ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ
ชื่อผู้แต่ง พระบริหารบรมธาตุ (ประเสริฐ ธมฺมธีโร)
ชื่อเรื่อง ประวัติชีวิตคำกลอน
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี
สำนักพิมพ์ ป.พิศนาคะ การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๖๔ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระบริหารบรมธาตุ(ประเสริฐ ธมฺมธีโร ป.ช.๖ น.ธ.เอก)
ประวัติชีวิตคำกลอน ได้รวบรวมเอา อคติธรรม คำกลอนต่างๆ ที่พระเดช พระคุณท่านเจ้าคุณพระบริหารบรมธาตุ ท่านได้ประพันธ์เอาไว้ และโดยมากหนังสือที่พระคุณท่านประพันธ์ไว้มักเป็นคำกลอน มีคติธรรมแซกซ้อนเอาไว้ นับเป็นสารประโยชน์ดีมาก และนับได้ว่าท่านเป็นนักกวีได้ผู้หนึ่ง เพราะคำกลอนของท่านที่ได้ประพันธ์เอาไว้ก็มีมาก และได้ประพันธ์เป็นนิทานธรรมคำกลอน มีคติธรรมแฝงไว้ทุกเรื่องทุกตอน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เรื่องก่อนประวัติศาสตร์. พระนคร: กรมศิลปากร, 2482. เป็นเรื่องราวกล่าวถึงมนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อครั้งยังไม่รู้จักจดเอาไว้เป็นหนังสือ หนทางที่จะทราบเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงอยู่ที่การศึกษา ให้รู้จักใช้ สังเกต พิจารณาลักษณะของวัตถุที่ขุดค้นพบ แล้ววินิจฉัยลงข้อสันนิษฐานหาเหตุผลแวดล้อมประกอบกับวัตถุที่ขุดค้นได้ วิธีที่นักปราชญ์ชาวตะวันตกใช้เป็นแนวทาง แนวพิจารณาหาความรู้ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างชัดเจน
"เสื้อครุย" เป็นเสื้อที่ใช้สวมหรือคลุมแบบเต็มยศในงานพระราชพิธีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อประกอบเกียรติยศ แสดงบรรดาศักดิ์และตำแหน่งของผู้สวมใส่ ธรรมเนียมการใช้เสื้อครุยมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเปอร์เซียและอินเดีย.เสื้อครุย มีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาว แขนกว้าง ผ่าอกตลอด ทำจากผ้าหลายชนิด เช่น ผ้ากรองทอง ผ้าขาวบาง ผ้าบุหงา หากผู้สวมใส่ยิ่งมีตำแหน่งที่สูง ผ้าและลวดลายของเสื้อครุยก็จะมีความงาม การประดับตกแต่ง รายละเอียดที่มากขึ้นตาม หากเป็นพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ มักจะนิยมใช้เสื้อครุยพื้นกรองทอง ซึ่งเป็นผ้าที่ถักด้วยแล่งเงินหรือแล่งทองต่อกันเป็นผืน ส่วนลวดลายประดับที่มักปรากฏบนเสื้อครุย เช่น ลายเทพพนม ลายพรรณพฤกษา ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง ลายก้านขด โดยปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง เลื่อมเงินเลื่อมทอง ปีกแมลงทับ และอื่น ๆ เป็นต้น.ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชกำหนดเสื้อครุย ร.ศ. 130 อย่างเป็นทางการขึ้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการสวมใส่ โดยผู้ที่จะสวมใส่เสื้อครุยได้ เฉพาะผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือเป็นผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ได้รับพระราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง นับตั้งแต่ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป ผู้ที่จะสวมได้โดยตำแหน่งนั้น คือ 1. ผู้พิพากษาทุกชั้น ให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ 2. พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล 3. ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมชุดครุย.ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้มีการจัดแสดง เสื้อครุย ที่ห้องจัดแสดงชั้น 2 ซึ่งเป็นสมบัติของ “เจ้าแก้วนวรัฐ” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ผ้าและลวดลายที่ใช้เป็นแบบกลุ่มบุคคลชั้นสูง โดยเป็นเสื้อครุยแบบพื้นผ้ากรองทอง ปักด้วยดิ้นทองและเลื่อม เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีสำรดขอบ สำรดต้นและปลายพระกร เป็นลายประจำยามลูกฟักก้ามปู +++++++++++++++++++++เอกสารอ้างอิงเผ่าทอง ทองเจือ. (2549). พระภูษาผ้าทรงในราชสำนักสยาม. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)สมภพ จันทรประภา. (2520). อยุธยาอาภรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารพระราชกำหนดเสื้อครุย. (ร.ศ.130, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 28 หน้า 141-143พระราชกำหนดเสื้อครุยเพิ่มเติม (2457, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 31 หน้า 422-424
วันเยาวชนแห่งชาติ 20 กันยายน
วันเยาวชนแห่งชาติ ได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ โดยถือว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์ด้วยกัน คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในขณะที่ยังทรงพระเยาว์เหมือนกัน ดังนั้น เยาวชนไทยจึงควรสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ด้วยการพัฒนาตนเองและประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ความหมายสากลของเยาวชน หมายถึงคนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ในขณะที่เด็กมักจะหมายถึง ผู้มีอายุต่ำกว่า 14 ปี
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป เยาวชนของชาติ จะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและประเทศชาติอย่างต่อเนิ่อง โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีค่านิยมที่ถูกต้อง ภูมิใจหวงแหนและอนุรักษ์ไว้ซึ่งความเป็นไทย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย รู้จักการอดออมและประหยัด ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดจนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ
อีกสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญมากเช่นกัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองมีความเข้าใจ เอาใจใส่ทนุถนอมให้ความรักและความอบอุ่นแก่เยาวชนที่อยู่ในความปกครองแล้ว ก็จะสามารถช่วยให้เยาวชนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและคุณธรรมได้อย่างแน่นอน
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#องค์ความรู้
#วันเยาวชนแห่งชาตื
#จุลจอมเกล้าฯ
#อานันทมหิดล
#รัชกาลที่5
#รัชกาลที่8
#หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี
#กรมศิลปากร
#กระทรวงวัฒนธรรม
คู่มือจัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือช่วยค้นเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (สำนักหอจดหมายเหตุ) https://www.nat.go.th/2. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช https://www.finearts.go.th/narama93. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ https://www.finearts.go.th/chiangmaiarchives4. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา https://www.finearts.go.th/phayaoarchives5. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี https://www.finearts.go.th/ubonarchives6. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี https://www.finearts.go.th/suphanburiarchives7. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี https://www.finearts.go.th/12archives 8. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรังhttps://www.finearts.go.th/trangarchives 9. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา https://www.finearts.go.th/songkhlaarchives10. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยะลาhttps://www.finearts.go.th/yalaarchives11.หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์https://www.finearts.go.th/premarchivesหอจดหมายเหตุเฉพาะ องค์กรอื่น ๆ1. ระบบจดหมายเหตุต่างประเทศทูลกระหม่อมอาจารย์ https://archives.nrct.go.th/archives-histdept/2. หอจดหมายเหตุธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th/Thai/MuseumAndLearningCenter/ Archives/ArchivesServices/Pages/default.aspx3. หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ https://www.naph.or.th/4. จดหมายเหตุรัฐสภา https://library.parliament.go.th/th/thai-parliament-archive5. จดหมายเหตุสภากาชาดไทย https://museum.redcross.or.th/archive/site/archive-bg.php6. หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ https://www.bia.or.th/html_th/7. หอจดหมายเหตุเเละพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี https://www.rama.mahidol.ac.th/ram/8. พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงและหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์ http://av.prd.go.th/fotoweb/9. คลังจดหมายเหตุดิจิทัล สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ https://archives.museumsiam.org/10. ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา https://www.sac.or.th/databases/anthroarchive/index.php อยู่ระหว่างเพิ่มข้อมูล หอจดหมายเหตุในสถาบันการศึกษา1. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://arc.tu.ac.th/2. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยขอนแก่น https://archive.kku.ac.th/omeka/3. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยทักษิณ http://archives.tsu.ac.th/umedia4/index.php4. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ https://archives.payap.ac.th/home/5. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://archives.psd.ku.ac.th/ 6. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยบูรพา http://www.lib.buu.ac.th/buuarchives/7. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหิดล https://archive.li.mahidol.ac.th/ 8. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยรังสิต https://library.rsu.ac.th/archives/blog.html9. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี https://www.oas.psu.ac.th/APSU/10. หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ http://www.psuhistory.psu.ac.th/11. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://archives.mfu.ac.th/12. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ http://lib.hcu.ac.th/HCUarchives/13. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ http://www.archives.cmru.ac.th/14. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://archives.mju.ac.th/web/15. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร https://www.plan.lib.su.ac.th/Archives/Search.aspx16. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubuarchives/17. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ http://oclm.wu.ac.th/arch/index.php อยู่ระหว่างเพิ่มข้อมูล หอจดหมายเหตุต่างประเทศ1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ http://www.nationalarchives.gov.uk/2. หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา https://www.archives.gov/3. หอจดหมายเหตุแห่งชาติไต้หวัน https://www.archives.gov.tw/english/4. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเกาหลี http://www.archives.go.kr/english/index.jsp5. หอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์ http://www.nas.gov.sg/6. หอจดหมายเหตุแห่งชาติญี่ปุ่น http://www.archives.go.jp/english/7. หอจดหมายเหตุแห่งชาติจีน http://www.shac.net.cn/shac_en/sy_135/8. สภาจดหมายเหตุระหว่างประเทศ https://www.ica.org/en9. หอจดหมายเหตุแห่งชาติฝรั่งเศส https://www.archives-nationales.culture.gouv.fr/en_GB/web/guest/home อยู่ระหว่างเพิ่มข้อมูล
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 40/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ประติมากรรมดินเผารูปเด็กออกจากหอยสังข์ (พระสังข์ทอง)
ศิลปะอยุธยา
นายพิชัย วงษ์สุวรรณ มอบให้เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
_____________________________________
ประติมากรรมรูปเด็กออกมาจากหอยสังข์ ศีรษะด้านบนไว้ผมจุก ใบหน้ากลม ลำตัวตั้งตรง ส่วนขาขวาอยู่ภายในเปลือกหอยสังข์ ประวัติจากผู้มอบระบุว่าพบบริเวณคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ใกล้เมืองเก่าพระนครศรีอยุธยา
.
ประติมากรรมชิ้นนี้สันนิษฐานว่าทำขึ้นตามนิทานเรื่อง “สังข์ทอง” ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีเค้าโครงมาจากเรื่อง “สุวรรณสังขชาดก”* นิทานเรื่องนี้มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และใช้ในการแสดงละคร ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
.
สุวรรณสังขชาดก พระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง และนิทานเรื่องสังข์ทอง มีตัวเอกในเรื่องคือ “พระสังข์” ทั้งสามเรื่องมีเค้าโครงเนื้อเรื่องที่ใกล้เคียงกัน แต่การลำดับเรื่องและรายละเอียดบางตอนอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น การเสด็จเลียบพระนครและท้าวยศวิมลบวงสรวงขอพระราชโอรสนั้น ไม่ปรากฏในสุวรรณสังขชาดก และนิทานสังข์ทอง เป็นต้น รวมทั้งชื่อตัวละครและชื่อสถานที่ในสุวรรณสังขชาดก กับพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง** ก็แตกต่างด้วยเช่นกัน
.
เรื่องย่อวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์ ทั้งบทพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ และนิทานสังข์ทอง มีเนื้อเรื่องว่า ท้าวยศวิมลกับพระมเหสีนางจันท์เทวี ไม่มีพระราชโอรส จึงทำการบวงสรวง กระทั่งนางจันท์เทวีทรงพระครรภ์และให้กำเนิดออกมาเป็นพระสังข์ นางจันทาสนมเอกได้ติดสินบนโหรหลวงทำนายให้ร้ายแก่นางจันท์เทวีว่า การให้กำเนิดออกมาเป็นหอยสังข์นั้นเป็นอัปมงคลต่อบ้านเมือง ท้าวยศวิมลหลงเชื่อจึงขับไล่นางจันท์เทวีออกจากเมือง นางจันท์เทวีได้ไปอยู่กับสองตายาย ทำงานบ้านและเก็บฟืนเลี้ยงชีพ วันหนึ่งพระสังข์เกิดสงสารมารดา จึงแอบออกมาจากหอยสังข์ช่วยทำงานบ้านขณะที่พระนางจันท์เทวีออกไปหาฟืน และกลับเข้าไปในหอยสังข์อีกครั้งเมื่อนางกลับมาถึงบ้าน ฝ่ายพระนางจันท์เทวีเมื่อรู้ว่าบุตรซ่อนอยู่ในหอยสังข์จึงทุบหอยสังข์แตกแล้วจึงชุบเลี้ยงพระสังข์จนเติบโต
.
เรื่องสังข์ทองแพร่หลายไปท้องที่ต่าง ๆ บางแห่งปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเช่นที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานความเห็นเกี่ยวกับการแพร่กระจายเรื่องสังข์ทองไว้ว่า
.
“...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้ง***เป็นเมืองท้าวสามนต์ ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไม่ห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตกก็อ้างว่า เมืองตะกั่วป่า****เป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า อธิบายว่าเมืองพระสังข์ตีคลีชนะ ได้ขี่ม้าเหาะข้ามภูเขานั้นไปดังนี้…”
.
.
.
#วันเด็ก2566
.
.
.
*หนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่แพร่หลายในพื้นที่ล้านนา-อยุธยา กล่าวถึงการเสวยชาติของพระโพธิ์สัตว์
**ทั้งนี้ชื่อตัวละครและสถานที่ในพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง กับนิทานสังข์ทอง นั้นมีความเหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทองยังมีรายละเอียดชื่อและสถานที่ มากกว่านิทานพระสังข์ทอง เช่น ชื่อเมืองสามล (เมืองของนางรจนา พระมเหสีของพระสังข์ทอง) กลับไม่ปรากฏในนิทานสังข์ทอง
***ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
****ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
อ้างอิง
ปัญญาสชาดกเล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ: มูลนิธิออมสินเพื่อสังคม, ๒๕๕๔.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครนอก สังข์ทอง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๐.
ศุภธัช คุ้มครอง และสุปาณี พัดทอง. “สังข์ทองตอนกำเนิดพระสังข์ : กรณีศึกษาสุวรรณสังชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และนิทานเรื่องสังข์ทอง.” วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๑, ๑ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔): ๑๘๙-๒๑๓.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 135/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 171/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 7/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.3 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา