ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.310/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 125 (302-305) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต(เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เจดีย์บนเขาล้อน
เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บนยอดเขาล้อน ในพื้นที่หมู่ ๑ บ้านปากบางสะกอม ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐถือปูน ส่วนองค์ระฆังมีลักษณะยืดสูง รองรับส่วนยอดซึ่งปลายยอดนั้นหักหายไป
โดยมีเรื่องราวในท้องถิ่นเล่ากันว่าเมื่อสร้างยอดเจดีย์สำเร็จเมื่อใดก็จะถูกฟ้าฝ่าพังลงมาทุกครั้ง เจดีย์องค์นี้จึงไม่มียอดมาจนปัจจุบัน และยังมีเรื่องราวของถ้ำในบริเวณหน้าผาริมทะเลซึ่งเล่ากันว่าเดิมเต็มไปด้วยถ้วยชามซึ่งชาวบ้านสามารถหยิบยืมไปใช้งานได้ แต่ต่อมาถ้ำปากถ้ำแห่งนี้ได้ปิดลงกลายเป็นหน้าผาอย่างในปัจจุบัน
สำหรับอายุสมัยของเจดีย์องค์นี้เดิมอาจเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยา แต่ในเวลาต่อมาเจดีย์องค์เดิมคงทรุดโทรมลงจึงมีการบูรณะขึ้นใหม่จนปรากฏรูปทรงในศิลปะรัตนโกสินทร์ผสมผสานกับศิลปกรรมท้องถิ่น ในราวสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา
จากจุดที่ตั้งเจดีย์ยังสามารถชมทิวทัศน์ทั้งทะเลอ่าวไทย ชายหาดสะกอม หาดพร้าว และเกาะขาม ที่สวยงาม รวมทั้งมีจุดถ่ายภาพบริเวณปลายแหลมขามซึ่งเป็นหน้าผาหินขนาดใหญ่อีกด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียบเรียง/ภาพถ่าย: นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ
ชื่อผู้แต่ง หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง คุณค่าของเอกสารโบราณ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๒
จำนวนหน้า ๕๒ หน้า
รายละเอียด เป็นหนังสือจากการจัดการอภิปรายในพิธีเป็นนิทรรศการเอกสารโบราณ ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน - ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีเนื้อหา ๔ เรื่องได้แก่ประโยชน์ของเอกสารโบราณ เอกสารโบราณสัมพันธ์กับโบราณคดีอย่างไร ลักษณะเอกสารโบราณสมัยและองค์ประกอบของเอกสารโบราณ
โดย วิทยากร ๔ ท่าน ได้แก่ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ชินอยู่ที่ ตรี อมาตยกุลและพิฑูรมลิวัลย์
วิดีทัศน์ เรื่อง : "กู่สวนแตง อีกหนึ่งเพชรเม็ดงาม แห่งแดนดินปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ"https://fb.watch/cH7_cIXGC0/
ย้อนกลับไปเมื่อ 115 ปี ก่อน นักสำรวจชาวฝรั่งเศส เอเจียน เอ็ดมองต์ ลูเนต์ ลาจองกิเยร์ ได้พบปราสาทหลังนี้เป็นครั้งแรก การค้นพบกู่สวนแตงของ ลาจองกิเยร์ ในครั้งนั้น ทำให้เราทราบว่า “ปราสาทประธานมีทับหลัง เป็นรูปศิวนาฏราช ส่วนทับหลังด้านอื่นๆ สลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ สลักภาพกูรมาวตาร (พระนารายณ์อวตารเป็นเพื่อรองรับมันทรคีรี ในพิธีกวนเกษียรสมุทร) สลักภาพวามนาวตาร (พระนารายณ์อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย) สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และสลักภาพเทวดาประทับนั่งเหรือหน้ากาล” ซึ่งปัจจุบัน ทับหลังที่พบ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตัดต่อ เรียบเรียงนำเสนอ โดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
พระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย
ศิลปะทิเบต พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐
ของหลวงพระราชทานยืม เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๔๗๐
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย (Usnīsa vijaya) พระโพธิสัตว์เพศหญิง ส่วนพระเศียรทรงอุณหิศ (กระบังหน้า) ประดับตาบสามเหลี่ยม มีสามพระพักตร์ แต่ละพระพักตร์มีสามพระเนตร พระกรรณทรงกุณฑลเป็นห่วงกลม ทรงพระภูษาพาดคลุมพระพาหาทั้งสองข้าง และทรงเครื่องประดับ อาทิ กรองศอ สร้อยสังวาล พระโพธิ์สัตว์มีแปดพระกร สองพระกรด้านหน้าสุดแสดงธรรมจักรมุทรา ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานปัทม์
พระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย หรือในทิเบตเรียกนามพระโพธิสัตว์องค์นี้ว่า “นัมจัลมา” (Namgyelma) เป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์เพศหญิงตามความเชื่อของพุทธศาสนา นิกายตันตระ ซึ่งพระองค์เป็นเทพแห่งความอายุยืนนาน ทรงมีพระกายสีขาว พระเศียรมีสามพระพักตร์ พระพักตร์ขวาผิวสีน้ำเงิน พระพักตร์กลางผิวสีขาว และพระพักตร์ซ้ายผิวสีเหลือง ทรงมีแปดพระกร สองพระกรด้านหน้าแสดงปางธรรมจักรมุทรา ส่วนพระกรอื่นทรงวัตถุต่างกันออกไป ได้แก่ ลูกศร คันธนู รูปพระพุทธรูป วิศววัชระ และแจกันที่บรรุจน้ำทิพย์เพื่อความเป็นอมตะ
ส่วนในประเทศไทย แม้จะนับถือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลัก แต่มีบทสวดที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามหายาน และน่าจะสัมพันธ์กับพระโพธิสัตว์อุษณีษวิชัย ด้วยเช่นกันเนื่องจากมีความหมายเกี่ยวข้องกับ “การมีอายุยืนนาน” กล่าวคือ “อุณหิสวิชัยสูตร” เป็นคาถาภาษาบาลี โดยเชื่อว่าน่าจะคลี่คลายมาจาก “อุษณีษวิชยธารณี” ในภาษาสันสฤต สำหรับอุณหิสวิชัยสูตรมีเนื้อความกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงกล่าวคาถาอุณหิสวิชัยแก่สุปดิศเทพ ซึ่งเป็นเทวดาองค์หนึ่งที่กำลังจะสิ้นผลบุญและต้องไปเกิดยังนรกภูมิ ใจความของคาถานี้คือ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ด้วยอานุภาพแห่งศีลและพระธรรมอันสุจริต และการเจริญพระคาถาอุณหิสวิชัย จะทำให้มีอายุยืนยาว เมื่อสุปดิศเทพได้ฟังคาถานี้ ได้ทำตามเนื้อความพระคาถา จึงมีอายุยืนยาวถึง ๒ พุทธันดร*
ทั้งนี้อุณหิสวิชัยสูตร เป็นมนต์คาถาที่เก่าแก่บทหนึ่งในสังคมไทย ในคำนำการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์โท พระยาอรรคนิธิ์นิยม (สมุย อาภรณ์ศิริ) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า ได้ต้นฉบับมนต์เหล่านี้เป็นฝีมือเขียนขึ้นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา มีทั้งหมด ๕ บท ได้แก่ มหาทิพมนต์ ชัยมงคล มหาชัย อุณหิสวิชัย และมหาสวํ (มหาสาวัง) การสวดมนต์เหล่านี้มีตัวอย่างคือ ในงานวันฉลองวันประสูติ เจ้านายจะตั้งเตียงในท้องพระโรง มีนักสวด ๔ คนสวดคาถามหาชัย และอุณหิสวิชัยตามทำนองโบราณ นอกจากนี้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงประทานความเห็นเกี่ยวกับอุณหิสวิชัยสูตรไว้ในลายพระหัตถ์ทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๘๒ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ได้อ่านตรวจหนังสือมหาทิพมนต์โดยถี่ถ้วนตลอดแล้ว ในหนังสือนั้นมีมนต์ ๕ บท คือ ๑ มหาทิพมนต์ ๒ ชัยมงคล ๓ มหาชัย ๔ อุณหิสวิชัย ๕ มหาสาวัง สี่บทอันออกชื่อก่อนนั้นแต่งเป็นฉันท์ แต่บทที่สุดนั้นแต่งเป็นปาฐ มีคำแปลเป็นภาษาไทย แต่บทต้นบทเดียวแต่งเป็นกลอนสวด ใน ๕ บทนั้น เห็นอุณหิสวิชัยดีกว่าเพื่อน เป็นของผู้รู้แต่ง แต่งเป็นเรื่องเป็นราว ทั้งเอาอะไรมาประกอบก็ดีด้วย...”
*คำว่า “พุทธันดร” หมายถึง ช่วงเวลาที่โลกว่างพระพุทธศาสนา คือ ช่วงเวลาที่ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสูญสิ้นไป และพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ยังไม่อุบัติ
(อ้างอิงจาก ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. หน้า ๘๕๙ )
อ้างอิง
กรมศิลปากร. มหาทิพมนต์ : ความสืบเนื่องของบทพระพุทธมนต์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๒.
ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมามหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
เสถียร โพธินันทะ. กระแสพุทธธรรมมหายาน. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
องค์การค้าของคุรุสภา. สาสน์สมเด็จเล่ม ๖ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร: คุรุสภา, ๒๕๐๕.
Trilok Chandra & Rohit Kumar. Gods, Goddesses & Religious symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism. Lashkar: M.Devi, 2014.
พระบารมีปกเกล้าฯชาวอุบลฯ ๔
ตามรอยเสด็จเมืองอุบล ครั้งที่ ๓
ในวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๑๒.๒๕ น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง จากภูพานราชนิเวศน์ ไปทรงเยี่ยมราษฎร์ ณ วัดปากแซงพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานีและทรงเยี่ยมหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒๓
เวลา ๑๓.๓๐ น. เสด็จพระราชดำเนินถึงหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒๓ บ้านปากแซง ตำบลพะลาน อำเภอเขมราฐ แล้วประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังวัดปากแซง แล้วเสด็จเข้าวิหาร ทรงนมัสการและทรงปิดทองพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ จากนั้นทรงมีพระราชดำรัสกับพระภิกษุ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายปัจจัย และยาชุดแก่เจ้าเอาวาสเสร็จแล้วเสด็จออกจากวิหารทรงเยี่ยมราษฎรที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เป็นจำนวนมากภายในบริเวณวัด ทรงพระราชปฏิสันถารและพระปฏิสันถารกับราษฎรเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด สมควรแก่เวลาจึงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังค่ายลูกเสืออำเภอเขมราฐ บ้านนาดง ตำบลพะลาน อำเภอเขมราฐ ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นเสด็จเข้าพลับพลาพิธีลูกเสือชาวบ้านนายประมูล จันทรจำนง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีกราบบังคมทูลถวายรายงานกิจการลูกเสือชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ต่อจากนั้นได้พระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน จำนวน ๓๙ รุ่น เสร็จแล้วลูกเสือชาวบ้านกล่าวคำปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาท ความว่า “ การฝึกลูกเสือชาวบ้านแม้จะใช้ระยะเวลาสั้นเพียงห้าวัน แต่เมื่อฝึกแล้วก็ทำให้มีความรู้ ความสามารถ ตลอดจนมีกำลังใจเข้มแข็ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม….”
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพถ่ายตามรอยเสด็จฯจังหวัดอุบลราชธานี
อ.ปัญญา แพงเหล่า
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน)อย.บ. 24/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 55.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเรื่อง วิหารจำลองวัดนาซาว --- วิหารจำลองวัดนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน... วิหารจำลอง หมายถึง การจำลองรูปแบบอาคารจากโบสถ์ หรือวิหาร ตามคติการอุทิศถวายตัวอาคารเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยใช้รูปจำลองแทนตัวอาคารจริง ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาลดหลั่นซ้อนกัน มุงด้วยแป้นเกล็ด ติดช่อฟ้า หางหงส์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปเศียรนาค และตกแต่งลวดลายตามส่วนสำคัญของตัวอาคาร เช่น หน้าบัน ซุ้มประตู บานหน้าต่าง เป็นต้น--- วิหารจำลองวัดนาซาว เป็นวิหารจำลองไม้ลงรักปิดทอง ประดับกระจก มีลักษณะโครงสร้างวิหารแบบขื่อม้าต่างไหม แผนผังของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง ๕๓ เซนติเมตร ยาว ๘๙ เซนติเมตร สูง ๑๐๓ เซนติเมตร หลังคาวิหารมีการซ้อนชั้นหลังคา ๒ ตับ มีการลดชั้นสันหลังคาลงทางด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๑ ช่วง กำหนดอายุสมัยจากจารึก สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๙ หรือพุทธศักราช ๒๔๔๐ ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน--- มีจารึกด้านสกัดหลังวิหารจำลองวัดนาซาว (ด้านนอก) ในกรอบสี่เหลี่ยมลงรักปิดทองขนาดกว้าง ๑๕.๕ เซนติเมตร สูง ๒๑.๘ เซนติเมตร จำนวน ๒๓ บรรทัด จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย ระบุจุลศักราช ๑๒๒๙ (พุทธศักราช ๒๔๑๐) ความในจารึกได้กล่าวถึงปีที่สร้าง ผู้สร้าง และการสร้างพระพุทธรูปไม้ภายในวิหาร ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆในการสร้าง และคำผาถนา หรือความปรารถนาของผู้สร้าง "ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเป็นยอดแท้ดีหลีจิงแก่ข้าทั้งหลายแด่เทอะ นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ"--- พระพุทธรูปไม้ที่สร้างประดิษฐานไว้ภายในวิหารจำลอง มีจารึกระบุจุลศักราช ๑๒๒๘ (พุทธศักราช ๒๔๐๙) เป็นพระพุทธรูปไม้ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๓.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑๗ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๒.๕ เซนติเมตร ลักษณะมีพระรัศมีทรงกรวยรองรับด้วยอุษณีษะ พระเกศาเป็นตาราง มีไรพระศก พระพักตร์กลมแป้น พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้ม พระกรรณกาง ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เหนือฐานหน้ากระดานเรียบในผังครึ่งวงกลม สภาพชำรุดแตกหักบริเวณส่วนด้านหน้าของฐานพระพุทธรูป --- ส่วนฐานของพระพุทธรูป มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๗ บรรทัด ความว่า ... “ศัก ๑๒๒๘ ตัว ปีรวา(ย)ยี โหราขึ้น ๑๑ ค่ำ เม็ง๓ ไทยเมิงเหม้า ยามคัน …….. ภิกขุเกิดอายุได้ ๓๙ ศักได้ ๑๒๖๖ ตัว ………………... เพ็ง เม็ง.....ได้บวชพุทธรูปไม้คำเป็น …………...(ขอเอา)สุข ๓ ประการ มีนิพพาน (เป็นยอดแท้ดีหลี) นิพฺพาน ปจฺจโย โหนฺตุ เม นิจฺจํ เจ้ามี ๑๒๖๖ เดือน (๖) เพ็ง เม็งวัน…………………สี่ เดือน ๖” --- วัดนาซาว ตั้งอยู่ที่บ้านนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ โดยพ่อเจ้าหลวงและพ่อแสนกามวิสถาน ทั้งสองท่านได้พาครอบครัวและบริวารจากเชียงแสนมาตั้งบ้านเรือนจนนับผู้คนมากขึ้นนับได้ ๒๐ หลังคาเรือน ซึ่งจำนวนดังกล่าว ภาษาถิ่นพูดว่า “ซาว” จึงช่วยกันบริจาคทรัพย์และแรงงานสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาให้ชื่อว่า วัดนาซาว เป็นวัดแรกของชุมชนเอกสารอ้างอิง- ทนงศักดิ์ ชัยเรืองฤทธิ์. ประวัติวัดในพื้นที่จังหวัดน่าน (รวบรวมจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๘). น่าน: สำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน,มปท. (เอกสารอัดสำเนา)- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่าน. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๕๒.- ไพลิน ทองธรรมชาติ. วิหารล้านนา มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม. เชียงใหม่: เจริญวัฒน์การพิมพ์, ๒๕๖๔.- รศ.ดร. วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์. ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๕.- สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. ศัพทานุกรม โบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๐.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 49/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 72 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
พฺรสาวํทสปารมี (พฺรสาวํทสปารมี) ชบ.บ 117/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 160/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)