ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,421 รายการ

ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช) สพ.บ.                                  334/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๖.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และ กรมศิลปากร ร่วมสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๕ เป็นปฐมฤกษ์ ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรม พิเศษ สักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล ๒๕๖๕ โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ เป็นประธาน พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปมงคลโบราณอีก ๙ องค์ ซึ่งมีตำนานการสร้างและนามอัน เป็นสิริมงคล มาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา เพื่ออำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ รวมทั้งจัดนิทรรศการพิเศษขนาดเล็กให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและรูปแบบทางศิลปกรรม ของพระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ประกอบด้วย          พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย - ล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑           พระพุทธรูปปางประทานพร ศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละ พุทธศตวรรษที่ ๑๔           พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘           พระอมิตายุส ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑           พระพุทธรูปปางฉันสมอ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔           พระหายโศก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑           พระพุทธรูปปางห้ามญาติ (ปางประทานอภัย) ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐           พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒           พระชัยเมืองนครราชสีมา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓           พระชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔          ขอเชิญพุทธศาสนิกชนสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวร สถานพุทธปฏิมามงคล ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ          ทั้งนี้ กรมศิลปากร ได้มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) โดยตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา บริการเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ ที่มีการสัมผัสบ่อย พร้อมทั้งขอความร่วมมือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA และ Covid Free Setting


เลขทะเบียน : นพ.บ.160/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 96 (27-34) ผูก 8 (2565)หัวเรื่อง : ปริวารปาลิ(ปาลีปริวาน) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.45/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ข/1-16  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (มทฺรี-นครกัณฑ์)  ชบ.บ.990/1-13  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.346/1ฆห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 134  (370-377) ผูก 1ฆ (2565)หัวเรื่อง : นิพฺพานสุตฺต (นิพพานสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


      ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน ๔ ใบ พบจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยคณะสำรวจไทย – เดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๐๕ เดิมจัดแสดงและเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ปัจจุบันเคลื่อนย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี      ภาชนะดินเผาเหล่านี้พบภายในหลุมฝังศพร่วมกับโครงกระดูกโดยวางไว้ในตำแหน่งต่างกัน ร่วมกับสิ่งของอื่น ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ สันนิษฐานว่าเป็นของอุทิศให้แก่ผู้ตายในพิธีกรรมการฝังศพ กำหนดอายุในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่หรือสมัยสังคมเกษตรกรรม ประมาณ ๓,๓๐๐ – ๓,๘๐๐ ปีมาแล้ว      ภาชนะดินเผาใบที่ ๑ พบที่หลุมฝังศพหมายเลข ๑๐ ร่วมกับภาชนะดินเผาอื่นๆ บริเวณเหนือศีรษะของโครงกระดูก ขนาดปากกว้าง ๑๑.๓ เซนติเมตร สูง ๑๘ เซนติเมตร มีปากกลม ขอบปากบานออก คอทรงกระบอกสั้น ตรงรอยต่อระหว่างคอกับไหล่มีขอบยกขึ้นมาเล็กน้อย ลำตัวส่วนบนป่องส่วนล่างโค้ง ลำตัวส่วนล่างและก้นมีลายเชือกทาบ ผิวสีดำ       ภาชนะดินเผาใบที่ ๒ พบที่หลุมฝังศพหมายเลข ๔๔ ขนาดปากกว้าง ๒๒.๕ เซนติเมตร สูง ๒๑ เซนติเมตร มีรูปทรงคล้ายนาฬิกาทราย ปากกลมกว้างบานออก ขอบปากหนา ตัวภาชนะเป็นทรงกรวย มีฐานเป็นรูปทรงกรวยเช่นเดียวกับลำตัว มีรอยต่อระหว่างตัวกับฐาน ส่วนฐานตกแต่งด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง ๒ เส้นขนานกัน และตกแต่งพื้นที่ระหว่างเส้นโค้งด้วยลายกดประทับ      ภาชนะดินเผาใบที่ ๓ พบที่หลุมฝังศพหมายเลข ๓๕ บริเวณเท้าของโครงกระดูก ขนาดปากกว้าง ๒๙ เซนติเมตร สูง ๒๖.๕เซนติเมตร มีปากกลมกว้าง ขอบปากหนางุ้มเข้า ลำตัวทรงกรวย มีก้านทรงกระบอกเชื่อมต่อระหว่างส่วนลำตัวกับฐาน ส่วนฐานเป็นทรงกรวยเหมือลำตัว ผิวภาชนะสีน้ำตาลแดง      ภาชนะดินเผาใบที่ ๔ พบที่หลุมฝังศพหมายเลข ๑๕ บริเวณเท้าของโครงกระดูก ขนาดปากกว้าง ๑๙.๓ เซนติเมตร สูง ๑๕ เซนติเมตร มีปากกลมกว้าง ขอบปากผายออก คอสั้นทรงกระบอก ก้นกลม คอและส่วนบนของลำตัวตกแต่งด้วยลายเส้นไขว้กันไปมา       ภาชนะเหล่านี้เป็นตัวอย่างรูปแบบภาชนะจำนวนหนึ่งที่พบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า ภายในแหล่งเดียวกันนี้ยังพบภาชนะดินเผารูปแบบอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยมีภาชนะรูปแบบเด่นคือ ภาชนะดินเผาสามขา ภาชนะมีคอและเชิงสูง และภาชนะทรงชามหรือถาดก้นลึก แสดงถึงความก้าวหน้าในการผลิตภาชนะดินเผาของผู้คนในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว       กรมศิลปากรได้รวบรวมและเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเก่า ซึ่งเก็บรักษาและจัดแสดง ณ แหล่งโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ทำให้ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุในวัฒนธรรมบ้านเก่าที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด  นอกจากนั้นยังมีการขุดค้นและดำเนินงานทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง สามารถเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ที่โรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และกรมศิลปากรยังมีโครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่าขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย ของนักวิชาการด้านโบราณคดี ทำให้ความรู้ทางวิชาการโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเก่าดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านงานโบราณคดี กับองค์ความรู้ด้านต่างๆ เข้าด้วยกันแบบสหวิชาการ   เอกสารอ้างอิง สุด แสงวิเชียรและวัฒนา สุภวัน. เครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำเขาสามเหลี่ยม กาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๒๑. สุภมาศ  ดวงสกุลและคณะ. ฐานข้อมูลโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเก่า. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุเนตร์ฟิล์ม, ๒๕๕๒.  Per Sørensen. Archaeological excavations in Thailand: volume II Ban-Kao neolithic settlements with cemeteries in the Kanchanaburi province. Part one : the archaeological material from the burials.  Copenhagen : Munksgaard, 1967.


ชื่อผู้แต่ง            รามเกียรติ์ ชื่อเรื่อง              รามายณ ของ พรหมฤษี  วาลมีกิ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์       พระนคร สำนักพิมพ์         โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์             ๒๕๑๔ จำนวนหน้า         ๓๒๒  หน้า หมายเหตุ           ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ขึ้นพระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ป.จ. , ม.ป.ช. , ม.ว.ม.                           รามายณ ของ พรหมฤษี วาลมีกิ นายสุภร  ผลวีวิน  เรียบเรียง เป็นโคลงด้น ทูนเกล้าถวายในโอกาสเฉลิมพระชนพรรษาในพุทธศักราช ๒๕๑๓ นายสุภร ถ่ายแต่งขึ้นเป็นโคลงยืดยาวไพเราะ เป็นชิ้นสำคัญทางวรรณดีอันหนึ่ง ด้วยวัฒนธรรมอเรยะของอินเดีย ได้แผ่เข้ามาแพร่หลายอยู่ในเมืองไทย เรื่องพระรามนี้รู้จักกันแพร่หลายไม่แต่ในเมืองเราหากเป็นที่จับใจแก่ชนชาติในเอเซียอาคเนย์ และมีประโยชน์ในอันที่จะให้เราได้เปรียบเทียบวรรณคดี อินเดียกับเรื่องรามเกียรติ์ของเราได้


เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ริเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) กระทั่งแล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เมื่อพ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้กระทรวงเกษตราธิการพิจารณาวางโครงการชลประทานในลุ่มน้ำภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยให้สร้างเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อทดน้ำเข้าทุ่งนา กรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการประมาณการว่าต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท แต่เนื่องจากขณะนั้นต้องนำเงินงบประมาณไปใช้บริหารจัดการด้านอื่นก่อน จึงเหลือเพียงโครงการรักษาน้ำในที่ลุ่ม ต่อมา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดฝนแล้งถึงสองปีติดต่อกัน ทำให้การทำนาและการเพาะปลูกไม่ได้ผล เกิดสถานการณ์ข้าวยากหมากแพง ราษฎรเดือดร้อน กรมทดน้ำจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานโครงการสร้างเขื่อนเจ้าพระยา แต่ด้วยขณะนั้นรัฐบาลกำลังดำเนินการโครงการก่อสร้างเขื่อนป่าสักใต้และโครงการอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว และประจวบกับเกิดเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 โครงการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาจึงต้องระงับไว้ พ.ศ. 2491 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตราธิการ ได้เสนอโครงการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาอีกครั้ง รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ได้เจรจาขอกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อเป็นเงินทุนซื้อเครื่องจักรและเครื่องมือในการก่อสร้าง และใช้เงินงบประมาณของประเทศสำหรับเป็นค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้างที่ผลิตได้ภายในประเทศ งบประมาณโครงการรวม 1,160 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างต้นปี พ.ศ. 2495 โครงการชลประทานเขื่อนเจ้าพระยา ประกอบด้วย การสร้างเขื่อนระบายและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ประตูน้ำ ช่องลัดซึ่งเป็นทางน้ำใหม่ ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม มีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง มีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 300 กิโลวัตต์ เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร สามารถส่งน้ำเข้าคลองชลประทานไปยังพื้นที่นาและพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 5,700,000 ไร่ มีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินเพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาแล้วเสร็จปลายปีพ.ศ. 2499 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพายา จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยมีพระราชดำรัสว่า “ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมในพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยาในวันนี้ ประเทศของเราเป็นประเทศกสิกรรม ทั้งข้าวก็เป็นอาหารหลักของประชาชนพลเมือง การอยู่ดีกินดีของอาณาประชาราษฎร์และความสมบูรณ์มั่งคั่งของประเทศยังต้อง อาศัยอยู่กับการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกข้าวในภาคกลางนี้ รัฐบาลของเราทุกยุคทุกสมัย ดังที่นายกรัฐมนตรีแถลงมา ได้เล็งเห็นความสำคัญและสนใจในการทำนุบำรุงประเทศโดยการที่จะสร้างโครงการชลประทานเพื่อส่งเสริมช่วยการเพาะปลูกและการทำนาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงเป็นที่น่ายินดียิ่งนักที่เขื่อนเจ้าพระยา อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการชลประทานที่ได้ดำริกันมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นอันก่อสร้างสำเร็จลงได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นหลักพยานอันหนึ่งถึงความเพียรพยายามที่จะดำเนินการอันจะก่อประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติอันดีของคนไทย... ...ได้เวลาแล้วข้าพเจ้าจะได้กระทำพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา ขอให้เขื่อนเจ้าพระยานี้จงสถิตอยู่ด้วยความมั่นคงถาวร ได้อำนวยบริการแก่ประเทศชาติและเพิ่มพูนประโยชน์แก่กสิกรต่อไปอย่างไพศาล สมตามปณิธานที่ได้ก่อสร้างขึ้นนั้นทุกประการ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุก ๆ คนทั่วกัน” ผู้เรียบเรียง : นางสาวดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ คณะทำงานองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ -------------------------------- อ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (3) สร0201.30.1/2 เรื่อง การออกแบบรายละเอียดเขื่อนเจ้าพระยา (5 กันยายน 2493 – 6 มกราคม 2497) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (3) สร0201.30.1/9 เรื่อง พิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา (17 สิงหาคม 2499 – 4 กุมภาพันธ์ 2500) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มท 0201.2.1.28/69 เรื่อง รัฐพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา (พ.ศ. 2500) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ ฉ/ท/318, ฉ/ท/343 ภาพพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างเขื่อนเจ้าพระยา หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ภ หจภ (3) กษ1.1/1, ภ หจภ (3) กษ1.1/65, ภ หจภ (3) กษ1.2/1,3 ภาพเขื่อนเจ้าพระยา หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. สไลด์ส่วนบุคคล นายสุทัศน์ พัฒนสิงห์ ฟ หจภ สบ1.1/842 ภาพเขื่อนเจ้าพระยา #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจดหมายเหตุ




จดหมายเหตุ : เล่าอดีต ฟื้นฟูประเพณีวันตรุษสงกรานต์ ณ ศาลากลางจันทบุรี พ.ศ.๒๔๙๒ . “ตรุษ” แปลว่า ตัดหรือขาด คือตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี หมายถึงวันสิ้นปีที่ผ่านไปแล้ว “สงกรานต์” แปลว่า การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ จากหนังสือพิธีกรรม (พ.ศ.๒๔๙๒) โดยแปลก สนธิรักษ์ ได้กล่าวถึงตำนานความเป็นมาและกิจกรรมของพิธีตรุษสงกรานต์ในอดีตว่า ก่อนจะถึงวันตรุษสงกรานต์ ผู้คนจะเตรียมหาเครื่องแต่งตัวไว้แต่งประกวดประชันกัน ใครมีเครื่องประดับอะไรก็เอามาแต่งกันจนหมดสิ้นในวันนั้น นอกจากนี้ก็เตรียมหาของทำบุญ บางพวกก็ประชุมรื่นเริงร้องรำกันไปตามถนัด “ฤดูเดือนห้าหน้าคิมหันต์ พวกมนุษย์สุดสุขสนุกครัน ได้ดูกันพิศวงเมื่อสงกรานต์ ทั้งผู้ดีเข็ญใจใส่อังคาส อภิวาทพุทธรูปในวิหาร ล้วนแต่งตัวทั่วกันวันสงกรานต์ ดูสคราญเพริดพริ้งทั้งหญิงชาย” ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๑ กระทรวงมหาดไทยเห็นควรให้ฟื้นฟูประเพณีการทำบุญและการรื่นเริงในวันตรุษสงกรานต์ เพื่อก่อให้เกิดสามัคคีธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยให้ทุกจังหวัดรายงานว่าประเพณีตรุษสงกรานต์ที่เคยปฏิบัติกันมาในท้องถิ่น ปฏิบัติกันอย่างไรบ้าง และมีพิธีใดบ้างที่เสื่อมสูญไป ซึ่งในส่วนของอำเภอมะขามได้รายงานว่าคงเหลือการเล่นสะบ้าดีด และที่เลิกไปแล้วคือ การเล่นสะบ้าทอย, การเล่นโยนหลุม และการเล่นปากอง . จังหวัดจันทบุรี ได้จัดงานฟื้นฟูประเพณีฉลองวันตรุษสงกรานต์ พ.ศ.๒๔๙๒ มีกำหนดจัดงานในวันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน รวม ๓ วัน ดังนี้วันที่ ๑๓ เมษายน เชิญพระพุทธรูปประจำจังหวัดออกประดิษฐานยังหน้ามุขศาลากลางจังหวัด และพระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ ช่วงบ่าย มีการละเล่นต่างๆ เช่น สะบ้าล้อ, สะบ้าทอย, ตะกร้อลอดตาข่าย และวิ่งวัวคน ช่วงกลางคืน มีมหรสพ วันที่ ๑๔ เมษายน ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ๕๐ รูป หน้าศาลากลางจังหวัด ช่วงบ่าย มีการละเล่นพื้นเมือง และช่วงกลางคืน มีมหรสพ วันที่ ๑๕ เมษายน ช่วงบ่าย มีการรื่นเริงและพบปะคารวะระหว่างครอบครัว ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยได้ส่งเงินช่วยเหลือการจัดงานมาให้จังหวัดละ ๑,๐๐๐ บาท . ผู้เขียน นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ------------------------------ เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๔/๓๗๔ เรื่องงานฟื้นฟูประเพณีฉลองวันตรุษสงกรานต์ พ.ศ.๒๔๙๒ (๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๑ – ๒ สิงหาคม ๒๔๙๒). แปลก สนธิรักษ์. ๒๔๙๒. พิธีกรรม ว่าด้วยประเพณีและพิธีต่างๆ ทั้งในสมัยโบราณและปัจจุบัน. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.


          กรมศิลปากร ได้พัฒนาและขับเคลื่อนภารกิจงานด้านมรดกวัฒนธรรมของชาติ ไม่ว่าจะเป็นงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ งานด้านภาษา เอกสารและหนังสือ งานนาฏศิลป์และดนตรี งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรม รวมถึงนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงาน ทั้งการให้บริการและการเผยแพร่ผลงานของกรมศิลปากรในทุกด้าน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ทางวิชาการผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ยูทูบ อินสตราแกรม รวมทั้งยังได้จัดทำ LINE OFFICIAL ของกรมศิลปากร เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้มรดกศิลปวัฒนธรรม และการบริการของกรมศิลปากรได้ง่ายยิ่งขึ้น          ขอเชิญติดตามข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากรผ่านทาง LINE OFFICIAL เพียงเพิ่มเพื่อน โดยสแกน QR CODE หรือ ค้นหา ID : @finearts หรือพิมพ์คำว่า กรมศิลปากร ในช่องค้นหาบัญชีทางการ เมื่อเพิ่มเพื่อนแล้ว จะมี “น้องรักษา” พาทุกท่านไปติดตามข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมทุกที่ ทุกเวลา


สวัสดีค่ะทุกท่าน เนื่องด้วยเดือนมิถุนายนนี้เป็นเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ หรือ Pride Month เราจะเห็นชาว LGBTQ+ ออกมาถือธงสีรุ้ง เดินขบวนเฉลิมฉลอง หรือเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศกันตลอดทั้งเดือนนี้ แต่หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า ในพิธีกรรมดั้งเดิมของวัฒนธรรมล้านนา ชาว LGBTQ+ ก็มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพิธีกรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไปได้ วันนี้ พิพิธภัณฑ์ของเราก็ขอตามกระแสนี้ นำเสนอ #องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เรื่อง "ม้าขี่ปู๊เมีย: บทบาทของ LGBT ในพื้นที่พิธีกรรมล้านนา" ขอเชิญทุกท่านมาร่วมอ่านไปพร้อม ๆ กันเลยค่าา******************************************************ความเชื่อเรื่องผี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมอุษาคเนย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เป็นความเชื่อพื้นฐานโบราณของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการเข้ามาของศาสนาต่างๆ จากภายนอก อย่างศาสนาฮินดู พุทธ หรืออิสลาม ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำริห์กุลให้คำจำกัดความว่า ผี คือวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นที่มีอิทธิฤทธิ์พิเศษ และเชื่อว่าการเกิดขึ้นเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ เกิดขึ้นจากฝีมือของผี โดยผีจะกระจายอยู่ทั่วไปในที่ต่างๆ ตั้งแต่ในบ้านเรือน ชุมชน เมือง หรือในสิ่งแวดล้อมที่มีความลี้ลับอย่างป่า ภูเขา แม่น้ำ ฉะนั้นเพื่อให้สมาชิกในสังคมสามารถอยู่ได้อย่างสงบสุขจึงเกิดพิธีกรรมการนับถือผีขึ้น เพื่อสักการะ บูชา หรือแม้แต่เซ่นสังเวยให้ผีพึงพอใจ ขณะเดียวกัน คนก็ต้องมีหลักในการปฏิบัติตนให้ถูกทำนองคลองธรรม ไม่ทำให้ผีโกรธ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อครอบครัวหรือชุมชนจนอาจถึงแก่ชีวิตได้สังคมล้านนาเป็นอีกสังคมหนึ่งที่มีการนับถือผีอย่างเข้มข้นผสมผสานกับการนับถือพุทธศาสนา คนล้านนาจะแบ่งผีออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ผีดี และผีร้าย โดยในกลุ่มผีดีนั้น จะเป็นกลุ่มผีที่คอยปกปักรักษา คุ้มครองคนให้อยู่อย่างเป็นสุข อาทิ ผีปู่ย่า (ผีบรรพบุรุษ) ผีเฮือน (ผีบ้านผีเรือน) ผีเสื้อบ้าน เสื้อเมือง (ผีอารักษ์) ผีเจ้านาย (ผีที่เคยเป็นกษัตริย์หรือราชวงศ์ที่เคยปกครองเมืองหรือแว่นแคว้นใดๆ มาก่อน แล้วเสียชีวิตไปจึงกลายเป็นผี คอยคุ้มครองผู้คนที่ทำความเคารพนับถือ) ส่วนผีร้าย คือ ผีที่ทำร้ายผู้คนให้เจ็บป่วยหรือถึงแก่ชีวิต การเลี้ยงผีดีเพื่อคุ้มครองตนจากผีร้ายจึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนาที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะพบเห็นไม่มากนักในเขตเมืองใหญ่ แต่ยังสามารถพบเห็นการนับถือผีได้ในเขตชนบทนอกตัวเมืองอยู่ทำไมการสืบสายผีของล้านนาจะสืบจากเพศหญิงมากกว่าเพศชาย?เนื่องจากคนล้านนาให้ความเคารพผีมากพอๆกับพระพุทธศาสนา การสืบสายผีโดยเฉพาะผีปู่ย่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านให้ความสำคัญ เนื่องจากผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษนั้นช่วยคุ้มครองไม่ให้สมาชิกในบ้านประสพภัยอันตรายหรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แต่การสืบสายผีปู่ย่านั้นมักจะสืบทอดกันแต่เฉพาะสมาชิกครอบครัวเพศหญิงเท่านั้น วิถี พานิชพันธ์ อาจารย์พิเศษประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ข้อสังเกตว่า สังคมล้านนาในอดีตเพศหญิงจะเป็นใหญ่กว่าเพศชาย โดยผู้หญิงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบ้านเรือน อบรมสั่งสอนบุตรหลาน ตลอดจนทำงานหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงจึงมีความตระหนักในการรับผิดชอบครอบครัวมากกว่าผู้ชาย ที่ถูกอบรมเลี้ยงดูอย่างเป็นอิสระมากกว่า โดยบทบาทของผู้ชายล้านนาในอดีต มักจะทำงานนอกบ้านเป็นหลัก เช่น ทำไร่ ไถนา เข้าป่าล่าสัตว์ เด็กผู้ชายจะบวชเรียนตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเติบใหญ่สึกออกมาแล้วก็จะเรียนรู้การเกี้ยวผู้หญิง เล่นดนตรี หรือบางส่วนก็ออกไปแสวงโชคต่างบ้านต่างเมือง เมื่อผู้ชายและผู้หญิงแต่งงานกัน ฝ่ายชายจะเข้ามาอาศัยในบ้านฝ่ายหญิง ฉะนั้นการมอบหมายหน้าที่ให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายดูแลผีบรรพบุรุษของตนน่าจะมาจากการที่ผู้หญิงถูกผูกติดให้อยู่กับบ้านมากกว่าผู้ชาย จึงมีแนวโน้มว่าสายผีจะมีผู้ดูแลสืบทอดอย่างต่อเนื่องนั่นเองลำดับขั้นตอนการสืบสายผีของคนล้านนานั้นไม่ได้ยุ่งยาก โดยอาจจะเริ่มจากผู้เป็นแม่เป็นเก๊าผี (ต้นสาย) ที่จะส่งมอบความรับผิดชอบในการดูแลหิ้งปู่ย่า (หิ้งสำหรับตั้งของเซ่นไหว้ผีในบ้าน) หรือ หอปู่ย่า (ศาลตายายนอกบ้าน) ให้กับบุตรสาวคนโตเป็นหลัก หากบุตรสาวคนโตไม่สามารถดูแลผีปู่ย่าได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็จะส่งมอบให้บุตรสาวคนเล็กเป็นผู้สืบทอดแทนม้าขี่ คือ อะไร?ม้าขี่ คือ ร่างทรงของผีปู่ย่า ผีเจ้านาย หรือผีอารักษ์ตามคำเรียกของคนล้านนา มีลักษณะแบบเดียวกันกับคนทรงเจ้าในภูมิภาคอื่นของไทย และนัตกะด่อ ซึ่งเป็นร่างทรงของนัตในวัฒนธรรมพม่า จุดประสงค์ของการเป็นม้าขี่ คือ เป็นตัวกลางในการสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างผีกับคนธรรมดาเข้าด้วยกัน โดยส่วนใหญ่ผู้คนนิยมเข้ามาปรึกษาม้าขี่เมื่อมีปัญหาชีวิต ทรัพย์สิน ญาติพี่น้องสูญหาย หรือเจ็บป่วย ผีก็จะให้คำแนะนำผ่านม้าขี่ที่ได้ลงย่ำ (เข้าทรง) ในประวัติศาสตร์ล้านนายังเคยมีการใช้ม้าขี่และผีเจ้านายเป็นข้อต่อรองเงื่อนไขทางการค้า โดยปรากฏเรื่องเล่าว่า ในสมัยเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 7 (พ.ศ. 2416 – 2440) มีกลุ่มชาวจีนรวมตัวกันผูกขาดการต้มเหล้าในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าของกลุ่มเจ้านายในเมืองเชียงใหม่ได้ เจ้าอุบลวรรณา พระขนิษฐาของแม่เจ้าทิพเกสร พระชายาของเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ทำพิธีเป็นม้าขี่ให้ผีเจ้าพ่อ หรือ เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 6 ลงย่ำ เพื่อขู่เตือนมิให้ชาวจีนผูกขาดการต้มเหล้าเป็นอันขาด มิฉะนั้นบุคคลผู้นั้นจะได้รับความเจ็บป่วย รวมถึงอาการป่วยของแม่เจ้าทิพเกสรที่เป็นอยู่เดิมก็จะหนักลงไปอีก ด้วยเหตุนี้ เจ้าอินทวิชยานนท์จึงออกคำสั่งยกเลิกการผูกขาดการต้มเหล้าไปโดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อเรื่องม้าขี่และผีมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนล้านนาในอดีตเป็นอย่างมาก เพราะม้าขี่และผีเป็นเสมือนผู้ชี้นำทิศทางการใช้ชีวิตของบุคคลนั้นๆ หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือเชื่อฟังคำแนะนำอาจจะมีอันเป็นไปได้ ขณะเดียวกัน ตัวม้าขี่ซึ่งเป็นตัวแทนของผีที่ผู้คนให้ความเคารพบูชาก็ควรปฏิบัติตนให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน โดยมีหลักปฏิบัติตนของม้าขี่ที่พึงกระทำ เช่น การไม่สวมเสื้อผ้าสีดำหรือสีเข้มไปงานพิธีต่างๆ การไม่ร่วมรับประทานอาหารหรือร่วมพิธีในงานศพหรืองานอวมงคล การไม่รับประทานผัก ผลไม้ที่เป็นเครือเถา เช่น พืชกลุ่มแตง ฟัก บวบ ผักปลัง ยอดมะพร้าวอ่อน เป็นต้น และม้าขี่ควรเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี เข้าวัดทำบุญ ถือศีล 5 อยู่เสมอ หลักปฏิบัติเหล่านี้เป็นเสมือนข้อบังคับให้ม้าขี่ทุกเพศ ทุกวัยต้องกระทำเช่นเดียวกันหมด นี่จึงเป็นกุศโลบายหนึ่งที่นอกจากจะทำให้ตัวม้าขี่มีความพิเศษกว่าคนธรรมดาทั่วไปแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความน่าเลื่อมใสให้กับตัวม้าขี่เองด้วยม้าขี่ปู๊เมีย คือ อะไร และเริ่มมีบทบาทตอนไหน?คำว่า “ปู๊เมีย” หรือ “ปู๊แม่” ในความหมายของคนล้านนา หมายถึง กะเทย หรือ บุคคลที่มีสองเพศ แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงผู้ชายที่มีจริตออกสาวมากกว่าผู้หญิงที่จริตเป็นชาย หรือที่เรียกตามภาษาปากว่า ทอม ในประเด็นเพศภาพของม้าขี่นั้น ในอดีตม้าขี่ส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิง เนื่องด้วยเพศหญิงได้ผูกขาดการสืบสายผี จึงสามารถติดต่อกับผีบรรพบุรุษของตนเองได้ สำหรับม้าขี่เพศชาย และม้าขี่ปู๊เมียเข้ามามีบทบาทในการเป็นม้าขี่ของผีเจ้านายมากขึ้นในภายหลัง โดยเฉพาะม้าขี่ปู๊เมียที่เพศกำเนิดเป็นชายแต่มีเพศสภาพเป็นหญิง หรือเป็นชายรักชาย เริ่มมีสัดส่วนมากกว่าเพศอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด จากงานวิจัยของสุระ อินตามูล เรื่อง พิธีกรรมทรงผีเจ้านาย: พื้นที่เปิดทางเพศภาวะในล้านนา และบทความของกิ่งแก้ว ทิศตึง เรื่อง ร่างทรง และพื้นที่ทางสังคมของคนข้ามเพศ ได้สัมภาษณ์ม้าขี่ปู๊เมียตั้งแต่รุ่นอาวุโส วัยกลางคน จนถึงคนรุ่นใหม่ในวัยนักศึกษา ม้าขี่ผู้ให้สัมภาษณ์มีความเห็นตรงกันว่าม้าขี่ปู๊เมียมีสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งเมื่อเทียบกับม้าขี่เพศหญิง เทียบได้ว่า หากมีม้าขี่ในผาม (ปะรำพิธี) จำนวน 10 คน จะเป็นม้าขี่ปู๊เมียประมาณ 5 คน ม้าขี่หญิงชรา 4 คน และม้าขี่ชาย 1 คน เป็นต้น อย่างไรก็ดี สุระ อินตามูล ได้กล่าวว่าแม้สัดส่วนม้าขี่ปู๊เมียจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ม้าขี่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นม้าขี่ของผีเจ้านายเป็นหลัก เนื่องจากการถูกเลือกให้เป็นม้าขี่จากผีเจ้านายมีความเปิดกว้างมากกว่าการเป็นม้าขี่ของผีปู่ย่าที่ยังคงเน้นที่เพศหญิงหรือบุคคลที่มาจากสายตระกูลนั้นๆ อยู่ทำไมม้าขี่ปู๊เมียจึงถูกเลือกจากผีเจ้านายมากกว่าม้าขี่เพศอื่นๆ?จากการสัมภาษณ์ม้าขี่ปู๊เมียจำนวน 5 คน ในงานวิจัยของสุระ อินตามูล มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า ผีเจ้านายเคยเลือกลงย่ำสมาชิกในสายตระกูลเพศหญิงของตนมาก่อน เช่น ยายทวด ย่า ยาย ซึ่งเมื่อม้าขี่เหล่านี้แก่ตัวลงหรือตายไป ผีเจ้านายจึงเลือกมาลงย่ำที่ตนแทนญาติเพศหญิงคนอื่นๆ โดยม้าขี่ทั้งห้าให้ความเห็นว่า การที่ผีเจ้านายเลือกลงย่ำเกย์หรือกะเทย  เนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่องประจำเดือน สามารถดูแลเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หอผี ให้สวยงาม สะอาด เรียบร้อยได้เหมือนเพศหญิง มีปัญหาการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ในชีวิตประจำวัน อันเป็นการปฏิบัติตนที่ดูไม่เหมาะสมกับการเป็นม้าขี่น้อยกว่าเพศชาย อย่างไรก็ดี จากการสัมภาษณ์ของกิ่งแก้ว ทิศตึง มีม้าขี่ปู๊เมียจำนวนหนึ่งแสดงความเห็นว่า แม้ตนจะได้รับความเคารพนับถือจากลูกเลี้ยง (ลูกศิษย์) แต่ตนกลับรู้สึกว่าลูกเลี้ยงให้ความเคารพผีเจ้านายที่ลงย่ำอยู่มากกว่าเคารพตนในฐานะบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศคนหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่า แม้ภายนอกม้าขี่ปู๊เมียจะได้รับความเคารพนับถือในสังคมแบบอนุรักษ์นิยมของล้านนา แต่โดยลึกแล้ว ยังคงมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ยังไม่ยอมรับเพศสภาพที่แท้จริงของตัวม้าขี่ได้การดำรงอยู่ของการเป็นม้าขี่ปู๊เมียเป็นการเปิดพื้นที่การแสดงออกทางเพศสภาพที่หลากหลาย ที่อาจพบเห็นได้ไม่ง่ายนักในสังคมอนุรักษ์นิยม แม้เกย์และกะเทยจะมีส่วนร่วมในพิธีกรรม งานบุญตามประเพณีล้านนามานานแล้ว เช่น การจัดดอกไม้ ทำพานพุ่มบายศรี หรือเป็นแม่งานในขบวนแห่ช่างฟ้อน แต่สถานภาพของม้าขี่ปู๊เมียนั้นแตกต่างออกไป ผู้ที่เป็นม้าขี่ คือ ผู้ที่ถูกคัดเลือกจากผีเจ้านาย ซึ่งมีความพิเศษกว่าปุถุชนทั่วไป มีลูกศิษย์ทุกเพศทุกวัยที่ศรัทธาในตัวผีเจ้านายตนนั้นๆ ให้ความเคารพนับถือ จึงอาจกล่าวได้ว่า การเพิ่มขึ้นของม้าขี่ปู๊เมียในผามพิธีกรรม เป็นการเปิดประตูให้เพศที่สามเข้ามามีบทบาทในวิถีความเชื่อแบบโบราณนี้ได้แนบเนียนและไม่สร้างความตะขิดตะขวงใจต่อผู้นับถืออีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ บทบาทของม้าขี่ในวัฒนธรรมภาคเหนือมีความคล้ายคลึงกับนัตกะด่อ หรือ คนทรงนัต ในวัฒนธรรมพม่าเป็นอย่างมาก นัตในความหมายของคนพม่า คือ วิญญาณครึ่งผีครึ่งเทพเจ้า นัตในวัฒนธรรมพม่าก็มีการแบ่งคล้ายๆ กับผีในวัฒนธรรมล้านนา ได้แก่ นัตเรือน หรือมีงมหาคีรีนัต คือนัตที่ประจำอยู่ในบ้านเรือน ลักษณะเดียวกับผีปู่ย่าหรือผีบ้านผีเรือน นัตพุทธ คือ นัตที่ถูกหลอมรวมเข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนาแล้ว มีจำนวน 37 ตน นัตใน เป็นนัตที่อยู่ในเขตกำแพงเจดีย์ชเวซิโข่ง มีจำนวน 37 ตนเช่นกัน และนัตนอก เป็นนัตที่อยู่นอกกำแพงเจดีย์ชเวซิโข่ง และเป็นนัตจะเข้าทรงในตัวของนัตกะด่อ คอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่ชาวบ้านในงานเทศกาลบูชานัต ที่จะจัดขึ้นสามครั้งต่อปี โดยในช่วงขึ้น 10 -  15 ค่ำของเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงเทศกาลบูชานัตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีเพศภาพของนัตกะด่อในพม่ามีแนวโน้มเป็นเพศที่สามมากขึ้นเช่นเดียวกับม้าขี่ปู๊เมียในภาคเหนือของไทย โดยในพม่า หลายๆคนเรียกเทศกาลบูชานัตนี้ว่า เทศกาลเกย์ เนื่องจากเหล่านัตกะด่อเพศที่สามและลูกศิษย์ที่มักจะเป็นเพศที่สามเช่นเดียวกัน จะมารวมตัวกันในพิธีนี้ ชาวพม่าที่เป็นเพศที่สามกล่าวว่า พื้นที่การเป็นนัตกะด่อและเทศกาลบูชานัต เป็นพื้นที่เดียวที่พวกเขาสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ แต่เมื่อเสร็จสิ้นเทศกาล พวกเขาต้องกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และยังคงถูกเหยียดเพศสภาพจากคนทั่วไปในสังคมตามเดิม คำถามที่ต่อมา คือ หากวิถีความเชื่อแบบโบราณอย่างผีและนัต เปิดกว้างให้กลุ่มเพศทางเลือกเข้ามามีบทบาทสำคัญในพิธีกรรม แต่เหตุใดสังคมสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ยังคงมีการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลข้ามเพศจากกลุ่มคนบางกลุ่มอยู่****************************************************แหล่งอ้างอิง1). กิ่งแก้ว ทิศตึง. (2559).  “ร่างทรง และพื้นที่ทางสังคมของคนข้ามเพศ.”  ลีลาชายขอบ วารศาสตร์สังคมศาสตร์  28, 1 (มกราคม – มิถุนายน): 87 – 108.2). ประวัติศาสตร์นอกตำรา.  (2564).  “นัต 37 ตน บนพื้นที่แห่งความศรัทธาในสังคมชาวพม่า”.  [วีดิทัศน์ออนไลน์]. เผยแพร่ทาง https://www.youtube.com/watch?v=yT5YGtysUY4. 4 สิงหาคม.3). เพ็ญสุภา สุขคตะ.  (2559).  ปริศนาโบราณคดี : ‘เจ้าอุบลวรรณา’ Working Woman แห่งล้านนา เมื่อคิดจะรัก ต้องกล้าหักด่านฐานันดร.  เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.matichonweekly.com/culture/article_169104). ยศธร ไตรยศ.  (2560).  นัต: พลังศรัทธาของมวลชน.  เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2565.  เข้าถึงได้จาก https://ngthai.com/cultures/604/the-faith-of-myanmar-people/5). สุระ อินตามูล. (2555).  พิธีกรรมทรงผีเจ้านาย: พื้นที่เปิดทางเพศภาวะในสังคมล้านนา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).


"เสื้อครุย" เป็นเสื้อที่ใช้สวมหรือคลุมแบบเต็มยศในงานพระราชพิธีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อประกอบเกียรติยศ แสดงบรรดาศักดิ์และตำแหน่งของผู้สวมใส่ ธรรมเนียมการใช้เสื้อครุยมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเปอร์เซียและอินเดีย.เสื้อครุย มีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาว แขนกว้าง ผ่าอกตลอด ทำจากผ้าหลายชนิด เช่น ผ้ากรองทอง ผ้าขาวบาง ผ้าบุหงา หากผู้สวมใส่ยิ่งมีตำแหน่งที่สูง ผ้าและลวดลายของเสื้อครุยก็จะมีความงาม การประดับตกแต่ง รายละเอียดที่มากขึ้นตาม หากเป็นพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ มักจะนิยมใช้เสื้อครุยพื้นกรองทอง ซึ่งเป็นผ้าที่ถักด้วยแล่งเงินหรือแล่งทองต่อกันเป็นผืน ส่วนลวดลายประดับที่มักปรากฏบนเสื้อครุย เช่น ลายเทพพนม ลายพรรณพฤกษา ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง ลายก้านขด โดยปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง เลื่อมเงินเลื่อมทอง ปีกแมลงทับ และอื่น ๆ เป็นต้น.ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชกำหนดเสื้อครุย ร.ศ. 130 อย่างเป็นทางการขึ้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการสวมใส่  โดยผู้ที่จะสวมใส่เสื้อครุยได้ เฉพาะผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือเป็นผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ได้รับพระราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง นับตั้งแต่ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป ผู้ที่จะสวมได้โดยตำแหน่งนั้น คือ 1. ผู้พิพากษาทุกชั้น ให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ 2. พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล 3. ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมชุดครุย.ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้มีการจัดแสดง เสื้อครุย ที่ห้องจัดแสดงชั้น 2 ซึ่งเป็นสมบัติของ “เจ้าแก้วนวรัฐ” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ผ้าและลวดลายที่ใช้เป็นแบบกลุ่มบุคคลชั้นสูง โดยเป็นเสื้อครุยแบบพื้นผ้ากรองทอง ปักด้วยดิ้นทองและเลื่อม เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีสำรดขอบ สำรดต้นและปลายพระกร เป็นลายประจำยามลูกฟักก้ามปู +++++++++++++++++++++เอกสารอ้างอิงเผ่าทอง ทองเจือ. (2549). พระภูษาผ้าทรงในราชสำนักสยาม. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)สมภพ จันทรประภา. (2520). อยุธยาอาภรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารพระราชกำหนดเสื้อครุย. (ร.ศ.130, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 28 หน้า 141-143พระราชกำหนดเสื้อครุยเพิ่มเติม (2457, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 31 หน้า 422-424


Messenger