ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ
เหรียญรูปปูรณฆฏะและศรีวัตสะ สมัยทวารวดี
เหรียญรูปปูรณฆฏะและศรีวัตสะ จัดแสดงอาคารจัดแสดง ๒ ชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เหรียญเงินกลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๕ เซนติเมตร มีรูปสัญลักษณ์มงคลทั้ง ๒ ด้าน แต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
ด้านที่ ๑ มีรูปปูรณฆฏะขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ตรงกึ่งกลางเหรียญ โดยมีลักษณะเป็นหม้อทรงกลม ป่องกลาง คอคอด ปากกว้างผายออก มีลายพันธุ์พฤกษาห้อยลงมาทั้งสองข้าง ใต้หม้อมีสิ่งรองรับอาจเป็นใบไม้หรือดอกไม้ ขอบด้านนอกตกแต่งด้วยลายจุดกลมโดยรอบ
ด้านที่ ๒ มีรูปศรีวัตสะ และสัญลักษณ์มงคลอื่นๆ ประกอบ โดยมีศรีวัตสะอยู่ตรงกึ่งกลาง ลักษณะเป็นโครงลายเส้น โดยเส้นฐานล่างเป็นเส้นตรง เส้นด้านข้างทั้งสองด้านเชื่อมกับเส้นฐานล่าง ส่วนด้านบนตรงกึ่งกลางมีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านในมีรูปวัชระ ลักษณะเป็นอาวุธมีปลายแฉกทั้ง ๒ ด้าน ส่วนบนด้านขวาเป็นรูปพระอาทิตย์ และด้านซ้ายเป็นรูปพระจันทร์ ถัดลงมาด้านขวามีรูปอังกุศ (ขอสับช้าง) ลักษณะเป็นแท่งยาวมีปลายแหลมยื่นออกมาที่ด้านข้าง ส่วนด้านซ้ายสันนิษฐานว่าเป็นภาพจามร (แส้) ลักษณะเป็นแท่งยาวมีพู่ ใต้ศรีวัตสะมีรูปปลาหันไปทางขวา
ลวดลายที่ปรากฏบนเหรียญเป็นสัญลักษณ์มงคลที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์และความอุดมสมบูรณ์ พบเหรียญตราในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี แต่มีรายละเอียดสัญลักษณ์มงคลบางประการแตกต่างกันออกไป ได้แก่ เหรียญรูปสังข์และศรีวัตสะ เหรียญรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะ เหรียญรูปภัทรบิฐและศรีวัตสะ เหรียญรูปสัตว์และศรีวัตสะ เป็นต้น
นอกจากเหรียญตราชิ้นนี้แล้ว ยังพบเหรียญรูปปูรณฆฏะและศรีวัตสะที่มีรายละเอียดของลวดลายแตกต่างกันบางประการอีกจำนวนหนึ่ง ที่เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม และแหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทิน จังหวัดลพบุรี กำหนดอายุเหรียญตราชิ้นนี้ในสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
วิภาดา อ่อนวิมล. “เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๖”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑.
สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในงานเฉลิมฉลองมรดกโลกบ้านเชียง ประจำปี 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 9 - 11 กุมภาพันธ์ 2567 พบกับกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย
1. นิทรรศการพิเศษจากหน่วยงานกรมศิลปากร จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
- สืบเส้นใยผ้า สานภูมิปัญญาบ้านเชียง
- บ้านเชียงนอกบ้านเชียง
- ภูพระบาท
2. นิทรรศการพิเศษจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การเรียนรู้อุดรธานี
3. นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย Spindle กลุ่มนัวโรว์ อาร์ต เสปซ
4. กิจกรรม Workshop ทำโมบายผ้า – มัดหมี่ย้อมคราม - เขียนผ้าบาติก
5. สาธิตภูมิปัญญา ทอผ้า มัดหมี่ ตีเหล็ก
ทั้งนี้ เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงให้เข้าชมโดยยกเว้นค่าธรรมเนียม (ฟรี) ระหว่างวันที่ 9 - 11 กุมภาพันธ์ 2567 รวมทั้งเปิดให้ชมหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน และชมเรือนไทพวนอีกด้วย
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรม Workshop ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมฟรีทั้งงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง 0 4223 5040 เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum
ชมรมห้องสมุดเชียงใหม่ ขอเชิญบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ คุณครูบรรณารักษ์ และผู้ที่สนใจเข้าร่วม "การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ชมรมห้องสมุดเชียงใหม่ พ.ศ. 2566" หัวข้อ "การสร้าง Digital Content/ Content Maketing ในการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุด" วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 08.30-16.00 น. ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ มีค่าลงทะเบียน จำนวน 500 บาท
กิจกรรมที่น่าสนใจ
- การบรรยายและ Workshop เรื่อง "การสร้าง Digital content/ Content Maketing ในการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุด"
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์/ ส่งเสริมการรับรู้บริการของห้องสมุด Social Media/ การสร้าง Content / Tiktok
- การศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
ลงทะเบียนและชำระค่าลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2567 https://cmu.to/eqpqO ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน จะได้รับเกียรติบัตรรูปแบบออนไลน์ สอบถามเพิ่มเติม http://m.me/ChiangmaiLibraryclub
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขอเชิญรับชมการแสดงเทศกาลดนตรีไทยและศิลปะการแสดง ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนย่านเมืองเก่าสงขลา ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดโดย สาขาวิชาดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้านและสาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขา วันที่ 16 มีนาคม 2567 เวลา 19.00 น. เป็นต้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0 7426 0264
ชื่อเรื่อง กมฺมวาจาวิธิ(จุลลสุทฺธ มหาสุทธนฺต)
สพ.บ. 437/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 76 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 40 ซม.หัวเรื่อง พระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธรูปยืน
แบบศิลปะ : ทวารวดี
ลักษณะ : พระพุทธรูปยืนสลักจากหินสีเทาดำ เนื้อหินค่อนข้างเนื้อละเอียด ลักษณะพระพักตร์ยาวรี พระเนตรเหลือบต่ำ พระขนงต่อกันเป็นเป็นปีกกาเหนือสันพระนาสิก พระนาสิกโด่ง พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยค่อนข้างใหญ่ พระเกตุมาลานูนใหญ่ พระรัศมีเป็นตุ่มเล็ก ครองจีวรห่มคลุมเรียบไม่มีริ้ว จีวรบางจนเห็นขอบสบง (ผ้านุ่งชั้นใน) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเพื่อแสดงปาง แต่นิ้วพระหัตถ์หักหาย จึงสันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจแสดงปางประทานอภัย (อภัยมุทรา) หรือปางแสดงธรรม (วิตรรกะมุทรา) ก็ได้ กลางฝ่าพระหัตถ์มีการแกะสลักรูปดอกจัน พระกรซ้ายแนบพระวรกาย ยืนตรงสมมาตรบนฐานบัวหงายกลีบบัวขนาดใหญ่ที่มีเกสรบัว
จากรูปแบบพุทธลักษณะดังกล่าวอาจกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ได้พุทธศตวรรษที่ 13 - 14 หรือเมื่อประมาณ 1,200 – 1,300 ปีมาแล้ว
ขนาด : สูงพร้อมเดือย 188 เซนติเมตร
ชนิด : หินทราย
อายุ/สมัย : พุทธศตวรรษที่ 13 - 14 (ประมาณ 1,200 – 1,300 ปีมาแล้ว)
ประวัติ/ตำนาน : ได้มาจากพิพิธภัณฑ์อยุธยา เดิมได้มาจากวัดมหาธาติ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=51724
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ชื่อเรื่อง : เที่ยวแม่น้ำโขงผู้แต่ง : พระมหาจรูญ คณาจารย์โทปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๘สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ทรงธรรมจำนวนหน้า : ๑๐๔ หน้าเนื้อหา : หนังสือ เที่ยวแม่น้ำโขง นี้ พระมหาจรูญ คณาจารย์โท ผู้กำกับคณะจังหวัดเชียงรายและผู้อำนายการศึกษาประจำจังหวัดเชียงราย พิมพ์แจกในการสอบไล่นักธรรม จังหวัดเชียงราย เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๘ เนื้อหาประกอบด้วยประวัติผู้แต่งคือ พระมหาจรูญ คณาจารย์โท วัดมุงเมือง จังหวัดเชียงราย เนื้อเรื่องกล่าวถึงการเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่จังหวัดมหาสารคามโดยผ่านทางแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนั้น พ.ศ.๒๔๗๗ ได้เดินทางผ่านเมืองสำคัญ เช่น หลวงพระบางและเวียงจันทน์ และจังหวัดต่างๆ ของสยาม เช่น หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่นและมหาสารคาม ระยะทางรวม ๑,๒๕๙ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางออกจากเชียงราย ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๗ ถึงมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๗ รวม ๑ เดือน ๒ วัน เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๖๗๗เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๓๑หมายเหตุ :โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ หอสมุดแห่งชาติชลบุรีเข้าร่วมการจัดบูธนิทรรศการในหัวข้อ ความรู้คู่บ้าน : ตำรายาการแพทย์แผนไทย ในงานสัปดาห์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ ร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทั้งนี้ภายในงานมีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กชอป (workshop) หนังสือสุขภาพดิจิทัลขนาดเล็ก เป็นจำนวนมาก
ู