ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ

องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง ธาตุไม้อีสาน เรียบเรียงโดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น


     มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๑๘ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติ      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแช่ม ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๑๘      ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๘ พระราชบิดาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรป พร้อมด้วย พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ นับเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ กลุ่มแรก ที่เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ ครั้นเสด็จกลับมาทรงรับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยราชการกระทรวงวัง ในพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทรงเป็นราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้นพุทธศักราช ๒๔๔๕ โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี และได้เป็นราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ      ถึงรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหมนตรี และองคมนตรี ครั้นพุทธศักราช ๒๔๕๔ เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี และเป็นเสนาบดีตำแหน่งราชเลขาธิการ      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๖๒ พระชันษา ๔๕ ปี เป็นต้นราชสกุล ประวิตร      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ   ภาพ : มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี


นางฉอ้อน รักวานิช และบุตร, ธิดา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบันลือ รักวานิช ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม  วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ 



          ตอนนี้เรื่องของกัญชามีกระแสมาแรง ไม่ว่าจะนำมาเป็นส่วนผสมทำอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่ม และเมนูอื่นอีกหลากหลาย ผู้เขียนไม่อยากตกกระแสจึงต้องรีบค้นคว้าหาเอกสารจดหมายเรื่องนี้ว่าจะมีข้อมูลอะไรบ้างเพื่อนำมาเล่าสู่กันค่ะ จากการค้นคว้าพบว่าใน พ.ศ.2474 มีเอกสารจดหมายเหตุกล่าวถึงว่ากรมตรวจกสิกรรม(ปัจจุบันเป็นกรมวิชาการเกษตร)สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมว่ามีการสำรวจจังหวัดต่างๆในเรื่องการเพาะปลูกกัญชามากน้อยเพียงใด          จากการสำรวจในครั้งนั้นพบว่าจันทบุรี ไม่นิยมปลูกกัญชาแต่ประการใด มีเพียงท้องที่กิ่งกำพุช สังกัดอำเภอมะขาม เพียงแห่งเดียวที่มีการเพาะปลูกกัญชา โดยมีชาวบ้านทำการเพาะปลูกประมาณ 10 คน พื้นที่ปลูกรวมประมาณ 1 ไร่ เก็บได้ครั้งละประมาณ 1 หาบหรือ 100 ชั่งจีน ราคาซื้อขายกันชั่งละ 50 สตางค์ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลผลิตที่จำหน่ายจะเป็นต้นกัญชากับกระหรี่กัญชา ซึ่งกว่าต้นกัญชาตัวเมียออกดอกหรือนักสูบเรียกว่า"กระหรี่แก่"จะใช้เวลาปลูกยาวนานอยู่หลายเดือน(พฤษภาคม ถึง ธันวาคม) ซึ่งต่างจากการปลูกในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถใช้ ช่อ ดอกและเมล็ดของกัญชา เพราะยังถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5          หากใครสนใจอยากลองชิมเมนูอาหารหวานคาวที่มาจากส่วนผสมของกัญชา ก็ต้องไปร้านที่ได้รับอนุญาตนำส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด เช่น เส้นใย เปลือก กิ่ง ก้าน ราก และใบกัญชาที่ไม่มียอดหรือช่อดอก จากสถานที่ปลูกหรือผลิตในที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ในการนำเสนอข้อมูลเรื่องกัญชาของผู้เขียนครั้งนี้เป็นเพียงอยากบอกเล่าว่าในอดีต จังหวัดจันทบุรี ไม่ได้มีผู้สนใจปลูกกัญชากันสักเท่าไหร่ อาจเพราะเป็นเมืองกสิกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกผักผลไม้ ปลูกข้าว ปลูกพริกไทยหรือปลูกกาแฟได้ผลผลิตและมีกำไรดีกว่าก็เป็นได้--------------------------------------------------------------------ผู้เขียน : สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี--------------------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท2.5/38 เอกสารเอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ส่งคำถามของกรมตรวจกสิกรรม เรื่องขอทราบการเพาะปลูกกัญชามาให้สอบสวน (15 มีนาคม 2474 – 22 เมษายน 2475





ชื่อเรื่อง                                พลสังขยา (พลสังขยา) สพ.บ.                                  283/8ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           70 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช) สพ.บ.                                  334/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           62 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



เลขทะเบียน : นพ.บ.160/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 96 (27-34) ผูก 9 (2565)หัวเรื่อง : ปริวารปาลิ(ปาลีปริวาน) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.45/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ข/1-17  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.347/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 135  (378-387) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต (ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger