ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,994 รายการ
ธนิต อยู่โพธฺิ์. การรู้จักดูคน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์, 2527.
นิคม มูสิกะคามะ. แนวทางการทำนุบำรุงรักษา มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ประชาชน, 2542.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ไปรษณียบัตรจดหมายเหตุ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2558.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระ, 2333 - 2396. พระธรรมเทศนา พระราชพงษาวดารสังเขป. พิมพ์ครั้งที่ 3. พระนคร: วัฒนาพานิช(แผนกโรงงาน), 2515.
พระราชพงศาวดาร. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และ จุลยุทธการวงศ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 08.45 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคกลาง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครนายก สระบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี โดยมีอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) พระสังฆาธิการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดและอำเภอ และผู้แทนส่วนราชการในเขตพื้นที่เป้าหมายเข้าร่วมกว่า 300 คน ณ โรงแรมคลาสสิค คามิโอ อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวว่า กรมศิลปากรมีแนวนโยบายส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรภาครัฐและเอกชน เข้ามาเป็นเครือข่ายและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยมีแนวทางและมาตรฐานในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้านโบราณสถาน ศิลปกรรมในเขตโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตลอดจนมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น เอกสารโบราณ จดหมายเหตุ จึงจัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณลักษณะ คุณค่าและความสำคัญของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีต่อชาติและท้องถิ่น รวมถึงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมภายใต้หน้าที่และความรับผิดชอบของกรมศิลปากร สร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่เครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินงานร่วมกันและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น
สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมเขตภาคกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ 2567 นอกจากจะมีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ยังมีการศึกษาดูงานโบราณสถานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเขตภาคกลางเป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมสำคัญ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีโบราณสถานไม่ต่ำกว่า 300 แห่ง และได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกในชื่อ “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) อีกทั้งยังเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ความร่วมมือร่วมใจของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งฝ่ายสงฆ์ ท้องถิ่น ชุมชน และภาคสังคมที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์โบราณสถานที่ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นสาธารณสมบัติของชาติให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเครือข่าย ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนภาคเศรษฐกิจ ทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับประเทศ
วันศุกร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา มอบหมายให้นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน ลงพื้นที่ชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานภายในวัดธาตุ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเกษตรสมบูณณ์ จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับวัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่
วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านทุ่งไชย(พัฒนานุสรณ์) ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๗๒ คน คุณครู ๑๒ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒-๓ และชั้นประถมศึกษาที่ ๖ โรงเรียนบ้านปังกู(คุรุประชานุสรณ์) ตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๒๕ คน คุณครู ๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางศรีสุดา ศรีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๑ - ๓ โรงเรียนอมรินทราวารี ตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๙๕ คน คุณครู ๘ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม