ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,421 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.126/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 73 (257-266) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  เที่ยวเมืองพระร่วง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521.       เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วงนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2450 ซึ่งในเวลานั้นยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นไปประพาสเมืองกำแพงเชร เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองอุตรดิตถ์ และเมืองพิษณุโลก ได้ทรงตรวจตราโบราณวัตถุสถานและสอบสวนเรื่องตำนานของเมืองเหล่านั้นซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเก่ามาทรงพระราชวินิจฉัยชี้แจง


ข สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.15/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓ (ประชุมพงศาวดารภาค ๓ และภาค ๔ ตอนต้น) ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2506สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 420 หน้าสาระสังเขป : หนังสือชุดประชุมพงศาวดารเป้นหนังสือที่ได้รวบรวมเรื่องเก่าๆที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาค ๓ นี้ มีพงศาวดาร ๓ เรื่อง คือ พงศาวดารเมืองปัตตานีเรื่องหนึ่ง พงศาวดารเมืองสงขลาเรื่องหนึ่ง ทั้งสองเรื่องนี้ พระยาวิเชียรคิรี ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ได้เรียบเรียงไว้เมื่อยังเป็นพระยาสุนทรารักษ์กับ เริ่องพงศาวดารเชียงใหม่ พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) แต่เมื่อยังเป็นพระยาศรีสิงหเทพ ได้เรียบเรียงทูลเกล้าฯ ถวายพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เรื่องหนึ่ง


ชื่อเรื่อง           สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารผู้แต่ง             กรมศิลปากร.ครั้งที่พิมพ์       -ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๕ สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯสำนักพิมพ์       กรมศิลปากรจำนวนหน้า      ๔๑๔ หน้า                     สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นหนังสือประมวลความรู้เกี่ยวกับประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ ตลอดจนพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร นับแต่อดีตกาลสืบมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน พร้อมด้วยภาพประกอบพระราชทาน และ ภาพเกี่ยวกับพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร           เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นภาพที่เก็บรักษาอยู่ที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร ซึ่งได้อัญเชิญมาตีพิมพ์เพื่อประกอบเรื่องด้วย



          ทับหลังชิ้นที่โดดเด่น ชิ้นที่ ๓ ซุ้มประตูรองทิศเหนือด้านใน โคปุระกำแพงแก้ว ของปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว สภาพของทับหลังคงเหลือภาพสลักเกือบสมบูรณ์ โดยสลักเป็นภาพบุคคลที่คงเหลือเฉพาะครึ่งตัวด้านล่างประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ(มหาราชลีลา)เหนือฐานบัวที่ตั้งอยู่บนหน้ากาลซึ่งคล้อยต่ำลงมาจนถึงขอบล่างสุดของทับหลัง หน้ากาลใช้มือทั้งสองจับท่อนพวงมาลัยที่คายออกมา ท่อนพวงมาลัยโค้งขึ้นจนเกือบกึ่งกลางของทับหลัง และตกลงมาที่ปลายทับหลังทั้งสองด้านซึ่งปรากฏรูปสัตว์สันนิษฐานว่าเป็นสิงห์ หันหน้าเข้าหาจุดกึ่งกลางของทับหลัง ตรงกลางของท่อนพวงมาลัยทั้งสองด้านถูกแบ่งครึ่งโดยเฟื่องอุบะที่ด้านบนมีพระนารายณ์ทรงครุฑหรือพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ด้านล่างของท่อนพวงมาลัยประดับลายใบไม้ม้วน ด้านบนของท่อนพวงมาลัยประดับลายใบไม้-------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประว้ติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว


     มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๐๖ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๖๓ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๐๖ มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา ๕ พระองค์ ได้แก่           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์      ในรัชกาลที่ ๕ พุทธศักราช ๒๔๓๔ เป็นราชองครักษ์พิเศษ แล้วให้เป็นอัครราชทูตสำหรับประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และโปรตุเกส เสด็จไปประจำ ณ กรุงปารีสในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๓๘ เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ในขณะที่ทรงเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่านั้น ทรงเป็นผู้แนะนำในที่ประชุมข้าหลวงฯ ให้จัดการเก็บภาษีอากรผลประโยชน์ในหัวเมือง จากเดิมที่มีเจ้าภาษีนายอากรเป็นผู้ผูกขาด มาเป็นของรัฐ ก่อเกิดผลประโยชน์เข้าสู่รัฐบาล ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๓๘ ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๔๖ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีณบุรี และโปรดให้เลื่อนยศทางฝ่ายทหาร ขึ้นเป็นนายพลตรี ถึงรัชกาลที่ ๖ เลื่อนเป็นพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ และในบั้นปลายพระชนม์ชีพ ได้ประทานที่ดินอันเป็นวังเดิม ใกล้วัดสุทัศนเทพวราราม ให้สร้างโรงเรียนเพื่ออุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานนามว่า "โรงเรียนเบญจมราชาลัย"      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๑ ปี เป็นต้นราชสกุล วัฒนวงศ์      ภาพ : มหาอำมาตย์โท พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลียว ภูมิจิตร ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓


          ระบำเสียมกุก – ละโว้ เป็นผลงานการสร้างสรรค์ด้านนาฏดุริยางคศิลป์ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพสลักนูนต่ำรูปขบวนเสียมกุกกับขบวนละโว้ ณ ระเบียงปราสาท นครวัด ประเทศกัมพูชา ขบวนดังกล่าวเป็นของชาวสยามและชาวละโว้ ที่เป็นกลุ่มเครือญาติกับราชสำนักกัมพูชา สื่อความหมายถึงการเคลื่อนขบวนไปร่วมพิธีกรรมของอาณาจักร ระบำชุดนี้ได้อาศัยแนวความคิด มาจากระบำโบราณคดี ของกรมศิลปากร เป็นต้นแบบในการการสร้างสรรค์การแสดง จัดแสดงเผยแพร่ให้ประชาชนชมครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) เนื่องในงานเสวนาวิชาการ เรื่อง “ขอมอยู่ไหน? ไทยอยู่นั่น? ขอมกับไทย ไม่พรากจากกัน” และในรายการศรีสุขนาฏกรรม เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ โรงละครแห่งชาติภาพ ลายเส้นจากสลักหินบนระเบียงปราสาทนครวัด ถอดแบบภาพ โดย อาจารย์คงศักดิ์ กุลกลางดอน คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร           การสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏดุริยางคศิลป์จากภาพสลักรูปขบวนเสียมกุกกับขบวนละโว้ให้มีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นใหม่อีกชุดหนึ่งในครั้งนี้ประดิษฐ์ท่ารำโดยนางสาววันทนีย์ ม่วงบุญ เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ ประดิษฐ์เครื่องแต่งกายและอาวุธตามที่ปรากฏในภาพสลักนูนต่ำ โดยนางสุพรทิพย์ ศุภรกุล เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งนาฏศิลปินชำนาญงาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เรียบเรียงทำนองเพลงโดยนายไชยยะ ทางมีศรี ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร การประดิษฐ์ท่ารำระบำเสียมกุก – ละโว้ ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ใช้พื้นฐานกระบวนท่ารำของตัวพระ ตัวยักษ์ และตัวลิง เช่น ท่ากันเข่า ท่าย่อตัว ท่าลงเหลี่ยม ท่าตั้งวง ท่าย้ำเท้า และท่าการใช้อาวุธเป็นท่าหลัก ในการแสดง สื่อความหมายถึงชายชาตรีที่มีความองอาจ สง่าผ่าเผย สนุกสนาน ไม่แข็งกร้าว และดุดันของกองทัพทั้งสองฝ่ายรวมทั้งนำท่าทางที่ปรากฏในภาพจำหลักมาร่วมใช้ในกระบวนท่ารำให้ผสานกับท่วงทำนองเพลงที่ไม่มีบทขับร้อง รูปแบบการแปรแถวได้นำแนวคิดมาจากกระบวนการตรวจพลในการแสดงโขน ที่มีขั้นตอนระเบียบแบบแผน อาทิ การปรากฏกายของแม่ทัพ เดินตรวจแถว การใช้อาวุธถามความพร้อม และเคลื่อนทัพ ผู้แสดงระบำเสียมกุก – ละโว้ เป็นนาฏศิลปินผู้ชาย ของสำนักการสังคีต ที่มีพื้นฐาน และทักษะ การแสดงโขน ตัวพระ ตัวยักษ์ ตัวลิง โดยแบ่งผู้แสดงออกเป็น ๒ ขบวน คือขบวนเสียมกุกจากลุ่มน้ำโขง กับขบวนละโว้จากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขบวนละ ๑๐ คน ซึ่งในแต่ละขบวนจะประกอบด้วยไพร่พลและเจ้านาย ต่างถืออาวุธ มีพาหนะคือช้างที่ใช้ในการเดินทางยกขบวนเดินทางไปยังบริเวณหน้าปราสาทนครวัด โดยมิได้ ทำศึกสงครามต่อกัน แต่มาร่วมรื่นเริงร้องรำทำเพลง สนุกสนาน และสรรเสริญเจ้านายของแต่ละฝ่ายที่จะ เข้าร่วมทำพิธีกรรมกับกษัตริย์กัมพูชานักแสดงผู้ชายตัวพระ ตัวลิง และตัวยักษ์          เครื่องแต่งกายระบำเสียมกุก – ละโว้ สำนักสังคีตได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในการศึกษาและออกแบบเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง ที่มีแรงบันดาลใจจากภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด มีแนวความคิดการออกแบบเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงศิลปวัฒนธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการตัดเย็บและการสวมใส่ใช้งานได้จริง โดยแยกฝ่ายของเครื่องแต่งกายระหว่างเขมรกับไทยอย่างชัดเจนจากการแต่งกายในการเดินขบวนของฝ่ายไทยเป็นชนเผ่าที่ยังไม่มีระเบียบวินัยสื่อให้เห็นถึงการเข้มงวดของการนุ่งผ้าก็จะไม่ค่อยเรียบร้อยมีทั้งการนุ่งผ้าแบบสั้นและแบบยาว ซึ่งต่างกับฝั่งของเขมรที่มีวินัยมากกว่า การแต่งกายจะมีความเรียบร้อยเหมือนกันทุกคน อันมีรายละเอียดของเครื่องแต่งกาย ดังนี้ ฝ่ายเสียมกุก ประกอบด้วยเจ้านาย และขบวนเสียมกุก ผมเกล้ารวบที่กลางศีรษะ ปล่อยปลายผมตกลงบริเวณบ่า ใส่ต่างหูห่วงกลม เส้นผมถักและตกแต่งด้วยดอกไม้ใบสดและขนนก ห่มผ้าทอลายเป็นผ้าแถบคาดอก กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า นุ่งโสร่งคาดทับด้วยเข็มขัดห้อยอุบะ สวมเสื้อแบบคอปาดแขนสั้น ถือธนูเป็นอาวุธเครื่องแต่งกายนายทัพ และกองทัพฝ่ายเสียมกุก          ฝ่ายละโว้ ประกอบด้วยเจ้านาย และขบวนละโว้ ผมเกล้ามวย สวมมงกุฎ และกะบังหน้าสีทองสลักดุนเป็นลวดลายและประดับด้วยอัญมณี นุ่งผ้าโจงกระเบนขมวดชายผ้ามาด้านหน้าคาดทับด้วยเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ ใส่ตุ้มหู กำไลรัดต้นแขน กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ถือหอกยาวเป็นอาวุธเครื่องแต่งกายนายทัพ และกองทัพฝ่ายละโว้          ดนตรีประกอบการแสดงระบำเสียมกุก – ละโว้ บรรเลงโดยวงปี่พาทย์ไม้นวม ซึ่งใช้การปรับรูปแบบ การบรรเลงมาจากวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยการเปลี่ยนหัวไม้ที่ใช้สำหรับการบรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จากที่หัวไม้ทำด้วยหนังที่มีความแข็งแรงก็จะเปลี่ยนมาใช้เป็นไม้นวมซึ่งจะใช้ผ้าพันสลับกับเส้นด้ายให้มีความหนานุ่ม ทำให้ลดความดังและความแกร่งกร้าวของเสียงลง เครื่องเป่าแต่เดิมที่ใช้ปี่ในซึ่งมีเสียงดัง ก็เปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออแทนที่และมีเสียงเบากว่า เพิ่มการสีซออู้อีก ๑ คัน ก่อเกิดให้เสียงจากการบรรเลงมีความกล่อมกล่อมเพิ่มมากขึ้นวงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้การบรรเลงและขับร้องในรูปแบบการขับกล่อม และใช้ประกอบการแสดงที่จัดการแสดงภายในอาคาร เช่น โรงละคร หอประชุม ฯลฯ ขนาดของวง เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งได้แก่วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ และวงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ ประกอบด้วยทำนองเพลงเดิมที่มีอยู่แล้วในทำนองเพลงออกภาษาประกอบด้วย เขมร ลาว และไทย นำมาเรียบเรียงจัดลำดับให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกับกระบวนท่าของการแสดง อันมีรายละเอียด ดังนี้          ช่วงที่ ๑ ทำนองเพลงแทงวิสัย (ปี่กลอง) ที่มีอัตรา ๒ ชั้น มีความยาว ๒ ท่อนเพลง โดยมีทำนองสำเนียงข่าและขะมุก ประสานเชื่อมเพลงให้เห็นการผสมผสานของชาติพันธุ์ในขบวนเสียมกุกการเคลื่อนขบวนของฝ่ายเสียมกุกแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียง และร่วมแรงร่วมใจในการเดินทางไปพบกับขบวนละโว้ขบวนฝ่ายเสียมกุก          ช่วงที่ ๒ ทำนองเพลงใบ้คลั่ง ๒ ชั้น ในท่อนที่ ๒ เนื่องจากเพลงนี้มีทำนองที่ยาวผู้เรียบเรียงทำนองเพลงจึงเลือกมา ๑ ท่อนผสานกับเสียงแคนเข้ามาเพื่อแสดงให้ถึงกลุ่มคนชาติพันธุ์ลาวที่อาศัยอยู่ในขบวนเสียมกุก พร้อมทั้งเปิดตัวแม่ทัพของฝ่ายเสียมกุกแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่สง่างามเปิดตัวแม่ทัพฝ่ายเสียมกุก          ช่วงที่ ๓ ทำนองเพลงขอมทรงเครื่องสำเนียงมอญโบราณ การเคลื่อนขบวนพร้อมเปิดตัว แม่ทัพของฝ่ายละโว้ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียง และร่วมแรงร่วมใจในการเดินทางไปพบกับขบวน เสียมกุกเปิดตัวแม่ทัพฝ่ายละโว้          ช่วงที่ ๔ ทำนองเพลงกลองโยน เสริมด้วยเสียงปี่ใน และฆ้องวงใหญ่ให้ทำนองเพลงมีความ โดดเด่นในช่วงของแม่ทัพเสียมกุก และแม่ทัพละโว้พบกันพร้อมทั้งทักทายด้วยมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน แสดงให้เห็นถึงการพบเจอกันทั้งสองฝ่ายด้วยความพร้อมเพรียงด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแม่ทัพเสียมกุกและแม่ทัพละโว้พบกันทั้งสองฝ่าย          ช่วงที่ ๕ ทำนองเพลงจาก แสดงให้เห็นถึงขบวนทัพเสียมกุก และละโว้เดินทางไปบูชาเทพเจ้า เมื่อเดินทางถึงจุดหมาย จากนั้นเป็นการร่ายรำบูชาเทพเจ้าด้วยทำนองเพลงสำเนียงในยุคสมัยลพบุรี บ่งบอกถึงความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมที่มีความเป็นระเบียบแบบแผนกองทัพเสียมกุก – ละโว้ รำบูชาเทพเจ้า          ช่วงที่ ๖ ทำนองเพลงไทยสำเนียงรวมชาติพันธุ์ท้ายซุ้มลาวแพน ขบวนทัพทั้งสองฝ่ายเดินทางกลับถิ่น แสดงให้เห็นถึงความร่วมใจของขบวนทัพของเสียมกุก และละโว้ ร่วมน้อมบูชาเทพเจ้าด้วยความ เป็นสิริมงคล ยินดีปรีดามาทั้งสองขบวนทัพมาพบกัน ซึ่งเมื่อสำเร็จภาระกิจตามความประสงค์จึงแยกย้ายกลับยังถิ่นฐานของตนเองขบวนกองทัพเสียมกุกและขบวนกองทัพละโว้เดินทางกลับถิ่นฐานของตน          การสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏดุริยางคศิลป์ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดทำขึ้น สอดรับกับพันธกิจและยุทธศาสตร์ด้านการสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้านการพัฒนากระบวนการให้เข้ากับยุคสมัย โดยยึดหลักการและรูปแบบการแสดงทุกชุดจะต้องมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย สามารถสื่อสารให้ผู้ชมการแสดง และเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งการนำกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงไปต่อยอด ประยุกต์ใช้กับการแสดงสร้างสรรค์ในชุดอื่นๆ เพื่อเผยแพร่สู่สังคม สาธารณชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการหวงแหนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม-----------------------------------------------------------------ผู้เขียน : นายรัฐศาสตร์ จั่นเจริญ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต-----------------------------------------------------------------รายการอ้างอิง กรมศิลปากร. ระบำโบราณคดี, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๑๐. ไชยยะ ทางมีศรี. สัมภาษณ์, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔. วรรณวิภา สุเนต์ตา. เครื่องแต่งกายระบำเสียมกุก – ละโว้อ้างในเอกสารขอมอยู่ไหน? ไทยอยู่นั่น ขอมกับไทย ไม่พรากจากกัน, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๕๗. วันทนีย์ ม่วงบุญ. สัมภาษณ์, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔. สุจิตต์ วงษ์เทศ. ขอมอยู่ไหน? ไทยอยู่นั่น ขอมกับไทย ไม่พรากจากกัน, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๕๗. สุพรทิพย์ ศุภรกุล. สัมภาษณ์, ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔. เสียร ดวงจันทร์ทิพย์. เพลงระบำเสียมกุก – ละโว้ อ้างในเอกสารขอมอยู่ไหน? ไทยอยู่นั่น ขอมกับไทย ไม่พรากจากกัน, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๕๗.







ชื่อเรื่อง                                จุนฺทสูกริกสูตฺต (จุนทสูกริกสูตร) สพ.บ.                                  282/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                 บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


Messenger