ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,769 รายการ
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ :
.
“วันวิสาขบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ล้วนเกิดขึ้นตรงกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วันวิสาขบูชา” ซึ่งย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” หมายถึง “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือนแปดสองหน ก็จะเลื่อนไปเป็นกลางเดือนเจ็ด อย่างเช่นในปี ๒๕๖๔ ที่มีเดือนแปดสองคน
ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖) พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ ความว่า
"ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา"
และพระพุทธองค์ได้กล่าวปัจฉิมวาจา หรือปัจฉิมโอวาท เป็นคำสอนครั้งสุดท้ายก่อนจะปรินิพพานว่า
“วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ”
แปลว่า
“สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖). เข้าถึงได้โดย https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
ภาพจิตรกรรมพระวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ด้านทิศตะวันตก เป็นภาพปริพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกับเหล่าสาวกที่อยู่ในอากัปกิริยาโศกเศร้า
กรมศิลปากร. ประวัติวัดธาตุ จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527. วัดธาตุ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ มีปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นวัดศูนย์กลางการศึกษาปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในบริเวณด้านตะวันออก หน้าวัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ บริเวณดังกล่าวนี้ เมื่อครั้งอดีตเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ๓ หลัง ที่มีประวัติการใช้งานที่น่าสนใจ เริ่มจากเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารแทนตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ หลังจากนั้น ใน พ.ศ.๒๔๔๐ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อป้อม กำแพงในเขตพระราชฐานชั้นนอก ด้านเหนือและตะวันออกของพระราชวังบวรสถานมงคลลงเพื่อปรับพื้นที่เป็นสนามหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารสถาปัตยกรรมตะวันตก ก่ออิฐถือปูน สองชั้น จำนวน ๓ หลัง เรียงกันจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกในบริเวณพื้นที่ส่วนหน้าด้านตะวันออกของวัดบวรสถานสุทธาวาส เมื่อแรกใช้เป็นที่ทำการของกองทหารบกราบที่ ๓ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงธรรมการ(ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ได้เข้าใช้พื้นที่อาคารนี้ นับแต่ พ.ศ.๒๔๔๘ – ๒๔๕๒ จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นที่ทำการของศาลข้าหลวงพิเศษ กระทรวงยุติธรรม และศาลฎีกา จนถึง พ.ศ.๒๔๘๔ นับแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ – ๒๔๙๗ กระทรวงคมนาคมได้รับอนุญาตให้เข้าใช้อาคารทั้งสามหลัง เป็นที่ทำการกระทรวงฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๗ – ๒๔๘๘) วัดบวรสถานสุทธาวาสและอาคารสำนักงานหลังที่อยู่ใกล้ได้รับความเสียหาย ๑ หลัง จากการทิ้งระเบิด ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๗ กรมศิลปากรได้รับมอบอาคาร ๓ หลังซึ่งกระทรวงคมนาคมส่งมอบเพื่อใช้อาคาร ๒ หลังที่อยู่ตอนในใกล้วัดบวรสถานสุทธาวาสเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนศิลปศึกษา ซึ่งภายหลังโรงเรียนดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนช่างศิลป์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ พร้อมกับการจัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นบนพื้นที่อาคารสำนักงานเดิมที่อยู่ใกล้วัดบวรสถานสุทธาวาสซึ่งได้รับความเสียหายจากสงคราม ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๔ – ๒๕๐๕ จึงมีการรื้ออาคารสำนักงานหลังกลาง เพื่อใช้เป็นพื้นที่สร้าง โรงละครแห่งชาติ โดยมีการปรับใช้อาคารสำนักงานหลังที่อยู่ทางตะวันออกสุดด้วยการเจาะผนังอาคารด้านตะวันออกเป็นประตูเข้าอาคารและสร้างหลังคามุขยื่นคลุมที่ชั้นล่างของอาคาร ต่อมาจึงมีการรื้อถอนอาคารสำนักงานหลังนี้เพื่อสร้างโรงละครเล็กและพื้นที่ลานหน้าอาคารโรงละครแห่งชาติริมถนนหน้าพระธาตุ เมื่อการก่อสร้างโรงละครแห่งชาติแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมาในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลป์ไทยเนื่องในวโรกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งชาติอย่างเป็นทางการ ------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๐๑ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ พระสนมเอก เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๐๑
ในรัชกาลที่ ๕ ทรงรับราชการเป็นนายพันตรี ราชองครักษ์ ทรงกำกับกรมมหาดเล็กมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๒๒ สิริพระชันษา ๒๒ ปี
ภาพ : พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ พระสนมเอก จากซ้ายไปขวา พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ และพระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
ในขณะที่ตอนนี้ผู้คนกำลังให้ความสำคัญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เราอาจจะลืมไปว่ายังมีโรคระบาดที่รุนแรงอย่างไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และมักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยกรมควบคุมโรคออกมาเตือนการเกิดโรคไข้เลือดออกเป็นอีกหนึ่งโรคที่มาแรงสำหรับปี 2020 นี้ โดยตั้งแต่ต้นปี 1 มกราคมเป็นต้นมา มีผู้ป่วยทั่วประเทศแล้วมากกว่า 8,746 ราย และเสียชีวิตไปแล้วถึง 6 ราย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่พบอัตราป่วยมากสุด คือ เด็กๆ อายุระหว่าง 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และอายุแรกเกิดถึง 4 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า เด็กเล็กนั้น มีความเสี่ยงในการติดโรคอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก เรามารู้จักกับโรคนี้ทั้งระยะของโรค อาการ และการรักษาป้องกันกันค่ะ โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง (Dengue) โดยมียุงลายที่เป็นพาหะนำโรค เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายคนโดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด จากนั้นยุงลายก็จะแพร่เชื้อให้กับคนอื่นๆ ต่อไป (ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ซึ่งเมื่อได้รับเชื้อเข้าร่างกายและ จะมีอาการ ไข้ขึ้นสูงหลายวัน, ปวดศีรษะ คล้ายอาการของไข้หวัด แต่จะมีอาการร่วมเป็นอาการปวดกระบอกตา, ปวดกล้ามเนื้อ, เมื่อยเนื้อตัว, ท้องอืด, มีผื่นแดงขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอาการเฉพาะของ โรคไข้เลือดออกค่ะ ระยะของโรคไข้เลือดออก แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะหลักๆ ได้แก่ -ระยะไข้ ระยะนี้ไข้สูง 39-40 °C นานเกิน 4-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร ท้องอืด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และอาจจะชัก ใบหน้าแดงในระยะนี้ได้ -ระยะวิกฤต ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ฝ่ามือ ฝ่าเท้าเย็นขึ้น ปัสสาวะน้อย มีอาการท้องอืด ระยะอาจจะเกิดอาการอันตรายอย่างอาการช็อกได้ -ระยะฟื้นตัว หลังจากผ่านช่วงวิกฤตมาแล้ว ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดหัวลดลง อยากอาหาร ซึ่งหากผู้ป่วยเกิดอาการช็อก แล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะกลับมาเป็นปกติภายใน 2-3 วัน การรักษาโรคไข้เลือดออกนั้น ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเบื้องต้นให้งดกินยาประเภทแอสไพรินและยาต้านการอักเสบ ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเกลือแร่เสริม และดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ส่วนวิธีป้องกัน เนื่องจากโรคนี้มีพาหะนำโรคเป็นยุงลาย เราจึงต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สวมใส่เสื้อแขนยาวขายาว และทายากันยุงสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการถูกแมลง ถูกยุงลายกัดค่ะ ในสมัยก่อนได้มีการรักษาโรคต่างๆด้วยสมุนไพรและการบริหารร่างกาย อย่างเช่น หนังสือหายากเล่มหนึ่ง ได้บันทึกเกี่ยวกับโครงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ เพื่อเป็นตัวอย่างการรักษาด้วยการบริหารร่างกายประกอบกับการรับประทานยาทำให้ไข้และสามารถรักษาได้หายจริงในสมัยเริ่มตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่ศิริราชพยาบาล จึงได้บักทึกไว้ในหนังสือหายากจารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ ------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมโรคติดต่อ, 2536. เลขหมู่ 616.157 ก169ร สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2546. เลขหมู่ 616.157 ส846ร จารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤาษีดัดตน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2534 เลขหมู่ 615.822 ค319ก ข้อมูลสถิติ กรมควบคุมโรคติดต่อ
ชื่อเรื่อง อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธัมมารวม)
สพ.บ. 245/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง บัวรพันธ (บัวรพัทธ)
สพ.บ. 361/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.154/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 76 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : วิทฺดธมุขมณฺฑน(ศัพท์วิทัดมุขมัณฑน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.37/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ถ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ปฐมสิกฺขาปท (ปถมสิกฺขาปท)
ชบ.บ.98/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.312/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 127 (313-316) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เนมิราช)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม