ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,768 รายการ
จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ติดกับทะเลอันดามัน ระหว่างเส้นรุ้ง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทางประมาณ 820 กิโลเมตรมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,708,561 ตร.กม
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทสนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ. 125/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
โบราณสถานที่สำคัญของเมืองสงขลาเก่า สมัยกรุงศรีอยุธยานั่นคือ ป้อมเมืองสงขลาเก่า ซึ่งตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ทั้งบนเขาและที่ราบ ซึ่งใช้เป็นป้อมปราการป้องกัน ต่อสู้ ปกป้องบ้านเมือง เมืองสงขลาเก่าที่ตั้งอยู่ในบริเวณตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน ปรากฏชื่ออยู่ในเอกสารโบราณว่า SINGORA เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ก่อตั้งเมืองโดยดาโต๊ะโมกอล และปกครองต่อมาโดยสุลต่านสุลัยมาน และสุลต่านมุสตาฟา ซึ่งเป็นผู้ปกครองกลุ่มมุสลิมที่มีความสามารถด้านการค้าและการสู้รบปกป้องบ้านเมือง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองสงขลาเป็นเมืองท่าที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะมีการขยายตัวทางด้านการค้าอย่างกว้างขวางกับชาวต่างชาติ เช่น ดัตช์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ต่อมาเมืองสงขลาเริ่มแข็งเมืองกับกรุงศรีอยุธยา จนทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาต้องส่งกำลังมาปราบปรามจนสำเร็จใน พ.ศ. ๒๒๒๓ ทำให้บ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้าง ผู้คนได้ย้ายมาตั้งที่อยู่ใหม่บริเวณปลายสุดของคาบสมุทรสทิงพระ หรือบ้านแหลมสน และเรียกกันเรื่อยมาว่า “เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองสมัยต้นรัตนโกสินทร์โดยอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชื้อสายจีน ทั้งนี้ เมืองสงขลาเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นเมืองที่มีคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการ เป็นอาณาเขตและเป็นปราการของเมือง แผนผังเมืองที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๐ โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) แสดงแผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคูเมืองและกำแพงเมืองเป็นปราการด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีเขาแดงและเขาค่ายม่วงเป็นปราการด้านทิศใต้ จากการศึกษารูปแบบและแผนผังการก่อสร้างป้อมดังกล่าวสันนิษฐานว่าชาวอังกฤษคงจะมีส่วนให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างและซ่อมแซม ซึ่งในปัจจุบันสามารถพบเห็นร่องรอยของป้อมเมืองสงขลาเก่าที่ก่อด้วยหินสอปูนอย่างน้อย ๑๔ ป้อม ประกอบด้วย ๑. ป้อมบนที่ราบและเชิงเขา ลักษณะเป็นป้อมขนาดกลางรูปสี่เหลี่ยม มีช่องทางเข้าหรือบันไดอยู่ทางด้านในหรือด้านข้าง ส่วนบนทำเป็นเชิงเทิน มีช่องมองสลับใบบังรูปสี่เหลี่ยมอยู่โดยรอบ ด้านนอกมีเสาครีบค้ำยันเพื่อเสริมความมั่นคงของโครงสร้าง และป้องกันแรงกระแทกจากการยิงของปืนใหญ่ ได้แก่ ป้อมหมายเลข ๑, ๒, ๓, ๙, ๑๑, ๑๒, ๑๓ และ ๑๕ ๒. ป้อมบนเขาและลาดเขา มีลักษณะเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยม มีช่องมองและส่งสัญญาณมายังเบื้องล่าง ได้แก่ ป้อมหมายเลข ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, และ ๑๐ ๓. ป้อมในทะเล คงจะมีลักษณะเช่นเดียวกับป้อมบนพื้นราบ ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ไม่อาจจะสันนิษฐานรูปแบบได้ (สันนิษฐานว่าคือ ป้อมหมายเลข ๑๔) กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานป้อมเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเษกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ หน้า ๓๗๑๔ และประกาศเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานบริเวณเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๙ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕ หน้า ๑๐๑๙๐ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒,๔๖๐ ไร่---------------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวชนาธิป ไชยานุกิจ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ----------------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง ๑. พรอนันท์ก่อสร้าง,ห้างหุ้นส่วนจำกัด. รายงานการบูรณะโครงการฟื้นฟูบูรณะแหล่งประวัติศาสตร์ เขตเมืองสงขลาเก่า โบราณสถาน ป้อมที่ ๑. เอกสารอัดสำเนา,๒๕๔๓ ๒. พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. “การค้าในการเมือง กับ มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ วิศวกรฝรั่งเศสผู้ออกแบบป้อมกำแพงเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์” ใน วารสารวิจิตรศิลป์. ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐), หน้า ๑๘๕ – ๒๖๔ ๓. ศิลปากร,กรม. การเริ่มต้นและการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองสงขลาเก่า. เอกสารหมายเลข๑๐/๒๕๓๓ กองโบราณคดี. กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.สัมพันธ์พาณิชย์, ๒๕๔๐ ๔. ศิลปากร,กรม. เมืองสงขลาในอดีต. หน่วยศิลปากรที่ ๙ สงขลา กองโบราณคดี.เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๓๕. ๕. ศิลปากร,กรม. หนังสือนำชมโบราณสถานที่สำคัญในเขตพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล). กรุงเทพ : บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์ จำกัด, ๒๕๕๗ ๖. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร,ผศ. ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. สงขลา : สถาบันราชภัฏสงขลา,๒๕๓๙ ๗. สารูป ฤทธิ์ชู. “การพัฒนาเศรษฐกิจ : สังคมและการค้าของเมืองสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๔” ใน สงขลาศึกษา. หน้า ๖๕ – ๘๑ กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด, ๒๕๓๕ ๘. โอวาท โกญจนาวรรณ. การศึกษาป้อมเมืองสงขลาเก่า กิ่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ประกอบการศึกษาตามระเบียบปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต (โบราณคดี). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๑
เลขทะเบียน : นพ.บ.71/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 82 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 10 (2564)หัวเรื่อง : วินยฺกิจ (วิไนยกิจจะ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.107/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5.2 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 61 (179-187) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : มูลกมฺมฎฐานกถา (มุลล กมฺมฐาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.133/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5 x 51.8 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 79 (315-317) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : เตปทุุมกุมาร--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.88/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 52.4 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 51 (94-102) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : วิสุทธิมคฺคปาพัตถพฺยาขฺยาน (วิสุทธิมัคปาฬัตถพยาขยาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.8/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
“พิธีลุยไฟ” รวมถึงทบทวนวรรณกรรมที่มีพิธีเกี่ยวกับ “ไฟ” ในวัฒนธรรมไทย พร้อมทั้งนำเสนอโบราณวัตถุในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยฉากพิธีลุยไฟในละครดังกล่าว มีลักษณะใกล้เคียงกับ “พระไอยการลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง” ในกฎหมายตราสามดวง เริ่มต้นด้วยการอ่านโองการเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นพยาน ตั้งสัจจาอธิษฐานแล้วจึงทำการพิสูจน์ด้วยวิธีต่าง ๆ (ดูเพิ่มเติมใน https://thematter.co/social/8-way-of-legendary-trial/19188) อย่างการดำน้ำ จะมีการปักเสาไว้สองต้น ให้ทั้งสองฝ่ายดำลงไป ใครทนไม่ไหวผุดขึ้นจากน้ำก่อนถือว่าเป็นฝ่ายผิด ส่วนวิธีลุยไฟ พนักงานจะทำรางยาว สุมถ่านหนาราวคืบหนึ่ง แล้วจึงจุดไฟให้สองฝ่ายเดิน ผู้ที่ถูกกล่าวหาจะตั้งจิตอธิษฐานว่า “หากตนบริสุทธิ์ขออย่าให้ความร้อนจากกองไฟทำลายได้” จากความเชื่อที่ว่าคนที่ใจบริสุทธิ์จะเดินผ่านกองไฟได้โดยไม่มีอันตราย ทว่า ผ่านไป ๓ วัน หากฝ่ายไหนเท้าพองขึ้นให้ถือเป็นฝ่ายผิด (กรณีไม่พองหรือพองทั้งคู่ให้ถือว่าเสมอกันไม่มีฝ่ายผิด) ซึ่งนอกจากวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผนจะมีเหตุการณ์ดำน้ำ-ลุยเพลิงแล้ว วรรณกรรมอีกเรื่อง คือ “รามเกียรติ์” ยังมีฉากการพิสูจน์ความจริงของสีดา ดังที่ทุกคนรู้จักในชื่อ “สีดาลุยไฟ”
“...โอ้ว่าพระรามยังแคลงใจ จบศึกกรุงลงกา พิสูจน์เจ้านางสีดา ให้บุกเดินลุยไฟ...” จุดเริ่มต้นของฉากลุยไฟในเรื่องรามเกียรติ์ เกิดขึ้นภายหลังสิ้นสุดสงครามที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน พระรามอัญเชิญนางสีดากลับกรุงอโยธยา ทว่า พระองค์ไม่อยากให้ผู้ใดนินทานางสีดา ด้วยไปอยู่กรุงลงกานานถึง ๑๔ ปี นางสีดาจึงขอลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์ต่อหน้าเหล่าเทวดา โดยพระรามให้สุครีพนำเชื้อไฟมากองที่หน้าพลับพลา แล้วทรงแผลงศรเป็นไฟลุกขึ้นต่อหน้าเหล่าเทวดาทั้งปวง ก่อนลุยไฟนางสีดาได้ตั้งสัตย์อธิษฐานว่า หากนางซื่อสัตย์ต่อสามีขออย่าให้มีความร้อน เมื่อสิ้นคำอธิษฐานนางสีดาทำการลุยไฟ ปรากฏว่าความร้อนจากไฟพ่ายแพ้ต่อแรงอธิษฐาน มีดอกบัวบานผุดขึ้นรองรับทุกย่างก้าว แสดงให้เห็นว่านางสีดาเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยในแง่ศิลปกรรมได้ถูกถ่ายทอดลงบนแผ่นหนังฉลุลาย ระบายสี เป็นรูปนางสีดาลุยไฟ แวดล้อมด้วยลายกนกเปลวและลายดอกพิกุล ด้านล่างสลักรูปพลลิงถือนั่งถือพัดโบก มีประวัติระบุว่ากรมมหรสพส่งมาเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ อนึ่ง มีจุดสังเกตที่สำคัญ คือ นางสีดาครองผ้า “สไบสองชาย” นัยหนึ่งอาจหมายความถึงลักษณะการนุ่งห่มผ้า อีกนัยหนึ่งอาจมีนัยแฝงถึงความสัมพันธ์ระหว่างนางสีดา พระราม และทศกัณฐ์ก็เป็นได้
นอกจากนี้ ในแง่ของประเพณีพิธีกรรม ทุกวันที่ ๗ เดือน ๙ ตามปฏิทินจันทรคติของจีน “วันเก๊าวั่ยชิวชิค” จะมีพิธีทรงเจ้าแสดงความศักดิ์สิทธิ์ในเทศกาลกินเจ และมีพิธีลุยไฟ หรือ “เกี่ยโฮ้ย” โดยพนักงานจะนำไม้เชื้อเพลิงวางเป็นทางเดินยาวประมาณ ๑๐ เมตร เว้นที่สำหรับลงน้ำหนักเท้า ผู้ร่วมพิธีที่จะลุยไฟจะเดินด้วยเท้าเปล่าเหยียบในบริเวณที่ไฟมอดแล้ว สลับกับที่ว่างที่เว้นไว้ จากคติของชาวจีนโบราณที่เชื่อว่าการลุยไฟเป็นการสะเดาะเคราะห์นั่นเอง ท้ายที่สุด ขอจบด้วยเรื่อง “คนดี” คติธรรมของสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่ให้ไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ว่า “ผู้ที่ตกน้ำไม่ไหล” คือน้ำไม่พัดพาไปถึงได้รับอันตราย ก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำหยุดไหล แต่หมายความว่ามีผู้ช่วยนำขึ้นให้พ้นน้ำได้ “ผู้ที่ตกไฟไม่ไหม้” ก็ไม่ได้หมายความว่าไฟไหม้เนื้อหนังร่างกายจริงๆ แต่หมายความว่ามีผู้ช่วยให้พ้นจากไฟ หรือช่วยดับไฟให้ตนจึงพ้นภัยอันเกิดจากไฟนั้น (ดูเพิ่มเติมใน http://www.dhammathai.org/monktalk/dbview.php?No=1603)
เผยแพร่โดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พิริยะ ไกรฤกษ์, กรมศิลปากร. ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2523. ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นหนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นผู้เขียนต้นฉบับบทความและรายละเอียดของวัตถุแต่ละชิ้นเป็นภาษาอังกฤษ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรแปลเป็นภาษาไทย
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ :
.
“วันวิสาขบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ล้วนเกิดขึ้นตรงกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วันวิสาขบูชา” ซึ่งย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” หมายถึง “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือนแปดสองหน ก็จะเลื่อนไปเป็นกลางเดือนเจ็ด อย่างเช่นในปี ๒๕๖๔ ที่มีเดือนแปดสองคน
ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖) พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ ความว่า
"ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา"
และพระพุทธองค์ได้กล่าวปัจฉิมวาจา หรือปัจฉิมโอวาท เป็นคำสอนครั้งสุดท้ายก่อนจะปรินิพพานว่า
“วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ”
แปลว่า
“สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖). เข้าถึงได้โดย https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
ภาพจิตรกรรมพระวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ด้านทิศตะวันตก เป็นภาพปริพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกับเหล่าสาวกที่อยู่ในอากัปกิริยาโศกเศร้า