ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           50/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           9/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              50 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ประสงค์ ปัทมานุช (พ.ศ. 2461 – 2523) ประสงค์ ปัทมานุช เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2461 ที่กรุงเทพฯ มีความสนใจทางด้านศิลปะและการวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก ประสงค์เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างในปี 2480 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม แผนกช่าง จนจบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2483 ในปีต่อมาประสงค์เข้ารับราชการที่แผนกหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และเป็นอาจารย์สอนวิชาจิตรกรรมที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2492 ลาออกจากกรมศิลปากร และเข้าทำงานที่แผนกช่างเขียน กองโฆษณาการ ธนาคารออมสิน เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ ประสงค์เป็นศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายทั้งรูปแบบของผลงานและการใช้สี อาทิ ผลงานแบบไทยประยุกต์ ผลงานแบบคิวบิสม์ และผลงานนิเทศศิลป์ ประสงค์สร้างสรรค์ผลงานแบบไทยประยุกต์ โดยการนำภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีมาสร้างสรรค์ด้วยวิธีการจัดองค์ประกอบแบบสมัยใหม่ นิยมใช้ “ภาพกาก” หรือภาพที่อยู่นอกเหนือจากเรื่องราวหลักในงานจิตรกรรมแบบไทยประเพณี เช่น ภาพวิถีชีวิตของชาวบ้าน มาใช้เป็นหัวข้อหลักในการเขียนภาพ นอกจากนี้ ประสงค์นำเทคนิคของศิลปะแนวคิวบิสม์ (Cubism) มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย เช่น ภาพ “เจดีย์วัดโพธิ์” ที่นำเสนอภาพทิวทัศน์แบบไทย โดยใช้เส้นและสีตัดกันไปมาเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่ประกอบกันเป็นอาคารและเจดีย์ของวัดโพธิ์ ผลงานมีลักษณะสองมิติ มีการจัดน้ำหนักของสีให้มีความสดใสและสมดุล ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของประสงค์ไว้ว่า “…ภาพเขียนอันวิจิตนของนายประสงค์ ปัทมานุช แสดงให้เห็นถึงความฉลาดในการจัดโครงสร้างสีให้เข้ากันอย่างสวยงาม นายประสงค์มีความรู้สึกทางสีสูงยิ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปโบราณของเราอย่างแท้จริง นายประสงค์เป็นผู้ที่รักศิลปของตน แม้จำต้องทำงานซึ่งไม่ตรงกับอุปนิสัยของตนก็ตาม ก็พยายามส่งงานจิตรกรรมแสดงทุกปี นี่คือการเรียกร้องที่แท้จริงของศิลป และด้วยเหตุนี้เองที่เรากล่าวกันว่าศิลปเพื่อศิลป…” ประสงค์ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1 – 6 (พ.ศ. 2492 - 2498) ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง 2 ครั้ง เกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน 3 ครั้ง เกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง 1 ครั้ง และได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาทัศนศิลป์ (มัณฑนศิลป์) ในปี 2497 นอกจากนี้ ประสงค์ยังทำงานเกี่ยวกับการซ่อมแซมและบูรณะงานศิลปกรรมของชาติหลายแห่ง รวมทั้งยังแต่งตำราลายไทยและวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประสงค์ ปัทมานุช ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2529 และถึงแก่กรรมด้วยโรคเบาหวาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2532 สิริอายุ 71 ปี #ประสงค์ปัทมานุช #ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙ #ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ #หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า ที่มา 1. หนังสือ “5 ทศวรรษศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. หนังสือ “นิทรรศการพิเศษเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประสงค์ ปัทมานุช” โดย กรมศิลปากร 3. หนังสือ “บทความ ข้อเขียน และงานศิลปกรรมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4. หนังสือ “ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2528 – 2531” โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


ชื่อผู้แต่ง        คณะสงฆ์พระพิเรนทร์ ชื่อเรื่อง         พจนานุกรมพุทธศาสน์  ฉบับครู  นักเรียน  นักธรรม  ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๒ จำนวนหน้า     ๓๘๑ หน้า รายละเอียด                    พจนานุกรมพุทธศาสน์  ฉบับครู  นักเรียน  นักธรรม คณะเจ้าภาพได้จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เป็นอนุสรณ์แห่งคุณูปการของท่านพระครูปลัดสมัย กิตติทตโต ต่อสำนักวัดพระพิเรนทร์ ในฐานะที่ท่านเคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของสำนักเรียน และได้บำเพ็ญประโยชน์ในด้านการศึกษามาเป็นเวลานาน


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงเนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร วันอังคารที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ  เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร พบกับการบรรเลงดนตรีสากล “กำเนิดวงสากลในประเทศไทย เล่าขานตำนานเพลงไทย ๑” อำนวยเพลงโดย ธนู รักษาราษฎร์ อำนวยการแสดงโดย  ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           * ชมฟรี *  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 47/2553 (27/2549) ภาชนะดินเผา ก้นกลม ปากกว้างผายออก ด้านในเรียบไม่มีลวดลาย ด้านนอกมีลายขูดขีดโดยรอบ สภาพชำรุด ขอบปากหักหายไปส่วนหนึ่ง ก้นทะลุ ส.18 ปก.19 ดินเผา ทวารวดี ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.473/5กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161  (183-194) ผูก 5ก (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.608/2           ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 195  (416-423) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : เตปิฎกถา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ความเจริญมั่นคงของสยามประเทศ อยู่ที่พลเมืองดี.  พระนคร: กรมยุทธศึกษา, 2478.


        "ครุฑ" หรือ "พญาครุฑ"  เป็นนามเรียกสัตว์ประดิษฐ์อีกภาพหนึ่งของศิลปะไทยว่า มีกายเป็นคน ส่วนหัวและท่อนล่างเป็นนก ซึ่งตรงกับต่างชาติหลายชาติที่ว่ากายเป็นคน แต่ละชาติก็มีความคิดแตกต่างกันไปตามจินตนาการของช่าง สำหรับของไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียในเรื่องเทวกำเนิด  พวกเทพต่าง ๆ ในเทวกำเนิดนี้ว่า  ครุฑเป็นลูกของพระกัศยปเทพบิดรกับนางวินตา ถือกำเนิดมีส่วนศีรษะเป็นนก ร่างกายท่อนบนเป็นคน มีปีก เล็บ ปากเหมือนนกอินทรี แขนขาเป็นคน หน้าขาว ปีกแดง ตัวเป็นสีทอง  มีวิมานอันสวยงามเรียกว่าฉิมพลี  เป็นสหายกับพระนารายณ์ ในภาพศิลปะไทยของเราท่อนล่างเป็นนกทั้งหมด เป็นพาหนะทรงของพระนารายณ์  เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์หลายตอน        ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/43


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด จัดการสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี 2566 เรื่อง “Digital Transformation in Cultural Heritage Management for Library” ในวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ และห้องดอกไม้สด สำนักหอสมุดแห่งชาติ การดำเนินงานโครงการแบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การบรรยายให้ความรู้ทางวิชาการในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ในวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ประกอบด้วยการบรรยาย ดังนี้ ช่วงเช้า เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. การบรรยาย เรื่อง “Digital Transformation in Cultural Heritage Management for Library: Opportunities and Challenges from the Korea Experience” Keynote speaker: Prof. Dr.Byeon, Hoi Kyun, Soong Eui Women’s College and IT Research Institute Chief at Futurenuri, inc. ช่วงบ่าย เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “ทิศทางของห้องสมุดไทยกับการก้าวสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างเต็มตัวในอนาคต” Keynote speaker: รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กิจกรรมที่ 2 การประกวดนำเสนอผลงานวิชาการประเภทบรรยาย ดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่  1 กุมภาพันธ์ – 21 มิถุนายน 2566 โดยนำเสนอผลงานวิชาการและมอบรางวัลในวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมใหญ่ และห้องดอกไม้สด สำนักหอสมุดแห่งชาติ            ผู้สนใจสามารถสแกน QR Code เพื่อเข้าร่วมการสัมมนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด โทร. 0 2280 9828 - 32 ต่อ 646  




          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เรียนรู้เรื่องเมืองสุพรรณ เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี” วิทยากร นางสาวเบญจพร สารพรม หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร  บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


Messenger