ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,421 รายการ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันมหิดล 24 กันยายน”
วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทยมาตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศในกาลต่อมา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้ขนานนามวันสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และน้อมรำลึกต่อพระองค์ท่าน
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระองค์เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระราชอัยกาในพระบาทสมเด็จพระ วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงศึกษา วิชาทหารเรือ ที่เยอรมนี แล้วเสด็จกลับมารับราชการทหารเรือ ต่อมาทรงมีอาการประชวรไม่สามารถรับราชการหนักได้ ประกอบกับทรงสนพระทัยด้านการแพทย์ จึงทรงอุตสาหะเสด็จไปศึกษาวิชาสาธารณสุขและวิชาการแพทย์ ณ สหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทย พระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณ๊ยกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมากมาย ได้แก่ ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จัดสร้างตึกคนไข้และจัดหาที่พักสำหรับพยาบาล ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนให้นักศึกษาแพทย์และพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ ประทานเงินเพื่อจัดหาเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาล ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ สาขาเอเชียบูรพา ในการปรับปรุงและวางมาตรฐานการศึกษา และทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์และการสาธารณสุขไทย”
หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน
ในปี พ.ศ. 2493 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ผู้ที่ได้รับทุนของพระองค์ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ผู้ที่เคยได้รับพระมหากรุณาในประการอื่นๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้น โดยประดิษฐานไว้ ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมเกล้าถวายความกตัญญูกตเวที ด้วย สำนึกในพระเมตตาคุณของพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย ได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งพระราชานุสาวรีย์นี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมครั้งแรกเมื่อปี 2517 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสร้างรากฐานและบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อให้ถาวร สง่างามและสมพระเกียรติยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์เมื่อวันที 24 เมษายน พ.ศ. 2493
หลังจากนั้น 1 ปี วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 นักศึกษาแพทย์ได้ริเริ่มจัดงานเป็นครั้งแรก เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต และได้ขนานนามวันสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และน้อมรำลึกต่อพระองค์ท่าน และนับตั้งแต่ปี 2494 เป็นต้นมา ทุกวันที่ 24 กันยายน จะเป็นวันมหิดล มีกิจกรรมที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ณ พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ภายในโรงพยาบาลศิริราช มีพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระรูป พร้อมทั้งอ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เป็นประจำทุกปี
อ้างอิง : แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#องค์ความรู้
#วันมหิดล
#พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย
#พระบิดาแห่งการแพทย์และการสาธารณสุขไทย
#สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก
#โรงพยาบาลศิริราช
#การแพทย์
#การสาธารณสุข
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร
#สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี
#กรมศิลปากร
#กระทรวงวัฒนธรรม
กรมศิลปากร มั่นใจรับมือน้ำท่วมโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้ โดยวัดไชยวัฒนารามได้กั้นแนวกันน้ำเพิ่มสูงกว่าแนวที่กั้นน้ำท่วมปี ๒๕๕๔ ส่วนโบราณสถานขนาดใหญ่ที่แช่น้ำเป็นโบราณสถานที่บูรณะแล้ว จึงเป็นอิฐใหม่ หลังน้ำลดจะสำรวจสภาพ สกัดและเปลี่ยนอิฐที่เสื่อมสภาพ สำหรับโบราณสถานในส่วนที่ยังไม่ได้รับการบูรณะจะใช้วิธีค้ำยัน ป้องกันการพังทลาย และจะมีโครงการสำรวจเพื่อหาแนวทางบูรณะภายหลังน้ำลดโดยเร็วต่อไป
นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า นายพนมบุตร จันทรโชติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อโบราณสถานและรายงานให้ทราบเป็นระยะนั้น สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ได้รายงานสรุปสถานการณ์ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๕ จากการที่ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ระดับน้ำบริเวณหน้าโบราณสถานวัดไชยวัฒนารามมีระดับต่ำกว่าระดับน้ำท่วมในปี ๒๕๕๔ อยู่ ๔๕ เซนติเมตร ประกอบกับเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักจะระบายน้ำในปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะสูงขึ้น ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร จึงเตรียมการรับมือ ดังนี้
๑. ในพื้นที่เกาะเมืองขณะนี้ทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาได้ทำคันป้องกันน้ำ ซึ่งจะสามารถป้องกันโบราณสถานในเกาะเมืองได้เกือบทั้งหมด จะมีเพียงป้อมเพชรและรหัสวิดน้ำในพระราชวังโบราณเท่านั้นที่ถูกน้ำท่วม (โบราณสถานสำคัญของอุทยานฯ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมือง)ป้อมเพชร
๒. พื้นที่นอกเกาะเมือง เป็นพื้นที่ที่โบราณสถานได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยพื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือและบริเวณริมลำน้ำ มีโบราณสถานได้รับผลกระทบแล้ว จำนวน ๖๗ แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงไว้แล้ว ถูกน้ำแช่ขังได้โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างความมั่นคงของโบราณสถาน จะมีความเสียหายบ้างในเรื่องการชำรุดเล็กน้อยของวัสดุ เช่น อิฐผุกร่อน เปื่อยยุ่ย ซึ่งสามารถสกัดเปลี่ยนได้ (อิฐผิวนอกของโบราณสถานส่วนใหญ่เป็นอิฐใหม่ที่สกัดเปลี่ยนเมื่อครั้งบูรณะ) ส่วนโบราณสถานที่ถูกน้ำท่วมในพื้นที่น้ำไหลหรือมีคลื่นที่จะมากระทบตัวโบราณสถาน เช่น ป้อมเพชร ได้มีการใช้แนวรั้วโบราณสถานและไม้ไผ่ผูกเป็นทุ่นลดแรงจากกระแสน้ำและคลื่นที่จะมากระทบตัวโบราณสถาน สำหรับโบราณสถานที่ยังไม่ได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคง ได้ตั้งนั่งร้านเสริมความมั่นคงไว้แล้ว ขณะนี้ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบโบราณสถานอยู่เป็นประจำ ในภาพรวมแล้วอุทกภัยครั้งนี้จะไม่ทำความเสียหายกับโบราณสถานในด้านโครงสร้าง (ไม่ทำให้โบราณสถานพังทลาย) แต่จะเกิดความเสียหายกับวัสดุก่อสร้างซึ่งสามารถบูรณะฟื้นฟูได้ โดยภายหลังน้ำลดจะเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อดำเนินการบูรณะเสริมความมั่นคงต่อไป
๓. โบราณสถานสำคัญนอกเกาะเมือง ได้ร่วมกับทางวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการป้องกันน้ำ ดังนี้
- วัดไชยวัฒนารามได้เตรียมการป้องกันขั้นสูงสุด โดยการต่อแผงกันน้ำด้านหน้าวัด เสริมกระสอบทรายบนแนวกำแพงด้านทิศใต้ของวัดและปั้นคันดินบนแนวถนนทางด้านทิศเหนือของวัด โดยจะสามารถป้องกันน้ำได้อีก ๖๕ เซนติเมตร (สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี ๒๕๕๔ อยู่ ๒๐ เซนติเมตร)วัดไชยวัฒนาราม
- วัดธรรมารามได้เตรียมการป้องกันขั้นสูงสุด โดยการเสริมแนวกระสอบทรายด้านหน้าและด้านข้างวัดซึ่งจะทำให้สามารถป้องกันน้ำได้อีก ๔๕ เซนติเมตร (เท่ากับระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี ๒๕๕๔)
- โบราณสถานสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะโบราณสถานที่เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาและวัดที่อยู่กลางชุมชน เช่น วัดพุทไธสวรรย์ วัดศาลาปูน วัดพนัญเชิง ได้ประสานกับวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันน้ำท่วมไว้แล้ว ซึ่งจะมีการเสริมความสูงของแนวป้องกันน้ำตามระดับน้ำที่สูงขึ้นวัดเชิงท่า
นอกจากนี้ สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ได้รับรายงานว่าพนังกั้นน้ำจุดวัดปราสาท อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แตกส่งผลให้น้ำไหลท่วมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี วัดโบสถ์ และพื้นที่โดยรอบ ในเบื้องต้นได้เคลื่อนย้ายโบราณวัตถุทั้งหมดไปเก็บรักษาบนชั้น ๒ รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้า เหลือเพียงตู้ โต๊ะ ชั้นแท่นฐานขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ทัน และขณะนี้ระดับน้ำเพิ่มระดับสูงอย่างต่อเนื่อง จึงขอปิดให้บริการเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์น้ำจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ชื่อเรื่อง อาการวตฺตสุตฺต(อาการวัตตสูตร)
สพ.บ. อย.บ.4/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวด
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 40/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
องค์ความรู้เรื่อง เทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทสมัยรัชกาลที่ ๕ ในความทรงจำของมิสแมรี โลวีนา คอร์ต มิชชันนารีชาวอเมริกัน
นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ
นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ค้นคว้าเรียบเรียง
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 135/1เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 171/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 7/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.3 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 50/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 9/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 80 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เปิดเบื้องหลังการอนุรักษ์ ภาพร่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ (รัชกาลที่ 6) เมื่อ พ.ศ. 2454 วาดโดย กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) ซึ่งทำการอนุรักษ์และจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
การอนุรักษ์ภาพร่างจิตรกรรมฯ ของ กาลิเลโอ คินี เปิดให้เข้าชม ทุกวันพุธ – อาทิตย์ เวลา 10.00 – 15.00 น. (นักอนุรักษ์เข้าทำงานระหว่างวันพุธ – ศุกร์ โปรดโทรศัพท์สอบถามล่วงหน้า เนื่องจากนักอนุรักษ์อาจไม่ได้เข้าทำงานทุกวัน)
หากคณะหรือกลุ่มใดต้องการวิทยากรนำชม สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 0 2281 2224 (ในวันทำการ วันพุธ – อาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น.)
ชื่อผู้แต่ง โหราทิตย์
ชื่อเรื่อง วิธีตรวจโชคชะตา แบบกร๊าฟชีวิตพร้อมด้วยทักษาและมหาทักษา
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ธนบุรี
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสมิทธิ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๒
จำนวนหน้า ๒๑๔ หน้า
รายละเอียด
ตำรากร๊าฟชีวิต รวบรวมทั้งคำพยากรณ์แบบทักษาและมหาทักษา เพื่อจะได้ใช้เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน และเป็นการเผยแพร่ความรู้โดยทั่วไป โดยวิชาโหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ต้องใช้ความละเอียด สุขุม รอบคอบเป็นพิเศษ และไม่มีหลักฐานใดมาพิสูจน์ได้ นอกเสียจากว่าต้องใช้พิสูจน์ชะตาตัวเองเสียก่อนจึงจะสามารถพิสูจน์ชะตาผู้อื่นได้
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
48/2553
(1/2549)
ชิ้นส่วนฐานของไหเท้าช้าง สีน้ำตาลเข้ม สภาพช้ำรุด น้ำยาเคลือบเสื่อมสภาพ
ส.14
ก.13
ดินเผาเคลือบ
ลพบุรี
ได้จากแหล่งโบราณคดีบ้านดงละคร จ.นครนายก นายจำเนียร ทองจันทร์ มอบให้เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2549
เลขทะเบียน : นพ.บ.473/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161 (183-194) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม