วยความรู้ความสามารถหลายด้าน ประกอบกับเกียรติคุณที่ได้สั่งสมมาตลอดระยะเวลาหลายปี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อ พ.ศ. 2535 ประยูร อุลุชาฎะ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2543 ด้วยโรคหัวใจวาย สิริอายุ 72 ปี #ประยูรอุลุชาฎะ #ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙ #ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ #หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า ที่มา 1. หนังสือ “ชีวิตและงานของอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ” โดย วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 2. หนังสือ “5 ทศวรรษศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 3. หนังสือ “นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป” โดย สมพจน์ สุขาบูลย์


Unseen ทางวัฒนธรรมอำเภอปักธงชัย ตอนที่ 2 กับ " #หอไตรกลางน้ำ อีกหนึ่งความวิจิตรงดงามของวัดหน้าพระธาตุ..."   สวัสดีครับ กลับมากันอีกครั้ง หลังจากหลายสัปดาห์ก่อนพี่นักโบนำเสนอ Unseen ทางวัฒนธรรมอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา! กับ อุโบสถเก่า วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ  กันไปแล้ว ซึ่งได้รับความสนใจจากทุกท่านเป็นอย่างมาก กับภาพจิตรกรรมชั้นครูทั้งนอก และในอุโบสถหลังเก่าที่เขียนภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ผสมผสานไปพร้อมวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น  โดยในวันนี้ พี่นักโบ จะมานำเสนออีกหนึ่งความวิจิตรงดงามของวัดหน้าธาตุ นั่นคือ "หอไตรกลางน้ำ" นั่นเองครับ   #หอไตรวัดหน้าพระธาตุ ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ซึ่งราษฎรในพื้นที่เรียกว่า "ลำตาน้อย" ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของอุโบสถเก่า วัดหน้าพระธาตุ ( ระยะห่างประมาณ 50 เมตร หอไตรมีลักษณะเป็นอาคารเรือนไทย ฝาลูกปะกน (ไม้ลูกสกัดฝาเรือนสำหรับนำแผ่นกระดานมากรุ) และมีหน้าต่างลูกมะหวดรวม 5 ช่อง (ผนังด้านทิศเหนือ เเละทิศใต้ ด้านละ 2 ช่อง เเละผนังด้านทิศตะวันออก 1 ช่อง) ประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเพื่อให้สอดรับกับอุโบสถหลังเก่าที่หันหน้ามาทางด้านทิศตะวันออก   ส่วนฐานของหอไตรรองรับด้วยเสากลม 5 แถวๆ ละ 4 ต้น รวมทั้งสิ้น 20 ต้น ปักลงไปในน้ำ    ส่วนหลังคา มุงด้วยกระเบื้องดินเผา เเละประดับกระเบื้องเชิงชายลายเทพพนมซึ่งมีลักษณะคล้ายกระเบื้องเชิงชายของอุโลสถหลังเก่า บริเวณหน้าบันทั้ง 2 ด้าน ไม่สลักลวดลาย ภายในมี #หอกลาง และมีชานรอบ ด้านทางเข้ามีเศษราวสะพานทอดขึ้นสู่หอกลางซึ่งในอดีตเป็นห้องสำหรับเก็บเอกสารหรือคัมภีร์ ปัจจุบันมีการทำสะพานไม้อย่างง่ายเพื่อเชื่อมกับพื้นที่บก   สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส ในฐานะผู้เขียน เเละบรรณาธิการ หนังสือประวัติวัดหน้าพระธาตุ และหนังสือเทศนา ได้กล่าวถึง สภาพหอไตรกลางน้ำ ในโอกาสงานผูกสีมาวัดหน้าพระธาตุ ระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน 2521 ความว่า "...หอไตรกลางสนะมุงกระเบื้องดินเผา เมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็ก เห็นทีกระดิ่งเเขวน มีเเผ่นโลหะเป็นใบโพธิ์ห้องลูกกระดิ่ง เวลาลมพัดเสียงวังเวงมาก เเต่เวลานี้หายหมด จะหล่นลงในสระหรือหายไปอย่างไรไม่ทราบ แต่ก่อนคงเก็บคัมภีร์หนังสือลาน จารตัวอักษรขอม แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว พระสมัยนี้อ่านหนังสือขอมไม่ออก หนังสือลานจารด้วยอักษารขอมยังมีอยู่ในตู้บนกุฎี แต่ไม่มีใครสนใจ ที่ประตูหอไตร มีลายรดน้ำ เขียนรูปนกอุ้มนาง ฝีมือสวย กรมศิลปากรเคยมายืมออกเเสดงให้คนชม ข้าพเจ้าเสียดายต้องการจะซ่อมรักษา ต่อไป..."   สำหรับ #ภาพจิตรกรรม ที่พบบริเวณหอไตรนั้น พบทั้งเทคนิคเขียนลายรดน้ำปิดทอง เเละเขียนภาพด้วยสีฝุ่น มีดังนี้   1. จิตรกรรมฝาผนังภายนอกหอกลาง 1.1 บานประตูทางเข้า เขียนลายรดน้ำปิดทอง เล่าเรื่อง กากี ตอน พญาครุฑลักนางกากี  1.2 ผนังขนาบบานประตูทั้ง 2 ข้าง เขียนลายรดน้ำปิดทอง เป็นภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ท่ามกลางลายพรรณพฤกษา อันเป็นสัญลักษณ์มงคลแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ 1.3 ผนังด้านทิศเหนือ เเละด้านทิศใต้ เขียนภาพด้วยสีฝุ่น เป็นเทพพนมถือดอกบัว อยู่ในเส้นสินเทาล้อมรอบด้วยพื้นหลังเป็นลายประจำยามก้านแย่งเสมือนเทพพนมเปล่งรัศมี 1.4 ผนังด้านทิศใต้ เขียนภาพด้วยสีฝุ่น เล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอนออกมหาภิเษกรมณ์ (เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช) ขนาบด้วยภาพเทวดาเหาะถือดอกบัวแสดงความยินดี   2. จิตรกรรมผนังภายในหอกลาง 2.1 เพดาน เขียนลายนกในป่าหิมพานต์ ดอกไม้ เเละดาวเพดาน บนพื้นสีแดง 2.2 ผนังด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก เเละทิศใต้ แบ่งภาพออกเป็นชั้น ๆ ชั้นบนเขียนภาพเทพชุมนุม ชั้นกลาง และชั้นล่างของผนัง เขียนภาพดอกไม้ร่วงสีแดงบนพื้นสีขาว   จากภาพจิตรกรรมที่พบ สันนิษฐานว่าหอไตรกลางน้ำแห่งนี้ สร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ร่วมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อเนื่องถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยคงมีอายุร่วมสมัยกับอายุของอุโบสถหลังเก่า   อำเภอปักธงชัยของเรา เป็นอีกอำเภอหนึ่งที่อุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาติ  ยังมีวัดอีกหลายแห่งที่พบภาพจิตรกรรมฝาผนัง เเละเพดานจากฝีมือศิลปินชั้นครู อาทิ วัดปทุมคงคา (นกออก) เเละวัดโคกศรีสะเกษ ดัฃตั้นหากมีโอกาสจึงขอเชิญชวนทุกท่าน แวะเยี่ยมชมวัดหน้าพระธาตุ เพื่อดื่มด่ำความงามของภาพจิตรกรรมที่อุโบสถหลังเก่า เเละหอไตรกลางน้า ตลอดจนวัดอื่น ๆ ในพื้นที่อำเภอปักธงชัยดังที่กล่าวไปแล้วกันนะครับ    เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ   เอกสารอ้างอิง 1. สมเด็จพระธีรญาณมุนี. ประวัติวัดหน้าพระธาตุ และหนังสือเทศนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ส สง่า. 2521. 2. วรรณิภา ณ สงขลา และคณะ. รายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนัง วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. อัดสำเนา. 2528 3. หน่วยศิลปากรที่ 6. รายงานการติดตามผลการอนุรักษ์หอไตร วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: หน่วยศิลปากรที่ 6. 2535


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงเนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร วันพุธที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ  เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร พบกับการบรรเลงดนตรีสากล “กำเนิดวงสากลในประเทศไทย เล่าขานตำนานเพลงไทย ๒” อำนวยเพลงโดย นาวี คชเสนี อำนวยการแสดงโดย  ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           * ชมฟรี *สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 46/2553 (14/2549) ชิ้นส่วนขวานหินขัด เนื้อสีดำ ย.5.4 ก.4.5 หิน ก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.474/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 52 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162  (195-204) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : วิสุทธิมัคค์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.608/3           ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 68 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 195  (416-423) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : เตปิฎกถา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         เนื่องในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔  ณ วัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ในการนี้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดสร้างตาลปัตร จำนวน ๑๐ เล่ม โดยมีกลุ่มจิตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดสร้างตาลปัตร  และบันทึกข้อมูลจัดทำสื่อสำหรับเผยแพร่โดย ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย


ความทนทานของไม้.  พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, 2497.



          [กรุงเทพมหานคร, 12 มิถุนายน 2566] ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรี ศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอสปาฟา) กรมศิลปากร ยูเนสโก และศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดี ใต้น้ำ ณ เมืองซาดาร์ (ICUA) ประกาศความร่วมมือจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรใหม่ เน้นสร้างความแข็งแกร่ง ด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้            การฝึกอบรมครั้งนี้มีกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในหัวข้อ “South-East Asian Sub-regional Introductory Course on Conservation and Restoration of Underwater Archaeological Finds” (หลักสูตรเบื้องต้นด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ระหว่างวันที่ 19 – 29 มิถุนายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดจันทบุรี โดยนับเป็นการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุครั้งแรกในภูมิภาคที่ครอบคลุมวัสดุหลากหลายประเภทซึ่งมักพบในแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ            “งานโบราณคดีใต้น้ำมีความท้าทายอย่างมากต่อกิจกรรมโลจิสติกส์ แต่สภาพแวดล้อมใต้น้ำกลับช่วยรักษาวัสดุอินทรีย์และโบราณวัตถุในระดับที่พบได้น้อยมากหรือไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยหากอยู่บนบก” ฟรังกา โคล นักโบราณคดี นักอนุรักษ์ด้านโบราณคดี และวิทยากรร่วมบรรยายจากพิพิธภัณฑ์ซาราวัค (Sarawak Museum - JMS) ประเทศมาเลเซีย กล่าวถึงแง่มุมของการอนุรักษ์โบราณวัตถุใต้น้ำ โดการฝึกอบรมฯ ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงอย่างครอบคลุมตามหลักการและเทคนิคการอนุรักษ์และบูรณะวัสดุประเภทเครื่องดินเผาหรือเซรามิก แก้ว โลหะ ไม้ และวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะสำคัญอันจะนำไปสู่การปกป้องและสงวนรักษาโบราณวัตถุล้ำค่าเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป ฟรังกา โคล ยังกล่าวอีกว่า “การวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อการอนุรักษ์เชิงคัดเลือกเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยปรับเปลี่ยนเป้าหมายการวิจัยและการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมให้สมดุลกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถที่มีอยู่”           การฝึกอบรมครั้งนี้ ซีมีโอสปาฟา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และยูเนสโก จะพัฒนาการอนุรักษ์และบูรณะ มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยบูรณาการความรู้ความชำนาญและทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์ ด้านองค์ความรู้และทรัพยากรจำเป็นอื่น ๆ จากศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดีใต้น้ำ (ศูนย์นานาชาติประเภท 2 ที่จัดตั้งขึ้นด้วยความอุปถัมภ์จากยูเนสโก) ณ เมืองซาดาร์ สาธารณรัฐโครเอเชีย หน่วยงานสำคัญทั้ง 4 แห่งนี้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงพัฒนาศักยภาพของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้พร้อมต่อการดำเนินงานเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป    “เราตั้งความหวังไว้ว่าการฝึกอบรมนี้จะช่วยสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความรู้ความชำนาญวิชาชีพด้านโบราณคดีใต้น้ำและด้านอนุรักษ์” นายเขมชาติ เทพไชย ผู้อำนวยการศูนย์ซีมีโอสปาฟา กล่าว             การฝึกอบรมครั้งนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ค.ศ. 2001 ซึ่งรับรองในเดือนพฤศจิกายน 2544 ให้กำหนดกรอบกฎหมายร่วมและแนวปฏิบัติเพื่อให้แต่ละประเทศ สามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งการบ่งชี้มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ การวิจัย มาตรการปกป้อง และการอนุรักษ์มรดก วัฒนธรรมใต้น้ำ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนางสาวชิฮิโระ นิชิกาวะ ผู้เชี่ยวชาญโครงการของ ยูเนสโก ได้กล่าวว่า “ยูเนสโกยินดีมากที่ได้กลับมาเปิดหลักสูตรฝึกอบรมด้านมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำในประเทศไทย  อีกครั้ง หลังจากเคยจัดฝึกอบรมในประเทศไทยมาแล้วหลายครั้งระหว่างปี 2552 ถึง 2554” นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญ โครงการของยูเนสโกยังมองภาพในอนาคตไว้ว่า อีกสิบปีข้างหน้า ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมี ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีใต้น้ำและมีทักษะด้านการอนุรักษ์เพียงพอที่จะปกป้องและบริหารจัดการมรดกทาง วัฒนธรรมใต้น้ำได้อย่างยั่งยืนตามอนุสัญญายูเนสโก ปี ค.ศ. 2001   -------------------------------------------------------------   ซีมีโอสปาฟา ศูนย์ระดับภูมิภาคที่มีภารกิจพัฒนาการวิจัย ฝึกอบรม และสร้างความร่วมมือด้านโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก   กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานที่มีภารกิจหน้าที่ด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนางานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งป กป้อง คุ้มครองความหลากหลายด้านประเพณีวัฒนธรรมของชาติ   ยูเนสโก องค์การระหว่างประเทศที่มุ่งส่งเสริมความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสาร เพื่อสร้างสันติภาพ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการเจรจาข้ามวัฒนธรรม   ICUA ศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดีใต้น้ำ ณ เมืองซาดาร์ (International Centre for Underwater Archaeology in Zadar) สาธารณรัฐโครเอเชีย จัดตั้งขึ้นด้วยความอุปถัมภ์จากองค์การยูเนสโก โดยมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการศึกษา และพัฒนาวิชาชีพด้านการวิจัย อนุรักษ์ บูรณปฏิสังขรณ์ และส่งเสริมงานมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยเฉพาะระดับ นานาชาติ


“อนุฏฐานไสยา” พุทธปฏิมาบนเพิงผาเขาตะเภา จังหวัดลพบุรี ห่างจากตัวเมืองลพบุรีออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ ๕๓ กิโลเมตร ในเขตอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นที่ตั้งของภูเขาหินทรายขนาดใหญ่ วางตัวอยู่ตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งชาวบ้านพากันเรียกชื่อภูเขาแห่งนี้ว่า “เขาตะเภา” มีที่มาจากเรื่องราวในตำนานพื้นบ้านเมืองลพบุรี เรื่อง ขันหมากพระเจ้ากรุงจีน ว่าเรือสำเภาของพระเจ้ากรุงจีนซึ่งยกขันหมากมาสู่ขอนางนงประจันทร์ ธิดาของท้าวกกขนากได้ล่มตะแคงจมลงกลายเป็นหิน บริเวณเชิงเขาตะเภาทางทิศเหนือ ซึ่งตั้งอยู่เหนือเขตวัดราชบรรทม ใช้ระยะทางในการเดินเท้าขึ้นไปประมาณ ๒๐๐ เมตร มีเพิงผาหินทรายขนาดเล็กปรากฏภาพสลักนูนต่ำพระพุทธไสยาสน์ลงรักปิดทอง ขนาดความยาว ๒.๓๐ เมตร ความสูง ๐.๕๗ เมตร แสดงพระอิริยาบถไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องซ้าย (ตะแคงซ้าย) หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ พระกรขวาวางทอดตามพระปรัศว์ (สีข้าง) หรือราบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ซ้ายตั้งขึ้นประคองพระเศียรซึ่งมีพระเขนย (หมอนหนุน) ทรงกลมรองรับพระเศียร และพระเขนยทรงสามเหลี่ยมรองรับพระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏแคบ พระขนงโก่งเป็นเส้นโค้งมาจรดพระนาสิก พระเนตรทั้งสองข้างหลับ พระนาสิกเล็กโด่ง พระโอษฐ์เรียวบางแย้มพระสรวลเล็กน้อย เม็ดพระศกขนาดเล็กคล้ายหนามขนุนเรียงกันเป็นระเบียบ มีอุษณีษะและพระรัศมีเป็นเปลว ไรพระเกศาเป็นแถบเส้นขนาดเล็ก พระกรรณยาวลงมาเกือบจรดพระอังสา ครองอุตราสงค์เรียบห่มเฉียงพระอังสาซ้าย สังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยม ชายสังฆาฏิเป็นรูปหางปลายาวเกือบจรดพระนาภี มีรัดประคดคาดทับอันตรวาสกเป็นเส้นแถบขนานโค้งลงด้านหน้าตรงกึ่งกลางหยักแหลมเล็กน้อย อันเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลสืบทอดมาจากศิลปะสุโขทัย ชายอันตรวาสกคลุมเหนือข้อพระบาททั้งสองข้าง และชายอุตราสงค์พาดคลุมทับอันตรวาสกเหนือขึ้นมาเล็กน้อย พระบาททั้งสองข้างซ้อนเสมอกัน จากรูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุเบื้องต้นได้ราวสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕) ด้านทิศตะวันออกของภาพสลักรูปพระพุทธไสยาสน์มีถ้ำหินทรายขนาดเล็ก ที่ปากถ้ำฝั่งตรงข้ามปรากฏภาพสลักลายเส้นเป็นรูปต้นไม้ และดอกไม้ที่มีกลีบดอกโค้งลง ส่วนภายในคูหาถ้ำที่ผนังหินด้านในสุด ความสูงจากพื้นขึ้นไปประมาณ ๒ เมตร ปรากฏภาพสลักนูนต่ำโกลนพระพุทธรูปประทับนั่งในพระอิริยาบถแบบวีราสนะหรือขัดสมาธิราบ แสดงธยานมุทรา ท่วงท่าแห่งการทำสมาธิ การหลุดพ้นของจิตสู่นิพพานหรือการตรัสรู้ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๕ เซนติเมตร ความสูง ๕๐ เซนติเมตร ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบที่นิยมในศิลปะลพบุรี พระขนงเป็นเส้นนูนต่อกันพระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกเล็กโด่ง ขอบพระโอษฐ์ค่อนข้างหนา ยังไม่มีการสลักลายละเอียดของพระศก มีพระเกตุมาลาซ้อนกัน ๒ ชั้น พระกรรณยาวสวมกุณฑล ไม่ปรากฏรายละเอียดของการครองไตรจีวร เมื่อพิจารณาภาพสลักพระพุทธไสยาสน์บนเพิงผาเขาตะเภาโดยละเอียดพบว่า มีแบบแผนการไสยาสน์แตกต่างไปจากรูปพระพุทธไสยาสน์ที่สร้างขึ้นตามความเชื่อในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ซึ่งได้กล่าวถึงพระอิริยาบถการไสยาสน์ในห้วงเวลาปกติของพระพุทธองค์ว่า ทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา (ตะแคงขวา) ซ้อนพระบาทเหลื่อมด้วยพระบาท และเป็นการบรรทมแบบ “อุฏฐานสัญญา” มีพระสติสัมปชัญญะตั้งสัญญาในอันที่จะลุกขึ้นไว้ในจิต แม้ขณะที่เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงใกล้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานก็ทรงสำเร็จสีหไสยา และเป็นการบรรทมแบบ “อนุฎฐานไสยา” ที่มี พระสติสัมปชัญญะตั้งสัญญาว่าจะเป็นการนอนที่ไม่มีการลุกขึ้น หรือเป็นการนอนครั้งสุดท้าย โดยอ้างอิงจาก พระมหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค ซึ่งกล่าวถึง พระอิริยาบถการไสยาสน์ของพระพุทธเจ้าในช่วงระยะเวลาสำคัญแห่งวันดับขันธ์ปรินิพพานไว้ ๒ เหตุการณ์ ดังนี้ ๑. เรื่อง ปุกกุสะ มัลลบุตร มีข้อความว่า “ ... พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปยังแม่น้ำกกุธา เสด็จลงสรงในแม่น้ำกกุธา ทรงดื่มแล้วเสด็จขึ้นไปยังอัมพวัน รับสั่งเรียก ท่านพระจุนทกะมาตรัสว่า “ จุนทกะ เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก ท่านพระจุนทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ปูผ้าสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงกำหนดพระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น ส่วนท่านพระจุนทกะนั่งเฝ้าอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคในที่นั้น...” ๒. เสด็จไปยังควงไม้สาละทั้งคู่ มีข้อความว่า “ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียก ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะข้ามไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา แล้วรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านศีรษะไปทางทิศเหนือ เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านพระเศียรไปทางทิศเหนือ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงสติสัมปชัญญะฯ...” พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า “การสำเร็จสีหไสยา” หมายถึง การนอนตะแคงขวาวางเท้าซ้อนกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการลุกขึ้นไว้ในใจ ประดุจดังการนอนของราชสีห์ที่นอนตะแคงขวา วางเท้าหน้า เท้าหลังทั้งคู่ และเก็บหางไว้ระหว่างขาอ่อนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงวางศีรษะนอนลงบนสองเท้าหน้า การนอนในอิริยาบถนี้แม้นอนตลอดทั้งวัน เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะไม่สะดุ้งหวาดกลัว และสามารถตรวจดูเท้าหน้าทั้งคู่ของตน ให้ไม่เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม ซึ่งเป็นอิริยาบถที่สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญตามชาติกำเนิดของตน เป็นผู้มีจิตใจยินดี และร่าเริง แล้วจึงลุกขึ้นบิดกายแสดงอาการหาว สะบัดขนสร้อยคอ และบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงออกไปแสวงหาอาหาร การนอนแบบสีหไสยานี้เป็นอิริยาบถอันอุดมด้วยเดช ซึ่งตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ระบุว่า สีหไสยาเป็นพระอิริยาบถการนอนของพระพุทธองค์ และภิกษุตามธรรมวินัยในมัชฌิมยามแห่งราตรี การอธิบายแบบแผนการไสยาสน์ที่ปรากฏในภาพสลักพระพุทธไสยาสน์บนเพิงผาเขาตะเภาซึ่งแตกต่างออกไป ได้แก่ พระอิริยาบถการไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องซ้าย (ตะแคงซ้าย) หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ โดยการอ้างอิงจากข้อมูลการรวบรวมและศึกษาพระพุทธไสยาสน์ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ ของ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธไสยาสน์ ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงซ้าย หันพระพักตร์ไปทิศเหนือและพระเศียรไปทางทิศตะวันตกไว้ว่า อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ปรากฏในคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งพระมหานามเถระ พระเถระในลังกาทวีป รจนาขึ้นเป็นภาษาบาลี และ คณะบัณฑิตรจนาเพิ่มเติมจนจบในระหว่าง พ.ศ. ๑๐๐๒-๑๐๒๐ ที่มีรายละเอียดกล่าวถึง เหตุการณ์ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไว้ในวชยาภิเษก ปริเฉทที่ ๗ ว่า “...อันว่าสมเด็จพระราชกุมาร อันทรงพระนามชื่อ พระวิชยราโชรส ผู้กอปรด้วยพระปัญญาอัชฌาสัยมั่นคงมิได้จุลาจล อธิบายว่า ทรงซึ่งสุรภาพแกล้วหาญแลพระกำลังแลความเพียร เสด็จไปถึงตามพบัณณประเทศในเกาะลังกา ในวันเสด็จพุทธไสยาสน์แห่งสมเด็จพระบรมครูเจ้า อันมีพระพักตร์บ่ายไปข้างอุดรทิศแลพระเศียรบ่ายไปข้างปาจินทิศ ด้วยทรงมนสิการเป็นอนุฏฐานไสยาสน์ ในพระบวรพุทธาอาสน์อันประเสริฐ เป็นที่สุด มิได้อุฏฐาการจากที่นี้ เพื่อจะเสด็จปรินิพพานด้วยนิพพานธาตุ อันหาวิบากขันธ์แลกรรม มัชรูป จะมีเศษมิได้ ในระหว่างคู่รังรุกขชาติ อันอาจให้เกิดจิตรพิศวง ด้วยความชื่นชมแก่นิกรน รนราอันมาถึงที่ใกล้ในร่มรัง รุกขชาติดรุณ กอปรด้วยคุณผุลลิตาทิดิเรกบุปผบูชาอันมีในสาลยุคลคณารุกขชชาตินั้น อันว่าปริจเฉทเป็นคำรบหก ชื่อ วิชยาคมบริเฉท อันมีในคัมภีร์พระมหาวงษ์อันพระมหานามเถรรจนาไว้ ...” คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปฉบับนี้เผยแผ่เข้ายังสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และในสมัยอยุธยาคงมีการแปลคัมภีร์มหาวงศ์ออกเผยแพร่ แต่ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานฉบับแปลที่ระบุศักราช แน่ชัด อีกทั้งในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) เป็นผู้ชำระคัมภีร์มหาวงศ์ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ทำให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ลังกา เรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปแพร่หลายมาเป็นพื้นฐานผสมผสานจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในด้านความเชื่อทางศาสนาของสังคมไทย ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าภาพสลักพระพุทธไสยาสน์บนเพิงผาเขาตะเภา จังหวัดลพบุรี เป็นภาพพระพุทธไสยาสน์ที่สร้างขึ้นตามคัมภีร์และคติความเชื่อทางพุทธศาสนาจากลังกาทวีป แสดงถึงห้วงเวลาแห่งกาลดับขันธ์ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงมีพระกำหนด “อนุฏฐานไสยา”การบรรทมครั้งสุดท้ายที่ไม่มีการลุกขึ้นอีก ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา นอกจากนี้จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า การสร้างพระพุทธไสยาสน์ แสดงพระอิริยาบถไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องซ้าย (ตะแคงซ้าย) มีการสร้างมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) เช่น พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว จังหวัดกาฬสินธุ์ และในสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕) พบในวัดวาอารามหลายแห่ง เช่น พระพุทธไสยาสน์ วัดบางเตย กรุงเทพมหานคร, พระพุทธไสยาสน์ วัดใหญ่นครชุมน์ จังหวัดราชบุรี, พระพุทธไสยาสน์ วัดน้ำคอกเก่า จังหวัดระยอง, พระพุทธไสยาสน์ วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี เป็นต้น ผู้เรียบเรียง : นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี หนังสืออ้างอิง : - กรมศิลปากร , กองโบราณคดี . ทำเนียบพระพุทธไสยาสน์ในภาคตะวันออก . กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , ๒๕๕๙ - กรมศิลปากร , วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑ . กรุงเทพฯ : ไทยพรีเมียร์ พริ้นติ้ง , ๒๕๓๔ - ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ , ประทีป เพ็งตะโก และพิรักษ์ ชวนะเกรียงไกร . “เขาตะเภา ลพบุรี : แหล่งวัตถุดิบ และแหล่งผลิตพระพุทธรูปหินทรายสมัยลพบุรีและอยุธยา ” นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๓๑ เล่มที่ ๒ , ๒๕๓๐ - พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] ว่าด้วยมหาปรินิพพาน . โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม ๑๐ หน้า ๑๔๕, ๑๔๗ และ ๑๔๘ ในเว็บไซต์ 84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=p148 เข้าถึงเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖




Messenger