ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ


สาระสังเขป               :          ชีวประวัติของขุนพิสิฐนนทเดช ความรู้รอบตัวเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องทั่วไปและเรื่องธรรมะผู้แต่ง                       :          พิสิฐนนทเดช, ขุนโรงพิมพ์                   :           มหาดไทยปีที่พิมพ์                   :           2513ภาษา                       :           ไทยรูปแบบ                     :            PDFเลขทะเบียน              :            น.32บ.4625จบเลขหมู่                     :             923.8593                                             ข529บ



เลขทะเบียน : นพ.บ.27/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4.7 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 14 (152-160) ผูก 1หัวเรื่อง : ธมฺมปาลชาตก (ธรรมบาล) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.46/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  70 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 28 (282-294) ผูก 11หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          สืบเนื่องมาจากแนวความคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ที่มีแนวคิดจะให้สถาปัตยกรรมสอดคล้องกับแนวทางการจัดแสดงนิทรรศการ ที่มีวัตถุประสงค์หลักคือการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าว การทำนา วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา จึงมีแนวคิดเรื่องของที่อยู่อาศัยของชาวนาไทยภาคกลางเป็นหลักแนวคิดการออกแบบ           เรือนไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของคนในสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม จึงต้องอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นแหล่งประกอบอาชีพหลัก ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมดั้งเดิมของคนไทยคืออาชีพชาวนา จึงจะเห็นได้ว่าบ้านเรือนทั่วไปนั้นมักจะปลูกสร้างอยู่ตามลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงนิยมยกพื้นบนเสาสูง ทั้งนี้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย ระดับของพื้นบ้านยังเป็นที่อยู่อาศัยได้ตามปกติ อีกทั้งยังเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ใต้ถุนสูงของบ้าน โดยเฉพาะการเก็บเครื่องมือการเกษตร หรือสัตว์เลี้ยง และยังเป็นพื้นที่เอนกประสงค์อื่น ๆ รวมถึงสำหรับพักผ่อนสำหรับครอบครัวอีกด้วย           เรือนไทยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ตามรูปแบบลักษณะโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง รวมถึงขนาดพื้นที่การก่อสร้างบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก (เรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่) และเรือนเครื่องสับ (เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง) ในที่นี้ขอกล่าวถึงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ประเภทเรือนเครื่องสับ ซึ่งนิยมปลูกตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงได้ง่าย จึงสร้างเป็นเรือนใต้ถุนสูง ยกพื้นเรือนให้พ้นน้ำ หลังคาจั่วลาดชัน กันแดดและฝนได้ดี มีชานบ้านและระเบียงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีเรือนครัวเป็นที่ปรุงอาหาร ซึ่งมักแยกออกจากตัวเรือนใหญ่ มีเรือนนอน สำหรับเป็นห้องนอน มีระเบียง หอนั่ง หอนก เป็นส่วนประกอบ และมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าบ้าน เฉพาะเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้จริง           เรือนไทยภาคกลางนั้น อาจสร้างเป็นเรือนเดี่ยว หรือสร้างหลายหลังร่วมกันเป็นเรือนหมู่ เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของครอบครัวดั้งเดิมของคนไทยในอดีต จึงสร้างเป็นเรือนหมู่ เช่นสร้างเรือนนอนเพิ่มขึ้น มีชานเชื่อมถึงกัน ตัวอย่างบ้านเรือนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี (ในอำเภอเมือง) เช่น บ้านยะมะรัชโช เป็นบ้านไม้ทรงไทยเรือนหมู่ อยู่ริมน้ำ ตั้งอยู่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี -------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการที่มาข้อมูล :  รวบรวมและเรียบเรียงจาก - โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร - บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง - สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน” หมายเหตุ เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 29 เม.ย. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum



นงนุช  สิงหเดชะ.  ทีวีสิงคโปร์ กับการเสนอข่าว การสวรรคต ของรัชกาลที่ 9.  มติชนสุดสัปดาห์.  37, (1889) :55 ;28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน  2559.                ภายในเล่ม กล่าวถึง ทีวีต่างประเทศ เช่น Channel NewsAsia ของสิงคโปร์ที่ให้ความสำคัญกับข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในแง่ที่ว่า 1. ผู้ประกาศข่าวในห้องส่งและนักข่าวภาคสนามแต่งกายด้วยชุดสีดำหรือสีทึบต่อเนื่องหลายวัน  2. ให้น้ำหนัก และเวลาในการเสนอข่าวด้วยความถี่ค้อนข้างสูงและเกาะติดต่อเนื่องหลายวันมากกว่าที่อื่น  นอกจากนี้ ยังใช้รูปแบบมาตารฐานการรายงานข่าวมรณกรรมของบุคคลสำคัญระดับโลก กล่าวคือ ในช่วงเนอข่าวการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ของไทย ทีวีแห่งนี้ขึ้นภาพในหลวงของเราพร้อมระยะการดำรงพระชนม์ชีพ (1927-2016) เป็นแถบไว้มุมด้านบนของทีวี ใช้ภาพพื้นหลังตามแบบที่โทรทัศน์ไทยใช้คือ เป็นพื้นดำลายไทย


โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยมีนายอำเภอคง (นายสุรสิทธิ์ สิทธกรวนิช) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ในวันพุธที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา (นายขจร มุกมีค่า) เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ และกิจกรรมรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำตำบลหนองมะนาว วัดป่าธรรมชาติ บ้านหนองชุมแสง ตำบบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา


ชื่อเรื่อง : เพลงยาวกลบทและกลอักษร แต่งจารึกที่วัดพระเชตพนฯ ในรัชกาลที่ 3 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ จำนวนหน้า : 238 หน้า สาระสังเขป : เพลงยาวกลบทและกลอักษรมีจำนวน 64 บท เป็นบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระนิพนธ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ และบทนิพนธ์ของข้าราชบริพาร ผู้ประพันธ์ได้ประดิษฐ์คิดค้นกลวิธีการเล่นเสียง เล่นคำแบบต่าง ๆ เพื่อแต่งกลอนกลบทโดยใช้รูปแบบเพลงยาว เนื้อความส่วนใหญ่เป็นจดหมายรักของชายหนุ่มเขียนให้หญิงสาว ทั้งแสดงความรัก ความวิตกกังวล ความสมหวังและผิดหวังในรัก ในแต่ละบทแต่งเป็นกลบทที่เล่นเสียงเล่นคำได้อย่างไพเราะ โดยเล่นเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์  


ชื่อเรื่อง                     พระพุทธโฆษา หรือ พระพุทธโฆสะ และตำนานพระปริตรผู้แต่ง                        -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   พระพุทธศาสนา เลขหมู่                      294.30923 ธ232รสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์การศาสนาปีที่พิมพ์                    2519ลักษณะวัสดุ               80 หน้า หัวเรื่อง                     ตำนาน                              พระพุทธโฆสะ                               พระพุทธโฆษา ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพิมพ์ถวายเป็นมุทิตาสักการะ เนื่องในการสมโภชสุพรรณบัฏและทำบุญอายุสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธโร มหาเถระ)


นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารกรมศิลปากรครั้งที่๕/๒๕๕๗(สัญจร) จังหวัดเชียงใหม่และศึกษาดูงานในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


ชื่อเรื่อง : ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : รัชดารมภ์การพิมพ์ จำนวนหน้า : 142 หน้า สาระสังเขป : หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร มีเนื้อหาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย ที่ประพฤติปฏิบัติกันมาแต่ช้านาน ประกอบด้วย 5 ประเพณีสำคัญ ได้แก่ 1. ประเพณีทำบุญ แต่งโดยนายเสฐียร พันธรังษีและหลวงพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ 2. ประเพณีบวชนาค เรียบเรียงโดยพระยาวรานุกูล (อ่วม) 3. ประเพณีแต่งงาน พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ 4. ประเพณีแต่งงาน เรียบเรียงโดยพระยาวรานุกูล (อ่วม) 5. ประเพณีทำศพ เรียบเรียงโดย พระจรูญชวนะพัฒน์ และหลวงวิศาลดรุณกร


วิทยาศาสตร์เบื้องต้นชั้นประถม 4


          จากการที่ล้านนามีการติดต่อค้นขายกับพ่อค้าจากเมืองต่างๆ ส่งผลให้มีการนำเงินตราของดินแดนใกล้เคียงที่มีการติดต่อค้าขายกันมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเงินตราของไท พม่า จีน และลาว รวมไปถึงการชั่งน้ำหนักซึ่งพบว่ามีการใช้ตราชั่งทั้งแบบตาเต็งหรือตาชั่งจีนและตาชูหรือตาชั่งแบบสุเมเรียน ในการใช้ตาชูนี้ต้องมีลูกชั่งซึ่งเป็นโลหะที่กำหนดน้ำหนักไว้เป็นมาตรฐานเพื่อนำมาชั่งน้ำหนักสิ่งของต่างๆ ที่นำมาซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมถึงใช้ชั่งโลหะที่นำมาเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยลูกชั่งนี้นิยมทำเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี เช่น หงส์ สิงห์ มอม เป็นต้น ชาวมอญในพม่านิยมใช้ลูกชั่งรูปหงส์เนื่องจากเป็นสัตว์ในวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเมืองหงสาวดี           สำหรับลูกชั่งที่ใช้ในล้านนา เรียกอีกอย่างว่า ลูกเป้ง นอกจากทำเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดีแล้วยังพบว่ามีการหล่อลูกชั่งเป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิด เรียกกันว่า ลูกเป้ง ๑๒ นักษัตร พรหมชาติล้านนากล่าวถึงโฉลกในการพกลูกเป้งและการเลือกใช้ถุงสำหรับบรรจุทรัพย์สำหรับผู้ที่เกิดในปีนักษัตรต่างๆ ไว้ดังนี้ ปีชวด พกลูกเป้งรูปหนู ปีฉลู พกลูกเป้งรูปวัว ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลืองด้านในสีแดง ปีขาล ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็นถุง ๓ ชั้น ชั้นนอกสีแดง กลางสีขาวและชั้นในสีเขียว ปีเถาะ พกลูกเป้งรูปกระต่าย ปีมะโรง พกลูกเป้งรูปนาค ปีมะเส็ง พกลูกเป้งรูปงู ปีมะเมีย พกลูกเป้งรูปม้า ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเหลือง ปีมะแม พกลูกเป้งรูปแพะ ปีวอก พกลูกเป้งรูปลิง ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีเหลือง ปีระกา พกลูกเป้งรูปไก่ ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็นถุง ๓ ชั้น ชั้นนอกสีเขียว ชั้นกลางสีขาว ชั้นในสีเทา ปีจอ พกลูกเป้งรูปสุนัข ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลือง ชั้นในสีขาว ปีกุน พกลูกเป้งรูปช้าง ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลืองชั้นในสีขาว           นอกจากนี้ยังมีโฉลกในการเลือกใช้ถุงบรรจุทรัพย์และการพกลูกเป้งสำหรับผู้ที่เกิดในเดือนต่างๆ ดังนี้ เดือน ๗ พกลูกเป้งรูปช้าง ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีขาว เดือน ๘ พกลูกเป้งรูปแพะ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีม่วง สายสีขาว เดือน ๙ พกลูกเป้งรูปหงส์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีเทา เดือน ๑๐ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำหรือสีเขียว ด้านในสีเหลือง สายสีแดง เดือน ๑๑ พกลูกเป้งดังรูปลูกหว้า ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเหลือง สายสีขาว เดือน ๑๒ พกลูกเป้งรูปเรือ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเขียว สายสีเหลือง เดือนเกี๋ยงหรือเดือน ๑ พกลูกเป้งรูปหอยสังข์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีขาว สายสีดำ เดือนยี่ พกลูกเป้งรูปราชสีห์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีขาว ด้านในสีดำ สายสีเหลือง เดือน ๓ พกลูกเป้งรูปวัว ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีม่วง ด้านในสีเหลือง สายสีแดง เดือน ๔ พกลูกเป้งรูปหงส์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเขียว สายสีขาว เดือน ๕ พกลูกเป้งรูปเต่า ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีม่วง ด้านในสีเขียว สายสีแดง เดือน ๖ พกลูกเป้งรูปช้างหรือรูปราชสีห์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาว สายสีดำ           ซึ่งการกำหนดโฉลกในการพกลูกเป้งรูปต่างๆ นี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของลูกเป้งที่มีการผลิตขึ้นเพื่อใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันบางรูปแบบพบไม่มากนัก โดยลูกเป้งส่วนใหญ่ที่พบได้แก่รูปหงส์ รูปสิงห์ เป็นต้น ----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิงเบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗ พรหมชาติล้านนา : สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐


Messenger