ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ

          ปี้ คือสิ่งที่ใช้แทนเงินตราในบ่อนเบี้ย ทำจากวัสดุต่าง ๆ เช่น กระเบื้อง ทองเหลือง แก้ว มีรูปร่างและลวดลายหลากหลายแบบ กล่าวกันว่ามีมากกว่า ๕,๐๐๐ แบบ           ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๑๖ สยามประสบปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ประชาชนได้นำปี้มาใช้แทนเงินปลีก จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๔๑๗ ทางการได้พิมพ์อัฐกระดาษขึ้นใช้แทนเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว           บ่อนเบี้ย เป็นสถานที่สำหรับเล่นถั่วโป ไม่แน่ชัดว่าเริ่มมีในไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าเริ่มมีในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันประเภทที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่น การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่รัฐอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง จึงเกิดขึ้นเป็นอากรบ่อนเบี้ยขึ้น           ในสมัยอยุธยากำหนดให้สามารถเล่นถั่วโปได้เฉพาะชาวจีนเท่านั้น พบว่ามีการขอตั้งบ่อนเบี้ยขึ้นในพื้นที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาในสมัยธนบุรีจึงอนุญาตให้คนไทสามารถเล่นถั่วโปได้ อาจเนื่องจากว่าเป็นช่วงศึกสงครามจึงผ่อนปรนให้ไพร่พลได้เล่นเพื่อผ่อนคลาย และอนุญาตให้เล่นต่อมาเรื่อย ๆ           ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยเพิ่มขึ้น มีการแบ่งแขวงอากรบ่อนเบี้ย โดยบ่อนเบี้ยได้แพร่หลายออกไปตามหัวเมืองมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ การค้าเจริญขึ้นมีการจัดระเบียบภาษีอากรต่าง ๆ และมีการตั้งอากรหวยเพิ่มขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการตั้งอากรการพนันขึ้นโดยกำหนดประเภทการพนันที่จะต้องเสียภาษีให้แก่อากรบ่อนเบี้ย ในช่วงรัชกาลที่ ๔ จึงมีรายได้จากการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละปีเพิ่มขึ้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้นมา โดยค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยที่อยู่ตามหัวเมืองทั้งหมดทุกมณฑล และค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนที่เหลือในกรุงเทพฯ ลง ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลิกหวยและบ่อนเบี้ยทั้งหมด และทรงตั้งพระราชบัญญัติห้ามเล่นหวยเล่นถั่วโปในพระราชอาณาจักรโดยมีพระราชประสงค์ให้ไพร่บ้านพลเมืองได้มีเงินไว้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพให้เป็นประโยชน์แก่ตน           สำหรับการตั้งนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดแขวงสำหรับทำอากร ในช่วงสิ้นปีผู้ที่ประสงค์จะเป็นนายอากรจะต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติว่าจะขอผูกอากรในพื้นที่แขวงใด หากแขวงนั้นมีผู้ยื่นหลายรายจะมีการประมูล ผู้ที่ประมูลได้ต้องมีผู้รับรองจากนั้นต้องส่งเงินงวดล่วงหน้า ๒ เดือน หากสิ้นปีไม่มีผู้ใดประมูลต่อนายอากรคนเดิมก็จะได้ทำต่อไป           ในการเปิดบ่อนเบี้ยนายอากรได้ผลิตปี้ขึ้นใช้แทนเงินปลีก ในระยะแรกปี้ผลิตขึ้นจากโลหะหรือแก้ว ต่อมาจึงเริ่มใช้ปี้ที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบซึ่งสั่งผลิตจากจีน โดยนายอากรแต่ละคนใช้ปี้ที่มีลวดลายต่างกันไป แต่กำหนดมูลค่าปี้เป็นมาตรฐานที่ราคาปี้ละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง และ ๒ ไพ เวลาคนเข้าไปเล่นเบี้ยจะต้องนำเงินไปแลกปี้ เมื่อเล่นเสร็จจึงนำเงินที่มีอยู่ไปแลกเป็นเงินกลับไป แต่บางครั้งผู้เล่นยังไม่นำปี้ไปแลกเป็นเงิน เนื่องจากเชื่อว่าจะนำมาแลกเป็นเงินเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเริ่มมีการชำระหนี้หรือซื้อสินค้าโดยใช้ปี้แทนเงินตรา เมื่อมีการเปลี่ยนนายอากรหรือมีผู้ทำปี้ปลอมขึ้นนายอากรสามารถยกเลิกปี้แบบเดิม โดยประกาศว่าจะยกเลิกปี้แบบเดิมให้ผู้ที่มีปี้แบบเดิมนำปี้มาแลกเงินคืนในระยะเวลาที่กำหนด นายอากรจึงมักได้กำไรจากปี้ที่ไม่มีผู้นำกลับมาแลกอีกด้วย ------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/photos/a.1180075428787896/3115307448598008/------------------------------------------------เอกสารประกอบ เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๗ ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ ตอน ๓๖ ประกาศวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๓๐ หน้า ๒๘๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ ตอน ๓๗ ประกาศวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๓๑ หน้า ๓๑๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๓๘ ประกาศวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๒ หน้า ๓๓๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๕๐ ประกาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๒ หน้า ๔๓๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ตอน ๔๐ ประกาศวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๓๘ หน้า ๓๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐ ตอน ๘ ประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๓๖ หน้า ๙๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๕ ตอน ๑๒ ประกาศวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๔๑ หน้า ๑๒๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ ตอน ๔๘ ประกาศวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ หน้า ๘๗๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ หน้า ๒๔๙๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๕๔ หน้า ๒๗๓๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๖ หน้า ๒๘๐๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ หน้า ๒๗๙๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๕๘ หน้า ๓๑๐๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ ตอน ๐ก ประกาศวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๐ หน้า ๔



องค์ความรู้ เรื่อง เอกสารจดหมายเหตุ จากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ตอน วิถีนคร : ศาสนสถาน ๔ แห่ง เส้นทางถนนราชดำเนิน จังหวัดนครศรีธรรมราช         ศาสนสถาน (อังกฤษ: Place of worship) หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้กลุ่มคนเข้ามาประกอบการแสดงออกซึ่งการเคารพ อุทิศตน           ศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อให้บุคคลต่างๆ ประกอบการบูชาในทางศาสนา และความเชื่อ ซึ่งแต่ละศาสนามีสถานที่ ที่แตกต่างกัน เช่น พระพุทธศาสนามีวัด ศาสนาคริสต์มีโบสถ์ ศาสนาอิสลามมีมัสยิด และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีเทวสถาน เป็นต้น           เป็นความลงตัวของการผสมผสานทางวัฒนธรรมของศาสนาต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ร่วมกันได้ ดังนั้น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขอนำเสนอ เอกสารจดหมายเหตุ ประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ (ภาพถ่าย) ที่มีให้บริการในหน่วยงาน พอสังเขป ไว้เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาค้นคว้าได้ ในโอกาสต่อไป ------------------------------------------------เรียบเรียงโดย : นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ -----------------------------------------------เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๑ .๒ /๕๘ ภาพวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๐๐ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๒ .๒/๑๑ ภาพหอพระอิศวร จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๑ .๒/๔ ภาพโบรถ์คริสต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๑ .๒/๖ ภาพมัสยิดญาเมี๊ยะ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. (๒๕๖๓). ศาสนสถาน. สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2563, จาก : https://th.wikipedia.org/wiki







     เทวดารักษากำพูฉัตร      ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)      โลหะผสม กะไหล่ทอง      สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเครื่องประกอบพระบวรเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้คติการประดิษฐานรูปเทวดาประจำกำพูฉัตร เป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และคงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราชซึ่งดำรงพระอิสริยยศเสมอด้วยพระมหากษัตริย์ด้วยในคราวเดียวกัน


เลขทะเบียน : นพ.บ.116/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  26 หน้า ; 4.8 x 52 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 65 (204-208) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : นิทานเมืองล้านช้างเวียงจันทน์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.147/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.126/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 73 (257-266) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


#พระพิฆเนศวร_ดวงตราสัญลักษณ์ของ กรมศิลปากร พระพิฆเนศวร ดวงตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากรสัญนิษฐานว่าพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร (พุทธศักราช ๒๔๗๗ – ๒๔๘๕) เป็นผู้ริเริ่มให้นำรูป พระพิฆเนศวรมาเป็นดวงตราประจำกรมศิลปากร ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๐ โดยมอบหมายให้คุณพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ออกแบบ และนายปลิว จั่นแก้ว เป็นผู้ลงเส้นหมึก และขอพระราชทานบรมราชานุญาตใช้พระพิฆเนศวร เป็นดวงตราประจำ กรมศิลปากร ดวงตรากรมศิลปากรดวงแรก เป็นรูปพระพิฆเนศวรสี่กรล้อมรอบด้วยวงกลม มีลวดลายเป็นดวงแก้วเจ็ดดวง หมายถึง ศิลปวิทยาเจ็ดแขนงที่เป็นลักษณะงานของ กรมศิลปากร ได้แก่ ช่างปั้น จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ วาทศิลป์ สถาปัตยกรรม และอักษรศาสตร์ พระพิฆเนศวรทรงนาคยัชโญปวีต ถืองาหัก ตรีศูล เชือก บ่วง (บ่วงบาศ) และถ้วยใส่ปยาสะ ทรงสวมสนับเพลาที่มีลวดลายไทย ตกแต่งองค์ด้วยลายไทย ลายพื้นหลังเป็นลายกระหนกลักษณะคล้ายเมฆ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.15/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๒ ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาจำนวนหน้า : 234 หน้า สาระสังเขป : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๒ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชพิธีเดือน ๕ จนถึงเดือน ๘ พระราชพิธีเดือน ๕ ว่าด้วยเรื่องก่อกองทราย บายศรี สรงน้ำพระ เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๖ ว่าด้วยฤกษ์แรกนา พิธีแรกนาหัวเมือง พระราชพิธีวิศาขบูชา เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๗ พระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง พระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท การพระราชกุศลสลากภัต เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๘ พระราชพิธีเข้าพรรษา การพระราชกุศลฉลองเทียนพรรษา เรื่องสวดมหาชาติคำหลวง เป็นต้น


ชื่อเรื่อง           สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับวัดไชโยวรวิหารผู้แต่ง             ธวัช เฟื่องประภัสสร์.ครั้งที่พิมพ์       -ปีที่พิมพ์          [๒๕๑๓] สถานที่พิมพ์     พระนครสำนักพิมพ์       โรงพิมพ์ กรมการทหารสื่อสารจำนวนหน้า      ๕๘ หน้า                      หนังสือ สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับวัดไชโยวรวิหาร นี้ มีเนื้อหากล่าวถึง ประวัติวัดไชโยวรวิหาร อำเภอ ไชโย จังหวัดอ่างทอง การบูรณะ ปฏิสังขรณ์ในแต่ละครั้ง ลำดับและประวัติท่านเจ้าอาวาส และรูปภาพประกอบ  


Messenger